backup og meta

วัคซีนป้องกันงูสวัด เหมาะสำหรับใคร ฉีดแล้วเกิดผลข้างเคียงอะไรบ้าง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 17 ชั่วโมงก่อน

    วัคซีนป้องกันงูสวัด เหมาะสำหรับใคร ฉีดแล้วเกิดผลข้างเคียงอะไรบ้าง

    วัคซีนป้องกันงูสวัด เป็น วัคซีนที่ฉีดสำหรับป้องกันโรคงูสวัด ซึ่งเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากการติดเชื้อ หากได้สัมผัสกับแผลของผู้ป่วยก็จะทำให้สามารถติดเชื้อได้ โดยปกติแล้วเมื่อเป็นโรคงูสวัดจะเกิดเป็นผื่นแดง มีอาการปวด แสบ แต่ในบางรายอาจมีอาการแทรกซ้อนที่รุนแรง ดังนั้น ผู้สูงอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปหรือผู้ที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันงูสวัด

    โรคงูสวัดคืออะไร

    โรคงูสวัด (Shingles) เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Aricella-Zoster ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสตัวเดียวกันกับเชื้อที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส แม้ว่าจะหายจากโรคอีสุกอีใสหรือโรคงูสวัด ไม่มีอาการของโรคแล้ว แต่เชื้อไวรัสตัวนี้ก็จะยังอยู่ในระบบประสาทไปอีกหลายปี เมื่อไรที่ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ่ลงหรือในช่วงที่ร่างกายอ่อนแอเชื้อที่ยังอยู่ในร่างกายก็จะออกมาเล่นงานทำให้กลับมาเป็นโรคเหล่านี้ได้อีกครั้ง

    อาการผู้ป่วยโรคงูสวัดคือจะมีลักษณะเป็นผื่นแดง ปวดและแสบร้อนบริเวณที่เป็น โดยปกติแล้วโรคงูสวัดมักจะไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง แต่ในบางรายซึ่งพบได้ค่อนข้างน้อย อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้ตาบอดได้ จึงจำเป็นต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรค

    กลุ่มเสี่ยงโรคงูสวัด

    โรคงูสวัดสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกคน แม้จะเคยเป็นโรคอีสุกอีใสหรือเคยเป็นงูสวัดมาแล้วก็ตาม แต่ไม่ใช่ทุกคนที่เป็นโรคอีสุกอีใสจะเป็นโรคงูสวัดได้ ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในการเป็นโรคงูสวัด ได้แก่

  • มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
  • มีโรคประจำตัว หรือเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับการทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง เช่น โรคเอชไอวี โรคเอดส์ หรือโรคมะเร็ง
  • เคยเข้ารับเคมีบำบัดหรือเคยได้รับการรักษาด้วยรังสี
  • ใช้ยาที่มีส่วนทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง เช่น สเตียรอยด์ หรือยาที่ได้รับหลังจากการปลูกถ่ายอวัยวะ
  • ใครควรได้รับ วัคซีนป้องกันงูสวัด

    องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) ได้มีการอนุมัติว่า วัคซีนที่สามารถป้องกันโรคงูสวัดได้ คือ วัคซีน Zostavax และ วัคซีน Shingrix ซึ่งวัคซีนทั้งสองชนิดมีความแตกต่างกัน ดังนี้

    • วัคซีน Zostavax เป็นวัคซีนเชื้ออ่อน ซึ่งเป็นการนำเชื้อโรคมาทำให้อ่อนฤทธิ์ลง จนไม่สามารถทำให้เกิดโรคได้แต่เพียงพอที่จะกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคงูสวัดประมาณร้อยละ 51 และเป็นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคประสาทได้ร้อยละ 67
    • วัคซีน Shingrix เป็นวัคซีนที่ได้จากการดัดแปลงและทำให้บริสุทธิ์ และมีความสามารถที่จะสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อต่อสู้กับไวรัสได้ ซึ่งแพทย์จะฉีดวัคซีนให้ในปริมาณ 2 โดส โดยเข็มแรกและเข็มสองจะฉีดห่างกัน 2-6 เดือน โดยวัคซีนตัวนี้จะมีประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันโรคงูสวัดร้อยละ 90

    ผู้ที่ควรได้รับวัคซีนโรคงูสวัด

    กลุ่มที่ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคงูสวัด ได้แก่ ผู้ที่เข้าข่ายเกณฑ์ดังต่อไปนี้

    • อายุ 50 ปีขึ้นไป
    • ไม่แน่ใจว่า เคยหรือไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน
    • เป็นเป็นโรคงูสวัดมาก่อน
    • เคยได้รับวัคซีน Zostavax

    ผลข้างเคียงของการฉีด วัคซีนป้องกันงูสวัด

    ผลข้างเคียงที่ไม่รุนแรงของวัคซีน

    คนส่วนใหญ่ที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันงูสวัด มีความปลอดภัย ไม่มีผลข้างเคียงใด ๆ แต่บางคนอาจจะมีผลข้างเคียงบ้างเพียงเล็กน้อย เช่น แดง บวม คัน หรือมีอาการปวดบริเวณผิวหนังที่ถูกฉีดวัคซีน สำหรับบางคนอาจจะมีอาการปวดหัวหลังจากที่ได้รับวัคซีนซึ่งเป็นส่วนน้อย รวมทั้งอาจมีอาการข้างเคียงที่อยู่นาน 2-3 วัน ได้แก่

    ซึ่งหากมีอาการปวดเหล่านี้สามารถใช้ยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการได้  อย่างไรก็ตามหากรู้สึกไม่สบายตัว เกิดความกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียงควรไปหาคุณหมอและขอคำปรึกษาถึงผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น เพื่อประสิทธิภาพในการรักษาโรคอย่างถูกต้องและปลอดภัย

    ผลข้างเคียงที่รุนแรง

    ผลข้างเคียงที่รุนแรงเป็นกรณีที่หาได้ยากมาก ซึ่งผู้ที่มีปฏิกิริยาต่อวัคซีนป้องกันงูสวัดนั้นจะเรียกว่า “ภูมิแพ้” โดยผู้ที่มีอาการแพ้ต่อวัคซีนป้องกันงูสวัด จะมีสัญญาณของโรคภูมิแพ้ ดังนี้

    • เกิดอาการบวม ที่ใบหน้ารวมทั้ง คอ ปากและดวงตา
    • มีอาการของโรคลมพิษ
    • ผิวมีรอยแดง
    • มีปัญหาในการหายใจ หรือหายใจแล้วมีเสียงดังฟืดฟาด
    • เวียนหัว
    • การเต้นของหัวใจผิดปกติ
    • ชีพจรเต้นเร็ว

    หากมีอาการเหล่านี้ หลังจากได้รับวัคซีนโรคงูสวัด ให้รีบไปหาคุณหมอในทันที เพราะอาการภูมิแพ้นี้อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    Duangkamon Junnet


    เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 17 ชั่วโมงก่อน

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา