backup og meta

ยาช่วยเลิกบุหรี่ บูโพรพิออน ใช้ดีจริงกับทุกคนหรือเปล่า

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย อนันตา นานา · แก้ไขล่าสุด 08/02/2021

    ยาช่วยเลิกบุหรี่ บูโพรพิออน ใช้ดีจริงกับทุกคนหรือเปล่า

    บูโพรพิออน (Bupropion) เป็นยาที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้าแบบเมเจอร์ดีเพรสชั่น (Major Depression) และภาวะซึมเศร้าตามฤดูกาล และยังถือว่าเป็นหนึ่งใน ยาช่วยเลิกบุหรี่ ที่นำมาใช้กับกลุ่มผู้ที่ต้องการเลิกสูบบุหรี่ได้ด้วย แต่การใช้ยาชนิดนี้ก็มีข้อควรระวังและควรขอคำปรึกษาจากแพทย์ก่อนตัดสินใจใช้

    ยาช่วยเลิกบุหรี่ บูโพรพิออน เหมาะกับทุกคนหรือไม่

    ยาบูโพรพิออน (Bupropion) ไม่ได้เหมาะสำหรับทุกคน ยานี้ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่มีแนวโน้มเกิดอาการชักได้ง่าย ตัวอย่างเช่น ผู้ที่มีประวัติเป็นโรคเกี่ยวกับอาการชัก อย่างโรคลมชัก (epilepsy) ผู้ที่มีประวัติของโรคพฤติกรรมการกินผิดปกติ (eating disorders) อย่างโรคอะนอเร็กเซีย เนอร์โวซ่า (Anorexia Nervosa) หรือโรคคลั่งผอม หรือโรคบูลิเมีย (Bulimia) หรือผู้ได้รับยาบางชนิดอยู่

    ยาชนิดนี้ยังไม่เหมาะกับหญิงตั้งครรภ์ เด็ก หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวอื่นๆ แพทย์จะไม่สั่งยานบูโพพิออนนี้ หากคุณมีเจ็บป่วยด้านจิตเวช หรือมีอาการติดสุราอย่างหนัก โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำและรายละเอียดเพิ่มเติม

    ยาบูโพรพิออนนั้น อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงนานัปการ ผลข้างเคียงที่พบบ่อย (แต่ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่นี้) ได้แก่ นอนไม่หลับและปากแห้ง ส่วนผลข้างเคียงที่รุนแรงแต่เกิดขึ้นได้ไม่บ่อยนัก ได้แก่ ลมชัก นอกจากนี้ มีรายงานถึงการเกิดปัญหาด้านจิตเวชระบบประสาท ในบางคนที่รับประทานยาชนิดนี้ ได้แก่ อาการซึมเศร้า คิดฆ่าตัวตาย และพยายามฆ่าตัวตาย อย่างไรก็ดี นี่ยังไม่ใช่ข้อสรุปว่า ยาบูโพรพิออนเป็นสาเหตุของอาการเหล่านี้

    ข้อควรรู้ก่อนรับประทานยาบูโพรพิออน

    ห้ามใช้ยาบูโพรพิออน หากคุณรับประทานยาต้านเศร้าในกลุ่ม MAOI ในช่วงระยะเวลาสิบสี่วัน ทั้งนี้เพราะตัวยาทั้งสองชนิด อาจเกิดปฏิกิริยาที่รุนแรงและเป็นอันตราย ยาในกลุ่ม MAOI นั้น ได้แก่ ไอโซคาร์บอกซาซิด (isocarboxazid) ไลน์โซลิด (linezolid) เมธไทลีน บลู อินเจคชั่น (Methylene Blue Injection) ฟีเนลซีน (phenelzine) ราซากิลีน (rasagiline) เซเลกิลีน (selegiline) ทรานิลไซโปรไมด์ (tranylcypromine) และอื่นๆ

    ไม่ควรรับประทานยาบูโพรพิออน หากคุณมีอาการแพ้ยาชนิดนี้ หรือมีอาการดังต่อไปนี้

    • มีประวัติโรคลมชัก
    • มีโรคพฤติกรรมการกินที่ผิดปกติ เช่น อะนอเร็กเซีย หรือบูลิเมีย
    • เมื่อคุณหยุดดื่มแอลกอฮอล์กะทันหัน
    • ใช้ยากันชัก หรือใช้ยากล่อมประสาท เช่น แวเลียม (Valium) เนมบูทัล (Nembutal) เซโคนัล (Seconal) ซอลโฟตอน (Solfoton) และอื่นๆ

    ยาบูโพรพิออนอาจทำให้เกิดอาการชัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบถึงโรคประจำตัวของคุณด้วย

    ห้ามรับประทานยาบูโพรพิออน เพื่อรักษาอาการมากกว่าหนึ่งอาการในแต่ละครั้ง หากคุณรับประทานยาเวลล์บูทริน (Wellbutrin) เพื่อรักษาอาการซึมเศร้า ห้ามรับประทานยาไซแบน (Zyban) เพื่อบำบัดอาการติดบุหรี่

    เพื่อให้มั่นใจว่ายาบูโพรพิออนนั้นปลอดภัยสำหรับคุณ โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบว่าคุณมีอาการดังต่อไปนี้

    • มีประวัติการบาดเจ็บที่ศีรษะ โรคลมชัก เนื้องอกในสมองและไขสันหลัง
    • โรคต้อหินชนิดมุมปิด (narrow-angle glaucoma)
    • โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง มีประวัติเจ็บป่วยด้วยอาการหัวใจวาย
    • เบาหวาน
    • โรคตับหรือโรคไต โดยเฉพาะอย่างยิ่งตับแข็ง
    • โรคไบโพล่าร์ หรือโรคอารมณ์สองขั้ว 

    ในกลุ่มวัยรุ่นอาจมีความคิดฆ่าตัวตาย เมื่อเริ่มใช้ยารักษาโรคซึมเศร้าเป็นครั้งแรก แพทย์จำเป็นจะต้องตรวจประเมินอาการเป็นประจำ เมื่อคุณรับประทานยาบูโพรพิออน ครอบครัวหรือผู้ที่ดูแลผู้ป่วยจำเป็นต้องเฝ้าระวังหากมีอาการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์หรืออาการ

    การรับประทานยาบูโพรพิออนเพื่อช่วยเลิกบุหรี่

    การบำบัดเพื่อเลิกสูบบุหรี่โดยทั่วไปใช้ระยะเวลาประมาณ 9 สัปดาห์ เริ่มต้นด้วยการจ่ายยาเพื่อรับประทานเป็นเวลา 2 สัปดาห์ แล้วกลับมาพบหมอ เพื่อตรวจประเมินอาการหลังจากรับประทานยาไปแล้ว ก่อนที่จะสั่งยาเพิ่มเติมจนการรักษาเสร็จสิ้น

    โปรดจำไว้ว่า หากคุณไม่ประสบความสำเร็จในการเลิกบุหรี่ในคอร์สแรกนี้ คุณจำเป็นต้องเว้นระยะ 12 เดือน ก่อนลองบำบัดใหม่อีกครั้ง หรืออาจลองใช้ยาเพื่อการเลิกบุหรี่ชนิดอื่น

    การบำบัดด้วยการรับนิโคตินทดแทนสามารถทำได้ในระหว่างที่คุณใช้ยาบูโพรพิออน อย่างไรก็ดี โปรดปรึกษาแพทย์ก่อนเลือกใช้การบำบัดด้วยวิธีนี้

    โปรดไปพบหมอทันที หากพบว่าผู้ที่กำลังรับประทาน หรือเพิ่งหยุดยาบูโพรพิออนนั้น แสดงอาการซึมเศร้า กระสับกระส่าย คิดฆ่าตัวตาย หรือพยายามฆ่าตัวตาย หรือแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงทางความคิดและพฤติกรรม ที่ผิดแผกไปจากที่คนๆ นั้นเป็นอยู่เดิม

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย อนันตา นานา · แก้ไขล่าสุด 08/02/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา