backup og meta

เมื่อเกิด ความสูญเสีย ผู้ใหญ่ควรอธิบายให้เด็กฟังอย่างไร

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 31/01/2023

    เมื่อเกิด ความสูญเสีย ผู้ใหญ่ควรอธิบายให้เด็กฟังอย่างไร

    เมื่อสมาชิกในครอบครัวหรือคนที่รักจากไป อาจเกิดความโศกเศร้าขึ้นในครอบครัว เด็ก ๆ อาจยังไม่เข้าใจถึงความสูญเสีย พ่อแม่หรือผู้ปกครองควรอธิบายและพูดคุยให้เด็ก ๆ รับทราบว่าเกิดอะไรขึ้น และที่สำคัญไม่ควรปิดบังความรู้สึกและความเสียใจ เพราะถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะสอนให้เด็กๆ รู้จักเปิดเผยความรู้สึกทั้งในแง่บวกและแง่ลบ รวมทั้งวิธีจัดการความรู้สึกต่าง ๆ ด้วย

    ผู้ใหญ่ควรอธิบายเกี่ยวกับความสูญเสียอย่างไรดี

    เมื่อเกิดความสูญเสียขึ้นในครอบครัว หรือคนใกล้ชิด เด็ก ๆ ย่อมรับรู้ได้ถึงความรู้สึกเจ็บปวดเสียใจที่พ่อแม่หรือผู้ปกครองต้องเผชิญ แต่พวกเขาอาจยังไม่เข้าใจถึงสาเหตุ ผู้ใหญ่ควรปฏิบัติตัวดังนี้

    พูดความจริง

    หากผู้ใหญ่พยายามระงับความเสียใจด้วยการปลอบคนในครอบครัวเมื่อต้องเผชิญกับความสูญเสียว่า “อย่าเศร้าไปเลย อย่าร้องไห้เลย” คำพูดเช่นนี้จะทำให้เด็ก ๆ รู้สึกว่าการแสดงออกทางอารมณ์นั้นเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม และเด็ก ๆ อาจกลัวที่จะแสดงอารมณ์ความรู้สึก จนต้องปกปิดความรู้สึกนั้นไว้ภายในใจ ความรู้สึกเช่นนี้จะติดเป็นปมด้อยในใจจนเมื่อพวกเขาโตขึ้นก็เป็นได้

    เแม้ว่าผู้ใหญ่มักพยายามทำตัวเข้มแข็งและซ่อนความรู้สึกไว้ แต่เด็กเล็ก ๆ ก็ยังรู้สึกได้ถึงความรู้สึกที่แท้จริง อันที่จริง ไม่ได้เป็นเรื่องเสียหายอะไรที่เด็ก ๆ จะเห็นผู้ใหญ่ร้องไห้ แม้ว่าอาจทำให้เด็ก ๆ รู้สึกกลัวหรือตกใจก็ตาม เมื่อถึงเวลานั้น ควรอธิบายให้เด็ก ๆ เข้าใจว่า สาเหตุที่ร้องไห้เพราะสูญเสียคนที่รักไป เดี๋ยวความรู้สึกต่าง ๆ นี้จะค่อย ๆ หายไป

    แต่ถ้าเด็ก ๆ ไม่ได้รู้สึกเศร้าตามไปด้วย ไม่ได้หมายความว่าเด็ก ๆ ไม่รู้สึกกับการสูญเสียสมาชิกในครอบครัวไป หรือ และหากเด็ก ๆ พลอยรู้สึกเศร้าไปกับคนอื่น ๆ ในครอบครัว ก็ไม่ได้หมายความว่าเด็ก ๆ กำลังแกล้งทำเป็นเศร้าให้คนอื่นเห็น

    เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 ขวบ นั้นไม่เข้าใจถึงความเศร้าของผู้ใหญ่ที่ตระหนักว่า ความตายก็คือการจากไปแล้วแบบไม่มีวันกลับ แต่พวกเขาอยากให้คนที่ตายแล้วฟื้นกลับคืนมา ซึ่งผู้ใหญ่จำเป็นต้องอธิบายให้เด็ก ๆ ฟังว่าความตายหรือความสูญเสียนั้นเป็นเรื่องธรรมชาติ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน

    เปิดเผยความกลัวลึก ๆ ในใจ

    เด็ก ๆ ที่มีอายุตั้งแต่ 3-5 ขวบ มักจะเชื่อในสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากเกินปกติ เด็กบางคนอาจคิดไปว่าตัวเองทำให้คนที่รักตาย ผู้ใหญ่ควรบอกเด็ก ๆ และอธิบายให้พวกเขาเข้าใจ เช่น “บางครั้งเด็ก ๆ อย่างลูกก็มักจะคิดว่าตัวเองทำให้คนที่รักตาย แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่นะลูก นี่เป็นอุบัติเหตุ และไม่มีใครช่วยอะไรได้เลย”

    สิ่งหนึ่งที่เด็กกลัวมากที่สุดก็คือ การสูญเสียพ่อแม่ และเด็ก ๆ จะรู้สึกกลัวมากยิ่งขึ้นอีก หากเกิดมีคนในครอบครัวจากไปแบบกะทันหัน

    เด็กจะคิดเพียงว่า “ถ้าคุณปู่ คุณย่าตาย สักวันพ่อกับแม่ก็จะต้องตายด้วยเหมือนกัน” เด็ก ๆ มักจะถามพ่อแม่แบบนี้ ซึ่งจำเป็นต้องอธิบายเกี่ยวกับความตายหรือความสูญเสียให้เด็ก ๆ เข้าใจมากกว่าหลีกเลี่ยงที่จะไม่พูดถึง

    อธิบายเรื่องความตาย

    ผู้ใหญ่ไม่ควรอธิบายให้เด็กฟังว่า ความตายคือ การนอนหลับแล้วไม่ตื่น เพราะถ้าพูดแบบนั้น เด็ก ๆ ก็จะกลัวการนอนหลับ จนอาจเกิดปัญหาได้ ลองอธิบายว่า “ความตายก็คือการที่ร่างกายหยุดทำงานและจะไม่ทำงานอีกแล้ว” และที่สำคัญ ควรหลีกเลี่ยงที่จะพูดเรื่องการขึ้นสวรรค์ ทั้งนี้ เพราะเด็ก ๆ อาจจะมีความคิดฝังหัวเรื่อง การไม่อยากขึ้นสวรรค์ หรือเด็กบางคนก็อาจจะอยากขึ้นสวรรค์เพราะเข้าใจว่าสวรรค์คือสถานที่ที่มีอยู่จริงและสามารถเดินทางไปได้

    ผู้ใหญ่ควรอธิบายให้เด็ก ๆ เข้าใจว่า “เมื่อคนตาย ร่างกายจะสูญสลาย แต่คนที่ยังอยู่สามารถคิดถึงคนที่จากไปแล้วได้ เท่ากับคนที่จากไปนั้นยังคงอยู่ในใจของพวกเราเสมอ”

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 31/01/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา