ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ หรือปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ก็ล้วนอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ได้ทั้งสิ้น Hello คุณหมอ จึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์ รวมไปถึงการรักษาและป้องกัน เพื่อการดูแลสุขภาพของคุณแม่ตั้งครรภ์ที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ปวดท้องเหมือนปวดประจําเดือน ตั้งครรภ์ อันตรายหรือไม่

ในระหว่างการตั้งครรภ์ ร่างกายของแม่จะเปลี่ยนแปลงไป เพื่อรองรับการมีอยู่ของทารกตัวน้อย ๆ ที่เกิดขึ้นในครรภ์ อาการมากมายที่เกิดขึ้นมาจึงสร้างความวิตกกังวลให้กับแม่ตั้งครรภ์ โดยเฉพาะ ปวดท้องเหมือนปวดประจําเดือน ตั้งครรภ์ อาการนี้อันตรายหรือไม่ และอาการปวดท้องเหมือนปวดประจําเดือน เป็นสัญญาณของการตั้งครรภ์หรือเปล่า [embed-health-tool-ovulation] ปวดท้องเหมือนปวดประจําเดือน ตั้งครรภ์หรือไม่ หากสงสัยว่ากำลังตั้งครรภ์หรือไม่ อาการปวดท้องเหมือนปวดประจําเดือน ก็เป็นอาการหนึ่งของแม่ที่เริ่มตั้งครรภ์ได้เช่นกัน แต่จะมีความแตกต่างตรงที่อาการปวดท้องน้อยที่เกิดขึ้นนั้น ไม่มีประจำเดือนมา จึงต้องลองสังเกตร่างกายของตัวเองเป็นประจำ หากเป็นช่วงที่ถึงรอบเดือน ใกล้กับช่วงเวลาประจำเดือนมา แล้วเกิดอาการปวดท้องน้อย ประจำเดือนอาจมาใน 1-2 วัน แต่ถ้าไม่ใช่ช่วงที่ประจำเดือนจะมา แต่เกิดมีอาการปวดท้องเหมือนปวดประจําเดือน ให้ลองใช้ชุดตรวจครรภ์ ปวดท้องเหมือนปวดประจําเดือน ตั้งครรภ์ อันตรายหรือไม่ ขณะที่แม่กำลังตั้งครรภ์ แล้วเกิดอาการปวดท้องเหมือนปวดประจําเดือน อาจเกิดความกังวลว่า อาการนี้อันตรายหรือไม่ สามารถมีข้อสังเกตได้ ดังนี้ 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ : หากเกิดอาการปวดท้องน้อย ปวดหน่วงท้องน้อยคล้ายปวดประจำเดือน หรือปวดบีบ ๆ รัด ๆ ตรงกลางท้อง ร่วมกับอาการเลือดออกทางช่องคลอด มีลักษณะเป็นเลือดสดหรือมูกเลือด อาจมีเลือดออกเล็กน้อยหลายวัน ควรปรึกษาแพทย์ เพราะอาจเสี่ยงต่อภาวะแท้งคุกคาม (Threatened Abortion) จึงควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจร่างกายอย่างละเอียด   ไตรมาส 2 ของการตั้งครรภ์ […]

สำรวจ ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

น้ำหนัก คน ท้อง เกินกว่าเกณฑ์ ส่งผลต่อทารกในครรภ์อย่างไร

ผู้ที่กำลังเตรียมตั้งท้องควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับ น้ำหนัก คน ท้อง โดยเฉพาะน้ำหนักที่เกินกว่าเกณฑ์ในขณะท้อง เพราะอาจเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพคุณแม่และทารกในท้องได้ เช่น ภาวะครรภ์เป็นพิษ โรคเบาหวานขณะท้อง ทารกตัวโตกว่าปกติ ทารกพิการแต่กำเนิด คลอดก่อนกำหนด ซึ่งการดูแลตัวเองอย่างเหมาะสมอาจเป็นวิธีที่จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ได้ดีที่สุด [embed-health-tool-due-date] น้ำหนัก คน ท้อง เกินกว่าเกณฑ์ คือเท่าไหร่ คนท้องส่วนใหญ่จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณ 10-12.5 กิโลกรัม โดยน้ำหนักตัวของคนท้องแต่ละคนจะขึ้นอยู่กับดัชนีมวลกายก่อนตั้งครรภ์ด้วย ดังนั้น หากต้องการทราบว่าน้ำหนักคนท้องเกินกว่าเกณฑ์คือเท่าไหร่อาจเปรียบเทียบค่าน้ำหนักได้ ดังนี้ คนท้องลูกคนเดียว น้ำหนักก่อนท้องต่ำกว่าเกณฑ์ มีค่า BMI น้อยกว่า 18.5 น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจึงไม่ควรเกิน 18 กิโลกรัม น้ำหนักก่อนท้องอยู่ในเกณฑ์ปกติ มีค่า BMI 18.5-24.9 น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจึงไม่ควรเกิน 16 กิโลกรัม น้ำหนักก่อนท้องมากกว่าเกณฑ์ มีค่า BMI มากกว่า 25-29.9 น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจึงไม่ควรเกิน 11 กิโลกรัม คนท้องเป็นโรคอ้วนก่อนตั้งท้อง มีค่า BMI มากกว่าหรือเท่ากับ 30.0 น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจึงไม่ควรเกิน 9 กิโลกรัม คนท้องลูกแฝด น้ำหนักก่อนท้องต่ำกว่าเกณฑ์ […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ลูกหลุดเกิดจากอะไร สามารถป้องกันได้หรือไม่

ผู้ที่กำลังวางแผนตั้งครรภ์หรือกำลังตั้งครรภ์ในระยะแรกซึ่งเป็นช่วงที่เสี่ยงได้ง่าย อาจกังวลเกี่ยวกับสุขภาพของลูก และมีข้อสงสัยว่า ลูกหลุดเกิดจากอะไร สามารถป้องกันได้หรือไม่ ทั้งนี้ ภาวะแท้งลูก หรือที่อาจเรียกว่า ลูกหลุด มักเกิดขึ้นเนื่องจากทารกไม่สามารถพัฒนาและเจริญเติบได้อย่างเหมาะสม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลจากความผิดปกติของโครโมโซมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ พัฒนาของอวัยวะของตัวอ่อนที่ผิดปกติ อาจไม่มีสาเหตุจากส่วนอื่นแน่ชัด ทำให้ไม่มีวิธีป้องกันที่แน่นอน อย่างไรก็ตาม การดูแลตัวเองอย่างเหมาะสม เช่น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และสัมผัสฝุ่นควันที่เป็นพิษ นอนหลับให้เพียงพอ อาจลดความเสี่ยงของการแท้งหรือลูกหลุดได้ [embed-health-tool-bmi] ลูกหลุดเกิดจากอะไร การแท้งลูก หรือที่เรียกว่า ลูกหลุด (Miscarriage) คือ การสูญเสียทารกในครรภ์ในช่วงก่อนสัปดาห์ที่ 20 ของการตั้งครรภ์หรือในช่วงไตรมาสแรก มักแต่พบได้บ่อยในช่วง 12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ เกิดจากตัวอ่อนในครรภ์มีโครโมโซมผิดปกติ หรือเกิดจากกระบวนการแบ่งตัวของไซโกต (Zygote) ซึ่งเป็นเซลล์เริ่มต้นของตัวอ่อนผิดปกติ การพัฒนาของโครงสร้างร่างกายหลักมีความผิดปกติ ทำให้ตัวอ่อนไม่สามารถเจริญเติบโตหรือมีพัฒนาการไปเป็นทารกอย่างสมบูรณ์ได้ ร่างกายของคุณแม่จึงขับทารกในครรภ์ออกมาเอง โดยอาการที่พบได้บ่อยที่สุดเมื่อลูกหลุด คือ การมีเลือดออกจากช่องคลอด ซึ่งอาจมีตั้งแต่จุดเลือดออกสีแดงออกชมพูหรือสีน้ำตาล ไปจนถึงเลือดออกในปริมาณมาก อาจพบมีชิ้นเนื้อหลุดออกมาด้วยได้  ร่วมกับมีอาการปวดท้องส่วนล่างคล้ายลักษณะการปวดประจำเดือน หากอายุครรภ์ยังน้อยหลายคนอาจคิดว่าเป็นเพียงเลือดประจำเดือนเท่านั้น คุณแม่ตั้งครรภ์หลายท่านอาจเกิดภาวะลูกหลุดโดยไม่รู้ตัวว่ากำลังตั้งครรภ์ เนื่องจากยังมีอายุครรภ์อ่อนเกินไปจึงยังไม่มีอาการตั้งครรภ์ที่ชัดเจน ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ หรือสาเหตุที่ทำให้ลูกหลุด อาจมีดังนี้ การติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีรังสีหรือสารเคมีที่เป็นพิษในระดับสูง การมีฮอร์โมนแปรปรวนหรือการที่มีภาวะพร่องฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ช่วยพยุงการตั้งครรภ์ในช่วงแรก ภาวะที่ไข่ที่ได้รับการผสมแล้วฝังตัวที่ผนังมดลูกอย่างไม่เหมาะสม อายุของคุณแม่มากกว่า […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

วิธี ป้องกัน ไม่ให้ ครรภ์เป็นพิษ ทำได้อย่างไร

ภาวะครรภ์เป็นพิษเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นในหญิงที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 20 เป็นต้นไป ทำให้มีระดับความดันโลหิตสูงผิดปกติ มีโปรตีนรั่วในปัสสาวะ อาจมีอาการร่วมอื่น ๆ เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน จุกแน่นลิ้นปี่ ตาพร่ามัวได้ หากเป็นมากในระดับรุนแรงอาจส่งผลต่อร่างกายคุณแม่ได้หลายๆระบบ เช่น เกิดภาวะตับวาย ไตวาย เกล็ดเลือดต่ำ น้ำท่วมปอด การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ หรือรุนแรงจนทำให้เกิดการชักได้ โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะนี้ยังไม่แน่ชัดแต่อาจเกิดจากการไหลเวียนของเลือดไปยังรกผิดปกติ การรักษาทำได้เพียงวิธีเดียว คือ การยุติการตั้งครรภ์เพื่อหยุดความรุนแรงของโรค ทั้งนี้ วิธี ป้องกัน ไม่ให้ ครรภ์เป็นพิษ อาจทำได้ด้วยการไปฝากครรภ์ทันทีที่ทราบว่าตั้งครรภ์และประเมินความเสี่ยงในการเกิดครรภ์เป็นพิษ เพื่อรับการดูแลครรภ์ตั้งแต่เนิ่น ๆ รวมทั้งดูแลตัวเองอย่างเหมาะสมขณะตั้งครรภ์ ทั้งนี้ หากมีอาการที่อาจเป็นสัญญาณของภาวะครรภ์เป็นพิษ หรือมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะนี้ ควรรีบไปพบคุณหมอ เพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-due-date] ภาวะครรภ์เป็นพิษ คืออะไร ภาวะครรภ์เป็นพิษ (Preeclampsia) เป็นภาวะผิดปกติขณะตั้งครรภ์ที่พบได้ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 20 ของการตั้งครรภ์เป็นต้นไป ความรุนแรงของภาวะครรภ์เป็นพิษอาจมีตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนไปถึงรุนแรงมาก หญิงตั้งครรภ์ที่ครรภ์เป็นพิษในระดับความรุนแรงเล็กน้อยถึงปานกลางอาจมีความดันโลหิตสูงมากกว่า 140/90 mm Hg มีโปรตีนในปัสสาวะ มีอาการบวมที่มือ ขา และเท้า (Edema) แต่หากเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษในระดับรุงแรงอาจมีอาการเพิ่มเติม […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

แท้งคุกคาม เกิดขึ้นได้อย่างไร และควรป้องกันอย่างไร

แท้งคุกคาม หรือภาวะแท้งเตือน (Threatened Abortion) เป็นภาวะผิดปกติของการตั้งครรภ์ มักเกิดขึ้นได้ในช่วง 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งส่งผลให้หญิงตั้งครรภ์มีเลือดออกทางช่องคลอดในปริมาณน้อยถึงปานกลาง อาจเป็นมูกเลือดหรือเลือดสด ส่วนใหญ่ไม่มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย แต่ในบางคนอาจมีอาการปวดท้องหน่วง ๆ หรือปวดร้าวไปถึงหลัง โดยประมาณครึ่งหนึ่งของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะแท้งคุกคามอาจเกิดการแท้งจริงได้ในอนาคต แต่อีกครึ่งหนึ่ง อาการเลือดออกจะค่อย ๆ น้อยลงและสามารถตั้งครรภ์ต่อไปได้ [embed-health-tool-ovulation] แท้งคุกคาม เกิดขึ้นได้อย่างไร ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของภาวะแท้งคุกคาม แต่เป็นไปได้ว่าอาจมีหลายปัจจัยที่เป็นสาเหตุของภาวะแท้งคุกคาม ดังนี้ อายุ โดยหญิงตั้งครรภ์ที่อายุมากกว่า 35 ปี อาจเสี่ยงในการเกิดภาวะแท้งคุกคามได้มากขึ้น โรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคไตเรื้อรัง โรคเบาหวาน ความผิดปกติของทารกในครรภ์ เช่น ความผิดปกติของโครโมโซม ทารกพิการแต่กำเนิด การได้รับสารเคมีหรือยาที่ส่งผลให้ทารกในครรภ์พิการแต่กำเนิด ความผิดปกติของมดลูกหรือโพรงมดลูก เช่น มดลูกมีรูปร่างผิดปกติตั้งแต่กำเนิด พังผืดในโพรงมดลูก ร่างกายขาดฮอร์โมนเพศที่มีความสำคัญต่อการตั้งครรภ์ อาจส่งผลให้การฝังตัวของตัวอ่อนไม่สมบูรณ์ ปัจจัยอื่น ๆ เช่น อุบัติเหตุ ติดเชื้อในช่องคลอด โรคอ้วน การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ใช้สารเสพติดขณะตั้งครรภ์ สัญญาณเตือนของแท้งคุกคาม แท้งคุกคามมักเกิดขึ้นในช่วง 20 […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

Ectopic Pregnancy คือ อะไร อาการและการป้องกัน

Ectopic Pregnancy คือ การตั้งครรภ์นอกมดลูก เป็นภาวะร้ายแรงที่เกิดขึ้นในขณะตั้งครรภ์ โดยเกิดขึ้นเมื่อไข่ปฏิสนธิและฝังตัวบริเวณอื่นนอกมดลูก เช่น ท่อนำไข่ รังไข่ ช่องท้อง ซึ่งภาวะนี้อาจทำให้คุณแม่มีเลือดออกมาก และยังเป็นภาวะที่สามารถคุกคามชีวิตได้ จึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาในกรณีฉุกเฉินอย่างเร่งด่วน [embed-health-tool-due-date] Ectopic Pregnancy คือ อะไร Ectopic Pregnancy หรือ การตั้งครรภ์นอกมดลูก เป็นการตั้งครรภ์ที่เกิดขึ้นเมื่อไข่ที่ปฏิสนธิฝังตัวในตำแหน่งที่ไม่สามารถรองรับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ได้ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นบริเวณท่อนำไข่ และอาจเกิดขึ้นในบริเวณอื่น ๆ เช่น รังไข่ ช่องท้อง ส่งผลให้การตั้งครรภ์ไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ เนื่องจากในบริเวณดังกล่าวไม่ได้มีหน้าที่รองรับการเจริญเติบโตของทารกเหมือนกับมดลูก หากปล่อยไว้อาจทำให้ท่อนำไข่แตก มีเลือดออกรุนแรง ติดเชื้อ และเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ อาการของ Ectopic Pregnancy หากมีอาการต่อไปนี้ควรเข้าพบคุณหมอ เพราะอาจเป็นสัญญาณของการท้องนอกมดลูก เลือดออกทางช่องคลอด ปวดช่องท้องส่วนล่าง กระดูกเชิงกรานและหลังส่วนล่าง วิงเวียนศีรษะและอ่อนแรง เจ็บปวดท้องมากอย่างกะทันหัน และเลือดออกรุนแรงหากท่อนำไข่แตก ความดันโลหิตต่ำ เป็นลม ปวดไหล่ มีปัญหาเกี่ยวกับลำไส้หรือมีความดันมากทางทวารหนัก ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด Ectopic Pregnancy ปัจจัยที่อาจทำให้เกิดภาวะท้องนอกมดลูก มีดังนี้ เคยมีประวัติท้องนอกมดลูกมาก่อน อาจมีแนวโน้มที่การตั้งครรภ์ครั้งต่อไปจะท้องนอกมดลูกอีกครั้ง การอักเสบหรือการติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ อาจทำให้เกิดการอักเสบในช่องคลอดหรืออวัยวะใกล้เคียง ทำให้เกิดพังผืดที่อาจเพิ่มความเสี่ยงท้องนอกมดลูก […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

เลือดออกช่องคลอด สีน้ำตาล ตั้งครรภ์ เกิดจากอะไรได้บ้าง

อาการเลือดออกระหว่างตั้งครรภ์ อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เลือดล้างหน้าเด็ก การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน การตั้งครรภ์นอกมดลูก ภาวะรกเกาะต่ำ หรือแม้กระทั่งการแท้งบุตร หากคุณแม่พบว่ามี เลือดออกช่องคลอด สีน้ำตาล ตั้งครรภ์ หรือเลือดออกเป็นสีอื่น ๆ เช่น สีแดงเข้ม สีชมพู โดยเฉพาะหากเกิดขึ้นร่วมกับอาการปวดท้อง อาจเป็นสัญญาณของอาการผิดปกติที่ควรแจ้งคุณหมอที่ดูแลครรภ์ให้ทราบและหาสาเหตุที่แท้จริงตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อช่วยให้สามารถรักษาและป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ได้อย่างทันท่วงที [embed-health-tool-due-date] เลือดออกช่องคลอด สีน้ำตาล ตั้งครรภ์ เกิดจากอะไรได้บ้าง ปัจจัยที่ทำให้มีอาการ ตั้งครรภ์ มีเลือดออก ไม่ปวดท้อง ในแต่ละไตรมาสขณะตั้งครรภ์ อาจมีดังนี้ อาการเลือดออกในการตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 1 (เดือนที่ 1-3 ของการตั้งครรภ์) เลือดล้างหน้าเด็ก (Implantation bleeding) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ (อายุครรภ์ 4-5 สัปดาห์) เกิดจากตัวอ่อนฝังตัวเข้ากับเยื่อบุโพรงมดลูกและอาจทำให้เส้นเลือดโดยรอบแตกออก ส่งผลให้มีจุดเลือดออกหรือเลือดไหลออกจากช่องคลอด โดยทั่วไปจะเป็นสีชมพูอ่อนไปจนถึงน้ำตาลเข้ม และมักมีจะมีอาการอยู่เพียงแค่2-3วัน และจากนั้นเลือดจะค่อยๆออกน้อยลง ภาวะปากมดลูกปลิ้น (Cervical ectropion or erosion) ในระยะแรกของการตั้งครรภ์ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนและระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายจะสูงกว่าปกติ และร่างกายอาจผลิตฮอร์โมนที่ทำให้ปากมดลูกขยายตัวหรือเคลื่อนออกจากตำแหน่งเดิม ส่งผลให้มีเลือดออกจากคอมดลูก โดยอาจมีเลือดออกเป็นสีชมพู สีแดง […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

DFIU คือ อะไร สาเหตุ อาการ และการรักษา

DFIU (Death Fetus In Utero) คือ การตายของทารกในครรภ์ที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 20-28 สัปดาห์ขึ้นไป หรืออาจตายหลังจากคลอดออกมาทันที โดยอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ไม่ฝากครรภ์ ปัญหารกและสายสะดือ การติดเชื้อ ตั้งครรภ์เกินกำหนด ความผิดปกติของโครโมโซม เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ซึ่งภาวะนี้ต้องได้รับการรักษาด้วยการยุติการตั้งครรภ์หรือเร่งคลอด และคุณแม่ที่สูญเสียลูกจำเป็นต้องได้รับการดูแลร่างกายและสภาพจิตใจอย่างใกล้ชิด รวมทั้งหาสาเหตุเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำในการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป [embed-health-tool-due-date] DFIU คือ อะไร DFIU คือ การตายของทารกในครรภ์ตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 หรือมีอายุครรภ์ตั้งแต่ 20-28 สัปดาห์ขึ้นไป หรือเด็กที่ตายหลังจากคลอดออกมาโดยมีน้ำหนักตั้งแต่ 1,000 กรัมขึ้นไป โดยการตายของทารกในครรภ์อาจแบ่งได้ 3 ประเภท ดังนี้ ทารกตายก่อนระยะคลอด (Early Stillbirth) เกิดขึ้นระหว่างอายุครรภ์ 20-27 สัปดาห์ ทารกตายในระยะคลอดล่าช้า (Late Stillbirth) เกิดขึ้นระหว่างอายุครรภ์ 28-36 สัปดาห์ ทารกตายในระยะคลอด (Term Stillbirth) เกิดขึ้นเมื่ออายุครรภ์ 37 สัปดาห์เป็นต้นไป สาเหตุของ DFIU การตายของทารกในครรภ์สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ลักษณะตกขาวของคนท้อง เป็นอย่างไร และวิธีดูแลตัวเอง

ลักษณะตกขาวของคนท้อง อาจเป็นสีขาวใสหรือขาวขุ่นเล็กน้อย ๆ ไม่มีกลิ่นและมีปริมาณมาก ซึ่งมีหน้าที่ในการช่วยปกป้องช่องคลอดจากการติดเชื้อ แต่หากพบว่าตกขาวมีสี มีกลิ่น มีอาการคัน แสบร้อน และเจ็บปวดเมื่อปัสสาวะหรือมีเพศสัมพันธ์ ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อตรวจร่างกาย เพราะอาจเป็นสัญญาณของความผิดปกติที่อาจส่งต่อไปยังทารกในท้องได้ [embed-health-tool-due-date] ลักษณะตกขาวของคนท้อง เป็นอย่างไร ลักษณะตกขาวของคนท้อง อาจมีลักษณะเป็นสีขาวใสหรือสีขาวขุ่นเล็กน้อย ไม่มีกลิ่นเหม็น และอาจมีปริมาณมากกว่าปกติ เนื่องจากระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่สูงขึ้นในขณะตั้งท้องอาจกระตุ้นให้ร่างกายผลิตและหลั่งของเหลวจากในช่องคลอดออกมามากขึ้น เพื่อช่วยป้องกันการติดเชื้อภายในช่องคลอดที่อาจเข้าไปยังมดลูก อย่างไรก็ตาม ลักษณะของตกขาวอาจไม่สามารถเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการตั้งครรภ์ เนื่องจากอาจไม่สามารถสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงของตกขาวในช่วง 1-2 สัปดาห์แรกของการปฏิสนธิได้ ดังนั้น หากสงสัยว่ากำลังตั้งท้องหรือประจำเดือนขาดในช่วงที่คาดว่าประจำเดือนจะต้องมา ควรทดสอบการตั้งท้องโดยการใ้ที่ตรวจครรภ์ด้วยตัวเอง และเข้ารับการตรวจที่โรงพยาบาลเพื่อยืนยันผล สำหรับในช่วงท้ายของการตั้งท้องลักษณะของตกขาวอาจเปลี่ยนแปลงไป โดยตกขาวอาจมีสีชมพู ใส เหนียวข้น หรือเป็นริ้ว ๆ และมีปริมาณมากขึ้น  เรืยกว่ามูกเลือดปากมดลูก ซึ่งอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าปากมดลูกเริ่มมีการเปิดขยายออก และร่างกายกำลังเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด อาจพบตกขาวในลักษณะนี้ประมาณ 2-3 วัน ก่อนเข้าสู่ระยะคลอด ลักษณะตกขาวของคนท้องที่เป็นสัญญาณเตือนของปัญหาสุขภาพ หากพบลักษณะตกขาวของคนท้องต่อไปนี้ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อตรวจสุขภาพในระหว่างตั้งท้อง ลักษณะของตกขาวเปลี่ยนไปจากปกติมาก มีกลิ่นเหม็นรุนแรง มีสีหรือปริมาณที่เปลี่ยนไปอย่างชัดเจน ตกขาวมีสีเปลี่ยนแปลงไปหรือมีของเหลวปริมาณมากขึ้นก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ เช่น มีของเหลวเป็นสีใสไหลออกมาอย่างต่อเนื่อง อาจเป็นสัญญาณของภาวะคลอดก่อนกำหนด ปากช่องคลอดอักเสบหรือมีตกขาวสีขาว ไม่มีกลิ่นไหลออกมาจากช่องคลอด พร้อมกับอาการเจ็บปวดเมื่อปัสสาวะหรือมีเพศสัมพันธ์ คันและแสบร้อน ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อยีสต์ ตกขาวสีเทาบาง ๆ […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

Placenta previa คือ ภาวะรกเกาะต่ำ อาการ สาเหตุ วิธีรักษา

Placenta previa คือ ภาวะรกเกาะต่ำ เป็นภาวะหนึ่งขณะตั้งครรภ์ที่เกิดขึ้นเมื่อตำแหน่งของรกปกคลุมหรือปิดกั้นปากมดลูกบางส่วนหรือทั้งหมด อาจทำให้เส้นเลือดที่เชื่อมต่อระหว่างรกและมดลูกฉีกขาดจนเสียเลือดมากขณะตั้งครรภ์ และโดยเฉพาะในระหว่างที่หญิงตั้งครรภ์มีอาการเจ็บครรภ์คลอดและมีการเปิดของปากมดลูก โดยทั่วไปภาวะรกเกาะต่ำจะไม่ทำให้รู้สึกเจ็บปวด และอาจมีเลือดออกมากน้อยต่างกันไป หากอัลตราซาวด์พบภาวะนี้ในอายุครรภ์ที่ยังน้อย ต้องมีการตรวจติดตามเพิ่มเติม เพราะโดยส่วนใหญ่ รกจะมีการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นไปได้ในอายุครรภ์ที่มากขึ้น เพื่อวางแผนแนวทางในการคลอดต่อไป คุณแม่ตั้งครรภ์จึงควรฝากครรภ์และไปพบคุณหมอตามนัดหมายทุกครั้งเพื่อตรวจหาความผิดปกติหรืออาการแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ตั้งแต่เนิ่น ๆ และหากพบว่ามีเลือดออกทางช่องคลอดในช่วงไตรมาสที่ 2-3 ของการตั้งครรภ์ ควรไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุและรับการรักษาโดยเร็วที่สุด เพราะหากปล่อยไว้ การเลือดออกจากภาวะรกเกาะต่ำจะทำให้เกิดอันตรายได้ทั้งกับคุณแม่และทารกในครรภ์ได้ [embed-health-tool-due-date] Placenta previa คือ อะไร Placenta previa คือ ภาวะรกเกาะต่ำ เป็นความผิดปกติของตำแหน่งรกที่เกาะมดลูกอยู่บริเวณส่วนล่างของมดลูกจนปกคลุมปากมดลูกบางส่วนหรือทั้งหมด โดยรกคือส่วนหนึ่งของการตั้งครรภ์ เป็นอวัยวะที่เชื่อมต่อกับสายสะดือ ทำหน้าที่ลำเลียงสารอาหารและออกซิเจนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตจากมารดาไปยังทารกในครรภ์ ทั้งยังช่วยขับของเสียจากทารกด้วย ในช่วงตั้งครรภ์ระยะแรก รกอาจก่อตัวและยึดเกาะอยู่ที่ส่วนล่างของมดลูก ก่อนจะเคลื่อนตัวขึ้นมาอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม หรือใกล้ส่วนบนของมดลูกหรือที่เรียกว่ายอดมดลูก ซึ่งห่างจากปากมดลูกมากพอที่จะทำให้ปากมดลูกขยายตัวได้สะดวกเมื่อถึงเวลาคลอด แต่หากมีภาวะ Placenta previa หรือรกเกาะต่ำ รกอาจไปปิดกั้นมดลูกและเป็นอุปสรรคต่อการคลอดทางช่องคลอดตามธรรมชาติ และอาจจำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในระหว่างการตั้งครรภ์ได้ ภาวะ Placenta previa หรือ รกเกาะต่ำ แบ่งได้เป็น 4 ชนิด ดังนี้ รกเกาะต่ำใกล้ปากมดลูก (Low-lying placenta) […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

สัญญาณ เตือน ท้องลม ที่คุณแม่ควรรู้

ท้องลม คือ การตั้งครรภ์โดยที่ไม่มีการเจริญของตัวอ่อน และไม่สามารถพัฒนาไปเป็นทารกได้อีกต่อไป มีเพียงการเจริญของถุงการตั้งครรภ์เพียงอย่างเดียว จัดเป็นความผิดปกติของการตั้งครรภ์รูปแบบหนึ่งที่ทำกระตุ้นเข้าสู่ภาวะแท้ง หากพบ สัญญาณ เตือน ท้องลม เช่น ปวดท้องและอุ้งเชิงกรานเล็กน้อยถึงปานกลางติดต่อกันหลายวัน มีเลือดหรือเนื้อเยื่อไหลออกจากช่องคลอด ควรไปพบคุณหมอโดยเร็วที่สุด เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุด้วยการอัลตราซาวด์ ซึ่งเป็นที่สามารถวิธียืนยันภาวะท้องลมได้แม่นยำที่สุด [embed-health-tool-due-date] ท้องลม คืออะไร ท้องลม (Blighted Ovum) หรือ ภาวะไข่ฝ่อ (Anembryonic pregnancy) เป็นความผิดปกติของการตั้งครรภ์ที่มักเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสแรก (เดือนที่ 1-3) ของการตั้งครรภ์ ในการตั้งครรภ์ปกติ เมื่อเกิดการปฏิสนธิ ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิแล้วจะไปฝังตัวที่ผนังมดลูก เซลล์ไข่จะเติบโตเป็นตัวอ่อน และตัวอ่อนจะเจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วง 5-6 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ตัวอ่อนจะมีขนาดประมาณ 18 มิลลิเมตร แต่หากเกิดภาวะท้องลม ตัวอ่อนจะหยุดพัฒนาและแบ่งเซลล์ และถูกร่างกายดูดซึมไปจนเหลือเพียงถุงตั้งครรภ์เปล่า ๆ เท่านั้น ในบางกรณี การสูญเสียตัวอ่อนในครรภ์ก็อาจเกิดขึ้นก่อนที่คุณแม่จะรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ ท้องลม เกิดจากอะไร ท้องลมเกิดขึ้นเมื่อไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิแล้วฝังตัวที่ผนังมดลูก แต่ไม่พัฒนาและเติบโตไปเป็นตัวอ่อน มักเกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการแบ่งเซลล์ผิดปกติ หรืออาจเกิดจากสเปิร์มหรือไข่มีคุณภาพต่ำ โครโมโซมที่ผิดปกติอาจทำให้ทารกมีพัฒนาการไม่สมบูรณ์ ร่างกายจึงเลือกที่จะไม่ดำเนินการตั้งครรภ์ต่อไปและหยุดการเจริญเติบโตของตัวอ่อนตั้งแต่ระยะแรก เพื่อป้องกันการคลอดทารกที่ผิดปกติออกมา สัญญาณ เตือน ท้องลม […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ใช่หรือไม่?

หยุดกังวลได้แล้ว มาเข้าชุมชนสนทนาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และว่าที่คุณแม่คนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม