backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ลีโวบูโนลอล (Levobunolol)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 04/08/2020

ลีโวบูโนลอล (Levobunolol)

ลีโวบูโนลอล (Levobunolol) ใช้เป็นยาเพียงชนิดเดียวหรือใช้ร่วมกับยาอื่นเพื่อรักษาอาการความดันภายในดวงตาสูงเนื่องจากโรคต้อกระหินแบบมุมเปิด หรือโรคดวงตาอื่น ๆ

ข้อบ่งใช้

ลีโวบูโนลอล ใช้สำหรับ

ลีโวบูโนลอล (Levobunolol) ใช้เป็นยาเพียงชนิดเดียวหรือใช้ร่วมกับยาอื่นเพื่อรักษาอาการความดันภายในดวงตาสูงเนื่องจากโรคต้อหินแบบมุมเปิด หรือโรคดวงตาอื่นๆ เช่น ภาวะความดันตาสูง (Ocular hypertension) การลดระดับความดันภายในดวงตาจะช่วยป้องกันอาการตาบอด ยาลีโวบูโนลอลอยู่ในกลุ่มของยาเบต้าบล็อกเกอร์ (Beta blockers) ทำงานโดยการลดปริมาณน้ำภายในดวงตา

วิธีการใช้ยา ลีโวบูโนลอล

ควรล้างมือให้สะอาดก่อนจะหยอดตา เพื่อป้องกันการปนเปื้อนไม่ควรสัมผัสกับปลายขวดยาหรือให้ปลายขวดยาสัมผัสกับดวงตาหรือพื้นผิวอื่นๆ

หากคุณกำลังใส่คอนแทคเลนส์ควรถอดก่อนหยอดยา รอประมาณ 15 นาทีแล้วจึงสวมคอนแทคเลนส์

เงยหน้าขึ้น มองขึ้นไปด้านบนแล้วดึงเปลือกตาล่างลงมาให้เป็นกระพุ้ง ถือขวดยาหยอดตาไว้เหนือดวงตา แล้วหยอดยาหนึ่งหยดลงไปในช่องนั้น โดยปกติแล้วคือวันละครั้งหรือสองครั้ง ตามที่แพทย์กำหนด มองลงมาแล้วค่อย ๆ หลับตานาน 1 ถึง 2 นาที ใช้นิ้วกดลงไปเบา ๆ ที่หัวตา (ใกล้กับจมูก) เพื่อป้องกันไม่ให้ยาไหลออก พยายามอย่ากระพริบตา และอย่าขยี้ตา ทำตามขั้นตอนนี้ซ้ำที่ดวงตาอีกข้าง หากได้รับคำสั่ง หรือต้องหยอดมามากกว่า 1 หยด

อย่าล้างขวดยาหยอดตาและปิดฝาหลังจากใช้งาน

หากคุณกำลังใช้ยาอื่นสำหรับดวงตา เช่น ยาหยอดตาหรือขี้ผึ้งทาตา ควรรออย่างน้อย 5 ถึง 10 นาทีก่อนใช้ยาอื่น ใช้ยาหยอดตาก่อนยาขี้ผึ้งเพื่อให้ยาสามารถเข้าดวงตาได้

ใช้ยานี้เป็นประจำเพื่อให้ได้ประโยชน์จากยาสูงสุด เพื่อให้ง่ายต่อการจำควรใช้ยาในเวลาเดียวกันทุกวัน ควรใช้ยาอย่างต่อเนื่องแม้จะรู้สึกเป็นปกติ ผู้ที่เป็นโรคต้อหินหรือมีความดันในดวงตาสูงส่วนใหญ่จะไม่รู้สึกป่วย

การเก็บรักษายา ลีโวบูโนลอล

ยาลีโวบูโนลอลควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาลีโวบูโนลอลบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัย โปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาลีโวบูโนลอลลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาลีโวบูโนลอล

ก่อนใช้ยาลีโวบูโนลอล แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบหากคุณแพ้ต่อยานี้ ยาในกลุ่มเบต้าบล็อกเกอร์อื่นๆ เช่น ทิโมลอล (Timolol) หรือเมทิพราโนลอล (Metipranolol) หรือหากคุณเป็นโรคภูมิแพ้อื่น ๆ ยานี้อาจมีส่วนผสมที่ไม่มีฤทธิ์ในการรักษา เช่น สารกันบูดอย่างเบนซาลโคเนียมคลอไรด์ (Benzalkonium chloride) หรือซัลไฟต์ (Sulfites) ที่ทำให้เกิดอาการแพ้หรือปัญหาอื่น โปรดปรึกษาเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ไม่ควรใช้ยานี้หากคุณมีสภาวะทางการแพทย์บางอย่าง ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ของคุณ โดยเฉพาะ ปัญหาเกี่ยวกับการหายใจที่รุนแรง เช่น โรคหอบหืดหรือเคยเป็นโรคหอบหืด หรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease) ปัญหาเกี่ยวกับการเต้นของหัวใจบางชนิด เช่น ภาวะชีพจรเต้นช้า หรือสัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกปิดกั้น ระดับสองหรือระดับสาม สภาวะเกี่ยวกับหัวใจที่รุนแรงบางชนิด เช่น ภาวะช็อคจากโรคหัวใจ หรืออาการหัวใจวายอย่างรุนแรง

ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ของคุณ โดยเฉพาะโรคปอด เช่น โรคหลอดลมอักเสบ หรือโรคถุงลมโป่งพอง โรคเบาหวาน หัวใจวาย (ได้รับการรักษาหรืออยู่ในระดับคงตัว) ปัญหาเกี่ยวกับการไหลเวียนโลหิต เช่น ภาวะเลือดไปเลี้ยงเซลล์สมองไม่เพียงพอ (Cerebrovascular insufficiency) ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจี (Myasthenia gravis)

ก่อนการผ่าตัด แจ้งให้แพทย์หรือทันตแพทย์ทราบว่าคุณกำลังใช้ยานี้

ยานี้อาจทำให้เกิดอาการวิงเวียน อย่าขับรถ ใช้เครื่องจักร หรือทำกิจกรรมที่ต้องการความตื่นตัวจนกว่าคุณจะสามารถทำได้อย่างปลอดภัย ควรจำกัดปริมาณเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

หากคุณเป็นโรคเบาหวาน ยานี้อาจปกปิดอาการหัวใจเต้นเร็วหรือรัว ที่มักจะรู้สึกเมื่อระดับของน้ำตาลในเลือดลดลงต่ำเกินไป หรือภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ อาการของระดับน้ำตาลในเลือดต่ำอื่นๆ อย่างวิงเวียนหรือเหงื่อออกนั้นไม่ได้รับผลกระทบจากยานี้

ในช่วงขณะการตั้งครรภ์ควรใช้ยานี้เมื่อจำเป็นเท่านั้น โปรดปรึกษาความเสี่ยงและประโยชน์กับแพทย์

ยังไม่ทราบแน่ชัดว่ายานี้สามารถส่งผ่านน้ำนมแม่ได้หรือไม่ โปรดปรึกษาแพทย์ก่อนให้นมบุตร

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือ เกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

ยาลีโวบูโนลอลจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ หมวด C โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยาลีโวบูโนลอล

อาจเกิดอาการแสบร้อยหรือปวดเหมือนถูกแมลงต่อยที่ดวงตาชั่วคราว มีอาการคันหรือตาแดง ปวดหัว หรือวิงเวียน หากอาการเหล่านี้ไม่หายไปหรือรุนแรงขึ้น โปรดแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรในทันที

โปรดจำไว้ว่า การที่แพทย์ให้คุณใช้ยาตัวนี้ เนื่องจากคำนวณแล้วว่า ยามีประโยชน์มากกว่าเป็นโทษ และคนที่ใช้ยานี้ส่วนใหญ่ไม่พบผลข้างเคียงที่ร้ายแรงใดๆ

แจ้งให้แพทย์ทราบในทันที หากเกิดผลข้างเคียงที่ไม่ค่อยจะเกิดขึ้นแต่รุนแรงดังต่อไปนี้ ได้แก่ มีอาการปวด บวม หรือมีสารคัดหลั่งที่ดวงตา ความรู้สึกที่ดวงตาลดลง หัวใจเต้นช้าหรือผิดปกติ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ผมร่วง มีความเปลี่ยนแปลงทางจิตใจหรืออารมณ์ การมองเห็นเปลี่ยนแปลง เหนื่อยล้า มีอาการบวมที่ข้อเท้าหรือเท้า น้ำหนักขึ้นอย่างรวดเร็ว หรือหาสาเหตุไม่ได้

รับการรักษาทันทีหากเกิดอาการที่หายากแต่รุนแรงมากดังต่อไปนี้ ได้แก่ หายใจติดขัด ปวดหน้าอก รู้สึกอ่อนแรงที่ด้านหนึ่งของลำตัว พูดไม่ชัด สับสน

การแพ้ยาที่รุนแรงต่อยานี้ ค่อนข้างเกิดขึ้นได้ยาก แต่จำเป็นต้องได้รับการรักษาที่ทันท่วงที อาการของการแพ้รุนแรงมีดังนี้ ได้แก่ ผดผื่น คันหรือบวม (โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า ลิ้น และลำคอ) วิงเวียนขั้นรุนแรง หายใจติดขัด

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับยาทั้งหมดที่คุณใช้ ทั้งยาตามใบสั่งยา ยาที่หาซื้อเอง และสมุนไพรต่าง ๆ โดยเฉพาะไดจอกซิน (Digoxin) ยาสำหรับความดันโลหิตสูง เช่น โคลนิดีน (Clonidine) รีเซอร์พีน (Reserpine) ยาในกลุ่มเบต้าบล็อกเกอร์สำหรับรับประทาน เช่น โพรพราโนลอล (Propranolol) ยาในกลุ่มแคลเซียมชาแนลบล็อกเกอร์ (Calcium channel blockers) เช่น ดิลไทอะเซม (Diltiazem) เอพิเนฟรีน (epinephrine) ฟิงโกลิมอด (Fingolimod) ยาในกลุ่มฟีโนไทอาซีน (Phenothiazines) เช่น โปรคลอเปอราซีน (Prochlorperazine)

ยาลีโวบูโนลอลอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่าง ๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาลีโวบูโนลอลอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาลีโวบูโนลอลอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาลีโวบูโนลอลสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะความดันตาสูง (Intraocular Hypertension)

สารละลาย 0.25%: หยดยา 1 ถึง 2 หยดในดวงตาที่มีอาการ วันละสองครั้ง

สารละลาย 0.5%: หยดยา 1 ถึง 2 หยดในดวงตาที่มีอาการ วันละครั้ง

คำแนะนำ

  • สำหรับผู้ป่วยโรคต้อหินที่รุนแรงกว่าหรือไม่สามารถควบคุมได้ สามารถใช้สารละลาย 0.5% วันละสองครั้งได้
  • หากระดับความดันภายในดวงตานั้นยังไม่อยู่ในระดับที่พึงพอใจ อาจเริ่มต้นการรักษาอื่นร่วมกับไดพิเวฟริน (Dipivefrin) และ/หรือเอพิเนฟรีน (Epinephrine)และ/หรือไพโลคาร์พีน (Pilocarpine) และยาหดม่านตาอื่น ๆ (Miotics) และ/หรือให้ยาคาร์บอนิก แอนไฮเดรส อินฮิบิเตอร์ (Carbonic anhydrase inhibitors) ที่ออกฤทธิ์ทั่วร่างกาย เช่นอะเซตาโซลาไมด์ (Acetazolamide)
  • ผู้ป่วยไม่ควรใช้ยาหยอดยายับยั้งเบต้า-อะดรีเนอร์จิก (Beta-adrenergic blocking) เฉพาะที่ร่วมกันสองชนิดขึ้นไป
  • การใช้งาน: เพื่อลดความดันภายในดวงตาในผู้ป่วยที่เป็นโรคต้อหินมุมเปิดเรื้อรังและภาวะความดันตาสูง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคต้อหินชนิดมุมเปิด (Glaucoma [Open Angle])

สารละลาย 0.25%: หยดยา 1 ถึง 2 หยดในดวงตาที่มีอาการ วันละสองครั้ง

สารละลาย 0.5%: หยดยา 1 ถึง 2 หยดในดวงตาที่มีอาการ วันละครั้ง

คำแนะนำ

  • สำหรับผู้ป่วยโรคต้อหินที่รุนแรงกว่าหรือไม่สามารถควบคุมได้ สามารถใช้สารละลาย 0.5% วันละสองครั้งได้
  • หากระดับความดันภายในดวงตานั้นยังไม่อยู่ในระดับที่พึงพอใจ อาจเริ่มต้นการรักษาอื่นร่วมกับไดพิเวฟริน (Dipivefrin) และ/หรือเอพิเนฟรีน (Epinephrine)และ/หรือไพโลคาร์พีน (Pilocarpine) และาหดม่านตาอื่นๆ (Miotics) และ/หรือให้ยาคาร์บอนิก แอนไฮเดรส อินฮิบิเตอร์ (Carbonic anhydrase inhibitors) ที่ออกฤทธิ์ทั่วร่างกาย เช่นอะเซตาโซลาไมด์ (Acetazolamide)
  • ผู้ป่วยไม่ควรใช้ยาหยอดยายับยั้งเบต้า-อะดรีเนอร์จิก (Beta-adrenergic blocking) เฉพาะที่ร่วมกันสองชนิดขึ้นไป
  • การใช้งาน: เพื่อลดความดันภายในดวงตาในผู้ป่วยที่เป็นโรคต้อหินมุมเปิดเรื้อรังและภาวะความดันตาสูง

คำแนะนำอื่น ๆ

คำแนะนำการเก็บรักษา

  • เก็บให้พ้นจากแสง
  • เก็บไว้ที่อุณหภูมิไม่เกิน 25 องศาเซลเซียส (77 ฟาเรนไฮน์)

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย

การซึมซับทั่วร่างกายอาจลดลงเมื่อมีการอุดตันของท่อน้ำตา (Nasolacrimal occlusion) หรือหลับตานาน 2 นาที

ขนาดยาลีโวบูโนลอลสำหรับเด็ก

ยังไม่มีการพิสูจน์ความความปลอดภัยและประสิทธิภาพของขนาดยานี้สำหรับผู้ป่วยเด็ก ยานี้อาจเป็นอันตรายต่อเด็กได้ ดังนั้น จึงควรทำความเข้าใจกับความปลอดภัยของยาก่อนการใช้ยา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดติดต่อกับแพทย์หรือเภสัชกร

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • สารละลายสำหรับหยอดตา

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 04/08/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา