backup og meta

พ่อเลี้ยงเดี่ยว กับคำแนะนำในการเลี้ยงดูบุตร

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet


เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 11/02/2022

    พ่อเลี้ยงเดี่ยว กับคำแนะนำในการเลี้ยงดูบุตร

    พ่อเลี้ยงเดี่ยว ทั้งในไทยและทั่วโลกมีจำนวนเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากสาเหตุหลายประการ เช่น การถูกทอดทิ้ง การหย่าร้าง หรือการเสียชีวิตของคู่ครอง  การเป็นพ่อเลี้ยงเดี่ยวไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากต้องรับภาระดูแลบุตรและหาเลี้ยงครอบครัว คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญอาจมีประโยชน์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการเลี้ยงลูกและใช้ชีวิตในฐานะพ่อเลี้ยงเดี่ยวได้อย่างมีความสุขมากขึ้น

    สถิติเกี่ยวกับจำนวนพ่อเลี้ยงเดี่ยว

    อ้างอิงจากสำนักสำมะโนสหรัฐอเมริกา (Census Bureau) ปี พ.ศ. 2559 จำนวนพ่อเลี้ยงเดี่ยวในประเทศมีประมาณ 2 ล้านคน โดยส่วนใหญ่หรือ 40 เปอร์เซ็นต์ เป็นพ่อเลี้ยงเดี่ยวเนื่องจากการหย่าร้าง

    จำนวนดังกล่าวถือว่าสูงขึ้นมาก หากเทียบกับตัวเลขในอดีต สำนักวิจัยพิว (Pew Research Center) ชี้ว่าจำนวนพ่อเลี้ยงเดี่ยวในสหรัฐระหว่างปี พ.ศ. 2503 มีเพียง 297,000 คนเท่านั้น ก่อนจะเพิ่มขึ้นประมาณ 9 เท่า หรือ 2,669,000 ในปี พ.ศ. 2554

    สำหรับประเทศไทย จากรายงานของกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2558 พบว่า มีจำนวนครัวเรือนเลี้ยงเดี่ยวประมาณ 1.37 ล้านครอบครัวจากทั้งหมด 20.3 ล้านครัวเรือน

    และจากรายงานของสำนักสถิติแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2551 ชี้ว่าเด็กอายุ 0-17 ปี ซึ่งอาศัยอยู่กับพ่อเลี้ยงเดี่ยว คิดเป็น 3.1 เปอร์เซ็นต์ของเด็กทั้งหมดที่อาศัย “อยู่กับพ่อเท่านั้น” หรือ “อยู่กับแม่เท่านั้น”

    คำแนะนำสำหรับพ่อเลี้ยงเดี่ยว

    การเป็นพ่อเลี้ยงเดี่ยวไม่ใช่เรื่องง่ายาย เนื่องจากต้องรับภาระเลี้ยงดูบุตรเองคนเดียว และยังมีหน้าที่อื่น ๆ ที่ต้องรับผิดชอบ ทั้งเรื่องงาน การเงิน และเรื่องส่วนตัว อาจทำให้รู้สึกกดดันและเกิดความเครียดได้ อย่างไรก็ตาม คำแนะนำต่อไปนี้ อาจเป็นประโยชน์กับพ่อเลี้ยงเดี่ยว ในการใช้ชีวิตและการดูแลลูกให้มีความสุขในสังคม

    กำหนดว่าวันหนึ่งต้องทำอะไรบ้าง

    พ่อเลี้ยงเดี่ยวควรกำหนดกิจวัตรประจำวันที่แน่นอนให้ลูก เช่น เวลาตื่น เวลานอน และเวลารับประทานอาหารแต่ละมื้อ   เนื่องจากเด็ก ๆ ต้องการกติกาหรือกิจวัตรประจำวันที่แน่นอน เพื่อให้รู้สึกมั่นคงและปลอดภัย และรู้แน่ชัดว่าในหนึ่งวันมีหน้าที่และความรับผิดชอบอะไรบ้าง

    1. แสดงความรัก

    อย่าลืมแสดงความรักกับลูก ด้วยการบอกรัก กล่าวชมเมื่อลูกทำดี ตั้งใจเรียน หรือแม้แต่เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ในแต่ละวัน เช่น เมื่อลูกทำการบ้าน หรืองานบ้านเสร็จ รวมทั้งให้การสนับสนุนหากลูกต้องการทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ

    1. มองหาความช่วยเหลือ

    สำหรับพ่อเลี้ยงเดี่ยว ความช่วยเหลือเป็นเรื่องสำคัญมาก คนใกล้ตัวรวมถึงเพื่อนทั้งในชีวิตจริงและเพื่อนใหม่ที่อาจพบจากการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในโลกออนไลน์  อาจช่วยรับฟังปัญหาเรื่องลูก เพื่อช่วยลดความเครียด รวมทั้งให้คำแนะนำที่อาจนำมาปรับใช้ได้ หรือแม้กระทั่งข้อมูลใหม่ ๆ เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกที่ไม่เคยรู้มาก่อน นอกจากนี้ พ่อเลี้ยงเดี่ยวอาจต้องการใครสักคนซึ่งไว้ใจได้เพื่อฝากลูกเวลาที่ติดธุระและไม่สามารถดูแลลูกได้

    1. คุยกับลูกเรื่องการหย่าร้าง

    ผู้ชายจำนวนไม่น้อยกลายเป็นพ่อเลี้ยงเดี่ยวเนื่องจากการหย่าร้าง ควรพูดคุยอธิบายให้ลูกเข้าใจอย่างตรงไปตรงมา โดยหลีกเลี่ยงรายละเอียดที่ไม่จำเป็น รวมถึงไม่เล่าเรื่องการหย่าร้างในแง่ร้าย หรือเล่าถึงแม่ของลูกในแง่ลบ

    1. หาแบบอย่างให้ลูก

    เนื่องจากลูกขาดแม่ พ่อเลี้ยงเดี่ยวบางคนจึงอาจกังวลว่าลูกจะไม่มีแบบอย่างที่ดีในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะพ่อเลี้ยงเดี่ยวที่มีลูกสาว อย่างไรก็ตาม ปัญหานี้สามารถแก้ได้ ด้วยการมองหาแบบอย่างเพศแม่ให้ลูกจากคนในครอบครัว หรือคนใกล้ตัว เช่น ป้า น้า อา ย่า ยาย รวมทั้งการให้ลูกมีโอกาสได้ใช้เวลากับแม่บ้าง

    1. สอนให้ลูกทำงานบ้าน

    งานบ้านทำให้ลูกใช้เวลาว่างอย่างเป็นประโยชน์ รวมถึงช่วยสร้างสำนึกความเป็นครอบครัวในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ หากลูกทำงานบ้านเป็น พ่อเลี้ยงเดี่ยวจะได้มีภาระลดลงด้วย

    1. ใช้เวลากับลูกบ้าง

    แม้ว่าพ่อเลี้ยงเดี่ยวจะต้องใช้เวลาปรับตัว และต้องทำงานนอกบ้านเพื่อหาเลี้ยงครอบครัว อาจทำให้เวลาที่อยู่กับลูกน้อยลง อย่างไรก็ตาม ควรหาเวลาว่างในแต่ละวันเพื่อเล่นกีฬา รับประทานอาหาร ไปเที่ยว หรืออ่านหนังสือด้วยกัน อย่าลืมที่จะสร้างความทรงจำดี ๆ ให้ลูกตั้งแต่เขายังอายุยังน้อย เพราะความรัก ความอบอุ่น และช่วงเวลามีค่านั้นสำคัญต่อการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ไม่น้อยกว่าเรื่องอื่น ๆ

    1. ให้เวลาลูกสร้างความสัมพันธ์กับคนรักใหม่ของพ่อ

    ในการมองหาความสัมพันธ์ครั้งใหม่ พ่อเลี้ยงเดี่ยวต้องคำนึงถึงผลกระทบของคนรักใหม่ต่อลูก และควรแนะนำคนรักใหม่ให้ลูกรู้จัก หลังจากความสัมพันธ์ชัดเจนแล้ว โดยเลือกพูดถึงข้อดีของเธอให้ลูกฟัง และไม่ควรคาดหวังว่าทั้งคนรักใหม่และลูกจะเข้ากันได้ในทันที ที่สำคัญ ไม่ควรแสดงให้ลูกรู้สึกว่าคนรักใหม่จะมาแทนที่แม่ของลูก แต่จะดูแลและคอยช่วยเหลือในยามที่ลูกต้องการ

  • หาโอกาสพักผ่อนบ้าง

  • พ่อเลี้ยงเดี่ยวควรหาเวลาพักผ่อนให้ตัวเอง ด้วยการฝากลูกให้อยู่ในการดูแลของคนในครอบครัว หรือพี่เลี้ยงบ้างเพื่อเปิดโอกาสให้ตัวเองได้ทำกิจกรรมที่ชอบ เพื่อผ่อนคลายจากความเครียดและปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ และพยายามมองโลกในแง่บวกว่าทุกอย่างสามารถแก้ไขและจะผ่านไปได้ด้วยดี

    1. วางแผนอนาคต

    การวางแผนอนาคตเป็นวิธีหนึ่งซึ่งช่วยให้พ่อเลี้ยงเดี่ยวรู้สึกว่าทุกสิ่งทุกอย่างสามารถจัดการได้และอยู่ในความควบคุม จำเป็นต้องวางแผนทั้งเรื่องการเงิน หน้าที่การงานของตนเอง หรือแม้กระทั่งโรงเรียนที่เหมาะสมกับลูก

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    Duangkamon Junnet


    เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 11/02/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา