backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ซอร์บิทอล (Sorbitol)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ซอร์บิทอล (Sorbitol)

ข้อบ่งใช้

ซอร์บิทอล ใช้สำหรับ

ซอร์บิทอล (Sorbitol) เป็นยาระบายประเภทดูดน้ำเข้า (Osmotic laxative) โดยทั่วไปมักใช้รักษาอาการท้องผูกหรืออาหารไม่ย่อย

วิธีใช้ยาซอร์บิทอล

สำหรับชนิดรับประทาน 

  • รับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์ ทั้งเรื่องปริมาณและเวลา
  • อ่านเอกสารกำกับยาอย่างละเอียดก่อนรับประทาน
  • ปรึกษาแพทย์หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับข้อมูลที่ระบุบนฉลาก

สำหรับชนิดสวนทวาร

  • อ่านเอกสารกำกับยาอย่างละเอียดก่อนใช้ยา
  • ปรึกษาแพทย์ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับข้อมูลที่ระบุบนฉลาก
  • วิธีเก็บรักษายา ซอร์บิทอล

    ยาซอร์บิทอลควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง ให้พ้นแสงและความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเสื่อมสภาพ ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาซอร์บิทอลบางยี่ห้ออาจมีวิธีเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรอ่านคำแนะนำบนบรรจุภัณฑ์หรือสอบถามเภสัชกรเสมอ และโปรดเก็บยาให้พ้นจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยงเพื่อความปลอดภัย

    ไม่ควรทิ้งยาซอร์บิทอลลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ เว้นเสียแต่จะได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น หากยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้ยา ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้อง โดยสามารถสอบถามข้อมูลวิธีกำจัดยาที่ถูกต้องได้จากเภสัชกร

    ข้อควรระวังและคำเตือน

    ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาซอร์บิทอล

    ก่อนใช้ยาซอร์บิทอล ควรแจ้งแพทย์ทราบ หากคุณมีอาการหรือภาวะดังนี้

    • แพ้ยาซอร์บิทอล หรือส่วนผสมที่ไม่ออกฤทธิ์ของยาซอร์บิทอล โปรดสอบถามเภสัชกรเกี่ยวกับรายชื่อของส่วนผสมที่ไม่ออกฤทธิ์ของยา
    • แพ้ยาประเภทอื่นๆ แพ้อาหาร สีย้อม สารกันบูด หรือสัตว์
    • เป็นเด็ก
    • เป็นผู้สูงอายุ
    • เคยมีปัญหาสุขภาพ หรือการใช้ยาตัวอื่น ที่อาจมีความเสี่ยงในการทำปฏิกิริยากับยาซอร์บิทอล

    ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

    ยังไม่มีการศึกษาค้นคว้าที่เพียงพอเกี่ยวกับความเสี่ยงในการใช้ยาซอร์บิทอลในผู้หญิงตั้งครรภ์หรือช่วงให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินประโยชน์และความเสี่ยงที่เป็นไปได้ก่อนการใช้ยา

    ยาซอร์บิทอลถูกจัดอยู่ในจำพวกยาที่มีระดับความเสี่ยงในสตรีมีครรภ์ประเภท N อ้างอิงจากองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา ได้แก่

    • A = ไม่มีความเสี่ยง
    • B = ไม่พบความเสี่ยงในบางงานวิจัย
    • C = อาจมีความเสี่ยง
    • D = มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
    • X = ห้ามใช้
    • N = ไม่ทราบแน่ชัด

    รู้จักผลข้างเคียง

    ผลข้างเคียงของยาซอร์บิทอล

    การใช้ยาซอร์บิทอลอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงเหมือนกับการใช้ยาประเภทอื่น โดยส่วนใหญ่มักไม่มีผลหรืออาการข้างเคียงและไม่จำเป็นต้องมีการรักษาเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์หากเกิดปัญหาหลังการใช้ยา

    อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น เช่น ท้องร่วง ปวดท้อง หรืออาการแพ้ต่างๆ

    ผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น อาจไม่ได้เกิดกับทุกคน หรือบางคนอาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากนี้ หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

    รู้จักกับปฏิกิริยาของยา

    ปฏิกิริยากับยาอื่น

    ยาซอร์บิทอลอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ และอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร เป็นต้น และเพื่อความปลอดภัย คุณไม่ควรเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

    ปฏิกิริยาต่ออาหารและแอลกอฮอล์

    ยาซอร์บิทอลอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

    ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่นๆ

    ยาซอร์บิทอลอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ โดยเฉพาะ

    • ลำไส้อักเสบ และลำไส้อักเสบชนิดเป็นแผล โรคและอาการโครห์นหรืออาการอุดตัน ปวดท้องเรื้อรังโดยไม่มีสาเหตุ
    • โรคทางกรรมพันธุ์ที่เกี่ยวข้องกับน้ำตาลฟรุกโตส (Fructose Interolence Hereditary) ซึ่งเป็นโรคพันธุกรรมเมตาบอลิกที่พบยาก
    • โรคระบบทางเดินน้ำดี
    • อาการระคายเคืองในทางเดินอาหาร

    ขนาดยา

    ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

    ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่

    ควรปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลปริมาณซอร์บิทอล ไฮโดรคลอไรด์ที่ควรใช้ ปริมาณยาที่ควรใช้ในบางกรณีมีดังนี้

    • การรักษาอาการปวดท้องเนื่องจากอาหารไม่ย่อย : ควรรับประทาน 1-3 แพคต่อวัน ก่อนอาหารหรือเมื่อเกิดอาการ
    • การรักษาอาการท้องผูก : ควรรับประทาน 1 แพคในช่วงเช้าหรือช่วงท้องว่าง
    • ใช้เป็นยาระบายแบบสวนทวาร : ปริมาณ 120 มิลลิลิตรของสารละลายร้อยละ 20-30

    ขนาดยาสำหรับเด็ก

    ควรปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลปริมาณซอร์บิทอล ไฮโดรคลอไรด์ที่ควรใช้ ปริมาณยาที่ควรใช้ในบางกรณีมีดังนี้

    • การรักษาอาการท้องผูก : ปริมาณครึ่งหนึ่งของปริมาณที่ผู้ใหญ่รับประทาน โดยการผสมยากับน้ำและดื่มยา 10 นาทีก่อนอาการ
    • ใช้เป็นยาระบาย แบบสวนทวาร : ปริมาณ 120 มิลลิลิตรของสารละลายร้อยละ 20-30 สำหรับเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป และ 30-60 มิลลิลิตร สำหรับเด็กอายุ 2-11 ปี

    รูปแบบของยา

    ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

    • ชนิดดื่มขนาดบรรจุ 5 กรัม
    • ชนิดรับประทานและชนิดสวนทวาร มีขนาดความเข้มข้น 70%

    กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

    หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

    กรณีลืมใช้ยา

    หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

    ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


    เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา