ปัญหาสุขภาพเด็กแบบอื่น

การรู้ทุกอย่างเกี่ยวกับ ปัญหาสุขภาพเด็กแบบอื่น สามารถช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สนับสนุนการเติบโตและพัฒนาการในระยะยาวของพวกเขาได้ ค้นหาข้อมูลที่ได้รับการรับรองจากผู้เชี่ยวชาญจาก ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ปัญหาสุขภาพเด็กแบบอื่น

ไหลตายในเด็กทารก หรือ SIDS (Sudden Infant Death Syndrome)

โรค ไหลตายในเด็กทารก (Sudden Infant Death Syndrome หรือ SIDS) ส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดในเด็กอายุ 1 เดือน ถึง 1 ปี เป็นการเสียชีวิตของเด็กทารกอย่างกะทันหัน โดยไม่สามารถอธิบายถึงสาเหตุการเสียชีวิตได้ แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากความบกพร่องทางสมองในส่วนควบคุมการหายใจ ไม่สามารถรักษาหรือป้องกันได้ แต่อาจใช้วิธีดูแลอย่างใกล้ชิดในช่วงขวบปีแรกและพยายามให้ลูกนอนหงายหรือนอนตะแคงมากกว่านอนคว่ำ [embed-health-tool-”vaccination-tool”] คำจำกัดความไหลตายในเด็กทารก คืออะไร โรค ไหลตายในเด็กทารก (Sudden Infant Death Syndrome หรือ SIDS) เป็นกลุ่มอาการเสียชีวิตอย่างกะทันหันในเด็กทารกที่มีสุขภาพดีโดยไม่มีคำอธิบายถึงสาเหตุการเสียชีวิต แม้แพทย์จะตรวจสอบอย่างละเอียดแล้วก็อาจไม่พบสาเหตุของการเสียชีวิต แม้จะยังไม่ทราบถึงสาเหตุที่แน่ชัดว่าเกิดจากอะไร แต่ โรคไหลตายในทารก นั้นมีความเกี่ยวข้องกับความบกพร่องของสมองทารกในส่วนที่ควบคุมการหายใจและการตื่นตัวจากการนอนหลับ พบได้บ่อยเพียงใด โรคไหลตายในทารก ถือเป็นโรคที่พบได้ยาก แต่ถือว่าเป็นโรคที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่พบได้บ่อยที่สุดสำหรับเด็กในช่วงอายุ 1 เดือน ถึง 1 ปี ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดในช่วงอายุระหว่าง 2-4 เดือน อาการอาการของโรค ไหลตายในเด็กทารก โรคไหลตายในทารก ไม่มีอาการที่สามารถสังเกตเห็นได้ มักเกิดขึ้นอย่างกะทันหันในทารกที่ดูจะเหมือนแข็งแรงดี ควรไปพบหมอเมื่อใด โรคไหลตายในทารก มักจะไม่มีอาการที่สามารถสังเกตเห็นหรือมีสัญญาณเตือนใด ๆ ที่ควรต้องไปพบคุณหมอ สาเหตุของโรคสาเหตุของโรค ไหลตายในเด็กทารก โรคไหลตายในทารก เป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าเกิดจากอะไร แต่มีสาเหตุบางประการที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบ โดยสาเหตุที่เป็นไปได้ของโรคสามารถแบ่งได้เป็น 2 ปัจจัย […]

สำรวจ ปัญหาสุขภาพเด็กแบบอื่น

ปัญหาสุขภาพเด็กแบบอื่น

สัญญาณและอาการของโรคคาวาซากิ มีอะไรบ้าง

คุณพ่อคุณแม่อย่านิ่งนอนใจหากพบว่าลูกมีไข้สูงต่อเนื่องหลายวัน หมั่นสังเกตอาการผิดปกติ เฝ้าระวังดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะอาการดังกล่าวอาจไม่ใช่อาการของไข้หวัดธรรมดา ยิ่งถ้ามีผื่นคัน และต่อมน้ำเหลืองที่คอโตด้วยแล้ว อาจถือเป็น สัญญาณและอาการของโรคคาวาซากิ ซึ่งหากเป็นแล้วควรรีบเข้าพบคุณหมอเพื่อเข้ารับการรักษาทันที [embed-health-tool-vaccination-tool] โรคคาวาซากิ (Kawasaki’s Disease) ในเด็ก โรคคาวาซากิ (Kawasaki disease) เกิดจากการอักเสบในหลอดเลือดและต่อมน้ำเหลืองของเยื่อบุผิวหนัง เมื่อเป็นโรคคาวาซากิจะมีอาการต่อมน้ำเหลืองโตที่คอ มีไข้สูง ผื่นขึ้นตามผิวหนัง ในกรณีที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการปวดท้อง ท้องเสีย และอาเจียน ร่วมด้วย ทั้งนี้ โรคคาวาซากิ พบบ่อยในเด็กที่มีอายุระหว่าง 6 เดือน ถึง 5 ปี  ที่อาศัยอยู่ในแถบทวีปเอเชีย สาเหตุของโรคคาวาซากิ ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของโรคคาวาซากิ  โดยส่วนใหญ่เด็กมักป่วยเป็นโรคคาวาซากิในช่วงฤดูหนาว ซึ่งสันนิษฐานว่าเกิดจากสาเหตุและปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ อายุ พบได้บ่อยในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี เนื่องจากภูมิคุ้มกันของเด็กในช่วงวัยนี้ยังไม่สมบูรณ์และแข็งแรงดีนัก จึงอาจติดเชื้อได้ง่าย เพศ เด็กผู้ชายมีความเสี่ยงที่ติดเป็นโรคคาวาซากิมากกว่าเด็กผู้หญิง 1.5 เท่า เนื่องจากอาจชอบเล่นกลางแจ้ง และทดลองทำสิ่งใหม่ ๆ อาจทำให้เสี่ยงติดเชื้อจากวัตถุหรือพื้นผิวต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวได้มากกว่า เชื้อชาติ โรคคาวาซากิพบมากในแถบเอเชีย สัญญาณและอาการของโรคคาวาซากิ อาการของโรคคาวาซากิ แบ่งออกเป็น 3 […]


ปัญหาสุขภาพเด็กแบบอื่น

เลือกแว่นสายตาให้ลูกน้อย อย่างไรให้เหมาะสม

เรื่องของสายตานั้นเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและสำคัญอย่างมาก เนื่องจากเมื่อเกิดปัญหาขึ้นกับสายตามักจะรักษาหรือแก้ไขได้ยาก สำหรับเด็ก ๆ ปัญหาสายตาสั้นมักเป็นเรื่องที่พบได้บ่อย แล้วเมื่อถึงเวลาจะต้อง เลือกแว่นสายตาให้ลูกน้อย คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกอย่างไร จึงจะปลอดภัยและรักษาสายตาของลูกน้อยให้มากที่สุด [embed-health-tool-vaccination-tool] วิธี เลือกแว่นสายตาให้ลูกน้อย เมื่อลูกน้อยมีปัญหาสายตา เช่น สายตาสั้น สายตาเอียง การชักชวนให้ลูกน้อยสวมใส่แว่นสายตาในทุก ๆ วัน ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ยากสำหรับคุณพ่อคุณแม่ ดังนั้น การใส่ใจรายละเอียด และการเลือกแว่นสายตาให้เหมาะสมอาจจะช่วยให้ลูกน้อยต้องการสวมแว่นสายตา และวิธีการ เลือกแว่นสายตาให้ลูกน้อย อาจทำได้ ดังนี้ ปรึกษาจักษุแพทย์ โดยส่วนใหญ่แล้วทางจักษุแพทย์จะเป็นคนวัดค่าสายตาและออกใบสั่งยาให้ ดังนั้น การตรวจสอบปัญหา และปรึกษาเพื่อหาข้อสรุปกับจักษุแพทย์ให้ถี่ถ้วนเสียก่อน เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด ตรวจสอบให้แน่ใจว่ากรอบแว่นสายตาพอดี ในกระบวนการเลือกแว่นสายตา คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจกับการเลือกกรอบแว่นเป็นอันดับต้น ๆ เพื่อให้ลูกน้อยรู้สึกอยากใส่ อาจเป็นลายการ์ตูนหรือสีสันสดใส นอกจากนั้น กรอบแว่นของลูกน้อยควรจะมีความพอดี ต้องไม่บีบหูหรือบีบจมูกมากเกินไป วัสดุของแว่นตาที่สัมผัสกับผิวบนใบหน้าควรเป็นวัสดุที่ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวของลูกน้อย โดยส่วนใหญ่แล้วแว่นสายตาที่จะใส่สบายสำหรับเด็กก็คือ แว่นสายตาที่ทำจากยางและมีห่วงพันรอบศีรษะ เพื่อป้องกันแว่นตาหล่นและทำให้ยากต่อการถอด ที่สำคัญหากวัสดุแว่นมีน้ำหนักเบา จะยิ่งเพิ่มความสบายในการสวมใส่เป็นระยะเวลานาน ๆ อีกด้วย เลือกแว่นที่มีดีไซน์ทันสมัยและเหมาะกับวัย เด็กส่วนใหญ่จะมีแว่นสายตาเป็นของตัวเองครั้งแรก ดังนั้น การเลือกกรอบแว่นให้มีสไตล์ที่ทันสมัยและน่าสนใจจะช่วยให้เด็ก ๆ อยากใส่แว่นไว้ตลอดเวลา นอกจากนี้ คุณสมบัติต่าง ๆ ของเลนส์ก็เป็นส่วนที่สำคัญ เช่น เลนส์เปลี่ยนสีอัตโนมัติเมื่ออยู่กลางแสงแดดหรือในที่มืด สิ่งเหล่านี้อาจช่วยดึงดูดใจให้ลูกน้อยอยากสวมแว่นสายตาได้ เลือกแว่นสายตาที่มีคุณภาพช่วยรักษาสายตา เลนส์ของแว่นสายตาควรอยู่บริเวณตาพอดี ไม่เช่นนั้นเด็ก […]


ปัญหาสุขภาพเด็กแบบอื่น

โรคหลอดเลือดหัวใจเกิน สาเหตุ อาการ และการรักษา

โรคหลอดเลือดหัวใจเกิน (Patent ductus arteriosus; PDA) เป็นความผิดปกติของหัวใจที่พบได้บ่อยในทารกที่คลอดก่อนกำหนด ส่งผลให้มีเลือดส่งไปที่ปอดมากกว่าปกติ และอาจทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย และเจริญเติบโตช้า โรคหลอดเลือดหัวใจเกิน คืออะไร โรคหลอดเลือดหัวใจเกิน เกิดจากการที่หลอดเลือดแดงหัวใจดักตัสอาร์เทอริโอซัส (Ductus Arteriosus) ที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบหมุนเวียนโลหิตปิดไม่สนิทหลังจากที่ทารกคลอด ความผิดปกติดังกล่าวนี้ส่งผลให้เลือดส่งไปที่ปอดมากกว่าปกติ โดยส่วนใหญ่โรคนี้มักพบบ่อยในทารกคลอดก่อนกำหนด และอาจพบได้บ่อยในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย [embed-health-tool-vaccination-tool] สาเหตุใดที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจเกิน โรคหลอดเลือดหัวใจเกินพบได้บ่อยในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย  โดยอาจเกิดจากสาเหตุ ดังต่อไปนี้ การคลอดก่อนกำหนด ความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น อาการดาวน์ซินโดรม ทารกที่เกิดจากแม่ที่เป็นโรคหัดเยอรมัน ปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ อาการของโรคหลอดเลือดหัวใจเกิน หากทารกมีอาการดังต่อไปนี้ แสดงว่าอาจเข้าข่ายต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจเกิน คุณพ่อคุณแม่ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทันที เพื่อรับการวินิจฉัยและรับการรักษาที่ถูกต้อง หายใจเร็ว รับประทานอาหารได้น้อย หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออกขณะรับประทานอาหาร อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เจริญเติบโตช้ากว่าปกติ วิธีการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจเกิน สำหรับวิธีการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจเกิน จะขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการของแต่ละคน  โดยมีวิธีการรักษาดังต่อไปนี้ ตรวจเช็กอาการ  ในเบื้องต้นทารกที่คลอดก่อนกำหนด แพทย์จะทำการตรวจเช็กอาการของทารก ในระยะ 2 ปีแรก เพื่อให้มั่นใจว่าหลอดเลือดหัวใจของทารกปิดเรียบร้อยดีแล้ว รักษาด้วยยา หากภายในระยะเวลา 2 ปี พบว่าหลอดเลือดหัวใจของทารกยังไม่ปิด แพทย์อาจจ่ายยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น อินโดเมทาซิน (Indomethacin)  ไอบูโพรเฟน […]


ปัญหาสุขภาพเด็กแบบอื่น

ขาโก่ง ในเด็กใช่สัญญาณสะท้อนปัญหาสุขภาพกระดูกหรือไม่

ขาโก่ง เป็นอาการเกี่ยวกับกระดูกขาที่พบได้ในวัยทารก และมักสร้างความวิตกกังวลใจให้คุณพ่อคุณแม่เป็นอย่างมาก เนื่องจากความเชื่อตั้งแต่สมัยโบราณ ทำให้หลายครอบครัวเลือกวิธีแก้อาการขาโก่งด้วยตัวเองแทนการปรึกษาคุณหมอ แท้ที่จริงแล้วอาการขาโก่งนั้นร้ายแรงหรือไม่ จะป้องกันได้ไหม มีวิธีการรักษาอย่างไร คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาอาการขาโก่งให้เข้าใจมากขึ้น เพื่อจะได้ปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ขาโก่ง คืออะไร ขาโก่ง (Bowlegs)  คือ ลักษณะอาการเมื่อยืนเท้าชิดกันแต่ช่วงหัวเข่าจะโค้งแยกออกจากกัน ส่วนใหญ่มักพบในวัยทารกและจะหายได้เองตามธรรมชาติเมื่อเด็กเริ่มมีอายุระหว่าง 12-18 เดือน ขาเด็กจะเริ่มเหยียดตรงเป็นปกติ ไม่จำเป็นต้องรับการรักษา อย่างไรก็ตาม ลักษณะอาการดังกล่าวนี้อาจเป็นสัญญาณของอาการเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ เช่น โรคกระดูกอ่อน โรคข้ออักเสบในหัวเข่าและสะโพก ขาโก่ง ตรวจสอบได้อย่างไร อาการขาโก่งของลูกอาจเกิดจากธรรมชาติ หรืออาจเกิดความผิดปกติจากอาการเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ โดยอาจสังเกตได้ ดังนี้ อาการขาโก่งตามธรรมชาติ เมื่อเด็กทารกคลอดออกมาใหม่ ๆ คุณแม่จะสังเกตได้ว่าเข่าทั้ง 2 ข้างของลูกจะห่างกัน แม้ว่าข้อเท้าจะชิดกัน ซึ่งอาการดังกล่าวอาจเป็นเรื่องปกติในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 เดือน อย่างไรก็ตาม หากลูกน้อยมีอาการขาโก่งจนถึงอายุ 3 ขวบ นั่นอาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงอาการเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปปรึกษาคุณหมอเพื่อเข้ารับการวินิจฉัยโรคและรับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม อาการขาโก่งแบบผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติจากอาการเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ หากเด็กมีอาการขาโก่ง อาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ โรคเบล้าท์ (Blount’s Disease) เป็นความผิดปกติของการเจริญเติบโตของกระดูกหน้าแข้ง […]


ปัญหาสุขภาพเด็กแบบอื่น

เขย่าทารก พฤติกรรมอันตรายที่ผู้ใหญ่ควรระวัง

เขย่าทารก เป็นพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดภาวะ Shaken Baby Syndrome เพราะเมื่อคุณพ่อคุณแม่เล่นกับลูกน้อยด้วยการจับลูกเขย่า หรือเขย่าเพื่อให้ลูกหยุดร้อง อาจส่งผลให้เกิดเลือดออกในสมอง เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และอาจร้ายแรงถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้ โดยเฉพาะเด็กทารกที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี Shaken Baby Syndrome เกิดจากอะไร เขย่าทารก เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะ Shaken Baby Syndrome พบในเด็กทารกวัย 3 – 8 เดือน เพราะแรงเขย่านั้นส่งผลให้เนื้อสมองเกิดการกระแทกกับผนังกะโหลกศีรษะ โดยสมองของเด็กวัยนี้จะมีน้ำในช่องสมองมากกว่าเนื้อสมอง เมื่อเขย่าตัวเด็กแรงๆ เนื้อสมองจึงเกิดการแกว่งไปแกว่งมาแล้วกระแทกกับกะโหลก จนทำให้เนื้อสมองเกิดความบอบช้ำเสียหาย เพราะเหตุใดจึงห้าม เขย่าทารก สมองของเด็กทารกนั้นมีขนาดใหญ่ อีกทั้งกล้ามเนื้อคอก็ยังไม่แข็งแรงมากพอต่อการพยุงศีรษะได้ ดังนั้นการเขย่าทารกอย่างรุนแรงจะทำให้เนื้อสมองกระทบกระแทกกับกะโหลกศีรษะ ส่งผลให้เส้นเลือดที่หุ้มสมองอันบอบบางนั้นเกิดการฉีกขาดได้ จนกระทั่งเกิดภาวะเลือดออกจากสมองที่เป็นอันตราย อาการที่เกิดจากการเขย่าทารก เมื่อเด็กทารกถูกเขย่าตัวแรง ๆ อาจเกิดบาดแผลภายในที่ไม่สามารถมองเห็นได้ แต่คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตจากความผิดปกติบางอย่าง เช่น ซึม ไม่กินนม อาเจียน  ร้องไห้งอแงตลอดเวลา หายใจลำบากจนกระทั่งไม่สามารถตอบสนองต่อเสียงเรียกได้ ซึ่งเป็นอาการที่คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด หากปล่อยทิ้งไว้นานอาจมีอาการรุนแรงขึ้นจนถึงเสียชีวิตได้ การกระทำแบบไหนที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ควรระวัง เพื่อป้องกันการเกิด Shaken Baby Syndrome คุณพ่อคุณแม่และผู้ใหญ่ที่ต้องการเล่นกับเด็กทารกควรหลีกเลี่ยงการกระทำเหล่านี้ จับตัวทารกเหวี่ยงไปมา การจับตัวทารกเหวี่ยงไปมาแรง ๆ จนหัวสั่นคลอน ย่อมส่งผลต่อสมองของทารก […]


ปัญหาสุขภาพเด็กแบบอื่น

โรคโมยาโมยา ในเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ ไม่สามารถประมาทได้

ถึงแม้ โรคโมยาโมยา จะเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ค่อนข้างยาก และยังไม่เป็นที่รู้จักกันมากนัก แต่ก็สามารถส่งผลอันตรายร้ายแรงแก่ลูกน้อย ดังนั้น จึงควรเรียนรู้วิธีการสังเกตอาการ ควรถึงวิธีการรักษาอย่างเหมาะ เพื่อสุขภาพของลูกน้อย [embed-health-tool-vaccination-tool] รู้จักกับ โรคโมยาโมยา ที่คุณพ่อคุณแม่ศึกษาไว้ โรคโมยาโมยา (Moyamoya disease) ในภาษาญี่ปุ่นนั้นแปลได้ว่า กลุ่มควัน สาเหตุที่เรียกเช่นนี้ เป็นเพราะผนังหลอดเลือดแดงภายในสมองหนาขึ้นจนเกิดการอุดตัน ส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดและออกซิเจนที่จำเป็นไปเลี้ยงสมองลดลง แต่ก็ยังคงมีเส้นเลือดกลุ่มอื่นๆ ที่คอยสนับสนุนโดยการลำเลียงเลือดเข้าไปช่วย จนเกิดเป็นกลุ่มก้อนบริเวณรอบๆ คล้ายกลุ่มควันลอยตัว ส่วนใหญ่โรคโมยาโมยาพบได้มากทางด้านแถบเอเชียตะวันออก และสามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะกับเด็ก 5-10 ขวบขึ้นไป โรคนี้จะไม่ได้แสดงอาการในทันที แต่ค่อยๆ เป็นไปอย่างช้าๆ ตามลำดับขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 หลอดเลือดแดงคาโรทิด (carotid arteries) เริ่มมีการจำกัดการลำเลียงเลือด ขั้นที่ 2 หลอดเลือดมีผนังที่ขยายใหญ่ขึ้นจนเกิดการอุดตันขึ้น ขั้นที่ 3 มีแรงกดจากผนังที่หนาขึ้นจนทำให้การไหลเวียนเลือดของสมองส่วนหน้าและส่วนกลางลดลง ขั้นที่ 4 การอุดตันหลอดเลือดลุกลามไปยังสมองส่วนหลัง ขั้นที่ 5 สมองทุกส่วนเกิดการขาดเลือดและก๊าซออกซิเจนไปเลี้ยง ขั้นที่ 6 เป็นการอุดตันของหลอดเลือดแดงคาโรคทิดทั้งภายในและภายนอกโดยสมบูรณ์ หากคุณพ่อคุณแม่ชะล่าใจ หรือประมาทแม้แต่เล็กน้อย อาจทำให้ลูกรักของคุณสูญเสียการทำงานของร่างกายอย่างถาวร ยากที่จะคืนสภาพกลับมาเป็นดังเดิม  อาการที่บ่งบอกว่าลูกน้อยของคุณควรเข้าปรึกษาแพทย์ […]


ปัญหาสุขภาพเด็กแบบอื่น

ไบโพลาร์ในเด็ก อาการ ปัจจัยเสี่ยง และการรับมือ

ไบโพลาร์ในเด็ก อาจสังเกตได้จากอาการอารมณ์แปรปรวนผิดปกติ สมาธิสั้น หุนหันพลันแล่น ก้าวร้าว หงุดหงิดง่าย หรือมีพฤติกรรมที่ดปลี่ยนแปลงไป คุณพ่อคุณแม่ควรคอยสังเกตอาการของลูก และปรึกษาคุณหมอเพื่อหาวิธีการรับมือกับโรคไบโพลาร์ในเด็กอย่างเหมาะสม อาการของไบโพลาร์ในเด็ก โรคไบโพลาร์ในเด็ก เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กทุกเพศ ทุกวัย โรคไบโพลาร์ในเด็กสามารถทำให้อารมณ์ของพวกเขามีความแปรปรวน ตั้งแต่ระดับสูงจนถึงระดับต่ำ พวกเขาอาจมีอาการสมาธิสั้น อาการสงบ หรือบางครั้งก็เกิดภาวะซึมเศร้า ซึ่งอาการอารมณ์แปรปรวนในเด็ก ๆ ถือเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ แต่หากเด็ก ๆ มีอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญานที่บ่งบอกว่าเขามีอาการโรคไบโพลาร์ มีอารมณ์แปรปรวนที่รุนแรง แตกต่างจากอารมณ์แปรปรวนตามปกติที่เกิดขึ้นในทุก ๆ วัน มีอาการสมาธิสั้น มีพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น ก้าวร้าว หรือมีพฤติกรรมต่อต้านสังคม มีปัญหาในการนอนหลับ หรือเป็นโรคนอนไม่หลับ มีอารมณ์หงุดหงิด เกือบทั้งวันในช่วงที่มีอาการซึมเศร้า มีความคิดที่อยากฆ่าตัวตาย พูดคุยเกี่ยวกับเรื่องเพศหรือแสดงพฤติกรรมที่มีความสนใจทางเพศ รู้สึกไร้ค่า มีอาการร่าเริงผิดปกติ หรือมีพฤติกรรมที่ไม่สมเหตุสมผล ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดไบโพลาร์ในเด็ก ยังไม่มีความชัดเจนถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค ไบโพลาร์ในเด็ก แต่ปัจจัยหลาย ๆ อย่างอาจเพิ่มความเสี่ยงของเด็กในการพัฒนาความผิดปกตินี้ เช่น พันธุกรรม การที่คนในครอบครัวมีประวัติเคยเป็นโรคไบโพลาร์ เป็นหนึ่งในความน่าจะเป็นที่เป็นความเสี่ยง ที่ถือว่าเป็นความเสี่ยงที่ใหญ่ที่สุด หากสมาชิกในครอบครัวคนอื่นมีความผิดปกติของโรคไบโพลาร์ เด็กที่เกิดมาก็อาจจะมีแนวโน้มที่จะมีอาการโรคไบโพลาร์ ปัญหาระบบประสาท โครงสร้างของสมองหรือการทำงานของสมอง ที่มีความผิดปกติสามารถทำให้เด็กมีความเสี่ยงที่จะพัฒนาเป็นโรคไบโพลาร์ได้ สภาพแวดล้อม สภาพแวดล้อมที่เจอในชีวิตประจำวันก็เป็นส่วนหนึ่งที่สามารถทำให้มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไบโพลาร์ได้ หากเด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความเครียด กดดัน ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคไบโพลาร์ บาดแผลทางจิตใจ การมีเหตุการณ์ในวัยเด็กที่ไม่พึงประสงค์ เกิดขึ้นซ้ำๆ หลายๆ ครั้ง […]


ปัญหาสุขภาพเด็กแบบอื่น

สายตาสั้น ในเด็ก รู้หรือไม่ เกิดขึ้นได้อย่างไร?

สายตาสั้น ในเด็ก อาจเกิดจากพันธุกรรมที่ได้รับสืบทอดกันมาในครอบครัว โดยอาจมีปัจจัยเสี่ยงบางอย่างเป็นตัวกระตุ้น เช่น การใช้สายตาอย่างหนัก การใช้สายตาในที่มืด การมองจอมือถือ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการมองเห็นและการใช้ชีวิตประจำวันได้ ดังนั้น พ่อแม่จึงควรเรียนรู้วิธีการดูแลและแก้ไขปัญหาสายตาสั้นให้ลูกน้อย [embed-health-tool-vaccination-tool] สายตาสั้น ในเด็ก เกิดขึ้นได้อย่างไร? ส่วนใหญ่แล้ว “สายตาสั้น” มักเกิดขึ้นจากการได้รับพันธุกรรม ของคุณพ่อคุณแม่โดยตรง ซึ่งเมื่อเด็กมีสายตาสั้น จะทำให้พวกเขา เห็นภาพในระยะไกลไม่ชัดเจน หรือภาพที่เห็น อาจจะพร่ามัว แต่นอกจากการได้รับพันธุกรรมแล้ว สายตาสั้น ยังเกิดขึ้นได้เมื่อเด็ก ใช้สายตาอย่างละเอียด หรือใช้สายตาอย่างใกล้ชิดจนเกินไป นอกจากนั้นการอ่านหนังสือ เล่นเกมบนมือถือ หรือแท็บเลต หนักมากเกินไปก็อาจส่งผลให้ สายตาสั้นได้ ภาวะสายตาสั้นในเด็ก มีสัญญาณอะไรบ่งบอก สำหรับ ภาวะสายตาสั้นในเด็กนั้น มักจะถูกพบ ในช่วงอายุ 9-10 ปี ซึ่งสัญญาณเริ่มแรกที่เกิดขึ้น คือ ลูกของคุณจะไม่สามารถอ่านข้อความบนกระดานดำจากหลังห้องได้ แต่ยังสามารถอ่านและเขียนได้โดยไม่มีปัญหาอะไร นอกจาก หากมีอาการเหล่านี้ปรากฏร่วมด้วย ก็ถือว่า เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า ลูกของคุณกำลังสายตาสั้น ซึ่งอาการต่างๆ มีดังนี้ ปวดศีรษะ มีอาการคลื่นไส้ หลังจากอ่านหนังสือ ถือหนังสือใกล้ใบหน้ามากกว่าปกติ เวลาเขียนหนังสือ จะมีพฤติกรรมเอาหน้าชิดโต๊ะ นั่งดูโทรทัศน์ในระยะใกล้ขึ้น […]


ปัญหาสุขภาพเด็กแบบอื่น

โรคเบาหวานชนิดที่1ในเด็ก สัญญาณเตือนและอาการ มีอะไรบ้าง

โรคเบาหวานชนิดที่1ในเด็ก หรือที่มักจะเรียกว่า โรคเบาหวานในเด็กและวัยรุ่น (Juvenile diabetes) จะเริ่มแสดงอาการหลังจากอายุ 5 ปี หรือบางคนอาจไม่มีอาการจนกระทั่งปลายอายุ 30 ปี โดยเป็นภาวะที่ร่างกายของเด็กไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ได้อีกต่อไป เด็กจึงต้องได้รับการฉีดอินซูลินตลอดชีวิต นอกจากนี้ ทั้งพ่อแม่และเด็กยังต้องเรียนรู้วิธีการฉีดอินซูลิน นับปริมาณคาร์โบไฮเดรต และตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งเป็นหนึ่งวิธีดูแลตนเองสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่1ในเด็ก [embed-health-tool-vaccination-tool] สัญญาณและอาการของ โรคเบาหวานชนิดที่1ในเด็ก สัญญาณและอาการของ โรคเบาหวานชนิดที่1ในเด็ก โดยปกติมักจะพัฒนาอย่างรวดเร็ว ภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ โดยเด็กอาจมีอาการดังนี้ กระหายน้ำมากขึ้น และปัสสาวะบ่อย น้ำตาลส่วนเกินที่สะสมอยู่ในกระแสเลือด จะดึงของเหลวออกจากเนื้อเยื่อ ส่งผลให้เด็กรู้สึกหิวน้ำ ทำให้ดื่มน้ำและปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ นอกจากนี้ เด็กที่ป่วยเป็นเบาหวานชนิดที่ 1 อาจมีอาการปัสสาวะรดที่นอนด้วย รู้สึกหิวมากกว่าปกติ เมื่อร่างกายมีอินซูลินไม่เพียงพอ ที่จะนำน้ำตาลไปยังหล่อเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย อาจส่งผลให้กล้ามเนื้อและอวัยวะต่าง ๆ ของเด็กขาดพลังงาน กระตุ้นให้เกิดความหิว จนทำให้เด็กอาจรู้สึกหิวมากเป็นพิเศษ น้ำหนักลด แม้ว่าจะรับประทานมากกว่าปกติเพื่อบรรเทาความหิว แต่เด็กที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่1 มักมีน้ำหนักลดลง และในบางครั้งน้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากร่างกายไม่มีแหล่งพลังงานอย่างน้ำตาล เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อและไขมันจะหดตัว ซึ่งภาวะน้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ มักจะเป็นสัญญาณแรกของโรคเบาหวานชนิดที่ 1  ที่สามารถสังเกตได้ในเด็ก เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย การขาดน้ำตาลของเซลล์ในร่างกาย […]


ปัญหาสุขภาพเด็กแบบอื่น

เด็กตาเหล่ วิธีสังเกตและการรักษา

เด็กตาเหล่ สามารถรักษาได้หากพบอาการตั้งแต่เด็กอายุยังน้อย ยิ่งพบในอายุน้อยเท่าไหร่ โอกาสประสบความสำเร็จในการรักษายิ่งสูง คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตลูกน้อยว่ามีพัฒนาการทางสายตาเหมาะแก่วัยหรือไม่ หากพบอาการผิดปกติหรือไม่แน่ใจว่าเป็นอาการตาเหล่หรือไม่ ควรปรึกษาคุณหมอ เพราะหากปล่อยทิ้งไว้อาจเกิดอาการแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายแก่ดวงตาได้ เช่น โรคตาขี้เกียจ (Amblyopia) เด็กตาเหล่ มีอาการอย่างไร ตาเหล่ หรือตาเข คืออาการที่ดวงตาทั้งสองข้างอยู่ในตำแหน่งที่ผิดปกติหรือไม่เท่ากัน โดยอาจเห็นได้ว่าดวงตาข้างหนึ่ง อาจมองตรงไปข้างหน้า ในขณะที่ดวงตาอีกข้างอาจจะเหลือกขึ้นบน เหลือกลงล่าง พลิกกลับเข้าด้านใน หรือโปนออกด้านนอก เป็นต้น โดยปกติแล้ว ดวงตาจะมีกล้ามเนื้อ 6 มัด ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหว เพื่อให้ดวงตาทั้งสองข้างทำงานร่วมกันได้อย่างสอดคล้อง อาการตาเหล่จะเกิดขึ้นเมื่อระบบควบคุมกล้ามเนื้อดวงตาในสมองทำงานผิดปกติ ส่งผลให้มัดกล้ามเนื้อในดวงตาไม่สามารถทำงานสอดประสานกันเพื่อเคลื่อนไหวดวงตาไปมา ทำให้ดวงตามองไปในตำแหน่งที่ต่างกัน และไม่สามารถมองไปในทิศทางเดียวกันพร้อมกันได้ อาการตาเหล่อาจเป็นตั้งแต่เกิด หรือเกิดขึ้นได้เมื่อดวงตาได้รับผลกระทบจากการหักเหของแสงผิดปกติ เช่น จากภาวะสายตายาว สายตาสั้น หรือสายตาเอียง รวมถึงอาจเกิดขึ้นได้จากความป่วยไข้ หรือการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและเส้นประสาทได้เช่นกัน หากปล่อยไว้อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพดวงตา เช่น โรคตาขี้เกียจ (Amblyopia) จะรู้ได้อย่างไรว่า เด็กตาเหล่ หากเด็กมีอาการตาเหล่ จะสังเกตเห็นว่าตาดำสองข้างจะไม่อยู่ในแนวเดียวกัน และมองไปคนละทิศทาง ในเด็กทารก อาจพบว่ามีอาการตาเขได้เวลาที่เด็กรู้สึกเหนื่อยล้า แต่ไม่ได้หมายความว่าจะมีอาการตาเหล่โดยกำเนิด  อย่างไรก็ตาม หลังจากอายุ 4 เดือนไปแล้ว ผู้ปกครองควรนำลูกไปพบคุณหมอเพื่อเข้ารับการตรวจ และหากทารกต้องหมุนศีรษะเวลามองสิ่งของ หรือหลับตาลงเพียงข้างเดียวเวลาเห็นแสงแดดจ้า อาจถือได้ว่ามีสัญญาณของอาการตาเหล่ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม