backup og meta

เด็กละเมอ เป็นเรื่องปกติหรือไม่ และเมื่อไหร่ที่ต้องกังวล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    เด็กละเมอ เป็นเรื่องปกติหรือไม่ และเมื่อไหร่ที่ต้องกังวล

    การเดินละเมอเป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกเพศทุกวัย แต่จะพบบ่อยในเด็ก ตามสถิติแล้วเด็ก 1 ใน 5 จะเดินละเมออย่างน้อย 1 ครั้ง นอกจากนี้อาการละเมอ สามารถเกิดขึ้นได้จนถึงตอนที่เป็นวัยรุ่น และบางครั้งอาจเกิดขึ้นจนถึงวัยที่เป็นผู้ใหญ่ เด็กละเมอ ถือเป็นเรื่องปกติหรือไม่ และเมื่อไหร่ที่คุณพ่อคุณแม่ควรกังวล

    การเดินละเมอ คืออะไร

    เดินละเมอ (Sleepwalking) เป็นอาการที่เด็กจะลุกขึ้นจากที่นอน และเดินไปขณะที่กำลังหลับอยู่ ซึ่งลักษณะแบบนี้ถือเป็นอาการเดินละเมอที่พบบ่อย นอกจากนี้ยังมีอาการเดินละเมออื่นๆ ได้แก่

    • ละเมอพูด
    • ตื่นนอนยาก
    • ดูงุนงง
    • ไม่ตอบสนองเวลาพูดด้วย
    • ลุกขึ้นมานั่ง
    • เคลื่อนไหวแบบเดิมซ้ำๆ เช่น ขยี้ตา

    นอกจากนี้ เด็กที่เดินละเมอสามารถลืมตาได้ แต่จะมองไม่เห็นเหมือนตอนตื่น โดยลักษณะที่พบบ่อยคือเด็กจะคิดว่าพวกเขาอยู่ในห้องที่แตกต่างจากห้องที่บ้าน หรืออยู่ในสถานที่อื่น

    มากไปกว่านั้น เด็กๆ มีแนวโน้มที่จะมีอาการเดินละเมอภายใน 1-2 ชั่วโมงก่อนจะหลับ และอาจเดินไปที่ใดที่หนึ่งโดยใช้เวลาตั้งแต่ไม่กี่วินาที ถึง 30 นาที และในขณะที่พวกเขากำลังละเมอ ก็ยากที่จะปลุกให้ตื่น แต่เมื่อตื่นแล้วเด็กอาจรู้สึกงัวเงียและสับสนเป็นเวลา 1-2 นาที

    ถึงแม้ว่าจะเรียกว่าการเดินละเมอ แต่ก็อาจไม่ได้เป็นเพียงแค่การเดิน เนื่องจากการเดินละเมอสามารถหมายถึงอาการอื่นๆ ได้ และไม่ว่าเด็กๆ จะมีอาการละเมอในลักษณะใด พวกเขาก็มักจะจำไม่ได้ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างตอนที่พวกเขาละเมอ ส่วนสาเหตุของการละเมอ มีดังนี้

    สาเหตุของอาการเดินละเมอ

    การเดินละเมอนั้นพบได้ทั่วไปในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ และถ้าพ่อแม่เคยมีอาการเดินละเมอตอนเด็ก ลูกก็มีแนวโน้มที่จะเดินละเมอด้วย ซึ่งสาเหตุของอาการเดินละเมออาจเกิดจาก

    • นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ หรืออ่อนเพลีย
    • นอนหลับไม่ตรงเวลา
    • ป่วย หรือเป็นไข้
    • ยาบางชนิด
    • ความเครียด
    • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea)
    • ปัสสาวะรดที่นอน
    • ละเมอกรีดร้อง (Sleep terror) หมายถึงการมีอาการกรีดร้องขึ้นมาขณะหลับ

    เด็กละเมอ เป็นอันตรายหรือไม่

    การเดินละเมอโดยปกติไม่อันตราย แต่สามารถทำให้เกิดอันตรายได้ในบางกรณี เช่น ปลุกไม่ตื่น เดินลงบันได หรือเปิดหน้าต่าง ซึ่งการที่ไม่รู้สึกตัวว่ากำลังทำอะไรอยู่อาจทำให้เกิดอันตรายได้

    สำหรับเด็กแล้ว การละเมอไม่ถือว่าสัญญาณหรืออาการที่เกี่ยวกับความผิดปกติทางอารมณ์หรือทางจิตวิทยา และไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ ต่ออารมณ์

    ละเมอแบบไหนที่ต้องกังวล

    โดยปกติแล้วอาการเดินละเมอไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา แต่ควรปรึกษาคุณหมอ หากพบว่าเด็กมีอาการเดินละเมอในลักษณะดังต่อไปนี้

  • เดินละเมอบ่อยเกินไป
  • ทำให้เด็กนอนไม่พอในตอนกลางคืน และต้องนอนชดเชยระหว่างวัน
  • การละเมอมีความเสี่ยงที่จะทำให้เด็กได้รับบาดเจ็บหรือได้รับอันตราย
  • ถ้าการเดินละเมอเกิดขึ้นบ่อยอาจทำให้เกิดปัญหาได้ และถ้าอาการยังไม่หายไปเมื่อลูกเข้าสู่วัยรุ่น ควรปรึกษาแพทย์

    วิธีทำให้อาการเดินละเมอดีขึ้น

    อาการเดินละเมอมักจะไม่มีการรักษา และคำแนะนำเหล่านี้อาจช่วยทำให้อาการเดินละเมอดีขึ้น

    • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
    • เข้านอนเวลาเดียวกันทุกวัน
    • บรรยากาศห้องนอนควรมืดสนิทและเงียบ
    • ควรให้เด็กเข้าห้องน้ำก่อนนอน

    ควรป้องกันเด็กไม่ให้รับอันตรายเวลาละเมอได้อย่างไร

    เด็กที่มีอาการเดินละเมออาจจะสะดุดล้ม วิ่งไปชนอะไรบางอย่าง หรือเดินออกไปนอกบ้านจนได้รับอันตรายได้ จึงควรป้องกันและระวังความปลอดภัย ดังนี้

    • อย่าพยายามปลุกเด็กให้ตื่น เนื่องจากอาจทำให้เด็กกลัว โดยคุณพ่อคุณแม่ควรค่อยๆ พาลูกกลับไปนอนที่เตียงขณะที่เขากำลังเดินละเมออยู่
    • ล็อกหน้าต่างและประตูให้เรียบร้อย
    • ไม่ควรให้ลูกนอนเตียง 2 ชั้น เพื่อป้องกันการตกลงมา
    • บริเวณรอบๆ เตียงนอนไม่ควรมีของมีคม และของที่แตกง่าย รวมถึงสิ่งที่จะเป็นอันตรายต่อเด็ก

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา