การดูแลทารก

การดูแลทารก คือการดูแลลูกน้อยตั้งแต่เริ่มอาบน้ำไปจนถึงการพาเจ้าตัวน้อยเข้านอนอย่างสบายตลอดทั้งคืน ลองมาดูเคล็ดลับการดูแลทารกที่ได้รับรองจากผู้เชี่ยวชาญ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

การดูแลทารก

หัวทุย คืออะไร ศีรษะทารกแบบไหนเรียก หัวทุย

หัวทุย ลักษณะศีรษะของทารก ที่คุณแม่บางท่านต้องการอยากให้ลูกมีหัวทุยสวย ไม่แบน จึงมีการศึกษาเรื่องท่านอนลูกตั้งแต่แรกเกิด เพื่อให้ลูกมีศีรษะทุยสวย แต่การจัดท่านอนทารกที่ไม่เหมาะสม เพื่อหวังให้ลูกหัวทุยก็อาจเป็นอันตรายต่อทารกได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] หัวทุย คืออะไร ลักษณะศีรษะของเด็กหัวทุย ทารกจะมีความโค้งมนที่กะโหลกศีรษะบริเวณท้ายทอย แตกต่างจากเด็กหัวแบน ที่จะมีลักษณะรูปกะโหลกศีรษะแบนทั้ง 2 ด้าน แต่หากกะโหลกศีรษะบริเวณท้ายทอยแบนราบแค่ด้านใดด้านหนึ่ง อาจเรียกได้ว่า ทารกหัวเบี้ยว การจัดท่านอนลูกให้เหมาะสมแต่ละช่วงวัย จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้ทารกนอนหลับได้สบาย ป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ การจัดท่านอนทารกที่เหมาะสม ท่านอนทารกแรกเกิดถึง 3 เดือน เมื่อทารกคลอดออกมา ร่างกายจะยังไม่แข็งแรง จึงจำเป็นต้องได้รับโภชนาการที่ดี การดูแลอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการนอนหลับ ที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อการเจริญเติบโต สำหรับทารกแรกเกิดที่กระดูกคอและกระดูกสันหลังยังไม่แข็งแรง คุณพ่อคุณแม่ควรจัดท่านอนที่เหมาะสมให้กับทารกด้วยการให้นอนหงายและนอนตะแคง โดยจัดศีรษะให้ลูกนอนสลับด้านบ่อย ๆ ระหว่างหลับ เพราะกระหม่อมหลังของทารกจะปิดก่อนกระหม่อมหน้า โดยค่อย ๆ ปิดตั้งแต่เดือนแรก และจะเริ่มปิดสนิทเมื่ออายุประมาณ 6-8 เดือน ส่วนกระหม่อมหน้าจะค่อย ๆ ปิด จนช่วงอายุ 9-18 เดือน โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 1 ปีครึ่ง จึงควรจัดท่านอนในเดือนแรกลักษณะนี้ เพื่อให้ทารกหลับสบาย หัวทุยสวย อาจช่วยป้องกันหัวแบนหรือหัวเบี้ยวได้ ท่านอนทารก 4 – […]

สำรวจ การดูแลทารก

การดูแลทารก

เป้อุ้มเด็ก ประโยชน์และข้อควรระวังในการใช้

เป้อุ้มเด็ก เป็นตัวช่วยสำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องการอุปกรณ์ในการช่วยอุ้มเด็ก ซึ่งอาจมีประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตประจำวันของคุณพ่อคุณแม่ ช่วยลดอาการร้องไห้งอแงของเด็ก ช่วยให้เด็กนอนหลับง่ายขึ้น รวมถึงอาจช่วยสร้างความรักความผูกพันและอาจช่วยลดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดของคุณแม่ได้ อย่างไรก็ตาม ควรศึกษาข้อควรระวังในการใช้เป้อุ้มเด็กก่อนเลือกซื้อเพื่อความปลอดภัยของเด็ก [embed-health-tool-due-date] ประเภทของเป้อุ้มเด็ก เป้อุ้มเด็กเป็นอุปกรณ์สำหรับใช้อุ้มทารกไว้บนหน้าอกหรือหลัง ซึ่งอาจมีหลายลักษณะ ดังนี้ เป้อุ้มเด็ก (Baby Carrier) มีลักษณะเป็นเป้อุ้มสำหรับสะพายไว้ด้านหน้า หรือบางชิ้นอาจสามารถปรับได้เพื่อใช้สะพายไว้ด้านหลังหรือสะโพก เป้หรือผ้าพาดไหล่อุ้มเด็ก (Baby Sling) มีลักษณะเป็นแถบผ้าหรือเป้ที่มีลักษณะพาดไหล่ข้างใดข้างหนึ่ง เพื่อใช้สำหรับอุ้มเด็กทารก กระเป๋าเป้อุ้มเด็ก (Baby Backpack) มีลักษณะเป็นโครงแข็ง มักใช้ใส่เป็นเป้สะพายหลัง เหมาะสำหรับเด็กโตและเด็กวัยหัดเดินที่สามารถยกศีรษะได้เอง เป้อุ้มเด็ก มีประโยชน์อย่างไร เป้อุ้มเด็กอาจมีประโยชน์ทั้งต่อคุณพ่อคุณแม่และเด็ก ดังนี้ ช่วยให้เด็กนอนหลับได้ดีขึ้น เด็กบางคนเมื่ออยู่ห่างจากคุณพ่อคุณแม่อาจมีอาการร้องไห้งอแงบ่อย ดังนั้น การใช้เป้อุ้มเด็กจึงอาจช่วยให้เด็กอยู่ใกล้ชิดกับคุณพ่อคุณแม่ตลอดเวลา ช่วยให้เด็กสบายใจ รู้สึกปลอดภัย และได้รับความรักความอบอุ่น จึงอาจช่วยให้เด็กนอนหลับได้ดีขึ้น ช่วยป้องกันไม่ให้เด็กร้องไห้งอแง หากเด็กอยู่เพียงลำพังหรือร้องไห้งอแงบ่อยครั้ง อาจทำให้เด็กเกิดความเครียดมากขึ้นและส่งผลเสียต่อสุขภาพ ซึ่งการใช้เป้อุ้มเด็กอาจช่วยให้เด็กร้องไห้งอแงน้อยลง เนื่องจากเด็กจะรู้สึกสบายและปลอดภัยเมื่ออยู่ในอ้อมกอดของคุณพ่อคุณแม่ ช่วยสร้างความสัมพันธ์ ขณะอยู่ในครรภ์เด็กทารกจะใกล้ชิดกับเสียงหัวใจ การหายใจ และการเคลื่อนตัวของคุณแม่ตลอดเวลา เมื่อเด็กคลอดออกมาเป้อุ้มเด็กอาจเป็นตัวช่วยในการสร้างความเคยชินให้กับเด็กแรกเกิด รวมถึงยังอาจช่วยสร้างความผูกพันให้เพิ่มมากขึ้นในระหว่างการอุ้มแนบอกได้อีกด้วย ช่วยให้สามารถให้นมเด็กง่ายขึ้น เป้อุ้มเด็กอาจช่วยให้คุณแม่สามารถให้นมแม่กับลูกได้ง่ายขึ้นเมื่อต้องอยู่นอกบ้าน เนื่องจากเด็กจะอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมแก่การให้นมตลอดเมื่อยังอยู่ในเป้อุ้มเด็ก อาจดีต่อพัฒนาการด้านการเรียนรู้และสังคม เนื่องจากการใช้เป้อุ้มเด็กจะช่วยให้เด็กสามารถไปไหนมาไหนกับคุณพ่อคุณแม่ได้ทุกที่ สามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้มากขึ้น […]


การดูแลทารก

การมองเห็นของทารก และการดูแลสุขภาพดวงตา

การมองเห็นของทารก จะเริ่มพัฒนาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่แรกเกิด โดยจอตา (Retina) และรูม่านตาจะค่อย ๆ พัฒนาและกว้างขึ้น ส่งผลให้ทารกมองเห็นภาพได้ชัดเจน มองเห็นในระยะไกล และสามารถควบคุมกล้ามเนื้อตาในการมองตามวัตถุได้เป็นอย่างดี ควบคู่ไปกับทักษะการเคลื่อนไหวร่างกายที่ทำให้ทารกสามารถหยิบจับสิ่งของได้แม่นยำมากขึ้น [embed-health-tool-vaccination-tool] การมองเห็นของทารก พัฒนาอย่างไร การมองเห็นของทารกอาจมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามช่วงอายุ ดังนี้ ทารกแรกเกิด ดวงตาของทารกแรกเกิดอาจไวต่อแสงจ้ามาก เนื่องจากรูม่านตาของทารกยังมีขนาดที่เล็กมาก ทารกจึงอาจมองเห็นได้เพียงในวงแคบ และเมื่อผ่านไปประมาณ 2-3 สัปดาห์ จอตาซึ่งเป็นเซลล์ประสาทที่ไวต่อแสงอยู่บริเวณด้านหลังภายในลูกตา จะค่อย ๆ พัฒนาทำให้รูม่านตาของทารกกว้างขึ้น ส่งผลให้ทารกสามารถมองเห็นรูปร่าง สีสัน มองเห็นในมุมกว้างมากขึ้น และเริ่มเรียนรู้ในการจดจ่อกับสิ่งตรงหน้า เมื่อทารกอายุครบ 1 เดือน ดวงตาจะสามารถมองเห็นสิ่งตรงหน้าได้ชัดเจนไม่เกิน 100 เซนติเมตร และจดจ่อกับสิ่งนั้นในช่วงเวลาสั้น ๆ แต่จะให้ความสนใจกับสิ่งของที่มีสีสันสดใส ทารกอายุ 2-4 เดือน ดวงตาของทารกในช่วง 2 เดือนแรก อาจยังทำงานไม่ประสานกันมากนัก เนื่องจากกล้ามเนื้อดวงตายังอยู่ในช่วงพัฒนา ในช่วงนี้ทารกสามารถมองตามการเคลื่อนที่ของวัตถุได้ ซึ่งดวงตาจะค่อย ๆ ทำงานประสานกันได้ดียิ่งขึ้น เมื่ออายุครบ 3 เดือน ดวงตาของทารกจะเริ่มจดจ่อกับการเคลื่อนที่ของวัตถุได้ดีมากขึ้น และอาจสามารถเริ่มใช้แขนตีวัตถุได้ตรงตามเป้าหมาย ทารกอายุ 5-8 เดือน เมื่อทารกอายุได้ 5 เดือน การมองเห็นของทารกจะดีมากขึ้นโดยสามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้ไกลขึ้นและอาจมองเห็นเป็นภาพ […]


การดูแลทารก

วิธีดูแลทารกตัวเหลือง และการรักษาทารกตัวเหลือง

ภาวะตัวเหลืองหรือดีซ่าน (Jaundice) เป็นภาวะที่พบได้ทั่วไปในทารกแรกเกิด มักเกิดจากทารกมีระดับบิลิรูบิน (Bilirubin) ซึ่งเป็นสารเคมีสีเหลืองในเลือดมากเกินไป จนส่งผลให้มีสีผิวหรือสีตาขาวเป็นสีเหลือง วิธีดูแลทารกตัวเหลือง ในเบื้องต้น ทำได้ด้วยการให้ทารกกินนมแม่บ่อยขึ้น เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายขับบิลิรูบินส่วนเกินออกทางอุจจาระ อาจช่วยให้ภาวะตัวเหลืองดีขึ้นได้ โดยปกติแล้วทารกตัวเหลืองไม่ต้องรับการรักษา เว้นแต่ทารกจะมีระดับบิลิรูบินสูงเกินไป เป็นทารกที่คลอดก่อนกำหนด มีภาวะขาดน้ำ หรือป่วยจนอาการตัวเหลืองไม่สามารถหายไปเองได้ ทั้งนี้ หากดูแลเบื้องต้นแล้วประมาณ 2 สัปดาห์ แต่ทารกยังตัวเหลืองหรือมีอาการแย่ลง ควรพาทารกไปพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-vaccination-tool] ทารกตัวเหลืองเกิดจากอะไร ทารกตัวเหลืองเกิดจากทารกมีระดับบิลิรูบิน ซึ่งเป็นสารเคมีสีเหลืองที่ถูกเปลี่ยนมาจากฮีโมโกลบินที่เซลล์เม็ดเลือดแดงปล่อยออกมาระหว่างกระบวนการสลายเม็ดเลือดในปริมาณมากเกินไป ส่งผลให้ตาขาวและผิวหนังของทารกแรกเกิดเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เริ่มจากบริเวณใบหน้าและหนังศีรษะ แล้วกระจายไปทั่วร่างกาย ภาวะตัวเหลืองในทารกมักพบหลังจากทารกเกิดได้ประมาณ 2-3 วัน และอาจหายไปเองภายใน 10-14 วันหลังคลอด โดยปกติแล้ว ร่างกายของทารกสามารถกำจัดบิลิรูบินออกไปได้เอง แต่หากตับของทารกยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์ ก็อาจทำให้กำจัดบิลิรูบินไม่ทันและมีสารชนิดนี้สะสมอยู่ในร่างกายมากเกินไปจนทำให้ตัวเหลืองได้ สาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้ทารกตัวเหลือง อาจมีดังนี้ การได้รับน้ำนมแม่น้อยเกินไป ในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอด คุณแม่ยังผลิตน้ำนมเหลืองหรือโคลอสตรุม (Colostrum) ได้น้อยกว่าน้ำนมขาวทั่วไป จึงอาจทำให้ทารกได้รับน้ำนมไม่เพียงพอ และร่างกายไม่สามารถกำจัดบิลิรูบินส่วนเกินได้ทัน ส่งผลให้ทารกตัวเหลืองได้ จึงควรให้กินนมแม่บ่อยขึ้น สารบางชนิดในน้ำนมแม่ (Breast milk jaundice) บางครั้งการกินนมแม่เพียงอย่างเดียวก็อาจทำให้ทารกไม่สามารถกำจัดบิลิรูบินส่วนเกินได้ทัน ทารกที่มีภาวะนี้อาจต้องงดกินนมแม่แล้วกินอาหารเสริมอื่น […]


การดูแลทารก

ล้างจมูกทารก ช่วยเรื่องอะไร และวิธีล้างจมูกทารกอย่างปลอดภัย

การ ล้างจมูกทารก เป็นวิธีที่ช่วยให้ทารกที่มีอาการคัดจมูกหรือจมูกตันจากไข้หวัดสามารถหายใจได้สะดวกขึ้น โดยเฉพาะในช่วงให้นมและขณะนอนหลับ วิธีล้างจมูกทารกอย่างปลอดภัย โดยทั่วไปสามารถทำได้ด้วยการใช้หลอดหยด (Dropper) ดูดน้ำเกลือ จากนั้นค่อย ๆ ฉีดน้ำเกลือเข้าไปในรูจมูกของทารก เมื่อจมูกชุ่มชื้นเพียงพอจึงสอดปลายลูกยางแดงขนาดเล็กเข้าไปในรูจมูกแล้วดูดน้ำมูกออกมา ทั้งนี้ ควรล้างมือให้สะอาดก่อนล้างจมูกทารกเพื่อป้องกันการติดเชื้อ และหลังล้างจมูกทารกทุกครั้ง ควรทำความสะอาดอุปกรณ์ล้างจมูก ตากให้แห้ง แล้วเก็บไว้ในภาชนะสะอาด [embed-health-tool-vaccination-tool] ล้างจมูกทารก ช่วยเรื่องอะไร บางครั้งเมื่อทารกเป็นหวัด มีไข้ หรือไม่สบายจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ อาจทำให้มีน้ำมูกหรือคราบมูกเหนียวค้างอยู่ในจมูกจนคัดจมูก หายใจไม่สะดวก และส่งผลให้ทารกงอแงในตอนกลางคืนหรือนอนไม่หลับ และหากป่วยนานเกินสัปดาห์หรือภูมิแพ้กำเริบบ่อย ๆ อาจทำให้เกิดโรคไซนัสอักเสบในทารก (Sinusitis) เนื่องจากเยื่อบุโพรงจมูกอักเสบ เพราะมีของเหลวคั่งค้างอยู่ภายในโพรงไซนัสเรื้อรัง ทำให้มีอาการคัดจมูก มีน้ำมูกสีเขียวหรือสีเหลือง จมูกไม่รับกลิ่น ไอแบบมีเสมหะ เป็นต้น การล้างจมูกทารกด้วยน้ำเกลือจึงอาจช่วยกำจัดน้ำมูกที่เหนียวข้นหรือแห้งกรังออกจากช่องจมูก ช่วยให้ทารกหายใจได้สะดวกขึ้น คุณพ่อคุณแม่อาจล้างจมูกให้ทารกก่อนให้นมและก่อนนอนประมาณ 15 นาที เพื่อช่วยให้ทารกหายใจได้สะดวกขณะกินนม และสามารถหลับสนิทได้ในช่วงงีบระหว่างวันและตอนกลางคืน ล้างจมูกทารกอันตรายไหม การล้างจมูกทารก คือ การทำความสะอาดช่องจมูกด้วยน้ำเกลือ เพื่อขจัดมูกเหนียว คราบมูกที่แห้งกรัง หรือหนองบริเวณโพรงจมูก ซึ่งจะช่วยให้ทารกหายใจได้สะดวกขึ้น หากล้างจมูกอย่างถูกวิธีจะไม่ทำให้ทารกสำลักหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทั้งนี้ ผู้ที่เป็นคนล้างจมูกให้ทารกควรล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำสบู่และหลีกเลี่ยงการสัมผัสวัตถุอื่น ๆ ก่อนล้างจมูกให้ทารก […]


การดูแลทารก

ลูกแหวะนม เกิดจากอะไร และควรดูแลลูกอย่างไร

ลูกแหวะนม หรืออาการที่ลูกมีนมไหลออกมาทางปากหลังกินนม เป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้ เนื่องจากเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือนมักมีกล้ามเนื้อหูรูดบริเวณหลอดอาหารที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่ จึงอาจทำให้อาหารไหลย้อนกลับขึ้นมาทางหลอดอาหารได้ อย่างไรก็ตาม ควรให้ลูกดื่มนมอย่างระมัดระวัง เพราะนมอาจไหลย้อนออกทางจมูกจนอาจทำให้เกิดการสำลักได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] ลูกแหวะนม เกิดจากอะไร ทารกที่อายุต่ำกว่า 6 เดือน มักมีอาการแหวะนม เนื่องจากกล้ามเนื้อหูรูดส่วนล่างของหลอดอาหารในเด็กทารกยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ จึงส่งผลให้นมไหลย้อนกลับขึ้นมาได้บ่อย ๆ นอกจากนี้ เด็กยังมีขนาดกระเพาะอาหารและท้องที่เล็กมาก การให้นมลูกในปริมาณที่มากเกินไปจึงอาจทำให้นมไหลย้อนกลับขึ้นมาทางหลอดอาหารได้ง่ายขึ้น ลูกแหวะนมและลูกอาเจียน แตกต่างกันอย่างไร การแหวะนมเป็นการไหลย้อนกลับของนม เนื่องจากกล้ามเนื้อหูรูดยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ โดยนมและน้ำย่อยในกระเพาะอาหารจะค่อย ๆ ไหลย้อนกลับขึ้นมาทางหลอดอาหารและออกทางปากอย่างช้า ๆ ซึ่งการแหวะนมเป็นอาการที่อาจเกิดขึ้นได้ และไม่ก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงตามมา แต่สำหรับการอาเจียนในเด็กทารกเป็นอาการที่รุนแรง โดยอาหารกับน้ำย่อยจะไหลย้อนขึ้นมาอย่างรวดเร็วและรุนแรง ในบางรายอาจเกิดลักษณะอาเจียนพุ่งเนื่องจากกล้ามเนื้อหน้าท้องถูกกระตุ้นโดยศูนย์ควบคุมการอาเจียน (Vomiting Center) ที่รับสัญญาณมาจากระบบประสาท ซึ่งอาจทำให้เด็กมีอาการร้องไห้งอแงมากกว่าปกติ มีไข้ ไม่สบายตัว ท้องเสีย ท้องบวม ท้องอืด ไม่กินอาหาร และเหนื่อยล้า อาการเมื่อลูกแหวะนม เมื่อลูกแหวะนมอาจมีอาการที่พบได้บ่อย ดังนี้ ลูกอาจแหวะนมออกมาทางปากและทางจมูก ลักษณะของน้ำนมที่ลูกแหวะออกมา อาจเป็นก้อนลิ่มคล้ายเต้าหู้ ลูกร้องไห้และงอแงหลังกินนมเสร็จ ลูกนอนบิดตัวไปมา เพราะอาจมีอาการไม่สบายท้อง การดูแลและการป้องกันลูกแหวะนม หากลูกแหวะนมบ่อย ๆ คุณพ่อคุณแม่อาจทำตามวิธีต่อไปนี้ เพื่อป้องกันการแหวะนมของลูก ควรให้นมลูกในท่ายกหัวสูง เช่น ใช้หมอนรองคอลูก […]


การดูแลทารก

วิธีลดไข้ทารกแรกเกิด และการป้องกันลูกเป็นไข้

ทารกเป็นไข้ อาจเป็นเรื่องปกติที่คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่พบเจอ เนื่องจากทารกแรกเกิดยังมีการพัฒนาของระบบภูมิคุ้มกันที่ไม่สมบูรณ์ จึงอาจส่งผลให้ร่างกายได้รับเชื้อก่อโรคได้ง่าย ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาถึง วิธีลดไข้ทารกแรกเกิด รวมถึงคอยสังเกตอาการผิดปกติ เพราะหากทารกมีไข้สูงเกินกว่า 38 องศาขึ้นไป และไม่ลดลงภายใน 24 ชั่วโมง ควรพาพบคุณหมอทันที เพื่อป้องกันอาการชักจากไข้สูงที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ [embed-health-tool-vaccination-tool] สาเหตุที่ทำให้ทารกแรกเกิดเป็นไข้ สาเหตุที่อาจทำให้ทารกแรกเกิดเป็นไข้ มีดังนี้ การฉีดวัคซีน ไข้ เป็นหนึ่งในผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยจากการฉีดวัคซีน เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันมีการตอบสนองต่อวัคซีน อาจเกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีน 12 ชั่วโมง และอาจมีไข้นาน 2-3 วัน สภาพอากาศ สภาพอากาศที่ร้อนจัดหรือเย็นจัด อาจส่งผลให้ทารกเป็นไข้ได้ เนื่องจากร่างกายของทารกมีประสิทธิภาพในการควบคุมอุณหภูมิได้ไม่ดีพอ นอกจากนี้ การสวมเสื้อผ้าหลายชั้นให้ทารก การเปิดแอร์ในอุณหภูมิที่เย็นจัด หรือการให้ทารกโดนแสงแดดมากเกินไป ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงทำให้ทารกเป็นไข้ได้เช่นกัน การติดเชื้อ ทารกแรกเกิดส่วนใหญ่มีการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่ยังไม่สมบูรณ์ ซึ่งอาจส่งผลให้ทารกติดเชื้อได้ง่าย ส่งผลให้มีโอกาสเป็นไข้ และเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่าง ๆ เช่น โรคไข้หวัดใหญ่ โรคไข้หวัดธรรมดา โรคปอดบวม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ภาวะขาดน้ำ ทารกแรกเกิดที่ได้รับนมแม่ไม่เพียงพอ อาจส่งผลให้ร่างกายขาดน้ำและมีอุณหภูมิร่างกายเพิ่มขึ้น จนทำให้มีไข้ ตัวร้อน อาการที่ควรสังเกต อาการเป็นไข้ที่ควรสังเกต มีดังนี้ ทารกไม่ยอมกินนม ง่วงนอนบ่อย หรืออาจตื่นยากผิดปกติ ตัวร้อน […]


การดูแลทารก

การวัดอุณหภูมิร่างกาย ทารก ที่คุณแม่ควรรู้

การวัดอุณหภูมิร่างกาย หรือการวัดไข้สำหรับทารกสามารถทำได้หลายแบบ คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกวิธีตามความเหมาะสมของอายุเด็ก การวัดอุณหภูมิร่างกาย สำหรับทารก ซึ่งเป็นวัยที่มักขยับร่างกายตลอดเวลา ไม่ชอบอยู่นิ่ง ๆ  ให้ใช้การวัดไข้ทางรักแร้และทวารหนัก ทั้งนี้ ค่าอุณหภูมิร่างกายปกติของทารกอยู่ที่ 36.5-37.5 องศาเซลเซียส หากวัดอุณหภูมิร่างกายทารกได้มากกว่า 37.5 องศาเซลเซียล แสดงว่าทารกมีไข้ ควรพาไปพบคุณหมอทันที [embed-health-tool-vaccination-tool] การวัดอุณหภูมิร่างกายทารก ทำได้อย่างไรบ้าง การวัดอุณหภูมิร่างกาย ทารก อาจทำได้ด้วยวิธีนี้ต่อไปนี้ การวัดอุณหภูมิทางหน้าผาก ด้วยแถบเทอร์โมมิเตอร์ หรือเทอร์โมมิเตอร์แบบอินฟาเรด ใช้ได้กับเด็กทุกวัย วิธีนี้ให้ความแม่นยำน้อยกว่าวิธีอื่น เนื่องจากเป็นการวัดอุณหภูมิของผิวหนัง ไม่ใช่การวัดอุณหภูมิของร่างกาย การวัดอุณหภูมิทางหู ด้วยเทอร์โมมิเตอร์ดิจิตอล เหมาะสำหรับทารกอายุ 3 เดือนขึ้นไป แต่เนื่องจากทารกแรกเกิดมีช่องหูหรือรูหูแคบ จึงอาจทำให้ได้ผลการวัดอุณหภูมิที่ไม่แม่นยำนัก (ควรวัดอย่างน้อย 2 ครั้งเพื่อเปรียบเทียบกัน) การวัดอุณหภูมิทางรักแร้ ด้วยเทอร์โมมิเตอร์แบบปรอทแก้วหรือแบบดิจิตอล เป็นวิธีการวัดไข้ที่สะดวกและรวดเร็ว แต่อาจคลาดเคลื่อนได้หากสอดที่วัดไข้เข้าไปในตำแหน่งที่ไม่ถูกต้อง ควรให้ปลายเทอร์โมมิเตอร์อยู่แนบผิวหนังบริเวณใต้วงแขน ค้างไว้ 2-4 นาทีเพื่อให้ได้อุณหภูมิที่แม่นยำที่สุด การวัดอุณหภูมิทางทวารหนัก ด้วยเทอร์โมมิเตอร์แบบปรอทแก้วหรือแบบดิจิตอล วิธีนี้เหมาะกับเด็กเล็ก โดยเฉพาะเด็กทารกที่มีอายุน้อยกว่า 3 เดือน การวัดไข้ทางทวารหนักอาจได้ค่าอุณหภูมิสูงกว่าการวัดไข้ทางรักแร้เนื่องจากเป็นการวัดด้วยการสอดเข้าไปในผิวหนังที่ลึกกว่า หากวัดได้มากกว่า 38 องศาเซลเซียล […]


การดูแลทารก

เลือกของเล่นเด็กแรกเกิดอย่างไร ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการให้ลูกน้อย

ของเล่นเด็กแรกเกิดและทารกในวัยต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ให้กับลูกน้อย ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม โดยคุณพ่อคุณแม่ควรเลือกของเล่นที่เสริมสร้างประสาทสัมผัสทั้ง 5 นั่นก็คือ การมองเห็น การสัมผัส การได้ยิน การใช้ปาก และการสูดดม เพราะประสาทสัมผัสเหล่านี้อาจช่วยส่งเสริมให้เด็กเข้าใจและเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้ นอกจากนี้ ของเล่นยังช่วยเพิ่มความสนุกสนานให้กับเด็ก ซึ่งถือเป็นการช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางด้านอารมณ์ ทั้งยังช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ภายในครอบครัวได้ด้วย อย่างไรก็ตาม ควรเลือกของเล่นเด็กแรกเกิดที่ปลอดภัยและเหมาะสม เพื่อพัฒนาการที่ดีสมวัย [embed-health-tool-vaccination-tool] การเล่นเสริมสร้างพัฒนาการอย่างไร การเล่นสำคัญต่อพัฒนาการของเด็กแรกเกิดทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา การเรียนรู้ อารมณ์และสังคม โดยเด็กแรกเกิดจะเริ่มเรียนรู้จากคนใกล้ตัวและสภาพแวดล้อมรอบตัว ดังนั้น การเล่นจึงเป็นวิธีที่จะช่วยให้เด็กเรียนรู้ทักษะการเคลื่อนไหวทั้งกล้ามเนื้อมัดเล็กและมัดใหญ่ รู้จักการสื่อสารเพื่อแสดงความต้องการหรือความรู้สึก การแสดงออกทางอารมณ์ รู้จักการเข้าสังคมผ่านการเล่น เข้าใจสภาพแวดล้อมรอบตัว และเข้าใจถึงการอยู่ร่วมกับผู้อื่นมากขึ้น ของเล่นเด็กแรกเกิด ของเล่นเด็กแรกเกิดถึง 12 เดือน อาจมีลักษณะที่แตกต่างกันไป ล้อไปกับพัฒนาการตามวัย เพื่อช่วยเสริมสร้างพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม ดังนี้ ของเล่นเด็กแรกเกิดถึง 3 เดือน ในช่วงวัยนี้เด็กอาจยังไม่สามารถขยับตัวหรือเคลื่อนที่ไปไหนได้ จึงควรเลือกของเล่นที่ช่วยเสริมพัฒนาการทางด้านการมองเห็นและการได้ยิน เช่น ตุ๊กตาแขวนหลากสี โมไบล์ เตียงเด็กหรือรถเข็นสีสันสดใส ตุ๊กตาหรือของเล่นที่มีเสียงแสง […]


การดูแลทารก

กรรไกรตัดเล็บทารก วิธีการใช้อย่างปลอดภัย

เล็บของทารกยาวเร็ว คุณพ่อคุณแม่จึงควรตัดเล็บให้ทารกเป็นประจำ เพื่อรักษาความสะอาด และป้องกันไม่ให้เล็บทารกยาวจนข่วนหน้าหรือผิวของตัวเองและคนอื่น โดยปกติแล้ว คุณพ่อคุณแม่ควรตัดเล็บให้ทารกอาทิตย์ละ 1 ครั้ง หรือเมื่อเห็นว่ายาวแล้วโดยใช้ กรรไกรตัดเล็บทารก โดยเฉพาะ และสามารถเริ่มตัดเล็บทารกได้ตั้งแต่ทารกมีอายุไม่กี่วันหรือไม่กี่สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับความยาวของเล็บทารก ทั้งนี้ ควรศึกษาวิธีเลือกกรรไกรตัดเล็บและวิธีตัดเล็บทารกอย่างถูกต้อง ปลอดภัย เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอันตรายหรือปัญหาสุขภาพในทารกจากการตัดเล็บไม่ถูกต้อง [embed-health-tool-vaccination-tool] ขั้นตอนการตัดเล็บทารก ขั้นตอนการตัดเล็บทารกอย่างปลอดภัย อาจมีดังนี้ จับมือและนิ้วของทารกให้มั่น โดยอาจให้ทารกอยู่บนตัก จะได้ตัดเล็บทารกถนัดขึ้น กดเนื้อบริเวณใต้เล็บลงเพื่อให้มีพื้นที่ในการตัดและเลี่ยงไม่ให้กรรไกรโดนผิวทารก ตัดเล็บทารกให้เหลือเนื้อเล็บโผล่มาเล็กน้อย อย่าตัดจนสั้นกุด สำหรับนิ้วมือ ให้ตัดโค้งตามรูปเล็บ สำหรับนิ้วเท้า ให้ตัดเล็บเป็นเส้นตรง ตะไบเล็บทารกอย่างเบามือ เพื่อให้ขอบเล็บของทารกเรียบเนียน ไม่แหลมคมจนอาจข่วนตัวเองหรือคนอื่นได้ อาจพิจารณาเลือกตัดเล็บในช่วงเวลาที่ทารกหลับ จะง่ายในการตัดมากกว่า ควรตัดเล็บมือให้ทารกอย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ครั้ง ส่วนนิ้วเท้าที่เคลื่อนไหวน้อยกว่าเล็บมักยาวช้ากว่า จึงอาจตัดประมาณ 2 ครั้ง/เดือนแล้วแต่ ถ้ายาวเร็วก็พิจารณาตัดได้ทุกสัปดาห์และหมั่นคอยตรวจสอบว่าทารกมีเล็บขบด้วยหรือไม่ และหากเผลอตัดเล็บเข้าเนื้อทารกจนเลือดออก ควรผ้าก๊อซปลอดเชื้อกดบริเวณแผลเบา ๆ เพื่อห้ามเลือดแล้วใช้ยาปฏิชีวนะชนิดทาป้ายที่แผลบาง ๆ เพื่อป้องกันแผลติดเชื้อ ไม่ควรใช้ผ้าพันแผลแปะหรือพันนิ้วทารก เพราะอาจจะหลุดเข้าปากเวลาทารกอมนิ้วได้ กรรไกรตัดเล็บทารก ใช้อย่างไรให้ปลอดภัย การตัดเล็บให้ทารกต้องใช้ความระมัดระวังมากกว่าการตัดเล็บของผู้ใหญ่ ซึ่งวิธีการใช้กรรไกรตัดเล็บทารกให้ปลอดภัย อาจมีดังนี้ เลือกชนิดกรรไกรตัดเล็บที่เหมาะสม ใช้อุปกรณ์ตัดเล็บทารกที่มีปลายมนและเหมาะสมกับวัยของทารก เช่น กรรไกรตัดเล็บทรงโค้ง ตะไบตัดเล็บสำหรับทารก ไม่ใช้กรรไกรตัดเล็บผู้ใหญ่ เพราะมีขนาดใหญ่เกินขนาดนิ้วมือและนิ้วเท้าของทารก […]


การดูแลทารก

ที่ดูดน้ำมูกทารก วิธีใช้และการทำความสะอาด

ที่ดูดน้ำมูกทารก มักใช้เมื่อทารกมีน้ำมูกหรือเสมหะมากในช่วงเช้าหลังตื่นนอนและช่วงก่อนนอน นอกจากนี้ ยังใช้เมื่อทารกมีอาการเจ็บป่วย เช่น คัดจมูก ไข้หวัด โรคปอดบวม ไวรัสทางเดินหายใจ เพื่อช่วยดูดเอาเมือกส่วนเกินทั้งในจมูก ปากและลำคอออกมา ทำให้ทารกหายใจสะดวกและสบายตัวมากขึ้น [embed-health-tool-vaccination-tool] ที่ดูดน้ำมูกทารก ใช้เพื่ออะไร ที่ดูดน้ำมูกทารก ใช้เพื่อดูดน้ำมูกในจมูกหรือเสมหะในลำคอของทารก เนื่องจากทารกยังไม่สามารถสั่งน้ำมูกหรือบ้วนเสมหะออกมาได้เอง ทั้งยังช่วยให้ทารกหายใจสะดวกขึ้น ลดอาการร้องไห้งอแงเนื่องจากความไม่สบายตัวและช่วยลดการผลิตสารคัดหลั่งในร่างกายมากจนเกินไปในขณะที่ทารกมีอาการป่วยจากโรคเหล่านี้ ไข้หวัด คัดจมูก หรือไข้หวัดใหญ่ ไวรัสระบบทางเดินหายใจ (RSV) โรคปอดบวม หลอดลมฝอยอักเสบ นอกจากนี้ การดูดน้ำมูกทารกอาจจำเป็น หากทารกมีภาวะความเจ็บป่วยอื่น ๆ เช่น การไอของทารกเนื่องจากมีเสมหะมาก จำเป็นต้องใช้ที่ดูดเสมหะเพื่อบรรเทาอาการไอ ความเจ็บป่วยหรืออาการบาดเจ็บบางอย่างที่อาจส่งผลต่อเส้นประสาทและสมอง อาจทำให้ความสามารถในการไอลดลง ทำให้น้ำมูกหรือเสมหะสะสมที่ด้านหลังลำคอ จมูกและปาก จึงจำเป็นต้องใช้ที่ดูดน้ำมูกช่วยดูดออกมา วิธีใช้ที่ดูดน้ำมูกทารก การดูดน้ำมูกทารก จะใช้น้ำเกลือหยดเข้าไปในจมูกเพื่อให้เสมหะหรือขี้มูกนิ่ม ก่อนเริ่มการดูดน้ำมูกทารก คุณแม่จึงควรอุ่นน้ำเกลือก่อนเสมอ โดยนำขวดน้ำเกลือไปแช่ลงในน้ำเดือดประมาณ 5 นาที และก่อนนำน้ำเกลือมาใช้ล้างจมูกทารก ควรทดสอบอุณหภูมิโดยการหยดน้ำเกลือที่หลังมือก่อนเสมอให้แน่ใจว่าไม่ร้อนจนเกินไป วิธีใช้ที่ดูดน้ำมูกทารกสามารถทำได้ ดังนี้ ควรใช้ผ้าห่อตัวทารกหากทารกดิ้น เพื่อช่วยให้การล้างจมูกง่ายขึ้นและไม่เกิดการบาดเจ็บ จับทารกให้นอนในท่าศีรษะสูงเพื่อป้องกันการสำลัก ใช้ที่ดูดน้ำมูกดูดน้ำเกลือจนเต็ม ค่อย ๆ หยดน้ำเกลือครั้งละ 2 –3 หยด เข้าไปในรูจมูกของทารก […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม