backup og meta

ตารางการให้วัคซีนในเด็ก กับสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 11/04/2022

    ตารางการให้วัคซีนในเด็ก กับสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

    ตารางการให้วัคซีนในเด็ก อาจแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแต่ละประเทศเกี่ยวกับอุบัติการณ์โรค ความรุนแรงของโรค ประสิทธิภาพของวัคซีน ราคาของวัคซีน และสถานการณ์โดยรวมของวัคซีนในประเทศ ซึ่งตารางการให้วัคซีนในเด็กของประเทศไทยนั้นจะถูกกำหนดโดยกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นวัคซีนขึ้นพื้นฐานที่เด็กไทยควรได้รับเอาไว้ โดยจะเน้นในเรื่องของวัคซีนป้องกันโรคที่เป็นปัญหาสำคัญ

    ตารางฉีดวัคซีนสำหรับเด็ก

    ในขณะที่องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (Food and Drug Administration หรือ FDA) ตัดสินใจว่า จะจำหน่ายวัคซีนในสหรัฐอเมริกาหรือไม่ ทางอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (Advisory Committee on Immunization Practice หรือ ACIP) จึงทำหน้าที่ในการให้คำแนะนำว่าควรให้วัคซีนชนิดใดและเมื่อไหร่ ซึ่งคำแนะนำเหล่านี้ถูกทางหน่วยงานป้องกันโรคติดต่อในสหรัฐอเมริกา (Centers for Disease Control and Prevention หรือ CDC) สมาคมกุมารแพทย์แห่งอเมริกา (American Academy of Pediatrics; AAP) และทีมแพทย์ทั่วประเทศ นำมาใช้ในภายหลัง เพื่อใช้ในการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะเด็ก ๆ

    • อนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค เป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขและการแพทย์ ประกอบด้วย กลุ่มสมาชิกที่ลงคะแนน 15 คน ซึ่งได้รับเลือกจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสุขภาพและบริการมนุษย์แห่งสหรัฐอเมริกา (United States Secretary of Health and Human Services) หลังจากการสมัครและขั้นตอนการเสนอชื่อ ในกลุ่มนี้จะมี 14 คนที่มีประสบการณ์มากมายในด้านการแพทย์หรือสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการฉีดวัคซีน เช่น นักวิจัย แพทย์ และผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ ซึ่งอย่างน้อยก็มีตัวแทนผู้บริโภคที่สามารถเสนอมุมมองเกี่ยวกับผลกระทบโดยตรงของตารางการฉีดวัคซีน เช่น การเปลี่ยนแปลงกำหนดการอาจส่งผลกระทบต่อชุมชนอย่างไร
    • ตัวแทนจากองค์กรวิชาชีพหลาย 10 แห่ง เช่น สมาคมกุมารแพทย์แห่งอเมริกา (American Academy of Pediatrics หรือ AAP) และสมาคมแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวของอเมริกา (American Academy of Family Physicians หรือ AAFP) สมาชิกเหล่านี้อาจให้ข้อมูลเชิงลึกและมุมมองเกี่ยวกับคำแนะนำที่เป็นไปได้หรือการเปลี่ยนแปลงกำหนดการ แต่พวกเขาจะไม่มีสิทธิ์ในการโหวต

    เพื่อป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ สมาชิกนักวิจัยที่มีความสัมพันธ์กับผู้ผลิตวัคซีนในปัจจุบันจะถูกปฏิเสธไม่ให้โหวตลงคะแนน จึงทำให้นักวิจัยที่กระตือรือร้นในการศึกษาวัคซีนบางชนิดไม่สามารถเข้าร่วมในการโหวตเกี่ยวกับวัคซีนที่กำลังศึกษาอยู่ หรือวัคซีนที่ทำโดยบริษัทที่ให้เงินสนับสนุนการวิจัยได้

    ตารางวัคซีน มีการอัพเดตบ่อยแค่ไหน

    อนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (Advisory Committee on Immunization Practice หรือ ACIP) มีการจัดประชุมปีละ 3 ครั้ง เพื่อศึกษาวิจัยประเด็นทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนที่มีอยู่ในปัจจุบัน พร้อมทั้งอัพเดตกำหนดการให้สอดคล้องกับปัจจุบันมากที่สุด นอกจากนี้ การจัดประชุมขึ้นก็เพื่อให้กระบวนการทั้งหมดโปร่งใส โดยคณะกรรมการจะโพสต์รายงานการประชุมและวาระการประชุมที่กำหนดเวลาไว้บนเว็บไซต์ของหน่วยงานป้องกันโรคติดต่อในสหรัฐอเมริกา และการประชุมทั้งหมดของอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคจะเปิดให้สาธารณชนเข้าชม และถ่ายทอดสดผ่านเว็บคาสต์ (Webcast)

    ระหว่างการประชุม สมาชิกผู้ทำงานในกลุ่มงานย่อยที่เน้นวัคซีนและโรคที่เฉพาะเจาะจง อาจทำหน้าที่เจาะลึกการวิจัยล่าสุดทั้งหมด รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนที่ยังไม่ได้รับการรองรับจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา เพื่อที่จะบรรยายสรุปให้กับคณะกรรมการทั้งหมด รวมทั้งอาจมีการพูดคุยเกี่ยวกับวัคซีนใหม่ โดยมีการอัพเดตอย่างต่อเนื่องจากสมาชิกในกลุ่มงานก่อนที่จะมีการพิจารณาเพิ่มตารางการฉีดวัคซีน เมื่อสมาชิกออกเสียงลงคะแนน อาจต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายประการ ได้แก่

    • วัคซีนและวัคซีนอื่น ๆ ที่ได้รับในเวลาเดียกัน มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพเมื่อได้รับในช่วงอายุที่กำหนดหรือไม่
    • วัคซีนป้องกันโรคหรือภาวะที่ร้ายแรง อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหรือไม่
    • เด็กจำนวนมากอาจเป็นโรคนี้หรือไม่หากไม่ได้รับวัคซีน
    • ข้อเสนอแนะนี้มีประโยชน์เพียงใดสำหรับผู้ป่วยและผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ที่จะต้องปฏิบัติตาม

    หลังจากคำถามเหล่านี้ และคำถามอื่น ๆ ทั้งหมดได้รับการอภิปรายและถกเถียงกันอย่างละเอียดถี่ถ้วน รวมถึงประชาชนได้รับโอกาสในการแบ่งปันความคิดเห็นในระหว่างการประชุม คณะกรรมการจะลงมติให้เพิ่ม ลด หรือแก้ไขคำแนะนำบางอย่าง จากนั้นจึงมีการเผยแพร่กำหนดการใหม่ที่แก้ไขแล้วในช่วงต้นปีปฏิทินของแต่ละปี

    โดยกำหนดการที่ประการออกมานี้ไม่ได้เป็นการบอกผู้ปกครองว่า ต้องฉีดวัคซีนอะไรในโรงเรียน เนื่องจาก รายชื่อวัคซีนต่าง ๆ จะถูกกำหนดโดยรัฐบาลของแต่ละรัฐ แต่จุดประสงค์หลักของการประชุม คือ เพื่อเป็นแนวทางให้แพทย์ ผู้ปกครอง และผู้ที่ดูแลเกี่ยวกับวัคซีนที่ควรได้รับเป็นประจำ โดยอาจต้องพิจารณาจากปัจจัยหลายประการก่อนที่จะทำการฉีดวัคซีน

    ตารางวัคซีน ใช้กับทุกคนได้หรือไม่

    ในขณะที่ตารางการฉีดวัคซีนได้รับการออกแบบมาให้ใช้กับเด็กทุกวัยในวงกว้าง แต่ก็อาจมีเด็กบางคนที่จะต้องปฏิบัติตามตารางเวลาที่ปรับเปลี่ยนไป เนื่องจาก เงื่อนไขทางการแพทย์หรือปัจจัยเสี่ยง เช่น เด็กที่เป็นผู้รับการปลูกถ่ายอาจไม่สามารถรับวัคซีนที่มีชีวิตได้ เช่นเดียวกับโรคหัดหรือคางทูม เนื่องจาก การป้องกันของร่างกายอ่อนแอลง ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงกว่าค่าเฉลี่ยสำหรับโรคที่ทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ อาจจำเป็นต้องได้รับการฉีดวัคซีนตั้งแต่อายุยังน้อยกว่าคนอื่น

    ทางอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคได้คำนึงถึงเด็กเหล่านั้น และมีข้อยกเว้นพิเศษภายในตารางกำหนดรับวัคซีน เพื่อให้คำแนะนำสำหรับผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ว่า ควรชะลอ เพิ่ม หรือลดวัคซีนบางชนิดและเมื่อใดในเด็กบางคน อย่างไรก็ตาม สำหรับเด็กและวัยรุ่นส่วนใหญ่อาจยึดการฉีดวัคซีนตามตารางเวลาที่แนะนำจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด

    ตารางการให้วัคซีนในเด็ก โดยกระทรวงสาธารณสุข

    สำหรับในประเทศไทยนั้น กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดวัคซีนขึ้นพื้นฐานที่เด็กไทยควรได้รับเอาไว้ โดยจะเน้นในเรื่องของวัคซีนป้องกันโรคที่เป็นปัญหาสำคัญ ซึ่งในปัจจุบันอาจประกอบด้วยวัคซีน 8 ชนิด ได้แก่

    • วัคซีนวัณโรค (BCG)
    • วัคซีนตับอักเสบบี (HB)
    • วัคซีนรวมคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี (DTP-HB)
    • วัคซีนโปลิโอ (OPV)
    • วัคซีนรวมหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน (MMR)
    • วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี (JE)
    • วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน (DTP)
    • วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก (dT)

    ทางกระทรวงสาธารณสุขจัดระบบบริการ เพื่อให้เด็กทุกคนในประเทศได้รับวัคซีนตามกำหนด โดยให้สถานบริการ สาธารณสุขของรัฐเป็นหน่วยบริการหลัก ซึ่งตั้งแต่ เมื่อ พ.ศ. 2553 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติทำหน้าที่รับผิดชอบในการจัดหาวัคซีน และกระจายวัคซีนจากส่วนกลางไปยังคลังวัคซีนระดับอำเภอทุกแห่งโดยตรง

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


    เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 11/04/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา