ไตรมาสที่ 1

การตั้งครรภ์ช่วง ไตรมาสที่ 1 หรือ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ คือช่วงเวลาสำคัญที่ควรให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ เพราะนั่นอาจหมายถึงความปลอดภัยของทั้งคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์เลยทีเดียว เรียนรู้เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับ การตั้งครรภ์ช่วง ไตรมาสที่ 1 ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ไตรมาสที่ 1

ขนาดท้อง1เดือน ใหญ่แค่ไหน อาการคนท้องมีอะไรบ้าง

ในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ขนาดท้อง1เดือน จะยังไม่เป็นที่สังเกตได้เนื่องจากหน้าท้องของคุณแม่ยังไม่ขยายใหญ่แต่อาจสังเกตได้จากอาการอื่น ๆ เช่น ประจำเดือนไม่มา อารมณ์แปรปรวน หน้าอกขยายและคัดตึง ปัสสาวะบ่อย นอกจากนี้ ยังนับเป็นช่วงเวลาที่เปราะบางสำหรับคุณแม่และทารกในครรภ์อย่างมาก เนื่องจากอยู่ในระยะที่ทารกกำลังค่อย ๆ เติบโตและสร้างอวัยวะต่าง ๆ คุณแม่จึงต้องคอยดูแลตัวเองทั้งในเรื่องการรับประทานอาหาร การพักผ่อน การเคลื่อนไหวร่างกาย เพื่อให้ทารกเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์และมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามอายุครรภ์ [embed-health-tool-due-date] ขนาดท้อง1เดือน ใหญ่แค่ไหน คุณแม่ตั้งครรภ์ในเดือนแรกหรือ 4 สัปดาห์แรกขนาดท้องมักไม่ต่างจากก่อนตั้งครรภ์เลย เนื่องจากทารกยังตัวเล็กมากและยังไม่เจริญเติบโตมากพอที่จะทำให้หน้าท้องขยาย โดยทั่วไป ขนาดท้องของคุณแม่จะขยายใหญ่จนเห็นได้ชัดในช่วงเดือนที่ 4-5 หรือไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ และจะขยายใหญ่ตามอายุครรภ์มากขึ้นเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ อาการที่เป็นสัญญาณของการตั้งครรภ์ แม้ว่าอาการของคนท้องจะไม่สามารถเห็นได้จาก ขนาดหน้าท้อง1เดือน แต่ก็อาจสังเกตได้ด้วยตัวเองจากอาการร่วมอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ ประจำเดือนขาด ผู้ที่วางแผนตั้งครรภ์แล้วประจำเดือนมาช้ากว่าปกติประมาณ 1 สัปดาห์ อาจหมายถึงการตั้งครรภ์ระยะแรก ควรตรวจด้วยที่ตรวจครรภ์ด้วยตนเอง ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่มีประจำเดือนไม่ปกติ อาจรอประมาณ 1-2 เดือน หากประจำเดือนยังไม่มาควรตรวจการตั้งครรภ์ด้วยตนเองหรือไปพบคุณหมอเพื่อหาสาเหตุ หน้าอกขยายและคัดตึง เนื่องจากระดับฮอร์โมนแปรปรวนในช่วงตั้งครรภ์จึงอาจทำให้หน้าอกคัดตึง บวม หรือเจ็บ เส้นเลือดอาจมองเห็นได้ชัดเจนขึ้น และหัวนมอาจดำคล้ำ ทั้งนี้ อาการต่าง ๆ […]

สำรวจ ไตรมาสที่ 1

ไตรมาสที่ 1

เลือดออกตอนท้องอ่อนๆ เกิดจากอะไร อันตรายหรือไม่

เลือดออกตอนท้องอ่อนๆ ที่เกิดขึ้นในช่วง 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น เลือดล้างหน้าเด็ก การตั้งครรภ์นอกมดลูก การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน การมีเพศสัมพันธ์การแท้ง อาการเลือดออกในระยะแรกของการตั้งครรภ์สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไปและมักไม่กระทบต่อสุขภาพของคุณแม่และเด็กในท้อง ทั้งนี้ หากพบว่าตัวเองมีเลือดออกทางช่องคลอด ไม่ว่าจะตอนท้องอ่อนๆ หรือในช่วงอายุครรภ์อื่นๆ ควรไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริง และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ [embed-health-tool-due-date] เลือดออกตอนท้องอ่อนๆ อันตรายหรือไม่ อาการเลือดออกตอนท้องอ่อน ๆ อาจจะเกิดจากการฝังตัวของตัวอ่อนเข้าไปที่เยื่อบุโพรงมดลูกของมารดา มักเป็นในช่วงสัปดาห์ที่4-5ของการตั้งครรภ์ เลือดจะหยุดได้เองและไม่เป็นอันตราย แต่นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอีกหลายประการที่ทำให้มีเลือดออกในช่วงระยะแรกของการตั้งครรภ์ซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติ ที่ต้องได้รับการตรวจหาสาเหตุและให้การรักษาโดยแพทย์ ดังนั้นเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์แล้วมีเลือดออกทางช่องคลอด ควรพบคุณหมอทันที การวินิจฉัยอาการ เลือดออกตอนท้องอ่อนๆ การวินิจฉัยอาการเลือดออกตอนท้องอ่อนๆ อาจทำได้ดังนี้ คุณหมออาจวินิจฉัยอาการเลือดออกตอนท้องอ่อน ๆ ด้วยการซักประวัติ อาการร่วมอื่นๆเพื่อประเมินหาสาเหตุตามลักษณะเลือดที่ออก ตรวจภายในเพื่อประเมินหาจุดเลือดออก ตรวจดูปากช่องคลอด ช่องคลอด และปากมดลู และมีการตรวจเพิ่มเติม เช่น การอัลตราซาวด์ทางช่องคลอดหรือทางหน้าท้องเพื่อตรวจหาความผิดปกติของทารก (สามารถทำได้เมื่อมีอายุครรภ์ 6 สัปดาห์ขึ้นไป) เพื่อตรวจสอบการเต้นของหัวใจทารก ตรวจสอบตำแหน่งและสุขภาพของรก หรือตรวจหาภาวะผิดปกติ เช่น การแท้ง การตั้งครรภ์นอกมดลูก นอกจากนี้ ยังอาจมีการตรวจเลือดเพื่อวัดระดับฮอร์โมนการตั้งครรภ์หรือฮอร์โมนเอชซีจี (Human Chorionic Gonadotropin หรือ hCG) เพื่อใช้ประกอบการวินิจฉัยในการหาสาเหตุที่เลือดออก หากพบว่าระดับฮอร์โมนการตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่าที่ควร อาจหมายถึงเกิดภาวะแท้งหรือภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก หากอาการเลือดออกตอนท้องอ่อน […]


ไตรมาสที่ 1

ตั้งครรภ์1เดือน อาการเป็นอย่างไร และควรดูแลตัวเองอย่างไร

ในช่วง ตั้งครรภ์1เดือน คุณแม่ควรใส่ใจดูแลสุขภาพของตัวเองเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นช่วงที่ทารกในครรภ์กำลังสร้างอวัยวะสำคัญและเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งยังเป็นช่วงที่เสี่ยงสูญเสียทารกในครรภ์ได้ง่ายกว่าช่วงอายุครรภ์อื่น ๆ อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนยังอาจทำให้คุณแม่มีอาการของคนตั้งครรภ์ เช่น หน้าอกคัดตึง อารมณ์แปรปรวน คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก ปวดปัสสาวะบ่อยขึ้น คุณแม่จึงควรพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงไปฝากครรภ์ทันทีที่ทราบว่าตั้งครรภ์และไปพบคุณหมอตามนัดหมายตรวจครรภ์ทุกครั้ง [embed-health-tool-due-date] ตั้งครรภ์1เดือน อาการ เป็นอย่างไร อาการที่พบได้บ่อยในช่วง ตั้งครรภ์1เดือน อาจมีดังนี้ หน้าอกคัดตึง ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ที่เพิ่มขึ้นเมื่อตั้งครรภ์ อาจทำให้หน้าอกไวต่อความรู้สึกมากขึ้น ต่อมน้ำนมขยายใหญ่ขึ้น หน้าอกจึงขยายตัว เจ็บคัด หรือปวดเต้า แต่โดยทั่วไปแล้วอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นเมื่อร่างกายปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนได้แล้ว อาการแพ้ท้อง ในช่วงตั้งครรภ์ระยะแรก หรือตั้งแต่สัปดาห์ที่ 4-5 ของการตั้งครรภ์ คุณแม่บางรายอาจเริ่มมีอาการแพ้ท้อง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน มักจะเป็นมากในช่วงเช้า ส่วนใหญ่มักจะมีอาการมากในช่วงตั้งแต่สัปดาห์ที่ 9 เป็นต้นไป อาการแพ้ท้องอาจทุเลาลงหลังผ่านไตรมาสที่ 1 หรือช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ไปแล้ว ปวดปัสสาวะบ่อยขึ้น […]


ไตรมาสที่ 1

อาการคนท้องระยะแรก 1-2 สัปดาห์ เป็นอย่างไร

การคำนวณอายุครรภ์จะเริ่มนับตั้งแต่วันแรกของการมีประจำเดือนครั้งล่าสุดก่อนท้อง ช่วงสัปดาห์ต้น ๆ ของการตั้งครรภ์จึงเป็นช่วงที่รังไข่ปล่อยไข่ใบที่สุกที่สุดไปที่ท่อนำไข่เพื่อรอการปฏิสนธิ หรือที่เรียกว่าช่วงไข่ตก จึงสามารถพูดได้ว่าอาการของคนท้อง 1-2 สัปดาห์นั้นยังไม่ได้มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นจริง แต่เป็นอาการที่เกิดขึ้นในช่วงไข่ตก เช่น มีมูกใสไหลออกจากช่องคลอด อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นเล็กน้อย ปวดหรือเป็นตะคริวบริเวณกระดูกอุ้งเชิงกรานข้างใดข้างหนึ่ง เต้านมคัดตึง มีความต้องการทางเพศเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นอาการที่เกิดจากระดับฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลงเพื่อเตรียมตัวเข้าสู่การตั้งครรภ์ [embed-health-tool-due-date] การนับอายุครรภ์ ทำได้อย่างไร โดยทั่วไปแล้ว การนับอายุครรภ์จะเริ่มนับตั้งแต่วันแรกของการมีประจำเดือนครั้งล่าสุดก่อนท้อง เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถคาดการณ์วันคลอดได้แม่นยำมากที่สุด ทำให้ในช่วงที่คนท้องมีอายุครรภ์ประมาณ 1-2 สัปดาห์ จะยังไม่ถือว่าเป็นการตั้งครรภ์จริง ๆ โดยสัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์จะเป็นช่วงมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย ส่วนสัปดาห์ที่ 2 จะเป็นช่วงที่รังไข่ปล่อยไข่ใบที่สุกที่สุดไปสู่ส่วนปลายของท่อนำไข่ หากมีเพศสัมพันธ์ในช่วงตกไข่และไข่ได้ผสมกับอสุจิ หรือที่เรียกว่าการปฏิสนธิ ไข่ก็จะไม่เสื่อมสลายไปเป็นประจำเดือน ช่วงที่เกิดการปฏิสนธิจนไข่กลายเป็นตัวอ่อนจะนับเป็นสัปดาห์ที่ 3 ของการตั้งครรภ์ และในช่วงท้ายของสัปดาห์ที่ 4 ไข่จะฝังตัวกับมดลูกอย่างสมบูรณ์ หลังเกิดการปฏิสนธิ ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนขณะตั้งครรภ์ออกมา เช่น ฮอร์โมนการตั้งครรภ์ที่สร้างจากเซลล์ของรก หรือที่เรียกว่าฮอร์โมนเอชซีจี (hCG) ซึ่งเป็นฮอร์โมนชนิดเดียวกับที่ตรวจพบในปัสสาวะได้จากการใช้ที่ตรวจครรภ์ ฮอร์โมนเอชซีจีจะกระตุ้นให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนอื่น ๆ เช่น ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ช่วยให้ร่างกายปรับตัวเข้าสู่ภาวะตั้งครรภ์ได้อย่างเหมาะสม ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่ทำให้เยื่อยุโพรงมดลูกไม่ลอกหลุดเป็นประจำเดือน เพื่อรับการฝังตัวของตัวอ่อน ฮอร์โมนเหล่านี้จะทำให้คนท้องมีอาการของคนท้องระยะแรก เช่น อาการแพ้ท้อง อ่อนเพลียง่าย ไวต่อกลิ่นและรสชาติ ไม่อยากอาหาร โดยทั่วไป […]


ไตรมาสที่ 1

ท้อง 2 เดือน อัลตราซาวด์ ได้หรือไม่ อัลตราซาวด์บอกอะไรบ้าง

คนท้องอาจมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการอัลตราซาวด์เพื่อตรวจสอบภาวะสุขภาพและพัฒนาการของเด็กในท้อง ว่าสามารถทำได้เร็วที่สุดตอนอายุครรภ์เท่าไหร่ ท้อง 2 เดือน อัลตราซาวด์ ได้หรือไม่ โดยทั่วไปแล้วคนท้องสามารถเข้ารับการอัลตราซาวด์ได้ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 6 ของการตั้งครรภ์หรือตอนท้องได้ 1 เดือนครึ่ง การอัลตราซาวด์ตอนท้อง 2 เดือนจึงเป็นเรื่องที่ทำได้ปกติ แในปัจจุบันคุณหมอแนะนำให้คนท้องรับการตรวจอัลตราซาวด์ตามข้อบ่งชี้ในคนท้องแต่ละคนเพื่อตรวจสอบพัฒนาการของเด็กและตรวจวินิจฉัยความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ [embed-health-tool-due-date] การอัลตราซาวด์ คืออะไร การอัลตราซาวด์ (Ultrasound) เป็นวิธีตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์โดยการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อตรวจสอบโครงสร้างภายในร่างกาย คลื่นเสียงจะกระทบกับเนื้อเยื่อต่าง ๆ แล้วสะท้อนและดูดกลับ เพื่อแปลงผลเป็นภาพ 2 มิติหรือ 3 มิติบนจอมอนิเตอร์ การอัลตราซาวด์มักนำมาใช้ตรวจสุขภาพทั้งของคนท้องและคนทั่วไป ขณะอัลตราซาวด์อาจรู้สึกอึดอัดหรือไม่สบายตัวบ้างเล็กน้อย แต่จะไม่เป็นอันตรายต่อคุณแม่และเด็กในท้อง โดยทั่วไปการอัลตราซาวด์ในคนท้องจะมี 2 แบบ ได้แก่ การอัลตราซาวด์ทางช่องคลอด ใช้ในการตรวจครรภ์ ในคนท้องในช่วงไตรมาสแรก เนื่องจากเป็นช่วงที่ตัวอ่อนยังมีขนาดเล็ก รวมทั้งขนาดมดลูกของคนท้องในช่วงไตรมาสแรกยังอยู่ในอุ้งเชิงกรานจึงอาจยังไม่สามารถมองเห็นผ่านการอัลตราซาวด์ทางหน้าท้องได้อย่างชัดเจน หรือในกรณีการตั้งครรภ์ในระยะแรกของคนท้องที่มีน้ำหนักตัวเยอะหรือมีหน้าท้องที่หนากว่าปกติ การอัลตราซาวด์ทางหน้าท้อง ใช้ในการตรวจครรภ์ในช่วงไตรมาสที่ 2 ขึ้นไป  เนื่องจากขนาดมดลูกมีการขยายขึ้นมาเหนือบริเวณอุ้งเชิงกรานแล้ว ทำให้เห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้น คนท้องควรเข้ารับการฝากครรภ์และไปพบคุณหมอตามนัดหมายเพื่ออัลตราซาวด์และตรวจสุขภาพเป็นระยะ ซึ่งจะช่วยให้สามารถประเมินภาวะสุขภาพโดยรวม วัดความยาวของปากมดลูกในรายที่มีความเสี่ยง ตรวจสอบการเจริญเติบโต ขนาดตัว การเต้นของหัวใจ และพัฒนาการของเด็กในท้องในแต่ละไตรมาส และช่วยคัดกรองความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ เช่น โรคดาวน์ซินโดรม ภาวะท้องลม […]


ไตรมาสที่ 1

เมนูอาหารคนท้อง 1-3 เดือน ควรเป็นอย่างไร และการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม

คนท้องในช่วงไตรมาสแรก ควรเลือกรับประทาน เมนูอาหารคนท้อง 1-3 เดือน ที่อุดมไปด้วยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามินและแร่ธาตุ จากอาหารที่หลากหลาย เช่น ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ เครื่องใน ไข่ นม ข้าวกล้อง ธัญพืช เมล็ดพืช เพื่อช่วยส่งเสริมสุขภาพของคุณแม่ การเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในท้องได้อย่างเหมาะสม [embed-health-tool-due-date] เมนูอาหารคนท้อง 1-3 เดือน ควรเป็นอย่างไร เมนูอาหารคนท้อง 1-3 เดือน ควรเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่ครบถ้วนทั้งคาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามินและแร่ธาตุจากอาหารที่หลากหลาย เพื่อช่วยบำรุงร่างกายของคุณแม่และช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของทารกในท้อง ซึ่งโดยปกติผู้หญิงควรได้รับพลังงานประมาณ 1,700-2,000 แคลอรี่/วัน แต่สำหรับคนท้องควรได้รับพลังงานเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 300 กิโลแคลอรี่ หรือประมาณ 2,000-2,300 กิโลแคลอรี่/วัน เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายคุณแม่และทารกในท้อง ดังนี้ โปรตีน ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตทางร่างกายของทารกในท้องและช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของคุณแม่ เช่น ชีส สัตว์ปีก เนื้อหมู เนื้อวัว ปลาทะเล ถั่ว นม ไข่ เนยถั่ว โยเกิร์ต คาร์โบไฮเดรต เพื่อใช้เป็นพลังงานให้กับร่างกาย เช่น ขนมปัง มันฝรั่ง […]


ไตรมาสที่ 1

อาการแพ้ท้องเริ่มเมื่อไหร่ และสามารถรับมือได้อย่างไรบ้าง

อาการแพ้ท้องเป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้บ่อยในช่วงตั้งครรภ์ระยะแรก สันนิษฐานว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนการตั้งครรภ์ มักส่งผลให้คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ไม่สบายตัว การรับกลิ่นและรสเปลี่ยนไป จนบางครั้งอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ว่า อาการแพ้ท้องเริ่มเมื่อไหร่ จึงอาจช่วยให้คนท้องระยะแรก โดยเฉพาะท้องแรก เตรียมพร้อมรับมือกับอาการแพ้ท้องได้ดีขึ้น โดยทั่วไป คนท้องสามารถบรรเทาอาการแพ้ท้องเองได้ด้วยการกินอาหารที่ย่อยง่าย พักผ่อนให้เพียงพอ และหลีกเลี่ยงอาหารหรือกลิ่นที่ทำให้มีอาการแพ้ท้อง อย่างไรก็ตาม คนท้องบางรายก็อาจไม่มีอาการแพ้ท้องเลย ก็ไม่ถือว่าเป็นอาการผิดปกติแต่อย่างใด [embed-health-tool-due-date] อาการแพ้ท้องเริ่มเมื่อไหร่ อาการแพ้ท้องเป็นภาวะที่พบได้บ่อย มักเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 1 หรือในช่วง 12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ โดยอาจเริ่มต้นประมาณสัปดาห์ที่ 6 ของการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะผู้ที่เพิ่งตั้งครรภ์ครั้งแรก อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย ทำให้มีอาการคลื่นไส้ ผะอืดผะอม อ่อนเพลีย อึดอัดภายในท้อง ไม่สบายตัว ไวต่อกลิ่นหรือรสชาติมากขึ้น เป็นต้น โดยทั่วไป สามารถเกิดได้ตลอดวัน ส่วนใหญ่อาการจะทุเลาเมื่อร่างกายปรับตัวได้แล้ว ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดอาการแพ้ท้อง เช่น การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน เช่น ฮอร์โมนเอชซีจี (hCG หรือ Human Chorionic Gonadotropin) ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) อาจกระตุ้นให้การทำงานของร่างกายเปลี่ยนแปลง […]


ไตรมาสที่ 1

อายุ ครรภ์ 8 สัปดาห์ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง

อายุ ครรภ์ 8 สัปดาห์ หรือตั้งครรภ์ประมาณ 2 เดือน เป็นช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ คุณแม่อาจมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและมีอาการแพ้ท้องเกิดขึ้น รวมถึงทารกในครรภ์อาจเริ่มมีพัฒนาการทางระบบประสาท สมอง และอาจมีพัฒนาการของอวัยวะร่างกายในส่วนต่าง ๆ เช่น ดวงตา จมูก หูชั้นใน ลิ้น เพดานปาก ดังนั้น คุณแม่จึงควรดูแลตัวเองอย่างสม่ำสมอเพื่อสุขภาพที่ดีของตัวเองและทารกในครรภ์ [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่เมื่อ อายุ ครรภ์ 8 สัปดาห์ เมื่ออายุ ครรภ์ 8 สัปดาห์ ร่างกายและสภาวะทางอารมณ์ของคุณแม่อาจมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ เต้านมอาจมีลักษณะบวม นุ่ม คัดตึง และอาจมีขนาดใหญ่ขึ้น อาการแพ้ท้อง เช่น เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน อารมณ์แปรปรวน เกิดความวิตกกังวล ตกขาวเป็นสีครีม สีขาวและมีปริมาณมากขึ้น เนื่องจากระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่สูงขึ้น ปวดหัว ซึ่งอาจมีปัจจัยมาจากการไหลเวียนของเลือดที่เพิ่มขึ้นและความเหนื่อยล้าในระหว่างตั้งครรภ์ อาจมีเลือดออกจากช่องคลอดเล็กน้อยในระหว่างตั้งครรภ์ อาจมีปัญหาเกี่ยวกับช่องปากและฟัน เนื่องจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงมาก อาจทำให้บางคนมีอาการเลือดออกตามไรฟัน อายุครรภ์ 8 สัปดาห์ ทารกในครรภ์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง ในช่วงอายุ ครรภ์ […]


ไตรมาสที่ 1

ปวดท้องหน่วงๆ ตั้งครรภ์อ่อนๆ เกิดจากอะไร

อาการ ปวดท้องหน่วงๆ ตั้งครรภ์อ่อนๆ ที่สามารถพบได้ทั่วไปในช่วงการตั้งครรภ์ระยะแรก หรือในช่วง 12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ อาจเกิดจากมดลูกขยายตัว เอ็นและกล้ามเนื้อยืดออกเมื่อท้องโตขึ้น ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงจนทำให้ท้องผูกหรือท้องอืด มีแก๊สในทางเดินอาหาร โดยทั่วไปอาการปวดท้องหน่วงอาจหายไปเองเมื่อขยับเปลี่ยนท่าทาง พักผ่อนให้เพียงพอ เข้าห้องน้ำ หรือแก๊สในทางเดินอาหารลดลง แต่หากอาการไม่หายไป รุนแรงขึ้น หรือมีความผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสม [embed-health-tool-due-date] ปวดท้องหน่วงๆ ตั้งครรภ์อ่อนๆ เกิดจากอะไร อาการปวดท้องหน่วงขณะตั้งครรภ์ระยะแรก อาจเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้ มดลูกขยายตัว จนอาจทำให้เอ็นและกล้ามเนื้อโดยรอบมดลูกยืดตัวออก ส่งผลให้ปวดท้องข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างแบบปวดหน่วงคล้ายเป็นตะคริวหรือคล้ายปวดประจำเดือน อาจมีอาการเมื่อไอ จาม หรือเปลี่ยนท่าทาง คุณแม่บางรายอาจมีอาการปวดท้องหน่วงและปวดหลังในช่วงแรกของการตั้งครรภ์เนื่องจากตัวอ่อนฝังตัวที่เยื่อบุโพรงมดลูก อาหารไม่ย่อย อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในร่างกาย ทำให้กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารคลายตัวและทำให้การบีบตัวของกระเพาะและลำไส้ลดลง อาหารจะตกค้างในทางเดินอาหารนานขึ้น เกิดเป็นอาการเสียดท้อง กรดไหลย้อน ร่วมกับอาหารไม่ย่อย เมื่ออายุครรภ์มากขึ้น ทารกจะเจริญเติบโตมากขึ้นและอาจกดเบียดทางเดินอาหารมากขึ้น ทำให้ย่อยอาหารได้ยากขึ้น ท้องผูก อาการท้องผูกหรือขับถ่ายไม่สะดวก เป็นอาการที่พบได้ทั่วไปในหญิงตั้งครรภ์ เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน การได้รับของเหลวน้อยเกินไป การรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์หรือใยอาหารที่ช่วยในการย่อยไม่มากพอ การขาดการออกกำลังกายและการทำกิจกรรมทางกาย การรับยาเสริมธาตุเหล็ก อาการวิตกกังวล ปัจจัยเหล่านี้อาจนำไปสู่อาการท้องผูกที่ทำให้ปวดท้องหน่วงๆ ในช่วงตั้งครรภ์อ่อนๆ ได้ […]


ไตรมาสที่ 1

พัฒนาการทารกในครรภ์ 3 เดือน และความเปลี่ยนแปลงในช่วงตั้งครรภ์ระยะแรก

ช่วงท้ายของไตรมาสที่ 1 หรือเดือนที่ 3 ของการตั้งครรภ์ เป็นช่วงที่ตัวอ่อนจะเปลี่ยนเป็นทารกอย่างสมบูรณ์ พัฒนาการทารกในครรภ์ 3 เดือน จะชัดเจนมากขึ้น อวัยวะสำคัญทั้งภายในและภายนอกพัฒนาอย่างครบถ้วน อีกทั้งความเสี่ยงในการเกิดภาวะแท้งบุตรยังลดลง จึงทำให้คุณแม่หลายคนรู้สึกสบายใจได้มากขึ้น ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับสุขภาพของทารกในครรภ์เหมือนช่วงก่อนหน้านี้ ขนาดหน้าท้องของคุณแม่ตั้งครรภ์ 3 เดือนจะยังเล็กมากจึงยังไม่เป็นที่สังเกตมากนัก และคุณแม่ยังอาจมีอาการแพ้ท้องที่อาจเกิดขึ้นตั้งแต่ตั้งครรภ์ช่วงแรก แต่อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นตามลำดับเมื่อร่างกายสามารถปรับตัวเข้ากับการตั้งครรภ์ได้มากขึ้น [embed-health-tool-due-date] พัฒนาการทารกในครรภ์ 3 เดือน การนับอายุครรภ์ทางการแพทย์จะเริ่มนับตั้งแต่วันแรกของการมีประจำเดือนครั้งล่าสุด ช่วงเดือนที่ 3 ของการตั้งครรภ์จึงเท่ากับสัปดาห์ที่ 9-13 ซึ่งเป็นระยะที่ตัวอ่อนกลายเป็นทารกในครรภ์อย่างสมบูรณ์ ทารกจะมีสายสะดือที่เชื่อมตัวทารกและรกเข้ากับผนังมดลูกของคุณแม่ สายสะดือจะทำหน้าที่ลำเลียงสารอาหารและออกซิเจนจากเลือดของคุณแม่ไปหล่อเลี้ยงทารก และช่วยถ่ายของเสียออกจากตัวทารกด้วย ในช่วงสัปดาห์ที่ 10 ของการตั้งครรภ์ทารกจะมีขนาดตัวประมาณ 2.1-4 เซนติเมตร หางที่พัฒนาขึ้นในสัปดาห์แรก ๆ ของการตั้งครรภ์หรือช่วงที่ยังเป็นตัวอ่อนจะหลุดออกไป ในช่วงสัปดาห์ที่ 11-12 ทารกในครรภ์จะมีความยาวตั้งแต่ส่วนหัวจรดก้น ประมาณ 6-7.5 เซนติเมตร นิ้วมือและนิ้วเท้าแต่ละนิ้วเริ่มแยกออกจากกัน ไม่เป็นพังผืดติดกันอีกต่อไป รูปทรงศีรษะและใบหน้าชัดเจนขึ้น กระดูกลำตัวเริ่มแข็งตัวเห็นเป็นรูปร่างของมนุษย์ ผิวหนังและเล็บและเริ่มเจริญเติบโตขึ้น เปลือกตาหลอมเข้าด้วยกัน ระบบไหลเวียนโลหิตและระบบทางเดินปัสสาวะเริ่มทำงาน ทารกจะเริ่มเคลื่อนไหวไปมาในครรภ์ตามธรรมชาติ ทั้งยังสามารถกำมือ อ้าปาก และหุบปากได้แล้ว เมื่อถึงช่วงปลายเดือนที่ 3 […]


ไตรมาสที่ 1

อาการเตือน คน เริ่ม ท้อง เป็นอย่างไร และวิธีดูแลตัวเองของคนท้อง

ในระยะแรกของการตั้งครรภ์ ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เช่น ประจำเดือนขาด อารมณ์แปรปรวน มีอาการแพ้ท้อง คลื่นไส้ อาเจียน มีเลือดล้างหน้าเด็ก ถ่ายปัสสาวะบ่อย หากมีอาการเหล่านี้หลังมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน เช่น ไม่ได้สวมถุงยางอนามัย ไม่ได้กินยาคุมตามปกติ อาจเป็น อาการเตือน คน เริ่ม ท้อง ซึ่งควรตรวจครรภ์เพื่อยันยืนผลการตั้งครรภ์ หากพบว่าตั้งครรภ์ควรไปฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลเพื่อตรวจสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ และรับคำแนะนำในการดูแลตัวเองอย่างเหมาะสมจากคุณหมอผู้เชี่ยวชาญ [embed-health-tool-due-date] อาการเตือน คน เริ่ม ท้อง อาการที่เป็นสัญญาณของการตั้งครรภ์ระยะแรก อาจมีดังนี้ ประจำเดือนขาด ประจำเดือนขาดเป็นสัญญาณแรกของการตั้งครรภ์ เนื่องจากเมื่อไข่ผสมกับอสุจิและเกิดการปฏิสนธิ ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนที่หยุดการทำงานของรังไข่ อีกทั้งเยื่อบุโพรงมดลูกที่ตามปกติแล้วจะหนาตัวขึ้นและไหลออกมาจากช่องคลอดเป็นประจำเดือนในทุก ๆ เดือนก็จะยังอยู่ในมดลูกเพื่อรองรับการฝังตัวของตัวอ่อนในครรภ์ จึงส่งผลให้ประจำเดือนไม่มา อาการแพ้ท้อง (Morning sickness) ในช่วงตั้งครรภ์ระยะแรก คุณแม่อาจมีอาการคลื่นไส้และอาเจียน ซึ่งมักเกิดจากมีปัจจัยกระตุ้นบางประการ เช่น กลิ่น การรับประทานอาหารรสเผ็ด ความร้อน อันเป็นผลมาจากร่างกายหลั่งฮอร์โมนที่ทำให้ประสาทรับกลิ่นอ่อนไหวกว่าปกติ โดยส่วนใหญ่ อาการแพ้ท้องจะค่อย ๆ หายไปในช่วงไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ แต่คนท้องบางคนก็อาจมีอาการนี้ไปตลอดการตั้งครรภ์ อารมณ์แปรปรวน การตั้งครรภ์ในระยะแรกจะส่งผลให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากเพื่อช่วยในการเจริญเติบโตของทารก จึงอาจส่งผลให้สภาวะทางอารมณ์ของคุณแม่เปลี่ยนไปหรือแปรปรวน อาจอ่อนไหวกว่าปกติ หงุดหงิดได้ง่าย หรืออาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ หน้าอกคัดตึง การตั้งครรภ์อาจทำให้เกิดอาการหน้าอกคัดตึง บวม ขยายใหญ่ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ใช่หรือไม่?

หยุดกังวลได้แล้ว มาเข้าชุมชนสนทนาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และว่าที่คุณแม่คนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม