backup og meta

ปัญหาการหายใจในทารกคลอดก่อนกำหนด รู้ก่อน เพื่อสุขภาพทารก

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์ · พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 31/01/2023

    ปัญหาการหายใจในทารกคลอดก่อนกำหนด รู้ก่อน เพื่อสุขภาพทารก

    ปัญหาการหายใจในทารกคลอดก่อนกำหนด คือปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจที่เกิดขึ้นในทารกที่คลอดก่อนกำหนด เช่น โรคปอดเรื้อรัง ภาวะหายใจลำบาก ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการที่ปอดของทารกยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ เมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้น ปัญหาการหายใจในทารก เหล่านี้ก็จะค่อย ๆ หายไปตามพัฒนาการของทารก

    ทารกที่คลอดก่อนกำหนด หมายถึงทารกที่คลอดก่อนสัปดาห์ที่ 37 ของการตั้งครรภ์ ทารกที่คลอดก่อนกำหนดมักมีปัญหาสุขภาพมากมายเนื่องจากร่างกายยังไม่พัฒนาเต็มที่ ยิ่งทารกคลอดก่อนกำหนดเร็วเท่าไรจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนมากขึ้นเท่านั้น

    ปัญหาการหายใจในทารกคลอดก่อนกำหนด มีอะไรบ้าง

    ทารกที่คลอดก่อนกำหนดบางคนอาจมีปัญหาเรื่องการหายใจ เนื่องจากระบบทางเดินหายใจยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ ปอดของทารกอาจขาดสารลดแรงตึงผิวที่ช่วยให้ปอดขยายตัว ทำให้ปอดของทารกอาจไม่สามารถหดและขยายตัวได้ตามปกติ จนนำไปสู่ ปัญหาการหายใจในทารก ต่าง ๆ ดังนี้

    กลุ่มอาการหายใจลำบากในทารกแรกเกิด (Newborn or neonatal respiratory distress syndrome : NRDS)

    กลุ่มอาการหายใจลำบากในทารกแรกเกิด เกิดขึ้นจากการที่ปอดยังพัฒนาไม่เต็มที่ทำให้ไม่สามารถรับออกซิเจนได้อย่างเพียงพอ ทำให้ทารกอาจมีอาการต่าง ๆ ดังนี้

    • สีผิว ริมฝีปาก ลิ้นและเล็บ เปลี่ยนเป็นสีม่วงหรือฟ้า
    • หายใจสั้นและเร็ว
    • มีเสียงดังเมื่อหายใจ
    • กรณีที่เป็นมากอาจซึมลง หายใจช้า หรือ หายใจแผ่ว

    แพทย์อาจต้องให้สารลดแรงตึงผิวผ่านทางหลอดลมเข้าสู่ปอด นอกจากนี้ หากแพทย์พิจารณาว่าคุณแม่อาจมีความเสี่ยงที่จะคลอดก่อนสัปดาห์ที่ 34 คุณหมอก็อาจให้ยาสเตียรอยด์เพื่อช่วยให้ปอดของทารกพัฒนาดีขึ้น เนื่องจากปอดของทารกคลอดก่อนกำหนดจะพัฒนาจนใกล้เคียงทารกครบกำหนดหลังอายุครรภ์ 34 สัปดาห์เป็นต้นไป

    โรคปอดเรื้อรังในทารกคลอดก่อนกำหนด (Bronchopulmonary dysplasia : BPD) 

    โรคปอดเรื้อรังในทารกคลอดก่อนกำหนด หรือที่เรียกว่า โรคปอดเรื้อรังในทารกแรกเกิด (Chronic lung disease : CLD) หมายถึง ปัญหาการหายใจในทารก ที่อาจเกิดจากปอดยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ ทำให้ทารกอาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจหรือได้รับออกซิเจนอย่างน้อย 28 วันหลังคลอด

    ทารกที่เป็นโรคปอดเรื้อรังอาจแสดงอาการเหล่านี้

    • หายใจลำบาก หายใจติดขัด
    • จมูกบาน
    • หายใจเร็ว
    • หายใจมีเสียง
    • ซี่โครงและกระดูกยุบเมื่อหายใจ

    สำหรับทารกที่มีความเสี่ยงสูงบางรายอาจได้รับสเตียรอยด์เพื่อช่วยในการหายใจ รวมถึงช่วยลดการใช้เครื่องช่วยหายใจ

    ภาวะหยุดหายใจขณะคลอดก่อนกำหนด

    ทารกที่คลอดก่อนกำหนดบางคนอาจมีภาวะหยุดหายใจร่วมกับอาการอื่น ๆ ดังนี้

    • หัวใจเต้นช้าลง โดยปกติทารกแรกเกิดจะมีอัตราการเต้นของหัวใจระหว่าง 120-160 ครั้งต่อนาที แต่อาจมีช่วงที่กว้างกว่านี้ได้ตั้งแต่ 70-180 ครั้งต่อนาที สำหรับทารกที่มีภาวะหยุดหายใจขณะคลอดก่อนกำหนดจะมีอัตราการเต้นของหัวใจที่น้อยกว่านั้น
    • ทารกตัวเขียว ผิวหนัง ริมฝีปาก ลิ้น หรือเล็บของทารกอาจมีสีออกเขียว หรือตัวลาย เนื่องจากขาดออกซิเจนในเลือด
    • หน้าอกยุบเมื่อหายใจ ทารกที่หายใจลำบากอาจมีอาการหน้าอกบริเวณซี่โครงยุบเมื่อหายใจ
    • หายใจไม่ออก ทารกอาจมีอาการหายใจสั้นและเร็ว หรือมีเสียงขณะหายใจ

    การรักษา ปัญหาการหายใจในทารกคลอดก่อนกำหนด

    การรักษาปอดที่พัฒนาไม่เต็มที่

    ปัญหาการหายใจในทารก อาจมีสาเหตุมาจากการที่ปอดยังพัฒนาไม่เต็มที่ แพทย์จึงต้องพยายามช่วยให้ปอดของทารกพัฒนาขึ้นอย่างเหมาะสม โดยอาจใช้วิธีดังนี้

    • การให้สารลดแรงตึงผิวทดแทน สำหรับทารกคลอดก่อนกำหนดที่ปอดยังพัฒนาไม่เต็มที่ แพทย์อาจทำการรักษาด้วยการให้สารลดแรงตึงผิวผ่านทางหลอดลมเข้าสู่ปอด เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้ปอดยุบตัวลง
    • ให้ออกซิเจน
    • ใช้เครื่องช่วยหายใจ
    • ใช้เครื่องอัดอากาศขณะหายใจ (Continuous positive airway pressure : CPAP)

    การรักษากลุ่มอาการหายใจลำบาก

    คุณหมออาจทำการรักษา ปัญหาการหายใจในทารก โดยใช้วิธีการ ดังนี้

    • ใช้เครื่องอัดอากาศขณะหายใจ
    • ใช้เครื่องช่วยหายใจ

    การรักษาโรคปอดเรื้อรัง

    แพทย์อาจทำการรักษา โดยใช้วิธีการ ดังนี้

    • ยาขับปัสสาวะ ช่วยกระตุ้นการขับถ่ายปัสสาวะและช่วยรักษาสมดุลของเหลวภายในร่างกาย โดยเฉพาะในเนื้อปอด
    • ยาขยายหลอดลม ช่วยกระตุ้นให้ทางเดินหายใจเปิด ทำให้หายใจง่ายขึ้น
    • สเตียรอยด์ ช่วยลดการอักเสบของทางเดินหายใจ
    • เครื่องช่วยหายใจ
    • ยาปฏิชีวนะ ใช้เมื่อพบว่ามีการติดเชื้อในปอด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์

    พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร


    เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 31/01/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา