backup og meta

ทารกสะอึก คุณแม่มือใหม่ควรรับมืออย่างไรดี

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 27/12/2022

    ทารกสะอึก คุณแม่มือใหม่ควรรับมืออย่างไรดี

    ทารกสะอึก เกิดจากกล้ามเนื้อกระบังลมและฝาปิดกล่องเสียงของทารกหดตัวกะทันหัน จึงทำให้เกิดเสียงสะอึกขึ้นมา โดยทั่วไปการสะอึกไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการหายใจหรือภาวะสุขภาพของทารกแต่อย่างใด ทารกสามารถนอนหลับไปพร้อมกับสะอึกไปด้วยได้ อย่างไรก็ตาม คุณแม่ควรศึกษาวิธีแก้อาการสะอึกของทารกให้ดี เพราะหากแก้อาการสะอึกของทารกแบบผิดวิธีเพราะอาจทำให้เกิดอันตรายได้

    ทารกสะอึก ควรรับมืออย่างไร

    เมื่อ ทารกสะอึก อาจหาวิธีทำให้ทารกหยุดสะอึก ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้

    หยุดป้อนนมแล้วปล่อยให้เรอ

    หยุดป้อนนมแล้วปล่อยให้ทารกเรอ เพราะการเรอจะช่วยกำจัดแก๊สส่วนเกินออกไป ซึ่งแก๊สพวกนี้อาจเป็นสาเหตุของอาการสะอึกได้ โดยการจับให้ตัวทารกให้อยู่ในท่าตัวตั้งตรง สำหรับทารกที่กินนมแม่ ควรปล่อยให้ทารกเรอก่อนที่จะสลับเต้านมให้นมลูกดูดอีกข้าง

    ใช้จุกนมหลอก

    อาการสะอึกในทารกอาจไม่ได้เริ่มจากการป้อนนมเสมอไป ฉะนั้น เวลาที่ทารกเริ่มมีอาการสะอึกขึ้นมาเอง อาจปล่อยให้ดูดจุกนมหลอกดู เพราะอาจจะช่วยให้กระบังลมเกิดการผ่อนคลาย แล้วในที่สุดก็หยุดสะอึกได้

    ปล่อยให้หยุดเอง

    โดยปกติแล้ว อาการสะอึกในเด็กทารกมักจะหยุดได้เอง ถ้าอาการสะอึกไม่ยอมหยุดเอง ควรปรึกษาคุณหมอ เพราะมีบางกรณีที่อาการสะอึกอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพที่มีอาการรุนแรงได้

    วิธีป้องกันทารกสะอึก

    การป้องกันการสะอึกนั้นทำได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากเป็นภาวะปกติของร่างกาย แต่อาจลองปฏิบัติตามวิธีดังนี้

    • กล่อมให้ทารกอยู่ในอาการสงบขณะป้อนนม โดยอาจจะไม่ต้องรอให้ทารกหิวแล้วค่อยป้อน เพราะเมื่อทารกหิวมาก ๆ อาจจะร้องไห้ หรือมีอาการโยเยก่อนที่จะได้ป้อนนมทำให้เกิดอาการสะอึกได้ 
    • หลังจากป้อนนมเสร็จแล้ว ควรหลีกเลี่ยงการให้ทารกทำกิจกรรมอะไรหนัก ๆ อย่างเช่น การเขย่าตัว การจั๊กจี้ทารก การปล่อยให้คลานเร็ว ๆ 
    • หลังป้อนนมเสร็จแล้ว ควรจับทารกให้อยู่ในท่าตัวตั้งตรง เป็นเวลา 20 ถึง 30 นาที

    สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรทำเมื่อทารกสะอึก

    ถึงแม้จะมีวิธีแก้อาการสะอึกที่ใช้กับผู้ใหญ่ได้ แต่ไม่ควรนำมาใช้กับเด็กทารก เพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ โดยเฉพาะวิธีเหล่านี้  

    แหย่ให้ทารกตกใจ

    อย่าพยายามแหย่ทารกให้สะดุ้ง เพราะเสียงดังอาจทำให้แก้วหูที่บอบบางของทารกเกิดความเสียหายได้ และอาการตกใจนั้น อาจทำให้ทารกร้องไห้ไม่หยุด

    ให้รับประทานผลไม้หรือขนมรสเปรี้ยว 

    ถึงแม้ขนมเปรี้ยวๆ อาจช่วยยับยั้งอาการสะอึกในผู้ใหญ่บางรายได้ แต่ไม่ควรนำมาใช้กับทารก เนื่องจากอาหารที่มีรสเปรี้ยวนั้นมักมีส่วนผสมของกรดที่ดีต่อสุขภาพของทารก

    ตบหลังทารก

    เส้นเอ็นในกระดูกซี่โครงของทารกยังมีความบอบบางอยู่ ฉะนั้นการตบหรือตีแรง ๆ ในบริเวณนั้น ก็อาจก่อให้เกิดความเสียหายได้  

    กดลูกตาทารก

    กล้ามเนื้อดวงตาที่ช่วยให้ดวงตาทารกเคลื่อนไหวและมองเห็นได้นั้นยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาเพื่อความสมบูรณ์ของอวัยวะ ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับดวงตาทารก เพราะอาจทำให้เกิดความเสียหายจนทารกสูญเสียการมองเห็น

    ดึงลิ้นหรือแขนขาทารก

    ร่างกายของทารกยังบอบบางอยู่ กระดูกและข้อต่อของทารกยังไม่สามารถทนทานแรงดึงของผู้ใหญ่ซึ่งอาจคาดน้ำหนักในการออกแรงดึงหรือรั้ง ทำให้แขนขาหรือบริเวณที่มีรอยข้อต่อหลุดออกได้ 

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    เนตรนภา ปะวะคัง


    เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 27/12/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา