backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

พาราเซตามอล (Paracetamol)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 15/03/2021

พาราเซตามอล (Paracetamol)

ข้อบ่งใช้ พาราเซตามอล

ยาพาราเซตามอลใช้สำหรับ

พาราเซตามอล (Paracetamol) ใช้เป็นยาบรรเทาอาการปวด และลดไข้ เพื่อรักษาอาการต่าง ๆ เช่น ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ข้ออักเสบ (Arthritis) ปวดหลัง ปวดฟัน เป็นต้น

วิธีการใช้ยา พาราเซตามอล

  • รับประทานยานี้ตามที่กำหนด
  • ปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากยาอย่างเคร่งครัด
  • หากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับข้อมูลนี้ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

การเก็บรักษายา พาราเซตามอล

  • ยาพาราเซตามอล ควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง ให้พ้นแสงและความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเสื่อมสภาพ
  • ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง
  • เก็บยาให้พ้นจากมือเด็ก และสัตว์เลี้ยงเพื่อความปลอดภัย
  • ไม่ควรทิ้งยาพาราเซตามอล ลงในชักโครก หรือในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ยาพาราเซตามอล บางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน หากคุณมีข้อกังวล หรือข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้จากเภสัชกร และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอีกครั้งได้ในทันที

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยา พาราเซตามอล

ก่อนตัดสินใจใช้ยานี้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินประโยชน์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น โดยคุณจำเป็นต้องทำตามคำแนะนำดังต่อไปนี้

  • แจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณเคยมีอาการผิดปกติ หรืออาการแพ้ยานี้ รวมถึงยาชนิดอื่น ๆ รวมถึงอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น อาหาร สารย้อมสี วัตถุกันเสีย และสัตว์ เป็นต้น
  • โปรดระบุสมุนไพร ยา และอาหารเสริมที่คุณกำลังใช้ รวมถึงสภาวะโรคประจำตัวให้แพทย์ทราบ โดยเฉพาะโรคตับ
  • หากคุณเป็นโรคฟีนิลคีโตนูเรีย (phenylketonuria) หรือเป็นโรคเบาหวาน ยาพาราเซตามอลแบบเคี้ยวบางยี่ห้อ อาจเพิ่มความหวานด้วยสารให้ความหวานแอสปาร์แตม
  • หากคุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรขณะใช้ยาพาราเซตามอล ควรปรึกษากับแพทย์โดยทันที

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์ เพื่อวิเคราะห์ถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ก่อนใช้ยาพาราเซตามอล จากอ้างอิงจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) ยานี้จัดเป็นยากลุ่มเสี่ยงสำหรับสตรีมีครรภ์ประเภท B

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐฯ มีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ยาต้องห้าม
  • N= ไม่มีข้อมูลเพียงพอ

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยา พาราเซตามอล

โดยปกติแล้วยานี้จะไม่มีผลข้างเคียง หากคุณมีอาการที่ไม่ปกติใด ๆ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรในทันที

อาการแพ้ยาที่รุนแรงมาก และหาได้ยาก มีดังนี้

  • อุจจาระเป็นสีเลือด หรือสีดำ
  • ปัสสาวะสีเลือด หรือสีขุ่น
  • เป็นไข้ โดยอาจจะมีอาการหนาวสั่น หรือไม่มีก็ได้ (ไม่มีอาการนี้ก่อนการรักษา และไม่ได้มีสาเหตุมาจากอาการที่กำลังรักษา)
  • ปวดหลังส่วนล่าง หรือด้านข้าง
  • มีผื่นแดงบนผิวหนัง
  • ผิวหนังมีผดผื่น ลมพิษ
  • เจ็บคอ 
  • มีบาดแผล หรือจุดขาวบริเวณริมฝีปาก และภายในช่องปาก
  • ปริมาณปัสสาวะลดลงอย่างกะทันหัน
  • มีเลือดออก หรือรอยช้ำอย่างผิดปกติ
  • รู้สึกเหนื่อยล้า หรืออ่อนแรงอย่างผิดปกติ
  • ดวงตา และผิวหนังเป็นสีเหลือง

ไม่ใช่ทุกคนที่จะแสดงอาการอันเนื่องมาจากผลข้างเคียงเหล่านี้ อาจมีผลข้างเคียงอื่นที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีความกังวลเรื่องผลข้างเคียง โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาพาราเซตามอลอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง ได้แก่

  • อาจจะลดระดับยาของยาต้านชัก เช่น เฟนิโทอิน (phenytoin) บาร์บิทูเรต (barbiturates) คาร์บามาเซพีน (carbamazepine)
  • อาจจะเพิ่มประสิทธิภาพของยาต้านการแข็งตัวของเลือดอย่าง วาฟาริน (warfarin) และคูมาริน (coumarin) ชนิดอื่นๆ และการใช้ในระยะยาว
  • ช่วยเร่งการดูดซึมของเมโทโคลพราไมด์ (Metoclopramide) และดอมเพอริโดน (Domperidone)
  • อาจจะเพิ่มระดับยาของโพรเบเนซิด (Probenecid) คลอแรมเฟนิคอล (chloramphenicol)
  • อาจจะลดการดูดซึมของคอเลสไทรามีน (cholestyramine)
  • อาจจะทำให้เกิดภาวะตัวเย็นเกิน (hypothermia) อย่างรุนแรงกับยาฟีโนไทอาซีน (phenothiazine)

เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร เป็นต้น และเพื่อความปลอดภัย คุณไม่ควรเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาพาราเซตามอลอาจอาจทำปฏิกิริยากับอาหารและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยจะปรับเปลี่ยนประสิทธิภาพการทำงานของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดผลข้างเคียงรุนแรงอื่นๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาพาราเซตามอลอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ ถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์และเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติมก่อนการใช้ยานี้

ขนาดยา พาราเซตามอล สำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาเพื่อรักษาไข้หรืออาการปวด

  • ยาแบบออกฤทธิ์ทันที : 325 มก. ถึง 1 กรัม ทุก ๆ 4 – 6 ชั่วโมง โดยขนาดยาสูงสุด 4 กรัม/24 ชั่วโมง
  • ยาแบบออกฤทธิ์นาน : 1300 มก. รับประทานทุก ๆ 8 ชั่วโมง
  • ขนาดยาสูงสุด : 3900 มก. ต่อ 24 ชั่วโมง
  • ทางทวารหนัก : 650 มก./ทุก ๆ 4 – 6 ชั่วโมง โดยมีขนาดยาสูงสุ 3900 มก. /24 ชั่วโมง

ขนาดยาพาราเซตามอลสำหรับเด็ก

ขนาดยาเพื่อรักษาไข้หรืออาการปวด

อายยุน้อยกว่า12 ปี : 10-15 มก./กก./ครั้ง รับประทานทุก ๆ 4-6 ชั่วโมง โดยใช้ขนาดยาสูงสุด : 5 ครั้ง/24 ชั่วโมง

  • อายุ 0-3 เดือน (น้ำหนัก 2.7-5.3 กก.)
    • ขนาดยา : 40 มก./ครั้ง
    • ยาแขวนตะกอนแบบรับประทาน (160 มก./5 มล.) : 1.25 มล.
  • อายุ 4-11 เดือน (น้ำหนัก 5.4-8.1 กก.)
    • ขนาดยา : 80 มก./ครั้ง
    • ยาแขวนตะกอนแบบรับประทาน (160 มก./5 มล.) : 2.5 มล.
  • อายุ 12-23 เดือน (น้ำหนัก 8.2-10.8 กก.)
    • ขนาดยา: 120 มก./ครั้ง
    • ยาแขวนตะกอนแบบรับประทาน (160 มก./5 มล.) : 3.75 มล.
    • ยาแบบเคี้ยว (80 มก./เม็ด) : 1.5 เม็ด
  • อายุ 2-3 ปี (น้ำหนัก 10.9-16.3 กก.)
    • ขนาดยา: 160 มก./ครั้ง
    • ยาแขวนตะกอนแบบรับประทาน (160 มก./5 มล.) : 5 มล.
    • ยาแบบเคี้ยว (80 มก./เม็ด) : 2 เม็ด
    • ยาแบบเคี้ยว (160 มก./เม็ด) : 1 เม็ด
  • อายุ 4-5 ปี (น้ำหนัก 16.4-21.7 กก.)
    • ขนาดยา: 240 มก./ครั้ง
    • ยาแขวนตะกอนแบบรับประทาน (160 มก./5 มล.) : 7.5 มล.
    • ยาแบบเคี้ยว (80 มก./เม็ด) : 3 เม็ด
    • ยาแบบเคี้ยว (160 มก./เม็ด) : 1.5 เม็ด
  • อายุ 6-12 ปี : 325 มก. รับประทานทุกๆ 4-6 ชั่วโมง ห้ามรับประทานเกินกว่า 1.625 กรัม/วัน เป็นเวลานานกว่า 5 วัน เว้นแต่ว่าจะได้รับคำแนะนำจากผู้ดูแลสุขภาพ
  • อายุมากกว่า 12 ปี
    • ยาแรงปกติ : 650 มก. ทุกๆ 4-6 ชั่วโมง ห้ามรับประทานเกินกว่า 3.25 กรัม/24 ชั่วโมง ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพ อาจสามารถใช้ขนาดยาได้สูงสุดถึง 4 กรัม/วัน
    • ยาแรงเป็นพิเศษ : 1000 มก. ทุกๆ 6 ชั่วโมง ห้ามรับประทานเกินกว่า 3 กรัม/24 ชั่วโมง ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพ อาจสามารถใช้ขนาดยาได้สูงสุดถึง 4 กรัม/วัน
    • ยาแบบออกฤทธิ์นาน : 1.3 กรัม ทุกๆ 8 ชั่วโมง ห้ามรับประทานเกินกว่า 3.9 กรัม/24 ชั่วโมง
  • รูปแบบของยา

    ความแรงและรูปแบบการใช้งานมีดังนี้

    • รูปแบบของยา
      • ยาน้ำใส
      • ยาเม็ด (แบบแตกตัวในปาก แบบเคี้ยว แบบออกฤทธิ์นาน แบบฟองฟู่)
      • ยาแคปซูล (มีของเหลวด้านใน)
      • ยาเหน็บ
      • ยาผง ยาผงสำหรับผสมเป็นยาน้ำ
      • ยาไซรัป
      • ยาน้ำแขวนตะกอน (Suspension) ยาอิลิกเซอร์ (Elixir)

    กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

    หากเกิดเหตุฉุกเฉิน หรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งโรงพยาบาลใกล้บ้านโดยทันที

    กรณีลืมใช้ยา

    หากคุณลืมรับประทานยาควรรีบรับประทานทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลารับประทานยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปรับประทานยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

    ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 15/03/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา