backup og meta

อันตรายของ โฮเวอร์บอร์ด สกูตเตอร์ไฟฟ้า และวิธีการเล่นอย่างปลอดภัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 31/05/2022

    อันตรายของ โฮเวอร์บอร์ด สกูตเตอร์ไฟฟ้า และวิธีการเล่นอย่างปลอดภัย

    โฮเวอร์บอร์ด (Hoverboard) เป็นสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าที่ได้รับความนิยมอย่างมาก โดยเฉพาะในกลุ่มวัยเรียนและวัยรุ่น อย่างไรก็ตาม การเล่นโฮเวอร์บอร์ดอย่างไม่ถูกต้องอาจนำมาสู่อุบัติเหตุและการบาดเจ็บได้ ดังนั้น จึงควรศึกษาวิธีการเล่นโฮเวอร์บอร์ดที่ถูกต้อง เพื่อช่วยป้องกันอันตรายต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้น

    สกูตเตอร์ไฟฟ้ายุคใหม่สุดฮิต.. “โฮเวอร์บอร์ด” (Hoverboard)

    ในภายหลังจากที่โฮเวอร์บอร์ดถูกเปิดตัวในตลาดไม่นาน ผู้ผลิตหลายรายก็เริ่มหันมาขายโฮเวอร์บอร์ดโดยที่ไม่มีการตรวจสอบคุณภาพหรือความปลอดภัย และยังมีรายงานข่าวเผยให้เห็นถึงความอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากโฮเวอร์บอร์ด โดยตัวบอร์ดนั้นจะมีเครื่องยนต์ประกอบอยู่ เมื่อเครื่องยนต์ร้อนจัดจะทำให้เกิดไฟไหม้ได้ ซึ่งปัจจุบันมีรายงานเหตุการณ์เหล่านี้มากกว่า 300 เหตุการณ์

    อย่างไรก็ดีแม้โฮเวอร์บอร์ดรุ่นใหม่จะไม่ก่อให้เกิดไฟไหม้รุนแรงเหมือนโฮเวอร์บอร์ดรุ่นแรก แต่ทาง Consumer Product Safety Commission (CPSC) ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ออกมาเตือนประชาชนเกี่ยวกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากโฮเวอร์บอร์ด โดยส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับไฟไหม้หรือความร้อนที่สูงเกินไป โดยในเดือนมีนาคม ปีค.ศ. 2017 มีเด็กผู้หญิงอายุ 2 ปี และเด็กหญิงอายุ 10 ปี เสียชีวิตจากไฟไหม้บ้าน ซึ่งมีต้นเหตุมาจากโฮเวอร์บอร์ด ยิ่งไปกว่านั้นทาง CPSC ยังมีรายงานเกี่ยวกับผู้บาดเจ็บจากไฟไหม้ 13 ราย บาดเจ็บจากการสูดดมคัน 3 ราย และทรัพย์สินเสียหายมากกว่า 4 ล้านดอลลาร์อีกด้วย

    อันตรายที่อาจเกิดขึ้นจาก โฮเวอร์บอร์ด

    แม้ลูกของคุณจะมีโฮเวอร์บอร์ดรุ่นใหม่ล่าสุด แต่ก็ยังมีอันตรายที่ยังต้องพิจารณาอยู่ดี การทรงตัวบนโฮเวอร์บอร์ดอาจเป็นเรื่องยาก บางครั้งหากทรงตัวบนโฮเวอร์บอร์ดไม่ดีก็อาจทำให้เกิดการล้มและได้รับความบาดเจ็บได้ ส่วนอันตรายที่อาจะเกิดขึ้นจากโฮเวอร์บอร์ดที่พบได้มาที่สุด ได้แก่

    การเผาไหม้ที่เกิดขึ้นเอง

    อันตรายที่น่ากลัวที่สุดของโฮเวอร์บอร์ด คือ การลุกไหม้รวมไปถึงการระเบิด ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถทำให้เกิดไฟไหม้ได้ ช่วงสิ้นปีค.ศ. 2015 ทาง Consumer Product Safety Commission (CPSC) ยังไม่พบสาเหตุที่โฮเวอร์บอร์ดสามารถไหม้ได้ด้วยตัวมันเอง แต่มีการคาดการณ์ว่า การเกิดไฟไหม้นั้นน่าจะมีความเกี่ยวข้องกับแบตเตอรี่

    ดังนั้น หากลูกของคุณมีโฮเวอร์บอร์ดและต้องการที่จะชาร์จแบตเตอรี่ ควรชาร์จในที่ที่ไม่สามารถเกิดไฟไหม้ได้ และคุณควรจะต้องเฝ้าระวังเอาไว้เวลาชาร์จแบตเตอรี่ เพราะหากเกิดเหตุไฟไหม้คุณจะได้ดับไฟได้อย่างรวดเร็ว

    การถูกกระทบกระแทก

    การถูกกระทบกระแทกเป็นเพียงรูปแบบหนึ่งของการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นจากโฮเวอร์บอร์ด โดยความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้ อาจจะเป็นการบาดเจ็บที่ศีรษะเนื่องจากตกจากโฮเวอร์บอร์ดก็เป็นได้ แต่ทั้งนี้ การบาดเจ็บที่ศีรษะไม่ได้มีการแบ่งว่าเป็นการบาดเจ็บประเภทใดบ้าง แต่การถูกกระทบกระแทกก็ถือเป็นหนึ่งในสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด

    ทาง Consumer Product Safety Commission (CPSC) มีข้อแนะนำว่า หากลูกของคุณต้องการเล่นโฮเวอร์บอร์ด ควรให้เขาสวมหมวกนิรภัย เช่นเดียวกับ การปั่นจักรยาน และเล่นสเก็ตบอร์ด ถ้าลูกของคุณไม่ชอบใส่อุปกรณ์นิรภัยอาจจะได้รับบาดเจ็บมากกว่าแค่ศีรษะได้รับการกระแทกก็เป็นได้

    การบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง

    การที่ศีรษะกระแทกลงไปกับพื้นเป็นวิธีที่ทำให้คอหักได้เร็วที่สุด ซึ่งการรักษาทางการแพทย์แผนปัจจุบันยังไม่มีวิธีแก้ไข้การแยกไขสันหลังอย่างสมบูรณ์ ไม่ใช่ว่าเส้นประสาทไม่สามารถซ่อมแซมตัวเองได้ แต่มันอาจเปรียบได้เหมือนกันกับการหั่นสายโทรศัพท์ขนาดใหญ่ออกมา แล้วพยายามที่จะต่อกลับเข้าด้วยกัน โดยที่ไม่สามารถรับรู้ได้ว่าเส้นประสาทอันไหนจะต้องเชื่อมต่อกับอันไหน

    ดังนั้นการสวมหมวกกันน็อคก็ไม่สามารถป้องกันการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังได้ ดังนั้น การป้องกันการบาดเจ็บของกระดูกสันหลังส่วนคอ ก็คือ ไม่ควรเล่นโฮเวอร์บอร์ดตั้งแต่แรกนั่นเอง

    กระดูกหัก

    ไม่มีใครอยากจะให้ศีรษะกระแทกลงบนพื้น วิธีหนึ่งในการหลีกเลี่ยงก็คือการเอามือยันเอาไว้ แน่นอนว่ามันอาจฟังดูง่าย แต่กระดูกข้อมืออาจเกิดการบาดเจ็บได้ ซึ่งถือเป็นการบาดเจ็บที่พบบ่อยที่สุดด้วยเช่นกัน

    กระแทกและฟกช้ำ

    สุดท้ายการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นจากการเล่นโฮเวอร์บอร์ดก็คือการกระแทกจนเกิดรอยฟกช้ำและรอยถลอก หากรอยถลอกลึกมากอาจจะต้องมีการเย็บแผลเกิดขึ้นด้วย

    ความปลอดภัยหากต้องการเล่นโฮเวอร์บอร์ด

    หากลูกน้อยของคุณต้องการที่จะเล่นโฮเวอร์บอร์ด รวมถึงของเล่นที่มีล้ออื่น ๆ คุณพ่อคุณแม่ควรทำตามคำแนะนำ ดังต่อไปนี้

    • กำหนดให้เด็กสวมอุปกรณ์ป้องกัน เช่ย หมวกนิรภัย อุปกรณ์ป้องกันข้อมือ โดยคุณพ่อคุณแม่ต้องบอกพวกเขาว่า หากไม่ยอมใส่อุปกรณ์นิรภัยเหล่านี้ ก็ห้ามเล่นโฮเวอร์บอร์ดหรือของเล่นที่มีล้อทั้งหมด
    • ไม่อนุญาตให้เด็ก ๆ เล่นโฮเวอร์บอร์ดในพื้นที่มีการจราจร
    • ควรสอนให้ลูกน้อยเรียกรู้วิธีการล้มอย่างถูกต้อง เพื่อช่วยให้เด็ก ๆ สามารถหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บที่ร้ายแรงได้
    • อ่านคำแนะนำของผู้ผลิตทั้งหมด รวมถึงข้อจำกัดด้านอายุ หรือน้ำหนัก
    • อย่าใช้ของเล่นที่ใช้เครื่องยนต์ที่มีความร้อนสูงเกินไป
    • ใช้สายชาร์จที่มาพร้อมกับผลิตภัณฑ์เท่านั้น
    • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าโฮเวอร์บอร์ดและของเล่นที่มีล้อที่ลูกน้อยของคุณกำลังจะนำไปเล่นนั้น ไม่มีเศษวัสดุต่าง ๆ คั่นอยู่ และอุปกรณ์ไม่เสื่อมสภาพ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 31/05/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา