backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ข้าวยีสต์แดง (Red Yeast Rice)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 27/11/2019

สรรพคุณของข้าวยีสต์แดง

ข้าวยีสต์แดงเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารข้าวหมักจากจุลินทรีย์ สกุล โมแนสคัส เพอเพียวริอุส

ยีสต์แดงใช้รักษาอาการต่อไปนี้:

  • รักษาระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย
  • ลดระดับคอเลสเตอรอลในผู้ที่มีภาวะคอเลสเตอรอลสูง
  • ระบบการย่อยอาหารไม่ดี
  • รักษาอาการท้องร่วง
  • ปรับปรุงระบบไหลเวียนโลหิต
  • ช่วยในการของม้ามและกระเพาะอาหาร

ยีสต์แดง ใช้เป็นสีสันในเมนูเป็ดปักกิ่งได้

กลไกการออกฤทธิ์

เนื่องจากยังมีงานวิจัยเกี่ยวกับยีสต์แดง ไม่มากพอ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ดี มีการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ยีสต์แดงมีสารคล้ายกับยาสแตติน ซึ่งมีประสิทธิภาพในการลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์

ข้อควรระวังและคำเตือน

สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้ยีสต์แดง

ปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรในกรณีที่:

  • ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในขณะให้นมบุตรนั้น ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • กำลังใช้ยาอื่น ๆ รวมถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์
  • มีอาการแพ้สารยีสต์แดงยาอื่น ๆ หรืออาหารเสริมอื่น ๆ
  • มีโรคอื่น ๆ มีความผิดปกติหรือพยาธิสภาพอื่น ๆ
  • มีอาการแพ้อื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูดหรือเนื้อสัตว์ต่าง ๆ

ข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารยีสต์แดงนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อกำหนดยาอื่น ๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย การใช้ผลิตภัณฑ์นี้ต้องมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

ยีสต์แดงปลอดภัยหรือไม่

ยีสต์แดงปลอดภัยสำหรับการรับประทานติดต่อกันเป็นเวลากว่า 4 ปี

ยีสต์แดงหากได้รับการหมักไม่ถูกวิธีอาจทำให้มีสารซิตรินิน ซึ่งอาจเป็นพิษต่อไต

ข้อควรระวังและคำเตือน

ช่วงตั้งครรภ์และให้นมบุตร:  ยีสต์แดงอาจไม่ปลอดภัยสำหรับการรับประทานในระหว่างตั้งครรภ์ เนื่องจากอาจมีอันตรายต่อครรภ์

ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยของการใช้ยีสต์แดงในระหว่างตั้งครรภ์และห้นมบุตร ควรเลี่ยงการใช้เพื่อความปลอดภัย

โรคตับ: ยีสต์แดงมีสารที่คล้ายกับสารสแตตินหรือโลวาสแตติน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อตับได้ งานวิจัยบางชิ้นกล่าวว่ายีสต์แดงอาจเป็นอันตรายต่อตับ แต่ได้มีบางงานวิจัยแย้งว่ายีสต์แดงสามารถช่วยปรับปรุงระบบการทำงานในผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับตับได้ อย่างไรก็ตาม ควรใช้ยีสต์แดงงอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการข้างต้น

ผลข้างเคียง

ยีสต์แดงมีสารที่คล้ายกับสารสแตตินหรือโลวาสแตติน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อตับ และอาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อ

อาจเกิดอาการแพ้อย่างรุนแรงเมื่อรับประทานยีสต์แดง

จากอาการผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีผลข้างเคียง หากมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียงของยา ควรปรึกษาแพทย์

ปฏิกิริยาระหว่างยา

ยีสต์แดงอาจมีปฏิกิริยาระหว่างยาหรือพยาธิสภาพปัจจุบัน ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรก่อนใช้

ผลิตภัณฑ์ยาที่อาจมีปฏิกิริยากับยีสต์แดง:

  • แอลกอฮอล์

การดื่มแอลกอฮอล์อาจเป็นอันตรายต่อตับ ยีสต์แดงอาจส่งผลกระทบต่อตับเช่นกัน เมื่อใช้ร่วมกันอาจเพิ่มความเสี่ยงอันตรายให้แก่ตับได้ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานร่วมกัน

  • ยาไซโคลสปอริน (นีโอรอล)

ยีสต์แดงอาจส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อ ยาไซโคลสปอริน (นีโอรอล) อาจส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อเช่นกัน เมื่อรับประทานร่วมกันอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ร้ายแรง

  • ยาเจมไฟโบรซิล (โลปิด)

ยาเจมไฟโบรซิล (โลปิด)  อาจมีผลต่อกล้ามเนื้อ ยีสต์แดงมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน เมื่อรับประทานร่วมกันอาจเพิ่มความเสี่ยงแก่กล้ามเนื้อ

  • ยาที่เป็นอันตรายต่อตับ (โรคพิษต่อตับ)
  • ยีสต์แดงประกอบไปด้วยสารสแตตินหรือโลวาสแตติน ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อตับ เมื่อใช้ร่วมกับยาอื่นที่เป็นอันตรายต่อตับอาจเพิ่มความเสี่ยงแก่ตับ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานร่วมกัน

    ยาที่เป็นอันตรายต่อตับ เช่น อะเซตามิโนเฟ่น อะมิโอดาโรน คาร์บามาเซฟีน  ไอโซไนอาซิด เมโธเทกเซท เมทิลโดปา  ฟลูโคนาโซล ไอทราโคลนาโซล อิริโทรมัยซิน เฟนิโทอิน โลวาสแตติน  พราวาสแตติน ซิมวาสแตติน และอื่นๆ

    • ยายับยั้งเอ็นไซม์ (CYP3A4)

    ตัวยา หรือสารที่ทำหน้าที่ยับยั้งเอ็นไซม์ CYP3A4 เรียกว่า เป็น CYP3A4 inhibitor เมื่อเอ็นไซม์ท างาน ได้น้อยลง ผลที่เกิดจะท าให้ระดับของยาในกระแสเลือด “เพิ่ม” ขึ้น เพราะเอ็นไซม์ถูกสกัดกั้นไม่ให้ทำงาน

    ยาบางชนิดอาจลดปริมาณการทำลายตับจากยีสต์แดงได้อย่างรวดเร็ว เมื่อรับประทานร่วมกันอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง ควรปรึกษาแพทย์ถ้ามีอาการข้างต้น

    ยาบางชนิดอาจลดปริมาณการทำลายตับจากยีสต์แดงได้อย่างรวดเร็ว เช่น อะมีโอดาโรน คาร์ริโธมัยซิน  ดิลไทอะซิม อิริโทรมัยซิน อินดินาเวียร์ ริโทนาเวียร์ ซาควินาเวียร์ และอื่นๆ

    • ยาลดระดับคอเลสเตอรอล (สแตติน)

    ยีสต์แดงมีประสิทธิภาพช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล เมื่อรับประทานร่วมกับยาสแตตินอาจทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่ออาการไม่พึงประสงค์ ไม่ควรรับประทานยีสต์แดงหลังจากรับประทานยาลดระดับคอเลสเตอรอล

    ยาลดระดับคอเลสเตอรอล  เช่น เซริวาสแตติน อะทอร์วาสแตติน โลวาสแตติน พราวาสแตติน ซิมวาสแตติน และอื่นๆ

  • ไนอะซิน
  • ไนอะซินอาจมีผลต่อกล้ามเนื้อ ยีสต์แดงก็มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน เมื่อรับประทานร่วมกันอาจเพิ่มความเสี่ยงของปัญหากล้ามเนื้อ

    ขนาดยา

    ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ปรึกษาแพทย์ประจำตัวหรือแพทย์ก่อนใช้

    ขนาดการใช้ยีสต์แดงปกติอยู่ที่เท่าไร

    ข้อมูลต่อไปนี้คือผลการทดสอบทางวิทยาศาสตร์:

    การรับประทาน:

    สำหรับการรักษาภาวะคอเลสเตอรอลสูง:  รับประทานยีสต์แดง 1,200 – 2,400 มิลลิกรัม 2 ครั้งต่อวัน

    เฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยสารสแตติน เท่านั้นที่มีเอกสารกำกับยาว่า ใช้เพื่อลดระดับคอเลสเตอรอล ซึ่งมีผลายผลิตภัณฑ์ที่ประกอบไปด้วยสารโลวาสแตตินปริมาณ 5-10

    ภาวะคอเลสเตอรอลสูงเนื่องจากการติดเชื้อเอชไอวี:  รับประทานยีสต์แดงปริมาณ 1,200 มิลลิกรัม 2 ครั้งต่อวัน

    ปริมาณการใช้ยีสต์แดงอาจแตกต่างกันไปในแต่ละผู้ป่วย ซึ่งปริมาณยาที่ใช้จะขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพ และปัจจัยอื่นๆ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป ควรปรึกษาแพทย์เพื่อปริมาณยาที่เหมาะสมสำหรับการรับประทาน

    ยีสต์แดงมีจำหน่ายในรูปแบบใด

    ยีสต์แดงอาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้:

    • แคปซูลสารสหัดจากยีสต์แดง

    *** Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาแต่อย่างใด ***

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 27/11/2019

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา