เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า นมแม่ คืออาหารที่ดีที่สุดสำหรับเด็กทารก เพราะอุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อพัฒนาการของเด็กทารก Hello คุณหมอ จึงได้รวบรวมเรื่องน่ารู้ดี ๆ เกี่ยวกับ เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มาไว้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

หัวนมบอด เป็นอย่างไร ให้นมบุตรได้หรือไม่ และวิธีการรักษา

หัวนมบอด (Inverted Nipple) คือหัวนมที่มีลักษณะบุ๋มลงไป ทำให้ดูคล้ายว่าไม่มีหัวนม เป็นความผิดปกติแต่กำเนิดซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการให้นมบุตร หรือหากรักษาความสะอาดไม่ดีก็อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ ดังนั้น จึงควรศึกษาลักษณะของหัวนมบอดรูปแบบต่าง ๆ และวิธีการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง [embed-health-tool-vaccination-tool] หัวนมบอด คืออะไร หัวนมบอดมีลักษณะของหัวนมที่ยุบ หัวนมบุ๋มลงไป ไม่ขึ้นมาจากฐานหัวนม ดูคล้ายกับว่าไม่มีหัวนม ลักษณะของหัวนมบอดเช่นนี้เป็นความผิดปกติแต่กำเนิด เกิดจากการหดรั้งของท่อน้ำนมข้างใต้หัวนม ซึ่งแบ่งตัวไม่ทันการเจริญเพิ่มขนาดของเต้านม เกิดจากท่อน้ำนมสั้น หรือมีพังผืดดึงรั้งเอาไว้ ทำให้หัวนมโผล่ออกมาเล็กน้อย หรือโผล่ออกมาแล้วก็หดกลับคืน โดยแบ่งลักษณะของหัวนมบอดได้ 3 แบบ  ลักษณะของหัวนมบอด สามารถแบ่งได้ 3 แบบ หัวนมบอดขั้นแรก หรือหัวนมบอดระดับรุนแรงน้อย : ลักษณะของหัวนมบอดขั้นแรก เป็นหัวนมบอดแบบไม่ถาวร หัวนมเรียบหรือยุบตัวเข้าไปบางส่วน เมื่อหัวนมยุบลงไปก็สามารถยื่นออกมาได้เองในบางครั้ง เช่น ช่วงที่อากาศหนาวเย็น ท่อน้ำนมไม่มีการรั้งตัว หรือด้วยการใช้มือดึงออกมา และยังสามารถยื่นออกมาเมื่อได้รับการกระตุ้น เช่น เมื่อถูกสัมผัสด้วยนิ้วมือหรือมีการดูด วิธีแก้ไขหัวนมบอดขั้นแรก สามารถทำได้ด้วยตัวเอง โดยหมั่นดึงหัวนมให้ยื่นออกมา หรือใช้อุปกรณ์แก้ไขหัวนมบอดช่วยดึงขึ้นมา ซึ่งลักษณะของหัวนมบอดขั้นแรกนั้น สามารถให้นมบุตรได้  หัวนมบอดขั้นกลาง หรือหัวนมบอดระดับรุนแรงปานกลาง : ลักษณะหัวนมบอดขั้นนี้ หัวนมจะบุ๋มลงไปหรือยุบตัวเข้าไป ชนิดที่ไม่ยื่นออกมาเลย แม้ว่าจะถูกกระตุ้น […]

สำรวจ เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ท่าให้นมลูก มีความสำคัญอย่างไร ท่าที่เหมาะสมควรเป็นอย่างไร

นมแม่มีประโยชน์ต่อทารกแรกเกิดไปจนถึงอายุ 1 ปี เนื่องจากนมแม่อุดมไปด้วยสารอาหารที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและระบบภูมิคุ้มกัน แต่ ท่าให้นมลูก ที่เหมาะสมก็เป็นสิ่งสำคัญสำหรับคุณแม่เช่นกัน เพราะนอกจากจะช่วยให้คุณแม่อยู่ในท่าที่สบายมากขึ้น ยังอาจช่วยลดอาการปวดคอ ปวดหลังและลดความเครียดได้อีกด้วย [embed-health-tool-due-date] ท่าให้นมลูก มีความสำคัญอย่างไร การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วยท่าทางที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้เกิดการเคลื่อนไหวร่างกายที่ไม่สมดุล ส่งผลต่อการวางตำแหน่งซี่โครงและอุ้งเชิงกราน เมื่อสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องก็อาจทำให้เกิดอาการปวดเมื่อย ปวดคอ ปวดหลังช่วงกลาง และปวดศีรษะ ดังนั้น ท่าให้นมลูกที่เหมาะสมจึงช่วยลดอาการปวดหลัง ปวดคอ ปวดหัว และช่วยลดการใช้พลังงานที่มากเกินไปเนื่องจากการใช้ท่าและการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็นในขณะให้นมลูกได้ ท่าให้นมลูกที่เหมาะสม ควรเป็นอย่างไร ท่าให้นมลูกที่เหมาะสมอาจเริ่มจากการปฏิบัติตามขั้นตอนพื้นฐาน ดังนี้ อยู่ในท่าที่สบายด้วยการใช้หมอนพยุงหลัง แขน และตัวของลูกไว้ สำหรับเท้าของคุณแม่ควรวางราบกับพื้นหรืออยู่ในตำแหน่งที่พอดี และไม่ทำให้เกิดอาการเกร็งบริเวณกล้ามเนื้อเท้าและขา จัดตำแหน่งของทารกให้อยู่ตัวมากที่สุด โดยให้สะโพกงอพอดี ปากและจมูกของลูกควรหันเข้าหน้าอกของคุณแม่ และให้ร่างกายแนบชิดตัวคุณแม่มากที่สุด ควรใช้มือรองรับเต้านมไว้ไม่ให้กดคางหรือปิดจมูกของลูก ควรใช้ทั้งแขนและมือข้างที่ถนัดพยุงหลังของลูกไว้ โดยไม่ประคองเฉพาะส่วนคอ แต่ให้ประคองทั้งหลังของลูก หากมีความรู้สึกเจ็บปวดในขณะที่ลูกดูดนม ให้แยกลูกออกจากเต้าเบา ๆ และลองให้ลูกกลับมาดูดนมใหม่อีกครั้ง การวางตำแหน่งของลูกในท่าที่เหมาะสม อาจมีดังนี้ ท่าลูกนอนขวางบนตัก (Cradle Hold) เป็นท่าที่เหมาะกับคุณแม่ที่คลอดเองตามธรรมชาติและไม่มีภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด มักเป็นท่าที่ใช้ในทารกที่อายุประมาณ 2-3 สัปดาห์แรก โดยการอุ้มลูกไว้บนตัก จัดท่าให้ลูกนอนตะแคง ใช้หมอนพยุงตัวลูกและข้อศอกเพื่อให้ลูกมีความสูงเท่าระดับหัวนมของคุณแม่ และศีรษะของลูกควรมีแขนและมือของคุณแม่รองรับยาวไปถึงกลางหลัง ท่าลูกนอนขวางบนตักแบบประยุกต์ (Cross-Cradle Hold) […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

Colostrum หรือน้ำนมเหลือง อาหารเสริมภูมิคุ้มกันจากอกแม่

Colostrum หรือโคลอสตรุม คือ น้ำนมเหลืองหรือหัวน้ำนม มีลักษณะเป็นของเหลวสีเหลืองข้นที่หลั่งออกมาจากเต้านมของคุณแม่ในช่วงประมาณ 1-3 วันหลังคลอด น้ำนมชนิดนี้มีสารอาหารที่ครบถ้วนสำหรับทารกแรกเกิด ทั้งยังมีแอนติบอดีที่ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ป้องกันการติดเชื้อ และช่วยในการเจริญเติบโตของทารกได้เป็นอย่างดี และจะค่อย ๆ เปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นน้ำนมสีขาวภายใน 2 สัปดาห์หลังคลอด ทั้งนี้ คุณแม่ควรให้ทารกกินนมแม่เป็นอาหารหลักเพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน เพื่อให้ทารกได้รับสารอาหารที่เพียงพอจากนมแม่ ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่ดีที่สุดสำหรับเด็กในวัยนี้ [embed-health-tool-vaccination-tool] Colostrum คืออะไร โคลอสตรุม (Colostrum) หรือน้ำนมเหลือง บางครั้งเรียกว่า หัวน้ำนม เป็นของเหลวสีเหลืองข้นที่หลั่งออกมาในช่วงประมาณ 1-3 วันหลังคลอด Colostrum มีความเข้มข้นสูงและอุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญหลากหลายที่ดีต่อสุขภาพของทารกแรกเกิด แต่มีไขมันและน้ำตาลต่ำ น้ำนมเหลืองปริมาณ 100 มิลลิลิตรให้พลังงานประมาณ 58-67 กิโลแคลอรี หรือประมาณ 17 กิโลแคลอรี/ 1 ออนซ์ สีเหลืองอ่อนของน้ำนมเหลืองเกิดจากสารแคโรทีนอยด์ (Carotenoids) อีกทั้งในน้ำนมเหลืองยังมีวิตามินเอ วิตามินเค โปรตีน สารช่วยในการเจริญเติบโต และเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่ผลิตแอนติบอดีหรือสารภูมิต้านทานซึ่งทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรค จึงช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน และลดความเสี่ยงในการติดเชื้อให้กับทารกแรกเกิดได้ เนื่องจากโคลอสตรุมหรือน้ำนมเหลืองผลิตมาจากฮอร์โมนการตั้งครรภ์ที่รกสร้างขึ้น เช่น ฮอร์โมนเอสโตรเจน ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

การเก็บน้ำนมให้อยู่ได้นาน สำหรับคุณแม่มือใหม่

ทารกจำเป็นต้องกินนมทุก ๆ 2-4 ชั่วโมง ตั้งแต่เกิดจนถึงอายุ 6 เดือนเป็นอย่างต่ำ การเก็บน้ำนม ด้วยการปั๊มนมหรือบีบนมจากเต้าเก็บไว้ใช้งานภายหลังจึงอาจเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคุณแม่ไม่สะดวกให้นมจากเต้า โดยทั่วไป สามารถเก็บน้ำนมแม่ในช่องแช่แข็งได้นาน 12 เดือน เก็บในตู้เย็นช่องธรรมดาได้ไม่เกิน 4 วัน และไม่เกิน 4 ชั่วโมงเมื่อปั๊มนมแล้วนำมาวางในอุณหภูมิปกติหรืออุณหภูมิห้อง ทั้งนี้ เมื่อเปิดถุงเก็บน้ำนมแล้วเทน้ำนมแม่ใส่ขวดนมให้ทารกกินแล้ว ควรให้ทารกกินนมในขวดหรือนมจากถุงนั้นให้หมดภายใน 2 ชั่วโมง เพื่อให้เด็กได้รับประโยชน์และคุณค่าทางสารอาหารจากน้ำนมแม่มากที่สุด [embed-health-tool-vaccination-tool] น้ำนมแม่เก็บได้นานแค่ไหน ระยะเวลาในการเก็บน้ำนมแม่จะแตกต่างไปตามสถานที่และอุณหภูมิที่เก็บน้ำนม โดยทั่วไปสามารถแบ่งได้ดังนี้ เก็บน้ำนมในอุณหภูมิห้อง ที่อุณหภูมิไม่เกิน 26 องศาเซลเซียส สามารถเก็บไว้ได้นาน 4 ชั่วโมง แต่ควรนำมาใช้ให้หมดภายใน 2 ชั่วโมง โดยเฉพาะในวันที่อากาศร้อนเพราะอาจเร่งให้น้ำนมเสียได้เร็วขึ้น เก็บน้ำนมในถังน้ำแข็ง สามารถเก็บได้นาน 24 ชั่วโมง นิยมใช้เมื่อต้องเดินทางและไม่สามารถเก็บน้ำนมไว้ในภาชนะที่อุณหภูมิคงที่ได้ ทั้งนี้ ควรรีบใช้ให้เร็วที่สุด ก่อนที่คุณภาพของน้ำนมจะลดลง เก็บน้ำนมในตู้เย็น ที่อุณหภูมิ 0-3.9 องศาเซลเซียส สามารถเก็บไว้ได้นาน 4 วัน เหมาะสำหรับการเก็บน้ำนมที่ใกล้จะนำไปใช้ ควรวางภาชนะใส่น้ำนมไว้ชิดด้านในสุดของตู้เย็น ซึ่งเป็นบริเวณที่มีความเย็นสูงสุด […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

หย่านม อย่างไรให้ถูกวิธี และควรให้เด็กหย่านมเมื่อไหร่

การ หย่านม คือ การให้ลูกเลิกกินนมแม่หลังจากลูกกินนมแม่เป็นระยะเวลาหนึ่ง คุณแม่อาจหยุดให้นมจากเต้าและเปลี่ยนมาปั๊มนมใส่ขวดให้เด็กกินแทน การหย่านมอาจทำได้ด้วยการค่อย ๆ ลดความถี่ในการให้นมจากเต้าและสอนให้เด็กรู้จักการกินนมจากขวดแทน ทั้งนี้ควรให้เด็กกินนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน เพื่อให้เด็กได้รับสารอาหารที่เพียงพอจากน้ำนมแม่ [embed-health-tool-vaccination-tool] ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการ หย่านม โดยปกติ เด็กทารกควรดื่มนมแม่เพียงอย่างเดียวจนถึงอายุประมาณ 6 เดือน หลังจากนั้นอาจให้เด็กรับประทานอาหารอ่อน ๆ อย่างอื่น เช่น กล้วยบด ผักสุกบด ปลาต้มบด ผลไม้ หรือนมผง ควบคู่กับการกินนมแม่ เพื่อเสริมโภชนาการให้กับเด็ก หากเป็นไปได้ อาจให้เด็กกินนมแม่อย่างน้อย 1 ปีขึ้นไป ได้หากมารดายังมีน้ำนมเพื่อให้เด็กได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์จากนมแม่มากที่สุด แต่ต้องรับประทาน อาหารตามวัยควบคู่ไปด้วย ช่วงอายุในการหย่านมแม่ของเด็กแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของคุณแม่และความต้องการของตัวเด็กเอง เช่น คุณแม่จำเป็นต้องกลับไปทำงาน คุณแม่ไม่สะดวกปั๊มนมและเลือกใช้นมผงแทน ปัญหาสุขภาพที่ไม่สามารถให้นมจากเต้าได้อีกต่อไป หรือเด็กมีท่าทีสนใจอาหารอื่นมากกว่านมแม่ เด็กบางคนอาจหย่านมแม่ ตั้งแต่อายุไม่ถึง 6 เดือน และเปลี่ยนมากินนมผงจากขวดนมแทน ในขณะที่บางคนอาจกินนมแม่จากเต้าถึงอายุ 6 เดือนจึงเปลี่ยนเป็นกินนมแม่จากขวดนมจนอายุครบปี ทั้งนี้ สามารถให้เด็กเริ่มใช้ขวดนมเมื่อเด็กอายุอย่างน้อย 2-4 สัปดาห์ และควรหย่านมทั้งจากเต้านมและขวดนมเมื่ออายุ 2 ปีขึ้นไป สัญญาณที่แสดงว่าเด็กพร้อม […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

นมแม่เก็บได้กี่ชั่วโมง และวิธีเก็บรักษานมแม่ที่ควรรู้

คุณแม่ที่ต้องการปั๊มน้ำนมเก็บไว้ให้ลูกกินในภายหลัง อาจสงสัยว่า นมแม่เก็บได้กี่ชั่วโมง โดยทั่วไป ระยะเวลาในการเก็บน้ำนมแม่อาจขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของสถานที่เก็บน้ำนม หากวางถุงเก็บน้ำนมไว้ที่อุณหภูมิห้องจะสามารถเก็บไว้ได้ประมาณ 6 ชั่วโมง หากเก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดาจะสามารถเก็บไว้ได้ประมาณ 8 วัน และหากเก็บไว้ในช่องฟรีซอาจเก็บไว้ได้นาน 6-12 เดือน คุณแม่ควรศึกษาวิธีเก็บนมแม่อย่างถูกวิธี เพื่อรักษาคุณภาพของของน้ำนมไว้ให้ได้นานที่สุด เพราะยิ่งน้ำนมแม่มีคุณภาพดีเท่าไหร่ ก็ยิ่งส่งผลดีต่อสุขภาพของลูกเท่านั้น ประโยชน์ของการให้นมแม่ น้ำนมแม่เป็นอาหารหลักของทารกที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ให้สารอาหารที่จำเป็นแก่ทารกอย่างครบถ้วน สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ มีแอนตีบอดีและเอนไซม์ที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงกับทารกแรกเกิด มีฮอร์โมนออกซิโตซิน (Oxytocin) และโปรแลคติน (Prolactin) ที่ช่วยลดความเครียดและปลอบประโลมทารก คุณแม่จึงควรให้ลูกกินนมแม่เป็นอาหารหลักเพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนก่อนเริ่มให้อาหารชนิดอื่น เช่น น้ำเปล่า นมผง อาหารเสริม อาหารตามวัยอื่น ๆ เนื่องจากการกินนมแม่เพียงอย่างเดียวก็ให้สารอาหารที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของทารกในวัยนี้แล้ว ประโยชน์ของการให้ทารกกินนมแม่ อาจมีดังนี้ ช่วยให้ทารกมีระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่าย ทารกที่กินนมแม่เสี่ยงเกิดโรคหรืออาการไม่พึงประสงค์ เช่น โรคกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กอักเสบ (Gastroenteritis) โรคกรดไหลย้อน โรคลำไส้เน่า อาการท้องเสีย อาการท้องผูก น้อยกว่าทารกที่ไม่กินนมแม่ ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคไข้หวัดและโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคปอดบวม โรคไวรัสระบบทางเดินหายใจ (RSV) โรคไอกรน […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

อายุนมแม่ และการเก็บรักษานมแม่

นมแม่เป็นแหล่งอาหารหลักของทารกแรกเกิด ทารกควรกินนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนหลังคลอด หากเป็นไปได้ ควรให้ทารกได้กินนมสด ๆ จากอกคุณแม่ แต่ในบางครั้ง คุณแม่ก็อาจไม่สามารถให้ทารกกินนมจากเต้าได้ การปั๊มนมเก็บไว้ใช้ภายหลังจึงอาจเป็นวิธีที่สะดวกมากกว่า อย่างไรก็ตาม คุณแม่อาจต้องศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการเก็บรักษานมแม่อย่างถูกวิธี โดยเฉพาะเรื่อง อายุ นม แม่ เพื่อให้สามารถวางแผนให้ลูกกินนมจากนวดได้เหมาะสมขึ้น [embed-health-tool-vaccination-tool] วิธีเก็บรักษาน้ำนมแม่ วิธีเก็บรักษาน้ำนมแม่ที่เหมาะสม อาจมีดังนี้ เก็บในอุณหภูมิห้อง (ต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส) สามารถเก็บได้นานสูงสุด 4 ชั่วโมง แต่ควรนำมาใช้ภายใน 2 ชั่วโมง ยิ่งหากสถานที่จัดเก็บมีอุณหภูมิสูง ยิ่งควรรีบใช้ให้หมด ก่อนคุณภาพของนมแม่จะลดลง เก็บในกระติกเก็บน้ำนมแม่ สามารถเก็บได้นานสูงสุด 24 ชั่วโมง เมื่อแช่รวมกับเจลเก็บความเย็น นิยมใช้เมื่อต้องเดินทางและไม่สามารถเก็บนมไว้ในตู้เย็นได้ เก็บในตู้เย็นช่องธรรมดา สามารถเก็บได้นานสูงสุด 4 วัน แต่ควรใส่ไว้ด้านในสุดของตู้เย็น เพื่อคงอุณหภูมิไว้ให้คงที่ และควรนำมาใช้หรือเปลี่ยนไปเก็บในช่องแช่แข็งภายใน 3 วัน เพื่อคงคุณภาพของน้ำนมให้ได้นานที่สุด เก็บในช่องแช่แข็ง สามารถเก็บได้นานสูงสุด 12 เดือน แต่ก็ควรนำมาใช้ภายใน 6 เดือน […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

วิธี เก็บ น้ำนม และการละลายนม ควรทำอย่างไร

น้ำนมแม่ มีวิตามิน โปรตีน และแร่ธาตุที่ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันของลูกน้อยเพื่อต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย เช่น เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย ช่วยย่อยอาหาร และช่วยลดอาการท้องอืด โดยคุณแม่อาจปั๊มนมเก็บใส่ขวดไว้สำหรับป้อนให้ลูกน้อยในภายหลัง แต่คุณแม่ควรศึกษา วิธี เก็บ น้ำนม อย่างถูกต้องหลังจากปั๊มนมเสร็จ เพื่อรักษาคุณค่าโภชนาการ สารอาหารในนม ให้ลูกกินในครั้งถัดไป [embed-health-tool-vaccination-tool] ประโยชน์ของนมแม่ นมแม่ โดยเฉพาะน้ำนมแรกที่ออกมาจากเต้านม หรือที่เรียกว่าน้ำนมเหลือง มีวิตามิน โปรตีน ไขมัน และสารอาหารที่ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของสมองและระบบประสาทของลูก อีกทั้งยังมีแอนติบอดีที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของภูมิคุ้มกันให้ต่อสู่กับสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายลูก เช่น ไวรัส แบคทีเรีย ช่วยลดความเสี่ยงเป็นโรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ การติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารหรือปอด ท้องร่วง โรคเบาหวาน โรคอ้วน และโรคไหลตายในทารก อย่างไรก็ตาม คุณแม่ที่ติดเชื้อเอชไอวี วัณโรค สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ใช้สารเสพติด ทำเคมีบำบัดรักษาโรคมะเร็ง และใช้ยาบางชนิดเช่น ยาบรรเทาอาการปวดหัว ควรหลีกเลี่ยงการให้นมลูก เนื่องจากมีความเสี่ยงที่อาจทำให้ลูกได้รับเชื้อไวรัสหรือสารพิษที่เป็นอันตราย วิธี เก็บ น้ำนม แม่ วิธีเก็บน้ำนมแม่ มีดังนี้ ล้างมือและะใช้อุปกรณ์เครื่องปั๊มนมที่สะอาด ประคบอุ่นที่เต้านมทั้ง 2 ข้าง(เว้นบริเวณหัวนม) หลังจากนั้นค่อย ๆ […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

วิธีปั๊มน้ำนม และวิธีเก็บรักษาน้ำนมแม่

การปั๊มน้ำนม คือ การใช้อุปกรณ์ในการดูดน้ำนมออกจากเต้าของคุณแม่ เป็นวิธีช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนม และเก็บรักษาน้ำนมไว้ใช้ในภายหลัง ทั้งยังช่วยในเรื่องการลดความเจ็บปวดเมื่อคัดเต้านม คุณแม่มือใหม่อาจต้องศึกษาวิธีการปั๊มน้ำนมอย่างถูกวิธี รวมทั้งการเก็บรักษาน้ำนม เพื่อคงคุณค่าทางโภชนาการให้กับลูกน้อย ข้อดีและข้อเสียของการปั๊มน้ำนม การปั๊มน้ำนมมีข้อดีและข้อเสียที่คุณแม่ควรพิจารณามีดังนี้ ข้อดี ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่ การปั๊มน้ำนมช่วยให้ร่างกายคุณแม่ผลิตน้ำนมได้เพิ่มขึ้น และสามารถนำนมที่ปั๊มเสร็จแล้วไปเก็บในช่องแช่แข็งหรือตู้แช่น้ำนมเพื่อเก็บไว้ใช้ได้หลายวัน ประหยัดเวลามากขึ้น คุณแม่สามารถวางแผนและตั้งเวลาในการให้นมลูกได้ง่ายขึ้น ให้นมลูกในที่สาธารณะได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ไม่ต้องเสียเวลาหาสถานที่หรือจุดที่ลับตาคนเพื่อให้นมลูก ช่วยลดความเจ็บปวด หลังการคลอด คุณแม่อาจจะมีอาการเต้านมคัดตึง น้ำนมจะคั่งอยู่ในอกและทำให้เจ็บจากปริมาณน้ำนมที่มากเกินไป การปั๊มน้ำนมจะช่วยปล่อยน้ำนมออกจากเต้า และบรรเทาอาการเจ็บลงได้ สามารถนำไปบริจาคได้ คุณแม่บางคนอาจสามารถผลิตน้ำนมเกินความจำเป็นสำหรับลูกของตัวเอง สามารถบริจาคน้ำนมเพื่อช่วยเหลือคุณแม่ท่านอื่น ๆ ที่มีปัญหาเรื่องไม่มีน้ำนม หรือมีไม่เพียงพอได้ แบ่งเบาภาระของคุณแม่ การปั๊มน้ำนมเก็บไว้จะช่วยให้คนอื่นภายในบ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการให้นมลูกและช่วยลดภาระการดูแลลูก ให้คุณแม่มีเวลาพักผ่อนและทำธุระของตัวเองมากขึ้น ข้อเสีย กระทบความเป็นส่วนตัว การปั๊มน้ำนมในที่สาธารณะหรือนอกบ้านอาจเป็นเรื่องยาก หากไม่มีห้องที่ปิดมิดชิดเพื่อใช้ปั๊มน้ำนม และเครื่องปั๊มนมอาจจะทำเสียงดังรบกวนได้ มีค่าใช้จ่ายมากขึ้น จำเป็นต้องซื้ออุปกรณ์เพื่อการปั๊มน้ำนมเพิ่มเติม เช่น อุปกรณ์ที่ใช้ปั๊มน้ำนม ขวดนม ถุงเก็บน้ำนม ตู้แช่น้ำนม และเสื้อชั้นในเพื่อการปั๊มนม ต้องระวังเรื่องความสะอาด การทำความสะอาดอุปกรณ์ในการปั๊มน้ำนมเป็นเรื่องสำคัญมาก ควรล้างให้สะอาด นึ่งหรือต้มฆ่าเชื้ออย่างน้อย 10 นาที ก่อนใช้งาน เพื่อไม่ให้เกิดเชื้อโรคซึ่งอาจทำให้ลูกป่วยได้ เคล็ดลับการปั๊มน้ำนม การปั๊มนมให้มีน้ำนมออกมาปริมาณมากต้องใช้เวลาปั๊มไปเรื่อย ๆ ซึ่งในช่วงแรกอาจจะไม่มีน้ำนมออกมามากนัก แต่เมื่อทำเป็นประจำก็จะมีน้ำนมออกมาอย่างสม่ำเสมอ […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เก็บ น้ำนม อย่างไรให้คุณภาพดี ไม่บูดง่าย

เก็บ น้ำนม เป็นวิธีการยืดอายุและรักษาคุณภาพน้ำนมแม่ให้ยังคงมีคุณภาพและสารอาหารที่ครบถ้วน ซึ่งการเก็บน้ำนมที่ดีอาจต้องคำนึงถึงประเภทของนม เช่น นมปั๊มใหม่ นมเก่า ภาชนะที่ใส่ และอุณภูมิในการเก็บรักษาเพื่อคงคุณภาพของนมและความปลอดภัยของทารก การปั๊มน้ำนมแม่ การปั๊มน้ำนมสามารถทำได้ด้วยมือและเครื่องปั๊มนม ซึ่งความถี่และปริมาณในการปั๊มจะขึ้นอยู่กับวิธีการปั๊ม หากสังเกตว่าน้ำนมเริ่มไหลออกมาจากเต้าควรหาเวลาในการระบายน้ำนมออก ควรปั้มให้เป็นเวลาและสม่ำเสมอหรืออาจใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นคลุมหน้าอกทั้งก่อนอาบน้ำ ระหว่างอาบน้ำ และหลังอาบน้ำ เพื่อเพิ่มการผลิตและการไหลเวียนของน้ำนม การปั๊มน้ำนมแม่ด้วยมือ การปั๊มนมด้วยมือ มีวิธีดังนี้ ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำอุ่น และเตรียมขวดหรือภาชนะที่สะอาดพร้อมเก็บน้ำนม อาจเริ่มด้วยการนวดหน้าอกเบา ๆ ก่อนเริ่มปั๊มนมอาจช่วยให้น้ำนมไหลได้ง่ายขึ้น จับเต้านมด้วยมือข้างหนึ่ง จากนั้นใช้มืออีกข้างหนึ่งทำมือเป็นรูปตัว C ใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือบีบเบา ๆ รอบหัวนม โดยให้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มืออยู่ห่างจากหัวนม 2-3 เซนติเมตร ไม่ควรบีบหัวนมเพราะอาจทำให้รู้สึกเจ็บปวดได้ ทำตามขั้นตอนด้านบนอย่างเป็นจังหวะ ค่อย ๆ บีบและปล่อยแล้วทำซ้ำไปเรื่อย ๆ ที่จุดเดิม พยายามอย่าเลื่อนนิ้วไปบนผิวหนังเพราะอาจทำให้นมหยุดไหล เมื่อทำอย่างถูกต้องน้ำนมจะค่อย ๆ เริ่มไหลออกมา แต่หากไม่มีน้ำนม หรือการไหลของน้ำนมเริ่มช้าลงให้ลองขยับนิ้วและนิ้วหัวแม่มือเล็กน้อย แต่ยังคงหลีกเลี่ยงการบีบบริเวณที่ใกล้กับหัวนม เมื่อการไหลของเต้านมข้างหนึ่งช้าลง ให้สลับไปยังเต้านมอีกข้างหนึ่ง ให้ปลี่ยนเต้านมไปเรื่อย ๆ จนกว่าน้ำนมจะหยดช้ามากหรือหยุดไปเลย การปั๊มน้ำนมแม่ด้วยเครื่องปั๊มนม เครื่องปั๊มน้ำนมมีด้วยกัน 2 แบบ คือ แบบใช้มือและแบบอัตโนมัติ ซึ่งการใช้งานของเครื่องปั๊มนมแต่ละประเภทอาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับคู่มือการใช้งานแต่ละรุ่น และแรงดูดของเครื่องปั๊มนมบางรุ่นอาจรุนแรงมากจนทำให้เจ็บหัวนม […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

นมแม่ กับข้อสังเกตอื่น ๆ ที่คุณแม่มือใหม่ควรใส่ใจ

นมแม่ คืออาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารกแรกเกิดช่วงขวบปีแรก เพราะอุดมไปด้วยคุณค่าสารอาหารที่เป็นประโยชน์ ย่อยง่าย และอ่อนโยนต่อระบบทางเดินอาหารของลูกน้อย นอกจากเรื่องประโยชน์ของนมแม่แล้ว ยังมีข้อสังเกตอื่น ๆ เกี่ยวกับนมแม่ที่คุณแม่มือใหม่ควรศึกษา เช่น ปริมาณน้ำนมที่ลูกควรได้รับ คุณภาพน้ำนมแม่ อาหารสำหรับหญิงให้นมบุตร เป็นต้น ประโยชน์นมแม่ นมแม่เต็มไปด้วยคุณค่าสารอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก มีวิตามินครบเกือบทุกชนิด รวมทั้งโปรตีน ไขมัน เกลือแร่งต่าง ๆ และสารอาหารอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของทารก  มีภูมิคุ้มกันที่จะช่วยให้ร่างกายของทารกแข็งแรงต้านทานเชื้อโรคทั้งเชื้อไวรัสและแบคทีเรียต่าง ๆ ที่สำคัญย่อยง่ายและโอกาสเสี่ยงต่ำที่ทารกจะแพ้นมแม่ รวมทั้งมักมีน้ำหนักตามเกณฑ์ และลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคอ้วน เบาหวาน และป้องกันทารกจากโรคไหลตายในเด็ก หรือ SIDS อีกด้วย ปริมาณนมแม่ที่ลูกน้อยควรได้รับ โดยปกติแล้ววทารกช่วง 1-3 เดือนแรก มักดื่มนมทุก 3-4 ชั่วโมง ครั้งละประมาณ 3-4 ออนซ์ เฉลี่ย 8 ครั้งต่อวัน หรือเฉลี่ยวันละ 24-32 ออนซ์ (100-150 มิลลิลิตร/กิโลกรัม) ซึ่งปริมาณนมจะเพิ่มขึ้นตามน้ำหนักตัว กระทั่งอายุครบ 6 เดือนอาจเริ่มมีอาหารชนิดอื่นเข้ามาเสริม เป็นอาหารเสริมตามวัย ทำให้อาจลดปริมาณนมแม่ลง สัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกน้อยได้นมแม่ไม่เพียงพอ เมื่อลูกน้อยได้กินนมแม่ทุก ๆ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม