backup og meta

เชื้อราในปากจากการให้นมแม่ ส่งผลกระทบอย่าไร

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย pimruethai · แก้ไขล่าสุด 17/03/2022

    เชื้อราในปากจากการให้นมแม่ ส่งผลกระทบอย่าไร

    เชื้อราในปากจากการให้นมแม่ เป็นการติดเชื้อราที่อาจพบได้ในเด็กช่วงขวบปีแรก โดยเชื้อราอาจเกิดขึ้นได้ทั้งบริเวณหัวนมของแม่และภายในช่องปากของทารก ซึ่งนำไปสู่การติดเชื้อราในปาก ทำให้เห็นเป็นฝ้าขาวที่ลิ้น เพดานปาก และกระพุ้งแก้ม โดยปัญหาที่เกิดขึ้นอาจทำให้แม่กังวลใจ ดังนั้น การเรียนรู้ถึงอาการและการรักษา อาจช่วยให้แม่สังเกตสัญญาเตือนที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กได้

    เชื้อราในปากจากการให้นมแม่ เกิดจากอะไร

    ส่วนใหญ่เชื้อราแคนดิดา อัลบิแคนส์ มักพบได้ในร่างกายของทุกคน โดยอาจพบได้ในระบบทางเดินอาหาร และช่องคลอด ปกติแล้วร่างกายจะมีแบคทีเรียที่คอยควบคุมสมดุลอยู่เสมอ แต่บางครั้งเมื่อแบคทีเรียลดลงเนื่องจากสาเหตุบางประการ เช่น การใช้ยาปฏิชีวนะ ก็อาจทำให้เชื้อราชนิดนี้เติบโต และมีการแพร่กระจายจนส่งผลให้เกิดการติดเชื้อราในช่องปากได้

    อีกทั้งปัญหาการ ติดเชื้อราในปาก ยังอาจพบได้บ่อยในทารกที่ยังกินนมแม่ โดยเชื้อราช่องปากมักจะเติบโตได้ดีในที่อุ่น ชื้น และมีความหวาน ซึ่งก็คือ สภาพภายในช่องปากของทารกขณะที่กำลังดูดนมแม่นั่นเอง เนื่องจาก ภูมิคุ้มกันของทารกยังทำงานได้ไม่เต็มที่จึงทำให้ได้รับเชื้อและเกิดเป็นเชื้อราในปากขึ้น นอกจากนี้ หากทารกคลอดในขณะที่แม่เป็นเชื้อราในช่องคลอดก็อาจก่อให้เกิดเชื้อราในปากภายใน 2-3 สัปดาห์ หลังคลอดได้เช่นกัน

    สัญญาณที่บ่งบอกว่าแม่ติดเชื้อราในปาก

    สัญญาณทั่วไปของการติดเชื้อราในปากขณะให้นมลูกอาจมีดังนี้

  • เจ็บหัวนม โดยเฉพาะเวลาให้นมลูก
  • หัวนมแตกบ่อย รักษาไม่หาย แม้จะเอาลูกเข้าเต้าถูกวิธีแล้วก็ตาม
  • หัวนมเปลี่ยนสี เช่น สีซีดขึ้น แดงขึ้น ดูมันวาว
  • รู้สึกแสบร้อนที่หัวนม โดยเฉพาะหลังให้นมเสร็จ และอาการอาจคงอยู่เป็นชั่วโมง
  • รู้สึกคันที่บริเวณหัวนมหรือหัวนมไวต่อการสัมผัสเกินไป แค่ใส่เสื้อผ้าหลวม ๆ ก็ยังรู้สึกไม่สบายตัว
  • คุณแม่อาจสังเกตเห็นอาการของการติดเชื้อราได้ที่หน้าอกข้างเดียว หรือสองข้างได้ แต่หากเป็นการติดเชื้อราในระยะแรกอาจยังไม่แสดงอาการใด ๆ ที่เผยออกมาเด่นชัดมากนัก

    สัญญาณว่าทารกติดเชื้อราในปาก

    เชื้อราในปากจากการให้นมแม่ แม่อาจสังเกตเห็นได้จากรอยคราบสีขาวคล้ายคราบน้ำนม หรือสีเหลืองออกเหมือนนมบูด บนลิ้น เหงือก กระพุ้งแก้ม และเพดานปาก หรือที่เรียกกันว่า ลิ้นเป็นฝ้า โดยรอยคราบขาวขุ่นนี้มีลักษณะเหมือนคราบน้ำนมแต่ต่างกันที่เช็ดไม่ออก หากสัมผัสเบา ๆ อาจรู้สึกว่ารอยคราบหนาจะมีเลือดปนออกมา นอกจากนี้ ทารกอาจแสดงท่าทีหงุดหงิดร่วมด้วย เช่น ดูดนมเพียงระยะเวลาสั้น ๆ  เบือนหน้าหนีจากเต้านมแม่ เพราะอาจรู้สึกเจ็บปาก นอกจากนี้ เชื้อราในช่องปากนี้อาจแพร่กระจายผ่านระบบทางเดินอาหารไปยังบริเวณก้นของทารกจนกลายเป็นผื่นผ้าอ้อม ทำให้ก้นดูชื้น ๆ มีจุดแดง หรือขาวขึ้น และอาจกระจายไปยังบริเวณอื่น ๆ ได้ด้วย

    วิธีรักษาเชื้อราในปาก

    เมื่อทารกเป็นเชื้อราในปากจากการให้นมแม่ คุณหมออาจให้ทั้งแม่และเด็กรักษาด้วยยาต้านเชื้อรา เช่น ยาไมโคนาโซล (Miconazole) ซึ่งมีทั้งรูปแบบครีม แบบน้ำ แบบเจล หากหัวนมของแม่มีอาการแดงเจ็บแสบเป็นมาก อาจต้องใช้ครีมสเตียรอยด์ในการรักษา และควรใช้ยาอย่างต่อเนื่องตามที่คุณหมอแนะนำ

    นอกจากการรักษาด้วยยาแล้ว วิธีเหล่านี้ก็อาจช่วยป้องกันเชื้อราแพร่กระจายหรือติดเชื้อซ้ำได้

    • ฆ่าเชื้อจุกยางปลอม ขวดนม จุกขวดนม และส่วนของเครื่องปั๊มนม เพื่อป้องกันไม่ให้ทั้งแม่และลูกกลับไปติดเชื้ออีก
    • ฆ่าเชื้อ หรือล้างของเล่นทุกชิ้นที่ลูกของคุณเอาเข้าปาก ด้วยสบู่ และน้ำร้อน
    • รักษาสุขอนามัยด้วยการล้างมือบ่อย ๆ โดยเฉพาะหลังจากที่ทาครีมยาต้านเชื้อรา และเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูก
    • ไม่ใช้ผ้าเช็ดตัวรวมกัน และควรเปลี่ยนผ้าเช็ดตัวทุกวัน
    • ซักเสื้อผ้าและผ้าเช็ดตัวของแม่กับลูก ด้วยน้ำร้อนอุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เพื่อกำจัดเชื้อรา

    โดยทั่วไปอาการปวด และอาการอื่น ๆ ของการ ติดเชื้อราในปาก อาจหายไปได้เองภายใน 2-3 วัน แต่ถึงอย่างไร แม่ควรกินยาแก้ปวด เช่น ยาพาราเซตามอล เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดที่หน้าอก จนกว่าอาการปวดจะหายเป็นปกติ แต่หากกรณีอาการที่เกิดขึ้นยังไม่หายหรือเป็นหนักขึ้น คุณควรเข้าขอพบคุณหมอทันที

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


    เขียนโดย pimruethai · แก้ไขล่าสุด 17/03/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา