โภชนาการสำหรับทารก

โภชนาการที่เหมาะสม เป็นวิธีที่สำคัญที่สุดอีกหนึ่งวิธีในการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงขวบปีแรกของทารก ค้นหาคำตอบและคำแนะนำจากคุณหมอได้ที่ โภชนาการสำหรับทารก

เรื่องเด่นประจำหมวด

โภชนาการสำหรับทารก

อาหารเด็ก7เดือน ที่ช่วยเสริมสุขภาพและพัฒนาการ

นมแม่เป็นแหล่งพลังงานและสารอาหารหลักที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเด็ก 7 เดือน อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่สามารถให้ อาหารเด็ก7เดือน ที่เป็นอาหารประเภทอื่นเสริมด้วยได้ โดยอาจให้เด็ก 7 เดือนกินธัญพืช พืชหัว ผักใบเขียว ผลไม้ ผลิตภัณฑ์จากนมวัว ไข่สุก เนื้อปลา ที่บดหรือปั่นจนละเอียดและเคี้ยวง่าย ในปริมาณน้อย วันละ 2-3 ครั้ง ซึ่งอาจเสริมสร้างโภชนาการและช่วยให้ทารกมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย [embed-health-tool-child-growth-chart] เด็ก7เดือน กินอาหารแข็งได้หรือยัง อาหารแข็ง (Solid Food) เป็นอาหารที่ผ่านการบดจนละเอียดเพื่อช่วยให้ย่อยได้ง่าย เหมาะกับระบบย่อยอาหารของเด็กที่ยังทำงานได้ไม่เต็มที่ โดยทั่วไปจะเป็นผักและผลไม้บด เนื้อสัตว์บด ธัญพืชบด เป็นต้น บางครั้งอาจผสมกับนมแม่เพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการและช่วยให้เด็กกินได้สะดวกขึ้น คุณพ่อคุณแม่สามารถให้เด็กเริ่มกินอาหารแข็งได้เมื่อเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายของเด็กเริ่มต้องการพลังงานมากขึ้นและจำเป็นต้องได้รับสารอาหารอื่น ๆ นอกเหนือไปจากนมแม่ในการเจริญเติบโต ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรให้กินนมแม่ในปริมาณเท่าเดิมควบคู่ไปด้วย ไม่ควรหยุดให้นมแม่โดยทันที เนื่องจากนมแม่ยังคงเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ มีสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ทั้งนี้ เด็ก 7 เดือน ถือเป็นวัยที่กินอาหารแข็งได้แล้ว และหากให้เด็กเริ่มกินอาหารแข็งตั้งแต่อายุ 6 เดือน ในตอนนี้เด็กก็จะคุ้นเคยกับการกินอาหารแข็งบ้างแล้ว แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่บดหรือปั่นอาหารให้ละเอียด เด็กจะได้กินง่ายขึ้นและช่วยให้ย่อยง่ายด้วย โดยควรให้เด็ก 7 เดือนกินอาหารแข็งครั้งละครึ่งถ้วย […]

สำรวจ โภชนาการสำหรับทารก

โภชนาการสำหรับทารก

ผลไม้เด็ก 6 เดือน มีประโยชน์อย่างไร และมีอะไรบ้างที่กินได้

เด็ก 6 เดือน สามารถเริ่มกินอาหารแข็งเป็นอาหารเสริมได้แล้ว ดังนั้น เพื่อให้เด็กเริ่มปรับตัวในการเคี้ยว กลืน และสัมผัสกับอาหารรูปแบบใหม่ จึงควรเลือกอาหารที่ผ่านการปรุงสุก บดละเอียด เนื้อเนียนนุ่ม กลืนง่ายและไม่ปรุงรส นอกจากนี้ ผลไม้เด็ก 6 เดือน ก็ควรเป็นผลไม้ที่สุก เนื้อนิ่ม รสชาติไม่เปรี้ยว ควรผ่านการปั่นหรือบดจนละเอียดและไม่ปรุงรส เพื่อให้เด็ก 6 เดือนสามารถกินได้ง่าย และค่อย ๆ คุ้นเคยกับรสชาติของอาหารที่หลากหลายมากขึ้น ทั้งยังช่วยเสริมสารอาหารอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์กับเด็กอีกด้วย [embed-health-tool-vaccination-tool] อาหารเด็ก 6 เดือน เป็นอย่างไร เด็ก 6 เดือน เป็นช่วงเวลาที่เด็กสามารถเริ่มกินอาหารแข็งได้แล้ว แต่อาจให้กินเป็นเพียงอาหารเสริมในปริมาณเล็กน้อยประมาณ 1 ครั้ง/วัน เพื่อให้เด็กเริ่มปรับตัวในการเคี้ยว กลืน สัมผัสกับอาหารรูปแบบใหม่มากขึ้น และเพื่อให้เด็กได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์จากอาหารแข็งเพิ่มเติมด้วย ดังนั้น อาหารแข็งสำหรับเด็ก 6 เดือน จึงควรเป็นอาหารที่ผ่านการปรุงสุก บดละเอียด เนื้อเนียนนุ่ม กลืนง่ายและไม่ปรุงรส นอกจากนี้ ควรเริ่มให้อาหารแข็งเพียงชนิดเดียวใน 1 มื้อ เพื่อช่วยให้เด็กคุ้นเคยกับรสชาติของอาหารทีละอย่าง ป้องกันการแพ้อาหาร […]


โภชนาการสำหรับทารก

นมผงเด็กแรกเกิด เลือกอย่างไร และนมแบบไหนที่ควรหลีกเลี่ยง

นมแม่เป็นนมที่มีคุณค่าทางโภชนาการและควรเป็นอาหารหลักเพียงอย่างเดียวของเด็กแรกเกิดไปอย่างน้อย 6 เดือน แต่หากคุณแม่ไม่สามารถให้นมแม่เพียงอย่างเดียวได้ หรือไม่สะดวกให้เด็กกินนมแม่เลย ก็สามารถให้เด็กกิน นมผงเด็กแรกเกิด ได้เช่นกัน การศึกษาวิธีเลือกซื้อนมผง ประเภทนมผงที่เหมาะกับเด็กแรกเกิด ตลอดจนประเภทของนมที่ควรหลีกเลี่ยง ช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สามารถเลือกนมผงได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัยต่อสุขภาพของเด็ก ช่วยให้เด็กได้รับสารอาหารที่เพียงพอ และมีพัฒนาการที่สมบูรณ์สมวัย [embed-health-tool-vaccination-tool] นมผงเด็กแรกเกิด คืออะไร นมผงเด็กแรกเกิด (Infant Formula) คือ นมดัดแปลงที่เป็นอาหารสำหรับเด็กแรกเกิดเพื่อทดแทนน้ำนมแม่ มีทั้งแบบผงที่ต้องชงกับน้ำก่อนและแบบพร้อมดื่ม มักใช้ในกรณีที่เด็กแรกเกิดไม่สามารถกินนมแม่ได้ หรือสำหรับกินควบคู่ไปกับน้ำนมแม่ในกรณีที่คุณแม่มีน้ำนมไม่เพียงพอ หรือคุณแม่ไม่สะดวกปั๊มนมและให้นมด้วยตัวเอง ทั้งนี้ คุณแม่ควรขอคำแนะนำจากคุณหมอเกี่ยวกับนมผงที่มีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะสมกับเด็กแรกเกิดที่สุด แม้การกินนมผงเด็กแรกเกิดจะช่วยให้เด็กได้รับสารอาหารและอิ่มท้องแต่นมผงและอาหารอื่น ๆ ไม่สามารถทดแทนนมแม่ได้ 100% เนื่องจากนมแม่มีสารอาหารครบถ้วนตามความต้องการและอุดมไปด้วยแอนติบอดีที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กแรกเกิด หากเป็นไปได้จึงควรให้เด็กแรกเกิดกินนมแม่เป็นอาหารหลักเพียงอย่างเดียวไปถึงอายุ 6 เดือนเป็นอย่างต่ำ ประเภทของ นมผงเด็กแรกเกิด ประเภทของนมผงเด็กแรกเกิด มีดังนี้ นมดัดแปลงสำหรับทารก (Stage 1 formulas) อาจเรียกว่านมผงเด็กแรกเกิด หรือนมสูตร 1 นิยมทำจากนมวัว อาจผสมสารอาหารต่าง ๆ เช่น วิตามิน เกลือแร่ น้ำมันพืช เพื่อเพิ่มคุณค่าทางอาหาร โดยทั่วไป นมผงที่ทำจากนมวัวจะมีส่วนประกอบของโปรตีน 2 ชนิด คือ เวย์ […]


โภชนาการสำหรับทารก

นมชงอยู่ได้กี่ชั่วโมง ควรชงนมและเก็บรักษาอย่างไร

คุณแม่ที่ไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมตัวเองได้หรือต้องการสลับให้ลูกกินนมชงร่วมด้วย อาจมีข้อสงสัยว่า นมชงอยู่ได้กี่ชั่วโมง เพื่อจะได้ยืดระยะเวลาในการเก็บรักษา โดยปกติแล้ว นมชงอาจอยู่ได้ประมาณ 2 ชั่วโมงในอุณหภูมิห้อง และอาจอยู่ได้ประมาณ 24 ชั่วโมงเมื่อแช่ไว้ในตู้เย็น ดังนั้น คุณแม่จึงควรพิจารณาความต้องการของเด็กเพื่อที่จะชงนมในปริมาณที่พอเหมาะและเก็บนมได้อย่างเหมาะสม [embed-health-tool-due-date] นมชงอยู่ได้กี่ชั่วโมง นมชงโดยทั่วไปอาจอยู่ได้ประมาณ 2 ชั่วโมงหลังจากชงเมื่ออยู่ในอุณหภูมิห้อง โดยไม่ผ่านการอุ่นให้ร้อนอีกครั้ง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสูตรของนมผงและยี่ห้อของนมผงแต่ละชนิดด้วย สำหรับนมชงที่ยังไม่ป้อนให้ลูกอาจอยู่ได้ประมาณ 24 ชั่วโมง เมื่อแช่ไว้ในตู้เย็นที่มีอุณหภูมิประมาณ 4 องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่า อย่างไรก็ตาม ไม่แนะนำให้แช่แข็งนมชงเพราะอาจลดคุณภาพของนมลงได้ และหากเด็กกินนมชงเหลืออาจเก็บนมไว้ได้ไม่เกิน 1 ชั่วโมง หากเกินจากนั้นควรทิ้งและชงนมใหม่ วิธีชงนมผงที่เหมาะสม ควรทำอย่างไร วิธีการชงนมผงที่เหมาะสมให้แก่เด็กอาจทำได้ ดังนี้ ล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาดก่อนเริ่มชงนมทุกครั้ง ทำความสะอาดขวดนมและภาชนะทุกชนิดที่ใช้ในการชงนม จากนั้นนำไปต้มหรือเข้าเครื่องฆ่าเชื้อ และควรสะบัดน้ำออกจากภาชนะที่ใช้ชงนมจนหมด หรือตากให้แห้งสนิท เช็ดทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบริเวณที่ต้องวางภาชนะในการชงนม ต้มน้ำร้อนในกาต้มน้ำด้วยน้ำใหม่ทุกครั้ง ไม่ควรใช้น้ำที่ผ่านการต้มมาก่อน เพื่อป้องกันสิ่งปนเปื้อนในน้ำ เมื่อต้มน้ำจนเดือด ควรทิ้งน้ำไว้ประมาณ 30 นาที ให้น้ำมีอุณหภูมิลดลงจนเหลือประมาณ 70 องศาเซลเซียส เติมน้ำอุ่นที่ต้มไว้ ตามด้วยนมผงสูตรที่ต้องการ ควรใช้ช้อนตักนมผงที่ให้มาในกล่องเพื่อให้ได้ปริมาณที่ถูกต้องตามสูตร ประกอบจุกนมกับฝารูปวงแหวน โดยการนำจุกนมสอดเข้าไประหว่างช่องว่างฝา จากนั้นดันให้แน่นสนิท นำฝาและจุกนมที่ประกอบแล้วปิดขวดนมที่เติมนมผงและน้ำเรียบร้อยแล้ว จากนั้นเขย่าขวดนมจนนมผงละลายจนหมด […]


โภชนาการสำหรับทารก

อาหารเด็ก9เดือน ที่ควรกิน และควรหลีกเลี่ยง มีอะไรบ้าง

อาหารเด็ก9เดือน ควรเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารหลายชนิดที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยพัฒนาการเจริญเติบโตและพัฒนาการทางสมอง รวมถึงให้พลังงานที่เพียงพอในการทำกิจกรรมแต่ละวัน เพื่อสุขภาพและพัฒนาการที่ดีของเด็กในอนาคต [embed-health-tool-bmi] อาหารเด็ก9เดือน ที่ควรได้รับ เด็ก 9 เดือน เป็นวัยที่มีพัฒนาการมากขึ้นและต้องการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว จึงจำเป็นต้องได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์และหลากหลาย รวมถึงควรให้พลังงานเพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวัน เพื่อใช้ในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกายและพัฒนาการทางสมอง ดังนั้น อาหารเด็ก9เดือนจึงจำเป็นต้องมีนมแม่เป็นอาหารหลัก และเสริมด้วยอาหารแข็งที่ให้สารอาหารหลากหลาย ดังนี้ ผักและผลไม้ ควรเลือกผักและผลไม้ที่มีสีสันสดใสดึงดูดใจ โดยผักควรผ่านการปรุงสุกจนนิ่ม บดละเอียดหรือบดหยาบเพื่อง่ายต่อการกิน เช่น บร็อคโคลี่ แครอท ผักโขม ผักปวยเล้ง กะหล่ำปลี อะโวคาโด ผักคะน้า หน่อไม้ฝรั่ง สำหรับผลไม้ควรเป็นผลไม้สุกและบดจนเนื้อเนียนกินง่าย เช่น กล้วย แอปเปิ้ล บลูเบอร์รี่ กีวี่ ส้ม มะม่วงสุก ลูกแพร์ สตรอว์เบอร์รี แตงโม ลูกพีช มะละกอ อาหารประเภทแป้ง เช่น มันฝรั่ง มันเทศ ข้าว ข้าวต้ม ข้าวโอ๊ต ขนมปัง ควรผ่านการปรุงสุกจนเนื้อนิ่ม หรืออาจนำไปบดหยาบเพื่อให้กินง่ายขึ้น อาหารประเภทโปรตีน […]


โภชนาการสำหรับทารก

อาหารเด็ก10เดือน ที่ควรกิน และที่ควรหลีกเลี่ยงมีอะไรบ้าง

เด็ก 10 เดือน เป็นวัยที่ยังจำเป็นต้องกินนมแม่และสามารถเสริมการกินอาหารแข็ง เพื่อฝึกทักษะการเคี้ยวอาหารและเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต ดังนั้น การเลือก อาหารเด็ก10เดือน ให้เหมาะสม อาจช่วยส่งเสริมสุขภาพที่ดีของเด็กได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] อาหารเด็ก10เดือน ที่ควรได้รับ นอกจากการกินนมแม่ เด็ก 10 เดือนยังควรได้รับอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกายและพัฒนาการทางสมอง โดยอาหารเด็ก 10 เดือน อาจมีดังนี้ อาหารประเภทแป้ง เช่น มันฝรั่ง มันเทศ ข้าวโพด ข้าว ข้าวต้ม ข้าวโอ๊ต ขนมปัง อาหารประเภทโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ไม่ติดหนังและมัน ไข่ ปลา ถั่ว ธัญพืช เต้าหู้ ผักและผลไม้ เช่น กล้วย กีวี่ ส้ม แอปเปิ้ล มะม่วงสุก ลูกพลัม ลูกพีช มะละกอ สับปะรด สตรอว์เบอร์รี ผลิตภัณฑ์จากนมที่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์ เช่น นมวัว นมแพะ โยเกิร์ต ชีส โดยใช้เป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหาร […]


โภชนาการสำหรับทารก

นมเด็กแรกเกิด ควรเป็นอย่างไร และควรให้เด็กกินอย่างไร

นมเด็กแรกเกิด ควรเป็นนมที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อพัฒนาการของทารกทั้งทางร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบประสาทและสมอง นอกจากนี้ ควรเป็นนมที่ย่อยง่ายเนื่องจากระบบย่อยอาหารของทารกแรกเกิดยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ จึงอาจทำให้มีปัญหาท้องอืดได้ง่าย ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรเตรียมพร้อมและศึกษาเกี่ยวกับนมเด็กแรกเกิดทุกชนิด เพื่อให้ทารกมีพัฒนาการที่สมบูรณ์แข็งแรงตามวัย [embed-health-tool-vaccination-tool] นมเด็กแรกเกิด ควรเป็นอย่างไร ทารกแรกเกิดสามารถกินนมเป็นอาหารหลักได้เพียงอย่างเดียว ดังนั้น นมเด็กแรกเกิดจึงต้องเป็นนมที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกาย สมองและระบบภูมิคุ้มกัน โดยนมเด็กแรกเกิดที่แนะนำ มีดังนี้ นมแม่ นมแม่เป็นนมเด็กแรกเกิดที่แนะนำมากที่สุด เนื่องจากนมแม่อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายของทารก เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามินและแร่ธาตุ ที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกาย ระบบประสาทและสมอง สุขภาพดวงตา รวมถึงยังช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันของทารกให้แข็งแรง การกินนมแม่จึงอาจช่วยปกป้องทารกจากการติดเชื้อทางเดินอาหาร ปอด หู และการติดเชื้ออื่น ๆ ในร่างกายได้ นอกจากนี้ นมแม่อาจช่วยป้องกันความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรง เช่น โรคไหลตายในทารก (Sudden Infant Death Syndrome หรือ SIDS) โรคหอบหืด โรคผิวหนัง ท้องเสีย โรคทางเดินอาหาร โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคอ้วน โรคเบาหวาน ดังนั้น การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวโดยเฉพาะในช่วง 6 เดือนแรกหลังคลอด จึงเป็นทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพของทารก นมผงสำหรับเด็กแรกเกิด นมผงเป็นนมทางเลือกสำหรับทารกที่ไม่สามารถกินนมแม่ได้เนื่องจากหลายสาเหตุ เช่น น้ำนมแม่น้อย […]


โภชนาการสำหรับทารก

อาหารเด็กทารก ที่เหมาะสมสำหรับลูกน้อย มีอะไรบ้าง

อาหารเด็กทารก เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก เนื่องจากทารกเป็นช่วงวัยที่ต้องการพลังงานจากอาหาร เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกายและพัฒนาการทางสมอง ดังนั้น เด็กทารกควรได้รับสารอาหารจากอาหารที่หลากหลายในปริมาณที่พอเหมาะและเหมาะสมกับช่วงอายุ เพื่อพัฒนาการที่ดีของเด็กทารก อาหารเด็กทารก ที่เหมาะสมตามช่วงอายุ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายและสมองของเด็กทารก คุณพ่อคุณแม่จึงควรให้อาหารเด็กทารก ดังนี้ อาหารเด็กทารกแรกเกิดถึง 4 เดือน เด็กทารกแรกเกิดถึง 4 เดือน มีความต้องการอาหารเป็นอย่างมาก แต่สามารถดื่มได้แค่นมแม่หรือนมผงเท่านั้น เนื่องจากระบบย่อยอาหารของเด็กทารกยังพัฒนาไม่เต็มที่ จึงไม่สามารถย่อยอาหารแข็งได้ ส่งผลให้ใน 1 วันเด็กทารกต้องดื่มนมบ่อย ๆ ดังนั้น จึงควรให้นมแม่กับเด็กทารก 1-2 ออนซ์ ทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง ประมาณ 8-12 ครั้ง/วัน เพื่อให้เด็กทารกได้รับสารอาหารและพลังงานที่เพียงพอ สำหรับเด็กทารกที่ต้องกินนมผง คุณแม่สามารถให้นมเด็กแรกเกิดในช่วง 2-3 วันแรก ประมาณ 1-2 ออนซ์ ทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง ประมาณ 8-12 ครั้ง/วัน และหลังจากนั้นสามารถให้นมผงเพิ่มเป็น 2-3 ออนซ์ ทุก ๆ 3-4 ชั่วโมง ประมาณ […]


โภชนาการสำหรับทารก

ตารางอาหารทารก 6 เดือน และคำแนะนำการป้อนอาหารทารก

ทารก 6 เดือน เป็นช่วงวัยที่ควรเริ่มฝึกรับประทานอาหารแข็ง เพื่อเพิ่มสารอาหารอื่น ๆ นอกจากนม เพราะจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง กระตุ้นการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารก ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรจัด ตารางอาหารทารก 6 เดือน อย่างเหมาะสม โดยศึกษาอาหารที่ทารกควรรับประทาน และควรหลีกเลี่ยง เพื่อให้ทารกได้รับสารอาหารที่สมวัย และมีพัฒนาการที่สมบูรณ์ [embed-health-tool-bmr] อาหารที่เหมาะสำหรับทารก 6 เดือน  อาหารที่เหมาะสำหรับทารก 6 เดือน ได้แก่ 1. อาหารประเภทแป้ง ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต ซึ่งเป็นพลังงานที่ดีสำหรับทารก โดยควรปั่นหรือบดอาหารให้ละเอียดและอาจผสมกับนมแม่ เพื่อให้ทารกรับประทานได้ง่ายขึ้น อาหารประเภทแป้งที่ทารก 6 เดือน อาจรับประทานได้ มีดังนี้ ข้าวโอ๊ต พาสต้า มันฝรั่ง มันเทศ ข้าวโพด ข้าว ขนมปัง 2. อาหารประเภทโปรตีน โปรตีนเป็นสารอาหารที่มีส่วนช่วยสร้างแอนติบอดีซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยให้ร่างกายของทารกสามารถต่อสู้กับการติดเชื้อได้ ลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย ช่วยซ่อมแซมกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อ และอาจช่วยเพิ่มการลำเลียงออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงอวัยวะทั่วร่างกาย  โดยควรปรุงอาหารให้สุกและหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ พอดีคำ อย่างไรก็ตาม ควรสังเกตว่าทารกมีอาการแพ้หรือไม่ เพราะอาหารบางชนิด เช่น ถั่ว ไข่ […]


โภชนาการสำหรับทารก

เตรียมอาหารให้ลูก 6 เดือน อย่างไรถึงจะเหมาะสม

การ เตรียมอาหารให้ลูก 6 เดือน ถือเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย เพราะเมื่อทารกอายุได้ 6 เดือน การให้เด็กกินนมแม่เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ คุณแม่จึงควรเริ่มศึกษาถึงการ เตรียมอาหารให้ลูกตั้งแต่ก่อนที่ลูกจะอายุ 6 เดือน (อาจเตรียมตัวตั้งแต่ลูกอายุ 4 เดือน) และฝึกให้ลูกรับประทานอาหารที่มีเนื้อสัมผัสหยาบขึ้น เพื่อฝึกการบดเคี้ยวและเพื่อให้ได้รับสารอาหารเพื่อช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโต เสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่สุขภาพและพัฒนาการของสมองและร่างกาย อาหารที่เหมาะสำหรับลูก 6 เดือน อาหารที่ลูก 6 เดือนควรได้รับ มีดังนี้ อาหารประเภทแป้ง อาหารประเภทแป้งประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต ที่เป็นพลังงานที่ดีส่งเสริมให้ทารกแข็งแรง แต่ควรรับประทานร่วมกับผักผลไม้ ธัญพืช เพื่อช่วยให้ลูกย่อยอาหารได้ง่าย อาหารประเภทแป้งที่ลูก 6 เดือน อาจรับประทานได้ ได้แก่ ข้าวโอ๊ต พาสต้า ข้าว มันฝรั่ง ข้าวโพด ข้าวต้ม ขนมปัง เป็นต้น ซึ่งคุณแม่ควรนำมาปั่น บด หรือปรุงผสมกับนมแม่ เพื่อให้เกิดความนิ่มและรับประทานได้ง่ายขึ้น อาหารประเภทโปรตีน โปรตีนเป็นสารอาหารที่มีส่วนช่วยซ่อมแซมกล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อ เซลล์ และเป็นส่วนประกอบของเม็ดเลือดแดงช่วยนำออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงอวัยวะทั่วร่างกาย ทั้งยังช่วยสร้างแอนติบอดีให้ร่างกายลูกต่อสู้กับการติดเชื้อ ลดความเสี่ยงจากเป็นไข้ เจ็บป่วย อาหารที่มีโปรตีน ได้แก่ […]


โภชนาการสำหรับทารก

เด็กทารกกินผัก อะไรได้บ้าง และเริ่มกินได้ตอนไหน

ผัก มีสารอาหารที่มีประโยชน์แก่ร่างกายมากมาย ทำให้คุณพ่อคุณแม่ทั้งหลาย อยากเริ่มหัดให้ เด็กทารกกินผัก ได้ตั้งแต่ยังเล็ก ๆ อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ต้องอย่าลืมว่าระบบทางเดินอาหารของเด็กทารกอาจยังตอบสนองและทำงานได้ไม่ดีนัก จึงควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับผักที่ทารกสามารถกินได้และไม่ควรกินให้ดี ก่อนฝึกให้เด็กทารกกินผัก เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพ [embed-health-tool-vaccination-tool] เด็กทารกกินผัก ได้หรือไม่ เด็กทารกกินผักได้เมื่อเข้าสู่ช่วงอายุ 6 เดือนขึ้นไป และควรเริ่มให้กินในปริมาณน้อย ๆ ก่อน อันดับแรก ต้องล้างผักให้สะอาด ปรุงให้สุกในความนิ่มระดับสูง บดสับให้ละเอียด คลุกให้เข้ากับอาหารจานหลักที่เตรียมไว้  สิ่งสำคัญคือควรเลือกผักที่ปลอดภัยต่อสุขภาพของลูก เนื่องจากอาจมีผักบางชนิดที่เด็กทารกกินแล้วเกิดอาการแพ้ได้ เด็กทารกกินผักชนิดใดได้บ้าง ผักที่มีเนื้อสัมผัสเหมาะกับเด็กทารกและสามารถบดผสมกับอาหาร หรือปรุงสุกให้นิ่มแล้วให้เด็กทารกกินเล่นได้ มีดังนี้ ผักตำลึง บร็อคโคลี หน่อไม้ฝรั่ง ผักคะน้า แครอท ข้าวโพด กะหล่ำปลี ผักโขม ถั่วเขียว ผักกาด นอกจากฝึกให้เด็กทารกกินผักแล้ว คุณพ่อคุณแม่ควรฝึกให้เด็กทารกกินผลไม้หรืออาหารประเภทอื่น ๆ ด้วย เช่น กล้วย แอปเปิ้ล ส้ม มะม่วง ไข่ เนื้อไก่ เนื้อหมู ปลา ถั่ว เต้าหู้ ข้าวโอ๊ต เพื่อให้เด็กทารกได้รับพลังงานเต็มที่และมีร่างกายที่แข็งแรง วิธีฝึกให้เด็กทารกกินผักตั้งแต่ยังเล็ก โดยปกติ เด็กทารกกินผัก ได้ตั้งแต่อายุ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม