backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

คลินดามัยซิน (Clindamycin)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรพิมพ์จิต วัฒนชโนบล


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 13/06/2023

คลินดามัยซิน (Clindamycin)

คลินดามัยซิน (Clindamycin) ใช้เพื่อรักษาสิว ยานี้ช่วยลดจำนวนสิว เป็นยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์โดยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย

ข้อบ่งใช้

ยาคลินดามัยซินใช้สำหรับ

คลินดามัยซิน (Clindamycin) ใช้เพื่อรักษาสิว ยานี้ช่วยลดจำนวนสิว เป็นยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์โดยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ยาคลินดามันซินอยู่ในกลุ่มของยาที่เรียกว่ายาลินโคซาไมด์ (Lincosamide)

วิธีการใช้ยา คลินดามัยซิน

  • รับประทานยาคลินดามัยซินตามที่แพทย์กำหนด และทำตามคำแนะนำบนฉลากอย่างเคร่งครัด ห้ามใช้ยานี้ในปริมาณมาก หรือน้อยเกินไป เป็นเวลานานกว่าที่แพทย์แนะนำ
  • รับประทานยาพร้อมกับน้ำ 1 แก้ว เพื่อป้องกันอาการระคายเคืองคอ
  • วัดปริมาณยาในรูปแบบน้ำโดยใช้ไซริงค์ ช้อนตวงยา หรือถ้วยตวงยาโดยเฉพาะ หากไม่มีอุปกรณ์เพื่อตวงยา สามารถหาซื้อได้จากร้านขายยาเพื่อซื้ออุปกรณ์เหล่านี้
  • ยาคลินดามัยซินบางครั้งสามารถให้โดยการฉีดเข้าที่กล้ามเนื้อ หรือหลอดเลือดดำ ห้ามฉีดยานี้ด้วยตนเอง หากไม่เข้าใจวิธีฉีด ควรทิ้งเข็มฉีดยา หลอดฉีด หรืออุปกรณ์อื่นสำหรับฉีดยาที่ใช้แล้วอย่างเหมาะสม

วิธีการเก็บรักษายา คลินดามัยซิน

  • ยาคลินดามัยซิน ควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง ให้พ้นแสงและความชื้น เพื่อป้องกันตัวยาเสื่อมสภาพ
  • ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง
  • เก็บยาให้พ้นจากมือเด็ก และสัตว์เลี้ยงเพื่อความปลอดภัย
  • ไม่ควรทิ้งยาคลินดามัยซินลงในชักโครก หรือในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ยาคลินดามัยซินบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน หากมีข้อกังวล หรือข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้จากเภสัชกร และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอีกครั้งทันที

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยา คลินดามัยซิน

ก่อนตัดสินใจใช้ยานี้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินประโยชน์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น โดยต้องทำตามคำแนะนำดังต่อไปนี้

  • แจ้งให้แพทย์ทราบ หากเคยมีอาการผิดปกติ หรืออาการแพ้ยานี้ รวมถึงยาชนิดอื่น ๆ รวมถึงอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น อาหาร สารย้อมสี วัตถุกันเสีย และสัตว์ เป็นต้น
  • โปรดระบุสมุนไพร ยา และอาหารเสริมที่กำลังใช้อยู่ รวมถึงสภาวะโรคประจำตัวให้แพทย์ทราบ

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์ เพื่อวิเคราะห์ถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ก่อนใช้ยาคลินดามัยซิน จากอ้างอิงจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) ยานี้จัดเป็นยากลุ่มเสี่ยงสำหรับสตรีมีครรภ์ประเภท B

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A = ไม่มีความเสี่ยง
  • B = ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C = อาจจะมีความเสี่ยง
  • D = มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X = ห้ามใช้
  • N = ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยา คลินดามัยซิน

เข้ารับการรักษาพยาบาลทันทีหากมีสัญญาณของอาการแพ้ ดังนี้

  • ลมพิษ
  • หายใจลำบาก
  • หน้า ริมฝีปาก ลิ้นหรือคอบวม

หยุดใช้ ยาคลินดามัยซิน และปรึกษาแพทย์ทันที หากเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง ดังนี้

  • ถ่ายเหลวเป็นน้ำหรือถ่ายเป็นเลือด
  • ดีซ่าน ตาเหลือง หรือผิวเหลือง
  • ปัสสาวะน้อยกว่าปกติหรือไม่ปัสสาวะเลย
  • เป็นไข้ ตัวสั่น ปวดตามร่างกาย มีอาการของไข้หวัดใหญ่ เจ็บปากหรือคอ
  • เลือดออกผิดปกติบริเวณจมูก ปาก ช่องคลอดหรือทวารหนัก
  • มีรอยช้ำม่วง หรือจุดแดงเล็ก ๆ ใต้ผิวหนัง
  • อาการแพ้ที่ผิวหนังอย่างรุนแรง เป็นไข้ เจ็บคอ ใบหน้า หรือลิ้นบวม
  • เจ็บผิวหนัง ตามด้วยการมีผื่นแดงหรือม่วงตามผิวที่ลุกลามโดยเฉพาะที่หน้าหรือร่างกายส่วนบน และทำให้เกิดแผลพุพอง

ผลข้างเคียงที่รุนแรงอื่น ๆ อาจรวมถึง

  • การเปลี่ยนแปลงของระบบขับถ่ายอุจจาระ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ
  • คลื่นไส้เล็กน้อย อาเจียนหรือปวดท้อง
  • ปวดข้อต่อ
  • คันบริเวณช่องคลอด และมีตกขาว
  • แสบหน้าอก ระคายเคืองคอ

ไม่ใช่ทุกคนที่จะแสดงอาการอันเนื่องมาจากผลข้างเคียงเหล่านี้ อาจมีผลข้างเคียงอื่นที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีความกังวลเรื่องผลข้างเคียง โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรใกล้บ้าน

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาคลินดามัยซิน อาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่กำลังใช้อยู่ และอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่า กำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร เป็นต้น และเพื่อความปลอดภัย ไม่ควรเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

การใช้ยาคลินดามัยซินพร้อมกับยาอะทราคูเรียม (Atracurium) ยาเมโทคูรีน (Metocurine) ยาทูโบคูรารีน (Tubocurarine) อาจเพิ่มความเสี่ยงของผลข้างเคียงบางอย่าง แต่หากการใช้ยาทั้งสองชนิดอาจเป็นวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ แพทย์จำต้องจ่ายยาทั้งสองชนิดโดยอาจเปลี่ยนขนาดยาหรือความถี่ในการใช้ยาใดยาหนึ่ง หรือยาทั้งสองชนิด

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาคลินดามัยซินอาจอาจทำปฏิกิริยากับอาหารและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยจะปรับเปลี่ยนประสิทธิภาพการทำงานของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดผลข้างเคียงรุนแรงอื่น ๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาคลินดามัยซิน อาจส่งผลให้อาการโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระเพาะอาหารหรือลำไส้ เหล่านี้แย่ลง เช่น โรคลำไส้ใหญ่อักเสบ ลำไส้เล็กอักเสบ เป็นต้น

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาด ยาคลินดามัยซิน สำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับภาวะติดเชื้อระดับรุนแรง

  • รับประทานยา : 150-300 มิลลิกรัมทุก 6 ชั่วโมง
  • ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อ : 600-1200 มิลลิกรัม โดยแบ่งฉีดเป็น 2-4 ครั้ง ต่อวัน ในขนาดที่เท่ากัน

ขนาดยาสำหรับภาวะติดเชื้อระดับรุนแรงกว่า

  • ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อ : 1,200-2,700 มิลลิกรัม โดยแบ่งฉีดเป็น 2-4 ครั้ง ต่อวัน ในขนาดที่เท่ากัน

ขนาดยาสำหรับภาวะติดเชื้อระดับรุนแรงกว่านั้น

  • รับประทานยา : 300-450 มิลลิกรัม ทุก 6 ชั่วโมง
  • ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ : ให้สารละลายของยา ไม่เกิน 4800 มิลลิกรัมต่อวัน

ขนาด ยาคลินดามัยซิน สำหรับเด็ก

น้ำหนัก 10 กิโลกรัม หรือต่ำกว่า

  • รับประทานยา 37.5 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง

น้ำหนัก 11 กิโลกรัมหรือมากกว่า

  • การติดเชื้อระดับรุนแรง : รับประทานยา 8-12 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน โดยแบ่งให้เป็น 3-4 ครั้งเท่า ๆ กัน
  • การติดเชื้อระดับรุนแรงกว่า : รับประทานยา 13-16 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน โดยแบ่งให้เป็น 3-4 ครั้งเท่า ๆ กัน
  • การติดเชื้อระดับรุนแรงกว่านั้น : รับประทานยา 17-25 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน โดยแบ่งให้เป็น 3-4 ครั้งเท่า ๆ กัน

ทางเลือกของการให้ยาแบบอื่น ๆ

  • การติดเชื้อระดับรุนแรง : รับประทานยา 8-16 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน โดยแบ่งให้เป็น 3-4 ครั้งเท่า ๆ กัน
  • การติดเชื้อระดับรุนแรงกว่า : รับประทานยา 16-20 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน โดยแบ่งให้เป็น 3-4 ครั้งเท่า ๆ กัน

การให้ยาทางหลอดเลือด

  • อายุไม่เกิน 1 เดือน ให้สารละลายของยา 15-20 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ทางหลอดเลือดดำ (Intravenous Infusion) ขนาดยาที่ต่ำกว่าอาจเพียงพอสำหรับทารกแรกเกิดที่คลอดก่อนกำหนด
  • อายุ 1 เดือนถึง 16 ปี ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อ 20-40 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม โดยแบ่งให้เป็น วันละ 3-4 ครั้งเท่า ๆ กัน หากระดับความการติดเชื้อรุนแรงมากขึ้น อาจต้องใช้ขนาดยาในการรักษาที่มากขึ้น
  • อายุ 17 ปีขึ้นไป ใช้ขนาดยาปกติสำหรับผู้ใหญ่ ระยะเวลาอย่างน้อย 10 วันสำหรับการติดเชื้อสเตร็ปโตค็อกคัสชนิดเบต้าฮีโมลัยติค (Beta-hemolytic streptococcal infection)

รูปแบบของยา

ยาคลินดามัยซิน มีรูปแบบดังต่อไปนี้

  • แคปซูล 75 มิลลิกรัม 150 มิลลิกรัม และ 300 มิลลิกรัม
  • เจล
  • แผ่นแปะ
  • ยาน้ำ
  • โลชั่น

กรณีฉุกเฉินหรือการใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉิน หรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งโรงพยาบาลใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากลืมรับประทานยาควรรีบรับประทานทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลารับประทานยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปรับประทานยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรพิมพ์จิต วัฒนชโนบล


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 13/06/2023

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา