backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ดาคทาริน® (Daktarin®)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย pimruethai · แก้ไขล่าสุด 09/02/2021

ดาคทาริน® (Daktarin®)

สรรพคุณของ ไมโคนาโซล (Miconazole)

ยาไมโคนาโซล (Miconazole) หรือ ดาคทาริน® (Daktarin)เป็นสารออกฤทธิ์ที่นิยมใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อราและแบคทีเรียในเล็บและผิวหนัง  เช่น โรคเชื้อราที่ผิวหนัง กลาก เกลื้อน โรคเชื้อราแคนดิดา เชื้อราในช่องปาก และเชื้อราในช่องคลอด (Vaginal candidiasis – VVC)

โดยมีลักษณะเป็น ยาครีมทาผิวหนัง ยาผงโรยที่ผิวหนัง ยาเจลป้ายปาก และยาเหน็บช่องคลอด

การใช้ยา ดาคทาริน® (Daktarin)

ควรใช้ยานี้อย่างถูกต้องตามที่อธิบายไว้ในฉลากยาหรือตามที่แพทย์หรือเภสัชกรแนะนำ ควรตรวจสอบกับแพทย์หรือเภสัชกรหากไม่แน่ใจในวิธีใช้ยา

  • ทาครีมเบา ๆ ลงในบริเวณที่มีอาการด้วยมือที่สะอาด
  • ไม่ควรใช้ครีมใกล้ตา ใช้กับผิวหนังและเล็บเท่านั้น
  • อย่ากลืนกินครีม

วิธีเก็บรักษา

การเก็บยาดาคทาริน® (Daktarin)

เก็บยานี้ไว้ให้พ้นจากสายตาและเด็ก เก็บครีมไว้ในบรรจุภัณฑ์เดิม ในอุณหภูมิที่ไม่เกินกว่า 25 องศาเซลเซียส ห้ามใช้ยานี้หลังหมดอายุการใช้งานซึ่งระบุไว้ในกล่องและหลอด วันหมดอายุหมายถึงวันสุดท้ายของเดือนนั้น 

หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยามอนเทลูคาสท์บางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยา หรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัย โปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ก่อนใช้ยาควรแจ้งข้อมูลเหล่านี้แก่แพทย์ของคุณหาก

  • อาการแพ้ยา ไมโคนาโซล (Miconazole)
  • อาการแพ้อื่น ๆ เช่น สีย้อมอาหาร สารกันบูด หรือสัตว์ต่างๆ
  • ใช้ยากับเด็ก (ดุลยพินิจของแพทย์)
  • ใช้ยากับผู้สูงอายุ (ดุลยพินิจของแพทย์)
  • มีเงื่อนไขสุขภาพอื่น ๆ ที่มีความเสี่ยงต่อการมีปฏิกิริยากับยานี้ (ดุลยพินิจของแพทย์)
  • ไม่มีข้อมูลที่แน่ชัด เกี่ยวกับขนาดการใช้ยานี้ในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี (ในเด็กจึงต้องอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์)
  • ขนาดยา จำนวนครั้ง ระยะห่าง ระยะเวลา (แตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย)
  • ควรใช้ยาจนครบเวลาการรักษา และไม่ควรลืมทายา แม้ว่าอาการจะดีขึ้นแล้ว (หากสงสัยควรสอบถามแพทย์)
  • เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ ใช้ยานี้ตามวิธีใช้ที่ระบุไว้บนฉลากยา หรือตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดและสม่ำเสมอตามระยะเวลาที่กำหนด
  • ห้ามใช้ยาในขนาดที่น้อยกว่า หรือมากกว่าที่ระบุไว้
  • หากมีข้อสงสัยควร สอบถามแพทย์หรือเภสัชกร (การใช้ยานี้ในเด็ก หญิงตั้งครรภ์ และหญิงให้นมบุตร ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์เท่านั้น)
  • หากใช้ยาแล้วเกิดอาการแพ้หรือระคายเคือง ควรหยุดใช้ยาและปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ความปลอดภัยในการใช้ยาในระหว่างตั้งครรภ์หรือขณะให้นมบุตร

ไม่มีการศึกษาในผู้หญิงที่เพียงพอ ที่จะระบุความเสี่ยงขณะที่ใช้ยาไมโคนาโซล (Miconazole) ระหว่างตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เป็นประจำ เพื่อชั่งน้ำหนักระหว่างข้อดีและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ก่อนรับประทานยา ไมโคนาโซล อ้างอิงจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

ต่อไปนี้ คือ ประเภทความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา

  • A = ไม่เสี่ยง
  • B = ไม่เสี่ยง (อ้างอิงจากงานวิจัยบางงาน)
  • C = อาจมีความเสี่ยงบางอย่าง
  • D = พบหลักฐานเกี่ยวกับความเสี่ยงโดยตรง
  • X = ห้ามใช้
  • N = ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของยาดาคทาริน® (Daktarin)

การรับประทานยานี้อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงบางอย่าง แต่ส่วนใหญ่ไม่ค่อยเกิดขึ้นและไม่จำเป็นต้องมีการรักษาเสริม อย่างไรก็ตาม เป็นสิ่งสำคัญที่คุณควรปรึกษาแพทย์ของคุณ หากคุณมีปัญหาหลังจากใช้ยานี้เสมอ

  • ผลข้างเคียงที่พบบ่อยๆ คืออาการระคายเคืองเล็กน้อยบริเวณผิวที่ได้รับการรักษา
  • ผลข้างเคียงรุนแรง เช่น เกิดอาการแพ้ ผื่นผิวหนัง ลมพิษ ตุ่มที่ผิวหนัง ระคายเคือง แสบร้อน ตุ่มพุพอง ผิวหนังลอกในบริเวณที่ทายา มีไข้ ทำให้มีเลือดออกผิดปกติได้
  • รีบนำส่งแพทย์ทันที หากรับประทานเข้าไปโดยอุบัติเหตุ

ปฏิกิริยาระหว่างการใช้ยา

ยา ดาคทาริน® (Daktarin) อาจมีปฏิกิริยากับยาอื่น ๆ ที่คุณกำลังใช้อยู่ โดยอาจเปลี่ยนแปลงประสิทธิผลของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงได้ เพื่อหลีกเลี่ยงการมีปฏิกิริยาดังกล่าว

ควรรวบรวมรายชื่อยาทั้งหมดที่ใช้อยู่ ทั้งยาที่สั่งโดยแพทย์ ยาที่ซื้อรับประทานเอง ยาสมุนไพรที่ใช้อยู่ และแจ้งแพทย์และเภสัชกรของคุณ เพื่อความปลอดภัยของคุณ

อย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยา โดยยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์ ในกรณีที่มีการดูดซึม ไมโคนาโซล (Miconazole) เข้าไปในเลือดจะสามารถเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นเช่น

  • Astemizole
  • Cisapride
  • Alkaloids
  • Ergotamine
  • Methysergide
  • Midazolam
  • Mizolastine
  • Pimozide
  • Quetiapine
  • Quinidine
  • Sertindole
  • Statins
  • Terfenadine
  • Triazolam
  • Warfarin

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาไมโคนาโซล (Miconazole) อาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์ โดยการเปลี่ยนแปลงประสิทธิผลของยา หรือเสี่ยงต่อผลข้างเคียงที่รุนแรงยิ่งขึ้น ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเกี่ยวกับปฏิกิริยากับกับอาหารหรือแอลกอฮอล์ที่เป็นไปได้ก่อนใช้ยานี้

ปฏิกิริยาของยากับพยาธิสภาพปัจจุบัน

ดาคทาริน® (Daktarin) อาจมีปฏิกิริยากับพยาธิสภาพของคุณ ในปัจจุบัน โดยอาจทำให้อาการทรุดลง หรือทำให้ประสิทธิผลของยาเปลี่ยนแปลง  ควรรายงานให้แพทย์และเภสัชกรทราบเกี่ยวกับพยาธิสภาพปัจจุบันของคุณอยู่เสมอ

ปริมาณการใช้ยา

ข้อมูลนี้ไม่สามารถใช้แทนคำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรของคุณก่อนที่จะใช้ยา ดาคทาริน® (Daktarin)

ขนาดยา ดาคทาริน (ไมโคนาโซล) สำหรับผู้ใหญ่

 สำหรับการติดเชื้อที่ผิวหนัง

ใช้ครีมวันละสองครั้ง หนึ่งครั้งในตอนเช้าและอีกครั้งในเวลากลางคืน ใช้ครีมต่อไปอย่างน้อย 7 วันหลังจากที่อาการของโรคได้หายไป จะช่วยให้อาการหายขาด

สำหรับการติดเชื้อเล็บ

ใช้ครีมวันละครั้งหรือสองครั้ง ใช้ครีมต่อไปอย่างน้อย 10 วันหลังจากที่อาการของโรคได้หายไป จะช่วยให้อาการหายขาด

ขนาดยาไมโคนาโซล (Miconazole)สำหรับเด็ก

  • ปรึกษากับแพทย์ของคุณเกี่ยวกับขนาดยานี้
  • ห้ามใช้ยานี้กับเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปีเว้นแต่แพทย์สั่ง

รูปแบบยา ดาคทาริน® (Daktarin)

  • รูปแบบครีมร้อยละ 2
  • รูปแบบสเปรย์
  • รูปแบบเจล
  • รูปแบบผง

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย pimruethai · แก้ไขล่าสุด 09/02/2021

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา