backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ฤาษีผสม (Coleus Forskohlii)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 12/05/2020

ฤาษีผสม (Coleus Forskohlii)

การใช้

ฤาษีผสม ใช้ทำอะไร?

สารฟอร์สโคลิน (Forskolin) เป็นสารที่พบในรากของฤาษีผสม พืชชนิดนี้ถูกนำมาใช้ตั้งแต่สมัยโบราณเพื่อรักษาความผิดปกติของหัวใจ เช่น ความดันโลหิตสูงและอาการเจ็บหน้าอก (โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ) รวมทั้งโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคหอบหืด

การรับประทานฟอร์สโคลินยังช่วยรักษาโรคภูมิแพ้  โรคทางผิวหนัง เช่น กลากและโรคสะเก็ดเงิน โรคอ้วน ปวดประจำเดือน ลำไส้แปรปรวน (IBS) ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (UTI) การติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งระยะสุดท้าย เกล็ดเลือดจับตัวเป็นลิ่ม ปัญหาทางเพศในผู้ชาย ปัญหาการนอน (นอนไม่หลับ) และอาการชัก

ในบางครั้งผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพใช้ สารฟอร์สโคลินฉีดเข้าเส้นเลือดดำ (IV) สำหรับภาวะหัวใจล้มเหลว

บางคนใช้ฟอร์สโคลินในการสูดดมเพื่อรักษาโรคหอบหืด

และการหยดฟอร์สโคลิน ในตายังช่วยในการรักษาโรคต้อหิน

การทำงานของฤาษีผสม

ยังมีการศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสมุนไพรนี้ไม่มากพอ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามเป็นที่รู้กันดีว่า ฤาษีผสมช่วยกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง นอกจากนี้ยังส่งเสริมการเพิ่มน้ำหนักและเพิ่มความอดทนเช่นเดียวกับการเพิ่มเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวนับ และส่งเสริมการไหลเวียนโลหิต

 

ข้อควรระวังและคำเตือน

ควรรู้อะไรก่อนที่จะใช้ฤาษีผสม?

ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร ถ้ามีอาการหรือลักษณะดังต่อไปนี้

–    กำลังตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในระหว่างการมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตรจึงควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น

  • อยู่ในระหว่างการใช้ยาชนิดอื่น รวมไปถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยา
  • มีอาการแพ้สารใดๆ ที่มีสารประกอบของฤาษีผสม ผสมอยู่ หรือยาอื่นๆ
  • มีอาการเจ็บป่วย ความผิดปกติ หรือพยาธิสภาพอื่นๆ
  • มีอาการแพ้ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์
  • ข้อบังคับสำหรับอาหารเสริมประเภทสมุนไพรนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับของการใช้ยา จึงจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัยในการใช้ ประโยชน์ของการรับประทานอาหารเสริมประเภทสมุนไพรนี้จะต้องมีค่าน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

    ฤาษีผสมปลอดภัยแค่ไหน?

    ฤาษีผสมมีความปลอดภัยสูงสำหรับผู้ใหญ่ เมื่อฉีดเข้าเส้นเลือดดำ (IV) สูดดมหรือใช้เป็นยาหยอดตา

     

    ข้อควรระวังและคำเตือนพิเศษ

    การตั้งครรภ์ : ฤาษีผสมอาจไม่ปลอดภัยเมื่อใช้ระหว่างตั้งครรภ์ การใช้ในปริมาณที่มากอาจชะลอหรือหยุดการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ จึงควรอยู่ในความควบคุมที่ปลอดภัยและหลีกเลี่ยงการใช้

    การให้นมบุตร : ยังไม่มีข้อมูลที่เชื่อถือได้เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้ฤาษีผสม ระหว่างให้นมบุตร ควรอยู่ในความควบคุมที่ปลอดภัยและหลีกเลี่ยงการใช้

    ความผิดปกติของเลือด : มีหลักฐานบางอย่างที่แสดงว่าฤาษีผสม อาจเพิ่มความเสี่ยงเลือดออกในบางคน

    โรคหัวใจ : ฤาษีผสมอาจทำให้ความดันโลหิตลดลงได้ และอาจแทรกแซงการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด อาจทำให้อาการเหล่านี้แย่ลง ควรใช้ด้วยความระมัดระวังหากท่านเป็นคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ

    ความดันโลหิตต่ำ : ฤาษีผสมอาจทำให้ความดันโลหิตลดลงได้ ถ้าความดันโลหิตของท่านอยู่ในระดับต่ำแล้ว การใช้ฤาษีผสมอาจทำให้ความดันโลหิตลดลงมากเกินไป

    การผ่าตัด : การใช้ฤาษีผสมอาจทำให้เลือดออกเพิ่มมากขึ้น อาจเพิ่มความเสี่ยงในระหว่างการผ่าตัด ให้หยุดรับประทาน ฤาษีผสม 2 สัปดาห์ก่อนเข้ารับการผ่าตัด

    ผลข้างเคียง

    การให้ฤาษีผสมทาง IV (ฉีดเข้าเส้นเลือดดำ) อาจทำให้ผิวหนังแดงและความดันโลหิตต่ำ เมื่อสูดดมฤาษีผสมจะทำให้เกิดอาการเจ็บคอ  ไอ การสั่นเทาของร่างกายและความกระสับกระส่าย

    สำหรับยาหยอดตาที่มีฤาษีผสมอยู่อาจทำให้เกิดอาการแสบตา

    ผลข้างเคียงที่กล่าวข้างต้นไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน อย่างไรก็ตาม อาจเกิดผลข้างเคียงอื่นนอกเหนือจากที่ระบุไว้ โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์หากกังวลเรื่องผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้น

    ปฏิกิริยาต่อยา

    ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเมื่อใช้ยาอื่นร่วมกับฤาษีผสม

    ฤาษีผสมอาจมีปฏิกิริยากับยาที่ใช้ควบคู่กันในปัจจุบัน ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้ยา

    ผลิตภัณฑ์ที่อาจมีปฏิกิริยากับฤาษีผสม ได้แก่

    – ยารักษาความดันโลหิตสูง (Calcium channel blockers)

    ฤาษีผสมอาจทำให้ความดันโลหิตลดลงได้ การใช้ฤาษีผสมกับยาสำหรับความดันโลหิตสูงอาจทำให้ความดันโลหิตของคุณต่ำเกินไป

    ยาสำหรับความดันโลหิตสูงบางชนิด ได้แก่ ยาไนเฟดิปีน nifedipine (Adalat, Procardia), ยาเวราพามิล verapamil (Calan, Isoptin, Verelan) ยาดิลไทอะเซม diltiazem (Cardizem), ยาอิสราดิปีน isradipine (DynaCirc) ยาฟิโลดิปีน felodipine (Plendil) ยาแอมโลดิปีน amlodipine (Norvasc) และอื่น ๆ

    – ยาที่ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังหัวใจ (Nitrates)

    ฤาษีผสมช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือด การใช้ฤาษีผสมกับยาที่ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังหัวใจ อาจเพิ่มโอกาสของอาการวิงเวียนศีรษะและหน้ามืด

    ยาที่เพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังหัวใจบางชนิด ได้แก่ ยาไนโตรกลีเซอริน nitroglycerin (Nitro-Bid, Nitro-Dur, Nitrostat) และ ยาไอโซซอร์ไบด์ isosorbide (Imdur, Isordil, Sorbitrate)

    – ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulant / Antiplatelet drugs)

    ฤาษีผสมอาจทำให้เลือดแข็งตัวช้า การใช้ฤาษีผสมควบคู่กับยาที่ต้านการแข็งตัวของเลือดอาจเพิ่มโอกาสที่จะมีรอยช้ำและมีเลือดออก

    ยาบางชนิดที่ต้านการแข็งตัวของเลือด ได้แก่ ยาแอสไพริน aspirin ยาโคลพิโดเกรล clopidogrel (Plavix ยาไดโคลฟีแนค diclofenac (ยาโวลทาเรล Voltaren ยาคาทาแฟลม Cataflam อื่นๆ)

    ยาไอบูโพรเฟน ibuprofen (Advil, Motrin อื่นๆ) ยานาพรอกเซน naproxen (Anaprox, Naprosyn  อื่นๆ) dalteparin (Fragmin) ยาอีนอกซาพาริน enoxaparin (Lovenox) ยาเฮพาริน heparin,

    ยาวาร์ฟาริน warfarin (Coumadin) และอื่น ๆ

    ขนาดยา

    ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้เสมอ

    ขนาดปกติของการใช้ฤาษีผสมอยู่ที่เท่าไร?

    ขนาดและปริมาณต่อไปนี้ได้รับการศึกษาและวิจัยทางวิทยาศาสตร์

    หลอดเลือดดำ :

    ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ใช้ฤาษีผสม (ฉีดเข้าเส้นเลือดดำ) รักษาหัวใจในโรคหัวใจพองโตโดยไม่ทราบสาเหตุ

    การสูดดม :

    ภายใต้การดูแลของแพทย์ จะใช้ฤาษีผสมกับผู้ที่เป็นโรคหอบหืด โดยใช้การสูดดมแบบ Spinhaler

    ขนาดและปริมาณการใช้สมุนไพรเสริมนี้ อาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ ปริมาณการใช้ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่นๆ  ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสมุนไพรอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์เพื่อทราบปริมาณยาที่เหมาะสม

    ฤาษีผสมมีจำหน่ายในรูปแบบใดบ้าง?

    ฤาษีผสมอาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้

    – สารสกัดฤาษีผสม

    – สารสกัดฤาษีผสมชนิดแคปซูล

    – ยาหยอดตา

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 12/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา