backup og meta

ยาขยายหลอดเลือด หนึ่งในทางเลือกที่ใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 06/09/2023

    ยาขยายหลอดเลือด หนึ่งในทางเลือกที่ใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง

    ในปัจจุบันโรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) เป็นอีกหนึ่งโรคที่พบได้บ่อย ผู้ป่วยส่วนใหญ่ต้องรับประทานยาขยายหลอดเลือด เพื่อให้เลือดไหลผ่านหลอดเลือดได้ดีขึ้น การทำความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ ยาขยายหลอดเลือด อาจช่วยให้สามารถใช้ยาได้ถูกต้องมากขึ้นและอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงได้ 

    ทำความรู้จัก ยาขยายหลอดเลือด

    ยาขยายหลอดเลือด (Vasodilator) มีคุณสมบัติช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง ทำให้กล้ามเนื้อในผนังหลอดเลือดคลายตัว ป้องกันไม่ให้ผนังแคบลง ส่งผลให้ท่อหลอดเลือดขยายมากขึ้น เลือดจึงไหลเวียนได้ง่ายขึ้น ช่วยให้ความดันโลหิตลดลง

    อย่างไรก็ตาม กลุ่มยาที่ใช้ในการขยายหลอดเลือดแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ เช่น

    • ไฮดราลาซีน (Hydralazine)
    • ไฮโดรคลอไรด์ (Hydralazine Hydrocholoride) อย่างเช่น อะพรีโซลีน (Apresoline)
    • ไมน็อกซิดิล (Minoxidil) อย่างเช่น โลนิเทน (Loniten)

    สรรพคุณของยาขยายหลอดเลือด

    แพทย์อาจสั่งยาขยายหลอดเลือดหรือเครื่องขยายหลอดเลือด เพื่อช่วยรักษาอาการต่อไปนี้

    การทำงานของยาขยายหลอดเลือด

    ยาขยายหลอดเลือดนั้น ช่วยคลายผนังเส้นเลือดแดงและดำ ป้องกันไม่ให้เส้นเลือดบีบตัว หรือแคบลง แต่ช่วยขยายให้หลอดเลือดใหญ่ขึ้นได้ ส่งผลให้เลือดสามารถไหลเวียนได้ง่ายขึ้น และช่วยให้ความดันลดลง 

    เราสามารถใช้ยาขยายหลอดเลือด เมื่อใช้ยาตัวอื่นเพียงอย่างเดียว แล้วไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ เพราะยาขยายหลอดเลือด มีผลโดยตรงกับผนังเส้นเลือด

    ผลข้างเคียงของยาที่อาจเกิดขึ้น

    ยาขยายหลอดเลือดมีผลข้างเคียงเหมือนยาตัวอื่น ๆ ทั่วไป ซึ่งผลข้างเคียง อาจมีตั้งแต่ระดับปานกลาง ไปจนถึงขั้นรุนแรง ที่ต้องได้รับการดูแลจากแพทย์

    ผลข้างเคียงของยาที่พบได้บ่อย จากการใช้ยาขยายหลอดเลือด คือ

  • ยาไฮดราลาซีน (Hydralazine)  อาจทำให้เกิดอาการปวดหัว หัวใจเต้นผิดปกติ ตาบวม หรือปวดข้อ
  • ยาไมนอกซิดิล (Minoxidil) อาจก่อให้เกิดอาการบวมน้ำ (น้ำหนักตัวขึ้นผิดปกติ) และมีขนงอกมากขึ้น
  • ผลข้างเคียงอื่น ๆ รวมถึงการหายใจติดขัด คลื่นไส้ อาเจียน เจ็บหน้าอก หรือ มีผื่นแดง
  • ผลข้างเคียงเหล่านี้อาจจะพบได้ไม่บ่อย และสามารถหายเองได้ภายในไม่กี่วัน ฉะนั้น หากพบว่า เมื่อรับประทายาเข้าไปแล้วเกิดอาการข้างเคียงดังกล่าวไม่ว่ามากหรือน้อยควรจะหยุดรับประทานยาก่อน

    ในกรณีที่เกิดผลข้างเคียงรุนแรง ควรรีบไปปรึกษาแพทย์และเข้ารับการรักษาทันที การใช้ยาขยายหลอดเลือดนี้สามารถใช้ร่วมกับยาชนิดอื่น ๆได้เพื่อช่วยในการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งปกติแล้วนี่ไม่ใช่ทางเลือกแรก ๆในการใช้ยา ในกรณีที่เกิดอาการปวดหัว หรือปวดข้อ ก็ไม่ควรหยุดยา ก่อนจะได้รับคำแนะนำจากแพทย์

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 06/09/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา