backup og meta

รักษาภาวะมีบุตรยาก ทำได้อย่างไรบ้าง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 04/04/2023

    รักษาภาวะมีบุตรยาก ทำได้อย่างไรบ้าง

    ภาวะมีบุตรยาก เกิดขึ้นได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย ซึ่งอาจเกิดจากปัญหาทางสุขภาพ ภาวะทางการแพทย์ รวมถึงการใช้ยาบางชนิดที่อาจส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ ดังนั้น การ รักษาภาวะมีบุตรยาก อาจทำให้สามารถตั้งครรภ์และมีลูกได้ แต่ส่วนใหญ่มักเกิดในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปี โและพยายามมีบุตรมาเป็นระยะเวลานานกว่า 6 เดือน อย่างไรก็ตาม วิธีการรักษาภาวะมีบุตรยากนั้นอาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน

    ภาวะมีบุตรยาก คืออะไร

    ภาวะมีบุตรยาก คือ ภาวะที่ผู้หญิงไม่สามารถตั้งครรภ์ได้แม้จะมีเพศสัมพันธ์บ่อยและไม่มีการคุมกำเนิด ซึ่งภาวะนี้มักเกิดในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปี ซึ่งหลังจากพยายามมา 6 เดือนแต่ยังไม่ตั้งครรภ์ โดยปกติแล้ว ภาวะมีบุตรยากอาจเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย ซึ่งอาจเกิดจากปัญหาทางสุขภาพ ภาวะทางการแพทย์ รวมถึงการใช้ยาบางชนิดที่อาจส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์

    สาเหตุของภาวะมีบุตรยาก

    ภาวะมีบุตรยากนั้นอาจเกิดขึ้นจากหลาย ๆ สาเหตุดังต่อไปนี้

    สาเหตุของภาวะมีบุตรยากในผู้หญิง

    สาเหตุของภาวะมีบุตรยากในผู้หญิงนั้นอาจมีดังนี้

    • อายุที่มากขึ้น ภาวะมีบุตรยากอาจพบได้มากในผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป 
    • มีประวัติการผ่าตัดกระดูกเชิงกราน อาจเสี่ยงทำให้ท่อนำไข่เสียหาย
    • เมือกปากมดลูกหนา อาจทำให้อสุจิไหลผ่านเข้าสู่มดลูกได้ยาก
    • เนื้องอกมดลูก อาจเสี่ยงต่อการอุดตันท่อนำไข่
    • เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) อาจส่งผลทำให้รังไข่ ท่อนำไข่ ไม่พร้อมต่อการปฏิสนธิและการตั้งครรภ์
    • ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ (Pelvic Inflammatory Disease หรือ PID) อาจส่งผลให้ท่อนำไข่เสียหาย ทำให้ไข่ไม่สามารถผสมกับอสุจิได้
    • การผ่าตัดแก้หมัน ผู้ที่ผ่านการผ่าตัดแก้หมันอาจไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีก
    • ผลข้างเคียงจากยา การใช้ยารักษาโรคหรือยาเสพติดบางชนิด อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงในระยะยาว คือ ภาวะมีบุตรยาก

    สาเหตุของภาวะมีบุตรยากในผู้ชาย

    สำหรับสาเหตุของภาวะมีบุตรยากในผู้ชายอาจมีดังนี้

    • ปัญหาอสุจิ น้ำอสุจิน้อย ตัวอสุจิน้อย หรืออสุจิมีคุณภาพต่ำ ปัญหาเกี่ยวกับอสุจิเหล่านี้อาจทำให้เกิด ภาวะมีบุตรยาก
    • ปัญหาที่อัณฑะ อัณฑะเป็นแหล่งผลิตและเก็บอสุจิ หากได้รับการติดเชื้อหรือบาดเจ็บที่อัณฑะอาจมีผลต่อคุณภาพของอสุจิ ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดภาวะมีบุตรยาก
    • การทำหมัน ผู้ชายที่ผ่านการทำหมันแล้ว มักไม่สามารถมีลูกได้
    • ปัญหาเรื่องการหลั่ง ผู้ชายที่มีปัญหาเกี่ยวกับการหลั่ง เช่น หลั่งช้า ไม่เกิดการหลั่ง อาจเสี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก
    • ฮอร์โมนเพศชายต่ำกว่าปกติ อาจมีผลทำให้มีการผลิตอสุจิน้อยเกินกว่าจะทำให้เกิดการปฏิสนธิได้
    • ผลข้างเคียงจากยา การใช้ยารักษาโรค หรือยาเสพติดบางชนิด อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงในระยะยาว คือ ภาวะมีบุตรยาก

    วิธีรักษาภาวะมีบุตรยาก

    การรักษาภาวะมีบุตรยากอาจทำได้หลายวิธี โดยวิธีการรักษาในผู้ชายและผู้หญิงอาจจะแตกต่างกันไป ดังนี้

    วิธีรักษาภาวะมีบุตรยากในผู้หญิง

    • รักษาโดยการให้ยา คุณหมออาจสั่งจ่ายยากลุ่มที่กระตุ้นให้เกิดการตกไข่ และปรับสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย เช่น โคลมีฟีน (Clomiphene) ทาม๊อกซิเฟน (Tamoxifen) เมทฟอร์มิน (Metformin) โกนาโดโทรปิน (Gonadotrophins) 
    • รักษาโดยการผ่าตัด ผู้หญิงหลายคนที่มีภาวะมีบุตรยากอาจมีความผิดปกติภายในที่ส่งผลให้เกิดการอุดตันบริเวณท่อนำไข่ ท่อนำไข่เสียหาย หรือมดลูกเสียหาย การผ่าตัดอาจช่วยให้ท่อนำไข่พร้อมต่อการลำเลียงอสุจิและไข่มากขึ้น
    • การคัดแยกเชื้ออสุจิฉีดเข้าโพรงมดลูก (Intra Uterine Insemination หรือ IUI) วิธีนี้คุณหมอจะทำการฉีดน้ำอสุจิเข้าสู่โพรงมดลูกโดยตรง ซึ่งน้ำอสุจิที่ฉีดเข้าไปจะเป็นน้ำอสุจิที่คัดเลือกเอาเฉพาะตัวอสุจิที่แข็งแรง ซึ่งอาจเพิ่มโอกาสในการปฏิสนธิให้มากขึ้น

    วิธีรักษาภาวะมีบุตรยากในผู้ชาย

    • รักษาโดยการให้ยา เนื่องจากผู้ชายบางคนอาจมีปัญหาเกี่ยวกับการติดเชื้อที่บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ คุณหมออาจสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะ เช่น ยาต้านการอักเสบ ยาต้านเชื้อ เพื่อช่วยรักษาการติดเชื้อ ทำให้อวัยวะสืบพันธุ์อยู่ในสภาวะที่พร้อมสำหรับการมีลูก แต่ผู้ชายที่มีภาวะมีบุตรยากบางคนอาจจำเป็นต้องรับประทานยาปรับฮอร์โมน เพื่อให้ระดับฮอร์โมนเพศชายสมดุลขึ้น
    • รักษาโดยการผ่าตัด การผ่าตัดอาจช่วยแก้ไขปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับอัณฑะ เช่น การผ่าตัดหลอดเลือดดำที่อัณฑะ การผ่าตัดท่ออสุจิ ซึ่งอาจมีส่วนช่วยให้กระบวนการผลิตอสุจิกลับมาเป็นปกติได้ หรือหากมีปัญหาอวัยวะเพศไม่แข็งตัว ก็อาจต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะนี้ด้วย

    หากการรักษาโดยการใช้ยา การปรับฮอร์โมน การผ่าตัด ตลอดจนการปรับพฤติกรรมประจำวันต่าง ๆ แล้วแต่ยังไม่ได้ผล คุณหมออาจแนะนำกระบวนการอื่น ๆ สำหรับการมีลูก เช่น การทำเด็กหลอดแก้ว การอุ้มบุญ การอุปการะลูกบุญธรรม

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    Duangkamon Junnet


    เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 04/04/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา