ขวบปีแรกของลูกน้อย

ช่วงขวบปีแรกของลูกน้อย คือช่วงเวลาที่สำคัญมากสำหรับเด็กทารก ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาข้อมูลด้านสุขภาพ เพื่อการดูแลและสนับสนุนลูกน้อยได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เรียนรู้ข้อมูลทางด้านสุขภาพที่น่าสนใจในช่วง ขวบปีแรกของลูกน้อย ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ขวบปีแรกของลูกน้อย

เด็ก1ขวบ มีพัฒนาการสำคัญอะไรบ้างที่ควรรู้

เด็ก1ขวบ มีการเปลี่ยนแปลงทางพัฒนาการในหลายส่วนทั้งทางร่างกาย สติปัญญา การเรียนรู้ การสื่อสาร ภาษา สังคมและอารมณ์ ซึ่งพัฒนาการเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการส่งเสริมจากคุณพ่อคุณแม่และสิ่งแวดล้อมรอบข้าง เนื่องจากเด็ก1ขวบเป็นวัยแห่งการเรียนรู้ ทำความเข้าใจและลอกเลียนแบบสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ดังนั้น การเป็นตัวอย่างที่ดีและการให้เด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี จึงอาจช่วยส่งเสริมพัฒนาการและทักษะของเด็กให้เหมาะสมตามวัย [embed-health-tool-vaccination-tool] เด็ก1ขวบ มีพัฒนาการอะไรเกิดขึ้นบ้าง เด็ก1ขวบมีพัฒนาการที่เกิดขึ้นในหลายด้านที่บ่งบอกถึงพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัยและมีสุขภาพดี ดังนี้ การเจริญเติบโตทางร่างกาย น้ำตัวของเด็กทารกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 3 เท่าตั้งแต่แรกเกิด และเมื่ออายุครบ 1 ขวบ เด็กจะตัวโตขึ้นประมาณ 9-11 นิ้ว หลังจากนั้น น้ำหนักตัวของเด็กจะเพิ่มขึ้นช้าลงหรืออาจคงที่ เนื่องจากระดับกิจกรรมที่มากขึ้น ดังนั้น การให้เด็กกินอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน เช่น ผลไม้ ผัก โปรตีน คาร์โบไฮเดรต เพื่อช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและใช้เป็นพลังงานในการทำกิจกรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญ ทักษะการเคลื่อนไหวและการประสานงานของกล้ามเนื้อ เด็ก1ขวบจะมีพัฒนาการในการเคลื่อนไหวและการประสานงานของร่างกายทั้งกล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่ โดยเด็กจะเรียนรู้ทักษะในการหยิบจับสิ่งของด้วยการใช้มือและนิ้วมือ เช่น การส่งของจากมือหนึ่งไปอีกมือหนึ่ง การหยิบของเข้าปาก การเปิดหน้าหนังสือ รวมทั้งการเคลื่อนไหวร่างกายในส่วนอื่น ๆ เช่น การพลิกตัว การคลาน การยืนด้วยการจับวัตถุรอบข้าง การยืนด้วยตัวเอง การเดินพร้อมกับการจับวัตถุรอบข้าง การสื่อสารและภาษา เด็ก1ขวบจะเริ่มเรียนรู้คำศัพท์สั้น ๆ ง่าย ๆ […]

สำรวจ ขวบปีแรกของลูกน้อย

ขวบปีแรกของลูกน้อย

เสื้อผ้าเด็กแรกเกิด เลือกอย่างไรให้เหมาะสม

เสื้อผ้าเด็กแรกเกิด คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกให้เหมาะกับขนาดตัว เนื่องจาก เด็กแรกเกิดเป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตของร่างกายอย่างรวดเร็ว จึงไม่ควรเตรียมเสื้อผ้าให้เยอะจนเกินไป แค่เตรียมให้พอดีกับการใช้งานเท่านั้น ควรเลือกเสื้อผ้าที่ไม่รัดแน่นหรือหลวมจนเกินไป รวมทั้งควรเลือกเนื้อผ้าที่ทำจากผ้าป่านหรือผ้าฝ้าย เพราะระบายความร้อนได้ดี อ่อนนุ่ม ไม่ระคายเคืองต่อผิว รวมถึงสวมใส่สบายและเหมาะกับสภาพอากาศของประเทศไทย [embed-health-tool-vaccination-tool] การเลือกเสื้อผ้าเด็กแรกเกิด การเลือกเสื้อผ้าเด็กแรกเกิด คุณพ่อคุณแม่อาจทำได้ดังนี้ เด็กแรกเกิดอาจขับถ่ายหรือคายนมจนเปื้อนเสื้อผ้า จึงควรเลือกเสื้อผ้าที่ใส่และถอดได้ง่าย เช่น เสื้อผ้าที่มีกระดุมด้านหน้าหรือด้านข้าง เสื้อคอกว้าง มีซิป มีเชือกสำหรับผูก หรือกางเกงเอวยางยืดแบบยืดหยุ่นพอดีไม่รัดแน่นเกินไป ควรเลือกเสื้อผ้าที่มีกระดุมที่เป้าเพื่อให้ง่ายต่อการเปลี่ยนผ้าอ้อม ควรเลือกเสื้อผ้าที่มีเนื้อผ้าอ่อนนุ่มและอ่อนโยนต่อผิวที่บอบบางของเด็กแรกเกิด เช่น ผ้าฝ้าย ผ้าป่าน ควรเลือกเนื้อผ้าให้เหมาะกับทุกสภาพอากาศและมีในปริมาณที่เพียงพอต่อการใช้งาน เช่น ชุดจั๊มสูทผ้ายืดขาสั้น แขนสั้นสำหรับสภาพอากาศร้อน ชุดจั๊มสูทผ้ายืดขายาว แขนยาวสำหรับสภาพอากาศหนาว ถุงเท้า ถุงมือและหมวกผ้าฝ้าย สำหรับให้ความอบอุ่นและปกป้องผิวของเด็กแรกเกิด ควรเลือกเสื้อผ้าที่มีป้ายกำกับว่า มีอันตรายจากไฟไหม้ต่ำ (Low Fire Hazard Label) เนื่องจาก เนื้อผ้าที่นำมาผลิตเป็นเสื้อผ้าเด็กแรกเกิด อาจช่วยป้องกันอันตรายจากไฟไหม้ได้ ซึ่งอาจทำให้มีความเสี่ยงต่อการติดไฟลดลง ควรเลือกเสื้อผ้าที่ไม่มีป้ายกำกับอยู่ที่หลังคอเสื้อ หรือควรตัดออกก่อนใส่ให้เด็กแรกเกิด เพราะป้ายกำกับอาจบาดผิวหรือทำให้ผิวเกิดความระคายเคืองได้ ควรหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าที่ปักลวดลาย มีลูกไม้ หรือมีของประดับตกแต่งต่าง ๆ เพราะอาจบาดผิวหรือระคายเคืองผิวของเด็กแรกเกิดได้ ควรหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าที่มีการถักทอหรือการเย็บที่ไม่แข็งแรง เพราะอาจทำให้วัสดุบางอย่าง […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

การเจริญเติบโตของทารก ช่วงวัยขวบปีแรก และวิธีการดูแล

การเจริญเติบโตของทารก ในช่วงขวบปีแรกอาจแตกต่างกันออกไปตามแต่ละคน บางคนอาจมีพัฒนาการเหมาะสมกับช่วงวัย แต่บางคนก็อาจมีพัฒนาการล่าช้า ขึ้นอยู่กับภาวะสุขภาพและการดูแลของผู้ปกครอง ดังนั้น เพื่อให้ลูกน้อยเจริญเติบโตสมวัย คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาวิธีดูแลลูกอย่างเหมาะสม อีกทั้งยังควรสังเกตอาการผิดปกติ และควรแจ้งให้คุณหมอทราบทันที เพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัดและทำการรักษา เพื่อให้ทารกมีพัฒนาการที่เหมาะสม สมบูรณ์ เป็นไปตามวัย [embed-health-tool-baby-poop-tool] พัฒนาการและ การเจริญเติบโตของทารก ในช่วงขวบปีแรก พัฒนาการและการเจริญเติบโตของทารกขวบปีแรก แบ่งออกเป็น 4 ช่วง ดังต่อไปนี้ ทารกอายุ 0-3 เดือน ในช่วง 3 เดือนแรก ร่างกายและสมองของทารกกำลังเข้าสู่ช่วงพัฒนาและเริ่มเรียนรู้การใช้ชีวิตภายนอก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตพัฒนาการและการเจริญเติบโตได้ดังนี้ ทารกอาจเริ่มมองตามวัตถุที่อยู่ตรงหน้าไปมา ยิ้ม ตอบสนองต่อสิ่งที่เห็น หรือในขณะที่คุณพ่อคุณแม่พูดคุยกับลูก เริ่มยกศีรษะหรือชันคอเองได้ เอื้อมมืออยากจับวัตถุ ของเล่น หรือตุ๊กตาที่พบเห็น จับนิ้วมือคุณพ่อคุณแม่ ของเล่น หรือสิ่งของรอบตัวและกำไว้ในมือ ทารกอายุ 4-6 เดือน ทารกอาจเริ่มมีการเรียนรู้มากขึ้น หากคุณพ่อคุณแม่มีการกระตุ้นพัฒนาการและการเจริญเติบโตของทารกอย่างสม่ำเสมอด้วยการพูดคุยบ่อย ๆ เพราะจะทำให้ทารกเริ่มจดจำ เลียนแบบ และตอบสนอง ทารกอาจเปล่งเสียงหัวเราะ หรือพูดภาษาอ้อแอ้ ส่งเสียงดัง มีการควบคุมศีรษะได้ดี เริ่มยกศีรษะได้นานขึ้นกว่าเดิม เริ่มมีการเคลื่อนไหวด้วยการพลิกคว่ำหรือหงายตัวไปมา เอื้อมมือออกไปหยิบสิ่งของต่าง ๆ และอาจสลับมือถือสิ่งของนั้น ๆ ด้วยตัวเอง ทารกอายุ […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการทารก 2 เดือน และวิธีดูแลทารกที่เหมาะสม

พัฒนาการทารก 2 เดือน อาจเปลี่ยนแปลงไปในหลายด้าน เช่น ด้านการสื่อสาร ด้านกายภาพ ทารก 2 เดือนมักเจริญเติบโตและตอบสนองต่อสิ่งรอบตัวได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาวิธีการส่งเสริมพัฒนาการทารก 2 เดือนให้เหมาะสม เพื่อช่วยกระตุ้นให้ทารกมีพัฒนาการที่สมบูรณ์ และควรสังเกตสัญญาณเตือนของภาวะพัฒนาการล่าช้าในทารกด้วย หากพบจะได้รักษาได้อย่างทันท่วงที [embed-health-tool-vaccination-tool] พัฒนาการทารก 2 เดือน มีอะไรบ้าง  พัฒนาการทารก 2 เดือน ที่คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกต อาจมีดังนี้ พัฒนาการด้านกายภาพ ทารกอายุ 2 เดือน มักเริ่มมีน้ำหนักตัวและความยาวของลำตัวเพิ่มขึ้น รู้จักมองตามวัตถุที่เคลื่อนไปมา เพื่อจดจำรูปร่างและลักษณะของวัตถุที่เห็น มีการได้ยินดีขึ้น และเริ่มแบมือ กำมือ หรือเอื้อมมือ เพื่อหยิบจับสิ่งของรอบตัว แขนขาเริ่มงอน้อยลงเวลานอนหงาย หากคุณพ่อคุณแม่อุ้มทารกพาดบ่า จะสังเกตได้ว่าทารกอาจเริ่มยกศีรษะและดันลำตัวขึ้น พัฒนาการด้านการสื่อสาร เมื่อทารกเริ่มมองเห็นและได้ยินชัดขึ้น อาจส่งผลให้ทารกจดจำและตอบสนองด้วยการยิ้ม ส่งเสียงอ้อแอ้ หรือหันศีรษะไปตามเสียง และหากทารกรู้สึกไม่สบายตัว หงุดหงิด หรือหิว ก็อาจแสดงออกด้วยการร้องไห้อย่างน้อย 3 ชั่วโมงต่อวัน พัฒนาการด้านการกินอาหาร ทารกอาจเริ่มกินนมได้มากขึ้น เนื่องจากเริ่มดูดนมเป็นและรู้จักใช้ลิ้นช่วยกระตุ้นให้น้ำนมไหลดีขึ้น ทารกวัย 2 […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการทารก ในช่วงขวบปีแรก และวิธีดูแลทารกที่เหมาะสม

พัฒนาการ ทารก ในช่วงขวบปีแรก นับตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 12 เดือน ถือเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากละเลยอาจทำให้เด็กมีพัฒนาการล่าช้ากว่าวัย และส่งผลต่อการใช้ชีวิตในอนาคตได้ การดูแลเอาใจใส่ของคนในครอบครัวในด้านต่าง ๆ เช่น อาหารสำหรับทารก กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ถือเป็นสิ่งสำคัญ ที่อาจส่งเสริมให้เด็กทารกมีพัฒนาการและการเจริญเติบโตที่สมวัย  [embed-health-tool-child-growth-chart] พัฒนาการ ทารก ช่วงขวบปีแรก พัฒนาการของทารกช่วงขวบปีแรก แบ่งออกเป็น 4 ช่วง ได้แก่ ทารกอายุ 0-3 เดือน ทารกแรกเกิดอาจยังไม่รู้ว่าบุคคลที่อยู่ตรงหน้าคือใคร แต่เมื่อทารกอายุได้ประมาณ 1 เดือน อาจเริ่มมีพัฒนาการ ดังต่อไปนี้ จดจำเสียงและใบหน้าของคุณพ่อคุณแม่ และตอบสนองต่อเสียงที่ได้ยินได้ เช่น รู้จักยิ้มตอบ มองตามวัตถุที่เคลื่อนไหวไปมา เอื้อมมือจับของเล่นที่ห้อยอยู่ได้ หรือหากวางสิ่งของไว้ในมือทารก ทารกอาจกำของสิ่งนั้นไว้แน่น หัดยกศีรษะและดันตัวขึ้น เอามือเข้าปาก ซึ่งอาจเป็นสัญญาณว่าทารกกำลังหิว ทารกอายุ 4-6 เดือน อาจมีการตอบสนองหรือการแสดงอารมณ์ออกมาให้คุณพ่อคุณแม่รับรู้ รวมถึงมีพัฒนาการด้านการเรียนรู้ ดังนี้ หัวเราะ ยิ้ม ร้องไห้ ส่งเสียงอ้อแอ้เพื่อสื่อสารกับคุณพ่อคุณแม่ […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

วัยทารก กับเรื่องสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

วัยทารก เป็นวัยที่สำคัญของพัฒนาการทางร่างกาย สมอง สติปัญญา สังคม และอารมณ์ ผ่านการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบตัวและการฝึกฝนทักษะต่าง ๆ ตามช่วงอายุอย่างเหมาะสม โดยพ่อแม่มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ของทารก การดูแลทางร่างกายและโภชนาการอาหาร การป้องกันปัญหาสุขภาพทารกและการดูแลรักษาความปลอดภัยทั้งร่างกายและชีวิต [embed-health-tool-vaccination-tool] วัยทารก พัฒนาการที่สำคัญ วัยทารก คือ วัยตั้งแต่แรกคลอดจนถึง 1 ปี ในช่วงวัยนี้นับเป็นช่วงเวลาที่สำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการทางสมองและร่างกาย เป็นวัยแห่งการเรียนรู้และฝึกฝนจากสิ่งรอบตัวโดยเฉพาะจากพ่อแม่ เนื่องจาก วัยทารก ต้องการความรักและความอบอุ่นจากพ่อแม่ในการช่วยส่งเสริมพัฒนาการของทารกให้ดียิ่งขึ้น พัฒนาการที่สำคัญของวัยทารก คือ การฝึกฝนทักษะด้านต่าง ๆ เช่น การยิ้มครั้งแรก การโบกมือ การเดินก้าวแรก โดยเรียนรู้ผ่านการพูด พฤติกรรมพ่อแม่ หรือคนรอบตัว ซึ่งทารกอาจแสดงพฤติกรรมเลียนแบบ โต้ตอบด้วยการพูด เคลื่อนไหวร่างกาย เช่น การชี้มือเพื่อสื่อสาร คลาน เดิน กระโดด ล้วนแล้วแต่เป็นทักษะที่เกิดขึ้นตามลำดับของพัฒนาการทารก โดยทารกแต่ละคนอาจมีพัฒนาการเร็วช้าแตกต่างกันไป ในขวบปีแรก ทารกจะมีพัฒนาการทางสมองและสติปัญญาอย่างรวดเร็ว เป็นกระบวนการเรียนรู้ด้านภาษา ความคิด การใช้เหตุผลและความจำ ทารกอาจเริ่มพูดเพื่อสื่อสารถึงอารมณ์หรือความต้องการในขณะนั้น โดยอาจพูดโต้ตอบไม่เป็นคำหรืออาจพูดเป็นคำสั้น ๆ เช่น กิน หิว แม่หรือพ่อ […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

ทารก1เดือน พัฒนาการ และการดูแล

ทารก1เดือน อยู่ในช่วงขวบปีแรก ที่ออกจากท้องของมารดามาเผชิญกับโลกภายนอก หลังจากใช้ชีวิตอยู่ในท้องถึง 9 เดือน ถึงแม้ว่าทารกจะมีอายุเพียง 1 เดือน แต่คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตถึงพัฒนาการและการเจริญเติบโตได้จากปฏิกิริยาการตอบสนอง เช่น การดูดนม น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น สะดุ้งตกใจเสียงรอบด้าน ซึ่่งนับว่าเป็นสัญญาณเตือนที่ดีที่บ่งบอกได้ว่า ทารกของคุณพ่อคุณแม่กำลังเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง [embed-health-tool-vaccination-tool] พัฒนาการของ ทารก1เดือน พัฒนาการของทารก1เดือน คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้การเปลี่ยนแปลง ดังต่อไปนี้ พัฒนาการทางกายภาพ ทารกอาจมีการตอบสนองตามธรรมชาติ เช่น การดูดนมแม่ด้วยตัวเอง เพียงแค่คุณแม่ช่วยเหลือเล็กน้อยด้วยการนำหัวนมใส่เข้าปากทารก ทารกอาจได้ยินเสียงที่ชัดเจนจนสามารถกางแขนกางขาเวลาสะดุ้ง  นอกจากนี้ ทารกยังมีสัญชาตญาณการเดินแม้จะอายุเพียง 1 เดือน โดยคุณแม่สังเกตได้ตอนอุ้มทารกยืน เพราะขาของทารกจะพยายามยืดทรงตัว หรือเหมือนพยายามก้าวไปข้างหน้า ทารกช่วงวัยนี้อาจมีการมองเห็นได้ดีในระยะ 2 ฟุต และชอบมองวัตถุที่มีสีสันตัดกัน เช่น ขาวดำ และอาจมองตามวัตถุที่อยู่ตรงหน้าหรือตามเสียงที่ได้ยิน ทารก 1 เดือนอาจมีกระดูกบริเวณคอที่ยังไม่แข็งแรง ไม่อาจตั้งศีรษะได้ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรประคองใต้ศีรษะทารกทุกครั้งที่เมื่ออุ้มขึ้น และกระตุ้นความแข็งตัวของกระดูกทารก โดยอาจให้ทารกนอนคว่ำบนที่นอนและพูดคุยกับทารก เพื่อให้ทารกเงยหน้า ตั้งศีรษะ และหันศีรษะไปในทิศทางตามเสียงที่ได้ยิน พัฒนาการด้านการสื่อสาร ทารก 1 เดือน อาจสื่อสารโดยการร้องไห้ให้คุณพ่อคุณแม่ได้รับรู้ ซึ่งการร้องไห้ของทารกอาจหมายถึงความไม่สบายตัว หิว ผ้าอ้อมเปียกชื้น ปกติทารกจะร้องไห้ระยะเวลาสั้น […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการทารก 3 เดือน และเคล็ดลับการเลี้ยงลูก

คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตความเปลี่ยนแปลงของการเจริญเติบโตและ พัฒนาการทารก 3 เดือน ได้ชัดเจนมากขึ้น ทารกวัย 3 เดือนจะเริ่มมีการตอบสนองมากขึ้น เช่น การยิ้ม แสดงกิริยาอยากพูดคุุย เริ่มมองตามสิ่งรอบตัวที่อยู่ตรงหน้า เพื่อกระตุ้นพัฒนาการให้ทารกอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมการเรียนรู้ และการจดจำ คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาถึงวิธีการเลี้ยงดูลูกอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-vaccination-tool] พัฒนาการทารก 3 เดือน พัฒนาการทารก 3 เดือนที่คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้ มีดังนี้ พัฒนาการด้านกายภาพ ทารกหลังคลอดอาจมีการสั่นของศีรษะเนื่องจากยังมีกระดูกและกล้ามเนื้อคอไม่แข็งแรง แต่เมื่อเริ่มเข้าสู่ช่วงเดือนที่ 3 กระดูกของทารกเริ่มแข็งแรงขึ้น โดยเฉพาะบริเวณคอที่เชื่อมกับศีรษะ ทำให้คอเริ่มแข็ง กล้ามเนื้อพัฒนามากขึ้นจึงเริ่มควบคุมศีรษะไม่ให้สั่นไปมาได้ อีกทั้งยังอาจมีการเตะแขนเตะขา เอามือทั้ง 2 ข้างเข้าหากันคล้ายผวา กำมือ เอื้อมมือเล่นของเล่น และอาจเริ่มพลิกตัวด้วยตัวเอง หากคุณพ่อคุณแม่อยากตรวจสอบพัฒนาการด้านกายภาพทารก อาจนำของเล่นยื่นให้ทารกเพื่อดูการตอบสนองว่าเริ่มเอื้อมหยิบจับสิ่งของต่าง ๆ หรือไม่ พัฒนาการด้านการได้ยินและการมองเห็น เมื่อทารกได้ยินเสียงอาจเริ่มหันศีรษะหรือมองตามเสียงที่ได้ยิน เพราะทารกตั้งแต่อายุ 3 เดือนขึ้นไปเริ่มมีการประสานงานของดวงตาได้ดีขึ้น และสามารถเริ่มจดจำรายละเอียดในสิ่งที่มองเห็นหรือได้ยินได้ การมองเห็นในช่่วงแรกทารกอาจจะเห็นได้ไม่ไกล ไม่ชัด ไม่สามารถแยกสีได้ ลักษณะที่เห็นอาจเป็นแค่สีขาวและสีดำ และต่อมาพัฒนาการมองเห็นเริ่มค่อย ๆ ชัดขึ้น มองเห็นสีต่าง ๆ ให้คุณพ่อคุณแม่เริ่มหาของเล่นที่มีสีสัน และให้ลูกจับถือ  […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

ทารกแรกเกิด พัฒนาการ และเคล็ดลับการดูแล

ทารกแรกเกิด หมายถึงทารกที่อยู่ในช่วงอายุ 0-3 เดือน ซึ่งเป็นช่วงที่สมองของเด็กจะทำงานเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า คุณพ่อคุณแม่จึงควรเอาใจใส่ในการดูแลและการเพิ่มทักษะให้เหมาะสมกับช่วงวัยของทารก ทั้งพัฒนาการทางกายภาพ การเรียนรู้ การจดจำ อารมณ์ [embed-health-tool-bmi] ลักษณะทารกแรกเกิด  หลังลืมตาดูโลกได้ไม่นาน ทารกแรกเกิดอาจมีลักษณะทางกายภาพบางอย่างที่เปลี่ยนไป และมักจะกลับมาเป็นปกติได้ภายในไม่กี่วัน ลักษณะของทารกแรกเกิด มีดังนี้ ดวงตา ระหว่างการคลอดบุตรอาจมีแรงกดทับที่เปลือกตาและ ใบหน้าได้จากกลไกการคลอด ทำให้ทารกแรกเกิดอาจมีอาการตาบวมหรือใบหน้าบวมได้ชั่วคราว บางรายเส้นเลือดฝอยที่ตาขาวอาจแตก บางครั้งดวงตาของทารกแรกเกิดอาจแยกออกจากกัน หรือที่เรียกว่าอาการตาเหล่ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติในทารกแรกเกิดและจะหายไปได้เองภายใน 3 เดือน หากเกินกว่านี้ดวงตาทารกยังไม่กลับมาเป็นปกติควรแจ้งให้คุณหมอทราบอย่างทันท่วงที ศีรษะ การบีบตัวของช่องคลอดมารดาอาจส่งผลให้กระดูกศีรษะทารกเคลื่อน ส่งผลให้ศีรษะเป็นรูปทรงกรวยและยาวขึ้น โดยเฉพาะหากคุณแม่ใช้เวลาคลอดนาน ทารกแรกเกิดส่วนใหญ่มีกระหม่อมของศีรษะที่ยังไม่สมานตัวกัน ซึ่งอาจใช้ระยะเวลา 1 ปีเศษ กว่ากระหม่อมหน้าของทารกจะสมานตัว (ส่วนกระหม่อมหลัง อาจคลำได้ขนาดเล็กๆ และมักปิดเมื่ออายุได้ 3-6 เดือน) ถูกห่อหุ้มด้วยเนื้อเยื่อที่แข็งแรง การปรับท่านอนของทารกอาจสามารถช่วยทำให้ศีรษะของทารกมนและกลมขึ้นได้ภายใน 1-2 สัปดาห์ สำหรับทารกที่คลอดโดยนำแขนขาออกก่อน หรือกลุ่มทารกที่ได้รับการผ่าตัดคลอด ศีรษะทารกอาจมีรูปทรงกลมตั้งแต่กำเนิด ขาและขา แขนและขาของทารกอาจโค้งงอหรือบวมได้เนื่องจากความแคบของช่องมดลูกระหว่างการคลอด แต่กระดูกแขนและขานั้นอาจยืดได้เองเมื่อเติบโตขึ้น ผิว บริเวณศีรษะและใบหน้าของทารกแรกเกิดอาจมีจุดสีขาวเล็ก ๆ หรือที่เรียกว่าสิวข้าวสาร […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

เด็กทารก กับโภชนาการที่เหมาะสมและปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย

เด็กทารก หมายถึง เด็กในช่วงอายุ 0-12 เดือน ซึ่งเป็นช่วงที่เด็กมีพัฒนาการทั้งด้านร่างกายและการเรียนรู้จากสิ่งรอบตัวอย่างรวดเร็ว คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตพัฒนาการ รวมถึงสิ่งผิดปกติต่าง ๆ ที่อาจเกิดกับลูกน้อย ทั้งเรื่องการเจริญเติบโต การรับประทานอาหาร การสื่อสาร หากพบความผิดปกติใด ๆ ควรรีบปรึกษากุมารแพทย์ เพื่อรักษาหรือรับมือได้อย่างทันท่วงที [embed-health-tool-vaccination-tool] เด็กทารก คือช่วงวัยใด  เด็กทารก หมายถึง เด็กในช่วงอายุ 0-12 เดือน เด็กวัยนี้จะมีพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย อย่างน้ำหนักและส่วนสูง รวมถึงพัฒนาการด้านการเรียนรู้ที่หลากหลายและเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเดือน เช่น การพลิกคว่ำ การนั่ง การยืน การก้าวเดินครั้งแรก การส่งเสียงอ้อแอ้ การยิ้ม การหัวเราะ โดยปัจจัยที่อาจส่งผลต่อพัฒนาการเด็ก ได้แก่ สภาพแวดล้อม การเลี้ยงดู และโภชนาการ อย่างไรก็ตาม เด็กทารกบางคนอาจมีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกัน คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตเด็กทารกอยู่เสมอ เพราะอาจมีสัญญาณเตือนบางอย่างว่าเด็กมีความบกพร่องด้านใดด้านหนึ่ง จึงส่งผลให้มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกัน พัฒนาการเด็กทารก  พัฒนาการที่สำคัญของทารกในแต่ละเดือน มีดังต่อไปนี้  พัฒนาการด้านน้ำหนักและส่วนสูง  ส่วนสูงและน้ำหนักของเด็กทารกควรอยู่ในเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (หากตัวเลขคลาดเคลื่อนจากตารางนี้เล็กน้อย อาจสังเกตโดยใกล้ชิดไปก่อนสัก 1-2 เดือน แต่หากตัวเลขต่างจากเกณฑ์มาก แนะนำให้พาเด็กทารกไปตรวจกับกุมารแพทย์ทันที) อายุ น้ำหนักชาย น้ำหนักหญิง ส่วนสูงชาย ส่วนสูงหญิง 1 เดือน 4.5 กก. 4.2 กก. 54.7 ซม. 53.7 ซม. 2 เดือน 5.6 […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการทารก ในช่วงขวบปีแรกของแต่ละเดือนเป็นอย่างไร

พัฒนาการทารก เริ่มต้นตั้งแต่แรกเกิดและพัฒนาอย่างรวดเร็วตามลำดับจากศีรษะสู่ปลายเท้า (Cephalocaudal) ในช่วง 12 เดือนแรก ทารกมักเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว ผ่านการโต้ตอบและการสื่อสารกับพ่อแม่หรือผู้ดูแล รวมทั้งการเล่นหรือของเล่นที่ช่วยฝึกกระบวนการคิด การเคลื่อนไหว การแสดงอารมณ์ และอื่น ๆ โดยพัฒนาการทารกจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในแต่ละช่วงวัยหรือช่วงเวลาของการฝึกฝน ขึ้นอยู่กับว่าพ่อแม่หรือผู้ปกครองต้องการส่งเสริมพัฒนาการทารกในด้านใด เช่น การเดิน การพูด การเรียนรู้ภาษา การเข้าสังคม [embed-health-tool-vaccination-tool] พัฒนาการทารกที่สำคัญ พัฒนาการด้านต่าง ๆ ที่ทารกควรได้รับการส่งเสริมให้เรียนรู้และฝึกฝน มีดังนี้ การเคลื่อนไหวร่างกายโดยรวม เป็นการฝึกฝนร่างกาย สร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เริ่มจากภายใน 3 เดือนแรก ฝึกกล้ามเนื้อคอให้แข็งแรง ตั้งคอตรงได้ มีการประสานงาน และการควบคุมกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ รวมถึงการสร้างทักษะในด้านต่าง ๆ ให้ทารกได้เกิดกระบวนการเรียนรู้และฝึกฝน เช่น การฝึกนั่งในเดือนที่ 4-6 การฝึกพลิกตัวคว่ำหงาย การคืบ การคลาน ในช่วงเดือนที่ 6-8 การเริ่มเกาะยืนและการฝึกก้าวเดินในช่วงเดือนที่ 8-12   การเคลื่อนไหวของร่างกายขนาดเล็ก ฝึกฝนการประสานงาน และการควบคุมกล้ามเนื้อขนาดเล็ก รวมถึงทักษะในด้านต่าง ๆ เช่น การหยิบหรือจับสิ่งของขนาดเล็กหรืออาหาร เพื่อฝึกควบคุมกล้ามเนื้อมือและนิ้วให้สมดุลมากขึ้น และเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่วขึ้น […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม