ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

ภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด ตั้งแต่ปัญหาขณะคลอด ไปจนถึงปัญหาที่ตามมาหลังจากคลอด อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายของคุณแม่อย่างมาก Hello คุณหมอ จึงอยากขอมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพคุณแม่ ด้วยการรวมรวมข้อมูลเกี่ยวกับ ภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด ไว้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

ลูกพูดช้า ปัญหาพัฒนาการเด็กที่ไม่ควรมองข้าม

โดยทั่วไป เด็กจะเริ่มพูดเป็นคำได้ตอนอายุประมาณ 1 ปี แต่หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นว่า ลูก พูด ช้า พัฒนาการทางภาษาไม่เป็นไปตามวัย อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น บกพร่องทางการได้ยิน บกพร่องทางสติปัญญา สมองพิการ แต่เด็กบางคนก็อาจแค่ยังไม่ต้องการพูดในตอนนี้ และจะยอมพูดเองเมื่อเวลาผ่านไป ทั้งนี้ หากสังเกตว่าลูกพูดช้า หรือมีปัญหาด้านพัฒนาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เรียกแล้วไม่หัน ไม่แสดงท่าทางตกใจเมื่อมีเสียงดัง ควรรีบพาไปพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างที่เหมาะสม เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการที่เป็นไปตามวัย [embed-health-tool-child-growth-chart] ภาวะพูดช้า (Delayed Speech) คืออะไร ภาวะพูดช้า คือ ภาวะที่เด็กมีพัฒนาการทางด้านภาษาและการพูดไม่เป็นไปตามวัย มักพบในวัยก่อนวัยเรียน แต่พัฒนาการของเด็กแต่ละคนจะแตกต่างกันไป จึงอาจไม่ใช่เรื่องแปลกที่เด็กบางคนเริ่มพูดเป็นประโยคสั้น ๆ ได้ช้ากว่าเพื่อนในวัยเดียวกัน โดยทั่วไป เด็กอาจมีพัฒนาการด้านการพูดและการสื่อสารตามช่วงอายุ ดังนี้ อายุ 1 ปี : พัฒนาจากการพูดอ้อแอ้ไม่เป็นภาษามาเป็นคำพูดง่าย ๆ อายุ 2 ปี : พูดคำที่มีความหมายติดกัน 2 คำ อายุ 3 ปี : พูดเป็นประโยคสั้น ๆ ระบุส่วนต่าง […]

สำรวจ ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

อาการเด็กสมาธิสั้น เป็นอย่างไร และวิธีดูแลเด็กสมาธิสั้น

โรคสมาธิสั้น เป็นโรคบกพร่องทางพฤติกรรม เกิดจากสมองส่วนที่ส่งผลต่อการควบคุมสมาธิและพฤติกรรม รวมถึงสารสื่อประสาทในสมองทำงานผิดปกติ พบได้บ่อยในเด็กวัยเรียน และมักส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้และการปรับตัวเข้ากับเด็กในวัยเดียวกัน อาการเด็กสมาธิสั้น ที่พบทั่วไป เช่น อยู่ไม่สุข กระสับกระส่าย ขาดสมาธิ จดจ่อกับอะไรไม่ได้นาน หากพบว่าเด็กมีอาการ ควรพาไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้เด็กมีพัฒนาการด้านต่าง ๆ ที่สมวัยและควบคุมโรคสมาธิสั้นให้ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันน้อยที่สุด [embed-health-tool-vaccination-tool] โรคสมาธิสั้น คืออะไร โรคสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder หรือ ADHD) เป็นโรคที่เกิดจากสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมสมาธิ พฤติกรรมและการแสดงออกของเด็กผิดปกติ ส่งผลให้เด็กว่อกแว่ก ซนกว่าเด็กทั่วไป ขาดสมาธิในการทำสิ่งต่าง ๆ และอาจกระทบต่อความสัมพันธ์กับคนรอบข้างทั้งที่บ้านและโรงเรียน โรคสมาธิสั้นมักได้รับการวินิจฉัยในช่วงอายุ 3-7 ปี และพบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง ในเด็กผู้ชายมักพบว่ามีอาการอยู่ไม่นิ่งเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่เด็กผู้หญิงมีอาการขาดสมาธิ และแสดงพฤติกรรมก่อกวนน้อยกว่า ซึ่งอาจทำให้เด็กผู้หญิงที่เป็นโรคสมาธิสั้นได้รับการวินิจฉัยช้าเนื่องจากมีพฤติกรรมแสดงออกไม่เด่นชัดเท่าเด็กผู้ชาย โดยทั่วไปโรคสมาธิสั้นจะค่อย ๆ ดีขึ้นตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น แต่บางกรณีก็อาจเป็นโรคสมาธิสั้นไปจนถึงเป็นผู้ใหญ่ และบางรายก็อาจได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมาธิสั้นตอนโต กลุ่มที่ยังคงมีอาการจนเข้าวันผู้ใหญ่อาจเกิดโรคร่วมอื่นๆ ตามมาได้เช่น โรคพฤติกรรมต่อต้านสังคม (antisocial personality disorder) ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคสมาธิสั้นในเด็ก อาจมีดังนี้ ปัจจัยทางพันธุกรรม เด็กที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคสมาธิสั้น เสี่ยงเกิดโรคนี้ได้มากกว่าเด็กทั่วไป การคลอดก่อนกำหนด ความเสี่ยงในการเป็นโรคสมาธิอาจเพิ่มขึ้น […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

เด็กไฮเปอร์ สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

เด็กไฮเปอร์ เป็นอาการที่มักได้รับการวินิจฉัยเมื่ออายุยังน้อย ส่วนใหญ่เกิดจากภาวะสมาธิสั้น แต่ก็อาจเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น ความผิดปกติของระบบประสาท ความผิดปกติทางอารมณ์ ภาวะไทรอยด์ทำงานมากเกินไป เด็กในภาวะนี้มักมีอาการอยู่ไม่สุข อยู่นิ่งได้ไม่นาน ขยับแขนหรือขาไปมาตลอด หุนหันพลันแล่น สนใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้ไม่นาน ภาวะไฮเปอร์อาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างเด็กและคนรอบข้าง โดยเฉพาะที่บ้านและที่โรงเรียน ภาวะนี้สามารถรักษาให้หายได้ หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตว่าเด็กมีพฤติกรรมผิดปกติที่อาจเป็นสัญญาณของภาวะไฮเปอร์ หรือสภาวะสุขภาพอื่น ๆ ควรพาเด็กไปพบคุณหมอแต่เนิ่น ๆ เด็กไฮเปอร์ เกิดจากอะไร เด็กไฮเปอร์ คือ เด็กที่มีภาวะอยู่ไม่นิ่ง (Hyperactivity) หรือที่มักเรียกสั้น ๆ ว่า ไฮเปอร์ อาการที่เป็นสัญญาณของภาวะนี้ เช่น ซนมากกว่าปกติ ชอบปีนป่าย อยู่ไม่สุข ชอบขยับตัวไปมา เล่นรุนแรง ทำเสียงดัง พูดมาก ไม่ค่อยระมัดระวัง ชอบแกล้งเพื่อน ภาวะไฮเปอร์มักพบในเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของสมองที่กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและความสัมพันธ์ของเด็กกับคนรอบข้างทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน สาเหตุของอาการไฮเปอร์ยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่อาจเกิดได้จากปัจจัยต่อไปนี้ โรคสมาธิสั้น (Attention deficit hyperactivity disorder หรือ ADHD) เป็นความผิดปกติของพัฒนาการทางสมองที่มักพบในเด็ก แต่ก็สามารถวินิจฉัยพบตอนเป็นผู้ใหญ่ได้ โรคนี้ส่งผลกระทบต่อการแสดงความสนใจ ความสามารถในการนั่งนิ่ง […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

โรคเพรเดอร์-วิลลี (Prader-Willi Syndrome) สาเหตุ อาการ และการรักษา

โรคเพรเดอร์-วิลลี คือ โรคทางพันธุกรรมที่พบได้ยาก ที่อาจส่งผลให้เกิดปัญหาทางด้านร่างกาย จิตใจ และพฤติกรรม เช่น มีความอยากอาหารมากผิดปกติ มีพัฒนาการที่ล่าช้า ควบคุมอารมณ์ไม่ค่อยได้ โรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่อาจทำการบำบัดเพื่อช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] คำจัดกัดความ โรคเพรเดอร์-วิลลี คืออะไร โรคเพรเดอร์-วิลลี คือ โรคทางพันธุกรรมหายาก ที่อาจส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต พัฒนาการ การเรียนรู้ การควบคุมอารมณ์ รวมถึงพฤติกรรม ที่อาจทำให้รู้สึกหิวอย่างต่อเนื่อง และอาจนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น โรคอ้วน โรคกระดูกพรุน โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหัวใจ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โรคตับ อาการ อาการของโรคเพรเดอร์-วิลลี อาการโรคเพรเดอร์-วิลลี อาจแตกต่างกันออกไปตามช่วงวัย โดยเริ่มตั้งแต่ทารกไปจนถึงผู้ใหญ่ ดังนี้ อาการของโรคเพรเดอร์-วิลลีในทารก กล้ามเนื้ออ่อนแรง ไม่สามารถทรงตัวได้ ดวงตามีลักษณะเป็นวงรี คล้ายเมล็ดอัลมอนด์ ศีรษะ มือ และเท้ามีขนาดเล็ก ริมฝีปากบางและคว่ำลง รับประทานอาหารยาก ไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้า ตื่นยาก ร้องไห้เสียงเบา มีปัญหาการนอนหลับ ระบบสืบพันธุ์ไม่พัฒนา เช่น องคชาต ถุงอัณฑะ คลิตอริสมีขนาดเล็ก อาการของโรคเพรเดอร์-วิลลีในเด็กและผู้ใหญ่ มีความอยากอาหารอย่างต่อเนื่อง มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ล่าช้า มีความบกพร่องด้านการรับรู้ การแก้ไขปัญหา การใช้เหตุผล […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

Autism spectrum disorder (ออทิสติก สเปกตรัม) คืออะไร

โรคออทิสติก สเปกตรัม หรือ Autism spectrum disorder คือ ภาวะที่เกี่ยวกับการพัฒนาของสมอง ที่มีผลต่อการเข้าสังคมและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น รวมถึงอาจทำให้เด็กมีพฤติกรรมที่ผิดปกติและมีปัญหาด้านการสื่อสาร โรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่จะรักษาตามอาการที่เป็น ร่วมกับการบำบัดานการสื่อสาร โรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่อาจจะรักษาตามอาการที่เป็น ร่วมกับการบำบัดในด้านต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นพัฒนาการของเด็ก ทำให้เด็กสามารถช่วยเหลือตัวเองและเข้าสังคมได้เมื่อเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ [embed-health-tool-vaccination-tool] Autism spectrum disorder คือ อะไร ออทิสติก สเปกตรัม คือ โรคที่มีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาของสมอง พบตั้งแต่ก่อนอายุ 3 ขวบ บางคนอาจมีอาการตั้งแต่ช่วงอายุก่อน 12 เดือน โรคนี้จะส่งผลให้เด็กมีปัญหาการเข้าสังคม การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นและการสื่อสาร รวมทั้งส่งผลให้เด็กมีพฤติกรรมที่ผิดปกติ เช่น ทำกิจวัตรเดิม ๆ เป็นประจำทุกวัน ไม่ตอบสนองเมื่อถูกเรียกชื่อ ชอบอยู่คนเดียว จดจ่อเพียงแต่เรื่องที่ตนเองสนใจ (ผู้ป่วยแต่ละรายจะมีความรุนแรงต่างกันไป) อย่างไรก็ตาม เด็กที่เป็นออทิสติก สเปกตรัม ยังคงสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ตามปกติ แต่อาจใช้ระยะเวลานานกว่าเด็กทั่วไปในการเรียนรู้ การฝึกฝนทักษะ เช่น เลือกเสื้อผ้าเอง การสวมเสื้อผ้าด้วยตัวเอง รับประทานอาหารเอง โดยคุณหมอและนักกิจกรรมบำบัดจะช่วยวางแผนโปรแกรมการฝึก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรให้ความร่วมมือตามคำแนะนำของคุณหมอ ปัจจัยเสี่ยงของ Autism […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

โรคดาวน์ซินโดรม (Down Syndrome) สาเหตุ อาการ การรักษา

โรคดาวน์ซินโดรม เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมที่มีหน้าตาลักษณะเฉพาะ ส่งผลทำให้เกิดความบกพร่องทางพฤติกรรม สติปัญญา พัฒนาการตั้งแต่เด็ก ซึ่งอาจมีระดับความรุนแรงแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล โดยอาจสังเกตได้จากอาการสมาธิสั้น ปัญหาด้านการเรียนรู้ และปัญหาด้านการสื่อสาร บางคนอาจมีภาวะแทรกซ้อนทางด้านโรคหัวใจ โรคมะเร็งเม็ดเลือด โรคพร่องฮอร์โมน โรคดาวน์ซินโดรมไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถฝึกฝนเพื่อกระตุ้นพัฒนาการด้านการสื่อสารและการเรียนรู้ เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้ แต่ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรง และต้องรักษาภาวะโดรคที่เกิดร่วม คำจำกัดความโรคดาวน์ซินโดรม คืออะไร โรคดาวน์ซินโดรม คือ กลุ่มอาการที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เกิดขึ้นตั้งแต่กำเนิด เกิดจากการที่โครโมโซมในร่างกายคู่ที่ 21 เกินมา จึงส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ และพัฒนาการของร่างกาย อีกทั้งยังอาจส่งผลกระทบต่อการมองเห็น การได้ยิน และการทำงานของหัวใจ โรคดาวน์ซินโดรมไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาด แต่อาจรักษาตามอาการ และให้ลูกเรียนรู้ในการอยู่กับโรคเพื่อให้ใช้ชีวิตได้สะดวกมากขึ้น อาการอาการของโรคดาวน์ซินโดรม อาการของโรคดาวน์ซินโดรม อาจสังเกตได้จาก หน้าตาที่มีลักษณะเฉพาะ ศีรษะ หู มือ และเท้า มีขนาดเล็ก คอสั้น ผิวหนังด้านหลังคอย่น จมูกแบนราบ รอยพับบนฝ่ามือและนิ้วที่มีความย่นของผิวหนัง จุดสีขาวเล็ก ๆ ในม่านตา รูปทรงดวงตาคล้ายถั่วอัลมอนด์และมีลักษณะเอียงขึ้น ปากขนาดเล็ก จนลิ้นอาจยื่นออกจากปาก ลิ้นจุกปาก มีปัญหาด้านการมองเห็นและการได้ยิน กล้ามเนื้ออ่อนแรง ข้อต่อหลวม การเจริญเติบโตล่าช้า ความจำสั้น สมาธิสั้น ปัญญาอ่อน พูดไม่ชัด ไม่เป็นคำ เนื่องจากมีพัฒนาการด้านภาษาล่าช้า การทำงานของหัวใจบกพร่อง ปัญหาเกี่ยวกับลำไส้ สาเหตุสาเหตุของโรคดาวน์ซินโดรม สาเหตุของโรคดาวน์ซินโดรมเกิดจากการที่โครโมโซมคู่ที่ 21 (Trisomy 21) เกินมา โดยปกติแล้วร่างกายจะมีโครโมโซม 23 คู่ หรือ 46 แท่ง […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

อาการดาวน์ซินโดรม สาเหตุ ภาวะแทรกซ้อน และวิธีดูแลที่ควรรู้

อาการดาวน์ซินโดรม คือภาวะทางพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของโครโมโซมในร่างกาย ส่งผลให้เกิดความบกพร่องทางพฤติกรรม สติปัญญา และพัฒนาการ ซึ่งอาจสังเกตได้จากการเรียนรู้ล่าช้า ชอบทำกิจกรรมเดิม ๆ ซ้ำกันเป็นกิจวัตร คุณพ่อคุณแม่ควรใช้ความเข้าใจในการดูแลลูกที่เป็นดาวน์ซินโดรม อีกทั้งควรพาเข้ารับการบำบัดตามโปรแกรมที่คุณหมอแนะนำ เพื่อให้ลูกสามารถใช้ชีวิตได้ด้วยตัวเองเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต อาการดาวน์ซินโดรม มีสาเหตุมาจากอะไร โดยปกติแล้วร่างกายจะมีโครโมโซม 23 คู่ หรือ 46 แท่ง ที่ได้รับจากคุณพ่อคุณแม่อย่างละครึ่ง แต่หากโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง รวมเป็น 47 แท่ง ดังนั้นจึงอาจส่งผลให้ลูกเสี่ยงเป็นดาวน์ซินโดรม ดาวน์ซินโดรมแบ่งออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน ได้แก่  ไตรโซมี 21 (Trisomy 21) คือภาวะที่ โครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 ชุด เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด Translocation Down syndrome คือภาวะที่โครโมโซมคู่ที่ 21 แบ่งตัวออก แล้วเคลื่อนย้ายไปติดกับโครโมโซมคู่อื่น ๆ Mosaic Down syndrome เป็นภาวะที่เกิดจากการแบ่งตัวของโครโมโซมผิดปกติหลังจากที่มีการแบ่งตัวไปบางส่วนแล้ว ทำให้ร่างกายอาจมีโครโมโซม […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

โรคเอ๋อ อาการ สาเหตุ การรักษาและการป้องกัน

โรคเอ๋อ คือ โรคที่เกิดจากภาวะขาดไทรอยด์อย่างรุนแรงในทารกแรกเกิด ส่วนใหญ่เกิดจากปัญหาต่อมไทรอยด์เติบโตผิดตำแหน่ง ต่อมไทรอยด์ขาดหายไปบางส่วน ไม่มีต่อมไทรอยด์ตั้งแต่กำเนิด หรือต่อมไทรอยด์ยังพัฒนาไม่เต็มที่ ในบางกรณีอาจเป็นการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ทำให้ทารกมีภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด อาจทำให้เกิดความบกพร่องทางระบบประสาทและการเจริญเติบโต มีภาวะปัญญาอ่อน แคระแกรน มีความผิดปกติทางกายภาพ มีอาการหน้าบวม ลิ้นบวม ลิ้นจุกปาก ร้องไห้งอแง ท้องผูก สะดือยื่น ดีซ่าน การตรวจคัดกรองและการดูแลตัวเองในขณะตั้งครรภ์ และการกินยาบำรุงครรภ์ของผู้เป็นแม่อาจช่วยป้องกันโรคเอ๋อในทารกได้ คำจำกัดความโรคเอ๋อ คืออะไร โรคเอ๋อ หรือภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด (Congenital Hypothyroidism หรือ CH) คือ ภาวะที่ต่อมไทรอยด์ผิดปกติ ต่อมไทรอยด์ขาดหายไปบางส่วน ไม่มีต่อมไทรอยด์ตั้งแต่กำเนิด หรือต่อมไทรอยด์ยังพัฒนาไม่เต็มที่ จึงไม่สามารถสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ฮอร์โมนไทรอยด์จำเป็นต่อการเจริญเติบโตที่ดีของสมอง และพัฒนาการของระบบประสาท เมื่อร่างกายของทารกมีภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด ก็อาจทำให้เกิดภาวะปัญญาอ่อนหรือสติปัญญาพร่องในเด็ก นอกจากนี้ ยังอาจเกี่ยวข้องกับการขาดสารไอโอดีนของคุณแม่ในระหว่างตั้งครรภ์ได้อีกด้วย เพราะร่างกายของทารกต้องการไอโอดีนเพื่อสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ อาการอาการของโรคเอ๋อ เด็กแรกเกิดส่วนใหญ่ไม่มีอาการที่แสดงออกว่าขาดฮอร์โมนไทรอยด์อย่างชัดเจน แต่อาจมีบางอาการที่แสดงถึงสัญญาณการขาดฮอร์โมนไทรอยด์ เช่น หน้าบวม ลิ้นบวมหนา เด็กร้องไห้มาก งอแง กรีดร้อง นอนนานขึ้นหรือนอนบ่อยขึ้น ท้องอืด ท้องผูก สะดือยื่นออกมา ปัญหาการรับประทานอาหาร กลืนลำบาก ภาวะกล้ามเนื้อตึงตัวน้อย (Hypotonia) ผิวซีด ผิวเย็น ผิวแห้ง ดีซ่าน โตช้า มีปัญหาในการหายใจ เสียงแหบ ปัญญาอ่อน คอบวมจากต่อมไทรอยด์ที่ขยายใหญ่ขึ้น หรือคอพอก ภาวะแทรกซ้อนของโรคเอ๋อ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้ไอคิวของเด็กลดลง กระทบต่อการเจริญเติบโตและความแข็งแรงของกระดูก และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา สัญญาณเตือนและวิธีดูแล

เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ความผิดปกติในพันธุกรรม ความพิการแต่กำเนิด เด็กกลุ่มนี้ควรได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ โดยเฉพาะจากคนในครอบครัว เนื่องจากครอบครัวเป็นพื้นฐานแรกที่อาจช่วยกระตุ้นพัฒนาการ และส่งเสริมสุขภาพจิตใจของเด็กให้ดีขึ้นได้ ซึ่งส่งผลดีต่อการบรรเทาความรุนแรงและควบคุมอาการที่พบในเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา อย่างไรก็ตาม หากคุณพ่อคุณแม่ต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับวิธีดูแลเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาเพิ่มเติม สามารถขอคำปรึกษาจากคุณหมอด้านพัฒนาการเด็กโดยตรง เพื่อให้ได้รับคำแนะนำที่เหมาะสมยิ่งขึ้น [embed-health-tool-bmi] ความบกพร่องทางสติปัญญาในเด็ก คืออะไร ความบกพร่องทางสติปัญญาในเด็ก คือ ภาวะที่เด็กมีระดับเชาวน์ปัญญาต่ำกว่าค่าเฉลี่ยและมีความผิดปกติด้านพฤติกรรมทางการปรับตัว โดยทักษะทางเชาวน์ปัญญา หรือความฉลาดทางปัญญา หรือที่เรียกว่าไอคิว (Intellectual functioning หรือ IQ) เป็นความสามารถในการเรียนรู้ การใช้เหตุผล การตัดสินใจ การแก้ปัญหา เป็นต้น ปกติแล้วคนทั่วไปมักได้คะแนนในการทดสอบระดับไอคิวระหว่าง 90-109 คนที่ IQ 80-89 คือต่ำกว่าปกติเล็กน้อย แต่ยังสามารถเรียนรู้ได้ใกล้เคียงปกติ หากมีระดับต่ำกว่า 70-79 ถือว่ามีความบกพร่องทางสติปัญญา ส่วนพฤติกรรมทางการปรับตัว (Adaptive Behavior) ถือเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การสื่อสารหรือสื่อความหมาย การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น การควบคุมตัวเอง การใช้เวลาว่าง การทำงาน ส่วนใหญ่แล้ว ความบกพร่องทางสติปัญญามักแสดงอาการก่อนอายุ 18 ปี ความบกพร่องทางสติปัญญาอาจเกิดจากการที่แม่ดื่มแอลกอฮอล์ ใช้สารเสพติด หรือสูบบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์ […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

โรคบกพร่องทางการเรียนรู้ หรือ LD คืออะไร อาการ สาเหตุ การรักษา

LD หรือ Learning Disorder คือ โรคบกพร่องทางการเรียนรู้ในด้านการอ่าน การเขียน การคำนวณ แต่อาจเรียนรู้หรือมีทักษะด้านอื่น ๆ เป็นปกติ เด็กที่เป็นโรคนี้อาจขาดความมั่นใจและแรงจูงใจในการพัฒนาศักยภาพตนเอง ทั้งนี้ พ่อแม่ควรสังเกตอาการของเด็กว่ามีพฤติกรรมอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ทั้งที่อยู่ในวัยที่ควรอ่านออกและเขียนได้หรือไม่ หากมีอาการ ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขอย่างตรงจุดและทันท่วงที LD คืออะไร  LD ย่อมาจาก Learning Disorder หมายถึง โรคบกพร่องทางการเรียนรู้ หรือภาวะการเรียนรู้บกพร่อง หรือกลุ่มอาการที่มีปัญหาหรือขาดทักษะด้านการเรียนรู้ ในด้านการอ่าน การเขียน และการคำนวณ ซึ่งอาจส่งผลให้เด็กมีทักษะในการเรียนรู้ช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกัน ทั้งยังอาจส่งผลกระทบต่อจิตใจ และการพัฒนาทักษะในการเข้าสังคมด้วย อาการของ LD อาการของ LD อาจแบ่งตามทักษะด้านที่บกพร่อง ดังนี้  ความบกพร่องทางการเขียน มีความบกพร่องในการเขียนพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ทำให้เขียนหนังสือและสะกดคำผิด มักพบร่วมกับความบกพร่องทางการอ่าน ความบกพร่องทางการอ่าน พบได้บ่อยที่สุด เด็กจะมีความบกพร่องในการจดจำ พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ อาจส่งผลทำให้เด็กอ่านหนังสือไม่ได้ อ่านได้ช้า อ่านออกเสียงได้ไม่ชัด เป็นต้น ความบกพร่องทางการคำนวณ เด็กจะไม่เข้าใจเรื่องตัวเลขและการคำนวณ ไม่สามารถบวก ลบ […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

เด็กพิเศษ มีกี่ประเภท และควรช่วยเหลืออย่างไร

เด็กพิเศษ หรือ เด็กที่มีความต้องการพิเศษ คือ กลุ่มเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือ การดูแล และการบำบัดฟื้นฟู แบ่งเป็น เด็กที่มีปัญญาเลิศและมีความสามารถพิเศษ เด็กที่มีความบกพร่องในด้านต่าง ๆ และเด็กยากจนและด้อยโอกาส เด็กพิเศษควรได้รับการดูแลด้านร่างกาย การใช้ชีวิต การเรียนรู้ทางวิชาการและการเข้าสังคม เพื่อพัฒนาศักยภาพให้มากขึ้นตามความสามารถของเด็ก โดยการช่วยเหลือและการดูแลอาจแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความจำเป็น และความต้องการของเด็กแต่ละคนด้วย [embed-health-tool-vaccination-tool] ประเภทของเด็กพิเศษ เด็กพิเศษแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ เด็กที่มีปัญญาเลิศและมีความสามารถพิเศษ เด็กที่มีความบกพร่องในด้านต่าง ๆ และเด็กยากจนและด้อยโอกาส ดังนี้ เด็กที่มีปัญญาเลิศและมีความสามารถพิเศษ เด็กที่มีปัญญาเลิศและมีความสามารถพิเศษ (Gifted or Talented Child) คือ เด็กที่มีความฉลาดและสติปัญญาที่สูงกว่าเกณฑ์ปกติ คือ มี IQ 130 ขึ้นไป มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และสามารถทำให้สำเร็จได้จริง รวมถึงเด็กที่มีความสามารถเฉพาะทางที่สูงกว่าปกติ เช่น ดนตรี คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษา ศิลปะ กีฬา เด็กกลุ่มนี้ถือเป็นเด็กพิเศษที่ควรได้รับการสนับสนุนทางความสามารถ และอาจต้องได้รับการเยียวยาจิตใจ เพราะครอบครัว เพื่อนฝูงและที่โรงเรียน อาจคาดหวังในความสามารถและสติปัญหาที่เป็นเลิศ จนเด็กรู้สึกกดดันมาก หรือถูกละเลยความรู้สึก หรืออาจไม่ได้รับการดูแลทางร่างกายและจิตใจ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม