backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

กรดไฮยาลูรอนิค คืออะไร

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 31/12/2022

กรดไฮยาลูรอนิค คืออะไร

กรดไฮยาลูรอนิค (Hyaluronic Acid) เป็นสารธรรมชาติในร่างกายมนุษย์ ใช้รักษาความผิดปกติเกี่ยวข้องกับข้อต่อ ข้อเสื่อม โดยการรับประทานหรือฉีดเข้าไปที่ข้อต่อโดยผู้เชี่ยวชาญ

ข้อบ่งใช้

กรดไฮยาลูรอนิค ใช้สำหรับ

กรดไฮยาลูรอนิค (Hyaluronic Acid) เป็นสารที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในร่างกายมนุษย์ มีลักษณะเป็นของเหลวที่มีความเข้มข้นสูงที่สุดอยู่ภายในดวงตาและข้อต่อ กรดไฮยาลูรอนิคสามารถทำมาเป็นยารักษาโรคโดยสกัดมาจากหงอนของไก่ตัวผู้หรือทำมาจากแบคทีเรีย

กรดไฮยาลูรอนิคยังนิยมนำมาใช้ในการรักษาความผิดปกติเกี่ยวข้องกับข้อต่อ และโรคข้อเสื่อม ด้วยการรับประทานหรือฉีดเข้าไปที่บริเวณข้อต่อที่ได้รับผลกระทบโดยผู้เชี่ยวชาญ

องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) ได้รับรองการใช้กรดไฮยาลูรอนิคระหว่างการผ่าตัดตา เช่น การผ่าตัดต้อกระจก การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา รักษาจอประสาทตาหลุดลอก และอาการบาดเจ็บของดวงตาชนิดอื่น ๆ โดยวิธีฉีดเข้าสู่ดวงตาเพื่อช่วยทดแทนของเหลวธรรมชาติ

ในด้านการศัลยกรรมความงาม ยังนิยมใช้การฉีดกรดไฮยาลูรอนิค (Hyaluronic Acid) เพื่อเติมเต็มริมฝีปาก รวมทั้งอาจใช้กรดไฮยาลูรอนิคทาบนผิวหนังเพื่อสมานแผล แผลไหม้ หลอดเลือดที่ผิวหนัง และให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวได้อีกด้วย

นอกจากนี้ มีการนำกรดไฮยาลูรอนิคมาใช้เพื่อป้องกันผลกระทบจากการสูงวัย โดยแท้จริงแล้ว กรดไฮยาลูรอนิคได้รับการโฆษณาว่าเป็น “แหล่งน้ำพุแห่งความเป็นหนุ่มสาว (Fountain of Youth)” แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีหลักฐานที่สนับสนุนว่าการรับประทานหรือการทาผิวด้วยกรดไฮยาลูรอนิคจะสามารถป้องกันการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับการสูงวัยได้

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้กรดไฮยาลูรอนิค

ปรึกษาแพทย์หรึอเภสัชกร หากอยู่ในกลุ่มที่มีลักษณะต่อไปนี้

  • อยู่ในช่วงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่คุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร คุณควรจะได้รับยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
  • ได้รับยาชนิดอื่นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร เป็นต้น
  • มีอาการแพ้กรดไฮยาลูรอนิค หรือแพ้ยาชนิดอื่น หรือแพ้สมุนไพรชนิดอื่น
  • มีอาการเจ็บป่วย มีอาการผิดปกติ หรือภาวะทางการแพทย์อื่นๆ
  • มีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด เนื้อสัตว์

กฎระเบียบสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่ายารักษาโรค จึงควรศึกษาข้อมูลให้มากเพื่อความปลอดภัยในการใช้ และการใช้กรดไฮยาลูรอนิค ควรมีคุณประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

กรดไฮยาลูรอนิคถือว่ามีความปลอดภัยเมื่อใช้ฉีดในระหว่างตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัย จากการรับประทานหรือทากรดไฮยาลูรอนิคลงบนผิวในระหว่างตั้งครรภ์ เพื่อความปลอดภัยควรหลีกเลี่ยงการใช้งาน หรือสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรก่อนตัดสินใจใช้ทุกครั้ง

กรดไฮยาลูรอนิคอาจเป็นอันตราย เมื่อฉีดในระหว่างให้นมบุตร ยังไม่มีงานวิจัยที่สรุปว่ากรดชนิดนี้จะส่งผลกระทบกับน้ำนมแม่และทารกที่รับประทานเข้าไปอย่างไร อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัย จากการรับประทานหรือทากรดไฮยาลูรอนิคลงบนผิวในระหว่างให้นมบุตร เพื่อความปลอดภัยควรหลีกเลี่ยงการใช้งาน หรือสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรก่อนตัดสินใจใช้ทุกครั้ง

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงจากการใช้กรดไฮยาลูรอนิค

กรดไฮยาลูรอนิคอาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้ อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงอาจไม่ได้เกิดกับทุกคน หากมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาต่อยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

กรดไฮยาลูรอนิคอาจทำปฏิกิริยากับยาอื่น และอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงรุนแรง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่า กำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง หรือสมุนไพร

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาของ กรดไฮยาลูรอนิค

ปริมาณในการใช้สารนี้อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่น ๆ การใช้ยาเสริมนั้นอาจไม่ได้มีความปลอดภัยเสมอ จึงควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรในเรื่องปริมาณที่เหมาะสม

รูปแบบของกรดไฮยาลูรอนิค

กรดไฮยาลูรอนิคอาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้

  • ชนิดน้ำ
  • แคปซูล
  • เซรั่มทาผิว

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 31/12/2022

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา