backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

อะซิโทรมัยซิน (Azithromycin)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 06/12/2023

อะซิโทรมัยซิน (Azithromycin)

อะซิโทรมัยซิน (Azithromycin) ใช้เพื่อรักษาอาการติดเชื้อแบคทีเรียต่างๆ เป็นยาปฏิชีวนะประเภทแมคโครไล (macrolide-type antibiotic) ทำงานโดยการยับยั้งการเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย

ข้อบ่งใช้

ยา อะซิโทรมัยซิน ใช้สำหรับ

ยา อะซิโทรมัยซิน (Azithromycin) ใช้เพื่อรักษาอาการติดเชื้อแบคทีเรียต่างๆ เป็นยาปฏิชีวนะประเภทแมคโครไล (macrolide-type antibiotic) ทำงานโดยการยับยั้งการเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย

ยานี้ไม่ได้ผลกับการติดเชื้อไวรัส (เช่น โรคหวัด ไข้หวัดใหญ่) การใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็นหรือไม่ถูกต้อง อาจจะลดประสิทธิภาพได้

วิธีการใช้ยา อะซิโทรมัยซิน

รับประทานยานี้ตามที่แพทย์กำหนดโดยปกติ คือ วันละครั้ง โดยไม่ต้องคำนึงถึงอาหาร อาจรับประทานยานี้พร้อมกับอาหารได้ หากคุณมีอาการปวดท้อง ขนาดยาขึ้นอยู่กับสภาวะและการตอบสนองต่อการรักษา

ยาปฏิชีวนะจะทำงานได้ดี หากมีปริมาณของยาในร่างกายอยู่ในระดับที่คงที่ ดังนั้น จึงควรรับประทานยาในเวลาเดียวกันทุกวัน

ใช้ยานี้อย่างต่อเนื่องจนครบกำหนด แม้ว่าอาการจะหายไปหลังจากผ่านไปไม่กี่วัน การหยุดใช้ยาเร็วเกินไป อาจทำให้เชื้อแบคทีเรียเติบโตต่อไปและอาจทำให้การติดเชื้อกำเริบอีกครั้ง

ยาลดกรดที่มีอลูมิเนียมหรือแมกนีเซียม อาจลดการดูดซึมของยาอะซิโทรมัยซิน หากรับประทานร่วมกัน หากคุณรับประทานยาลดกรดที่มีอลูมิเนียมหรือแมกนีเซียมควรรออย่างน้อย 2 ชั่วโมง ก่อนหรือหลังจากรับประทานยาอะซิโทรมัยซิน

แจ้งให้แพทย์ทราบหากอาการของคุณไม่หายไปหรือแย่ลง

การเก็บรักษายา อะซิโทรมัยซิน

ยาอะซิโทรมัยซินควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาอะซิโทรมัยซินบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัยโปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาอะซิโทรมัยซินลงในชักโครก หรือในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาอะซิโทรมัยซิน

ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์ทราบ ในกรณีดังต่อไปนี้

  • คุณตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากคุณควรใช้ยาตามที่แพทย์กำหนดเท่านั้นหากคุณคาดหวังที่จะตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
  • คุณกำลังใช้ยาอื่นอยู่ รวมทั้งยาที่หาซื้อได้เองโดยไม่ต้องมีใบสั่งยา เช่น สมุนไพร หรือแพทย์ทางเลือก
  • หากคุณเป็นแพ้ส่วนประกอบผสมในยาอะซิโทรมัยซินหรือยาอื่น
  • หากคุณป่วย มีความผิดปกติ หรือมีสภาวะโรคอื่นๆ

แจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณเป็นโรคดีซ่าน คือ มีอาการผิวเหลืองหรือตาเหลือง หรือมีปัญหากับตับ ขณะที่กำลังใช้อะซิโทรมัยซิน แพทย์อาจไม่ให้คุณใช้ยานี้

แจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณหรือคนในครอบครัวคุณ มีอาการ prolonged QT interval ซึ่งเป็นปัญหาของหัวใจที่หายาก ที่อาจทำให้อาการหัวใจเต้นผิดปกติ หมดสติ หรือเสียชีวิตกระทันหัน หรือมีอาการหัวใจเต้นเร็ว ช้า หรือผิดปกติ และหากคุณระดับของแมกนีเซียมหรือโพแทสเซียมในเลือดต่ำ

หากคุณมีการติดเชื้อที่เลือด หัวใจวาย โรคซิสติก ไฟโบรซิส (cystic fibrosis) โรคเอดส์ หรือติดเชื้อ HIV โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจี (Myasthenia gravis) ซึ่งเป็นโรคซึ่งเกิดกับกล้ามเนื้อและเส้นประสาทที่ควบคุมกล้ามเนื้อ หรือหากคุณเป็นโรคไตหรือโรคตับ

ยาลดกรดที่มีอลูมิเนียมไฮดรอกไซด์หรือแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ อย่างเช่น มาล็อกซ์ (Maalox) ไมแลนตา (Mylanta) ทัมส์ (Tums) และอื่นๆ คุณจะต้องเว้นเวลาระหว่างการรับประทานยาลดกรดเหล่านี้กับยาอะซิโทรมัยซินแบบยาเม็ดหรือยาน้ำ สอบถามแพทย์หรือเภสัชกรเกี่ยวกับเวลาที่คุณควรจะเว้นระยะห่าง ก่อนหรือหลังรับประทานยาอะซิโทรมัยซิน สำหรับยาแบบออกฤทธิ์นาน อาจใช้ร่วมกับยาลดกรดเมื่อไรก็ได้

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้ ยาอะซิโทรมัยซินจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ ประเภท B โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยาอะซิโทรมัยซิน

ควรรับการรักษาพยาบาลฉุกเฉินในทันทีหากคุณมีสัญญาณของอาการแพ้ ได้แก่ ลมพิษ หายใจติดขัด บวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือลำคอ

หยุดใช้ยาอะซิโทรมัยซินและติดต่อแพทย์ในทันที หากคุณมีผลข้างเคียงที่รุนแรง ได้แก่

  • ท้องร่วงเหลวเป็นน้ำหรือมีเลือด
  • อาการปวดหัวพร้อมกับปวดหน้าอก และวิงเวียน หมดสติ หรือหัวใจเต้นเร็วอย่างรุนแรง
  • คลื่นไส้ ปวดกระเพาะช่วงบน เบื่ออาหาร อุจจาระคล้ายดินเหนียว ดีซ่าน (ดวงตาและผิวเป็นสีเหลือง)
  • อาการแพ้อย่างรุนแรง เป็นไข้ เจ็บคอ บวมที่ใบหน้าหรือลิ้น แสบร้อนที่ดวงตา ปวดผิว ตามด้วยผดผื่นที่ผิวสีแดงหรือม่วงแพร่กระจาย (โดยเฉพาะที่ใบหน้าหรือร่างกายส่วนบน) และทำให้เกิดแผลพุพองและผิวลอก

ผลข้างเคียงที่รุนแรงน้อยกว่ามีดังนี้ คือ

  • ท้องร่วง อาเจียน ท้องผูกในระดับเบา
  • ปวดท้องหรือท้องไส้ป่วนป่วน
  • วิงเวียน รู้สึกเหนื่อย ปวดหัวเบาๆ
  • รู้สึกกังวลใจ นอนไม่หลับ
  • คันหรือมีสารคัดหลั่งที่อวัยวะเพศ
  • มีผดผื่นหรือคันในระดับเบา
  • มีเสียงรบกวนในหู มีปัญหากับการได้ยิน
  • การรับรสหรือได้กลิ่นลดลง

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษากับแพทย์

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาอะซิโทรมัยซินอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น

คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่าคุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ยาที่อาจจะมีปฏิกิริยากับยานี้มีดังนี้ คือ

  • ยาดรอเพอริดอล (Droperidol)
  • ยาเมทาโดน (Methadone)
  • ยาเนวฟินนาเวียร์ (Nelfinavir)
  • ยาปฏิชีวนะชนิดอื่น — คลาริโทรมัยซิน (clarithromycin) อิริโทรมัยซิน (erythromycin) มอกซิฟลอกซาซิน (moxifloxacin) เพนทามิดีน (pentamidine)
  • ยาต้านการแข็งตัวของเลือด — วาฟาริน (warfarin) คูมาดิน (Coumadin)
  • ยาสำหรับโรคมะเร็ง — อาร์เซนิกไตรออกไซด์ (arsenic trioxide) แวนเดทานิบ (vandetanib)
  • ยาต้านซึมเศร้า — ไซตาโลแพรม (citalopram) เอสซิตาโลแพรม (escitalopram)
  • ยาต้านมาเลเรีย — คลอโรควิน (chloroquine) ฮาโลแฟนทรีน (halofantrine)
  • ยาสำหรับจังหวะการเต้นของหัวใจ — อะมิโอดาโรน (amiodarone) ไดโซไพราไมด์ (disopyramide) โดฟีทิไลด์ (dofetilide) ฟลีเคไนด์ (flecainide) ไอบูทิไลด์ (ibutilide) โปรเคนเอไมด์ (procainamide) ควินิดีน (quinidine) โซทาลอล (sotalol)
  • ยาสำหรับอาการทางจิตเวช — คลอร์โปรมาซีน (chlorpromazine) ฮาโลเพอริดอล (haloperidol) เมโซไรเดซีน (mesoridazine) พิโมไซด์ (pimozide) ไทโอริดาซีน (thioridazine)

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาอะซิโทรมัยซินอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาอะซิโทรมัยซินอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

สภาวะที่อาจจะมีปฏิกิริยากับยานี้ ได้แก่

  • โรคภูมิแพ้ต่อยาปฏิชีวนะแมคโครไลด์ (macrolide) และคีโตไลด์ (ketolide) เช่น คลาริโทรมัยซิน (clarithromycin) อิริโทรมัยซิน (erythromycin) เทลิโทรมัยซิน (telithromycin) ไบแอกซ์ซิน (Biaxin®) เอริแท็บ (Ery-tab®) หรือเคเท็ค (Ketek®)
  • โลหิตเป็นพิษ (Bacteremia)
  • โรคซิสติก ไฟโบรซิส (Cystic fibrosis)
  • การติดเชื้อในสถานพยาบาล
  • ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
  • สภาพร่างกายอ่อนแอ
  • ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ
  • ภาวะแมกนีเซียมต่ำในเลือด
  • หัวใจวาย
  • ท้องร่วง
  • โรคหัวใจ
  • จังหวะการเต้นของหัวใจมีปัญหา
  • โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • โรคไต
  • โรคตับ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาอะซิโทรมัยซินสำหรับผู้ใหญ่

การติดเชื้อที่ผิวหนังและเนื้อเยื่อ – รับประทาน

  • ผู้ใหญ่: 500 มก. วันละครั้ง เป็นเวลา 3 วัน หรืออีกวิธีหนึ่งคือ 500 มก. รับประทานหนึ่งครั้งในวันที่ 1 ตามด้วย 250 มก. วันละครั้ง เป็นเวลา 4 วัน

การติดเชื้อทางเดินหายใจ – รับประทาน

  • ผู้ใหญ่: 500 มก. วันละครั้ง เป็นเวลา 3 วัน หรืออีกวิธีหนึ่งคือ 500 มก. รับประทานหนึ่งครั้งในวันที่ 1 ตามด้วย 250 มก. วันละครั้ง เป็นเวลา 4 วัน

การติดเชื้อที่อวัยวะเพศแบบ Uncomplcated เนื่องจากเชื้อคลาไมเดีย (Chlamydia trachomatis) – รับประทาน

  • ผู้ใหญ่: 1 กรัม หนึ่งครั้ง

โรคหนองในที่ไม่ซับซ้อน – รับประทาน

  • ผู้ใหญ่: 2 กรัม หนึ่งครั้ง

การป้องกันการแพร่กระจายของการติดเชื้อมัยโคแบคทีเรียแอเวียมคอมเพล็กซ์ (Mycobacterium avium complex) – รับประทาน

  • ผู้ใหญ่: 1.2 กรัมต่อสัปดาห์ สำหรับการรักษาหรือการป้องกันแบบทุติยภูมิ: 500 มก. วันละครั้งร่วมกับยาต้านมัยโคแบคทีเรียอื่นๆ
  • เด็ก: อายุมากกว่า 6 เดือน: 10 มก./กก. วันละครั้ง เป็นเวลา 3 วัน

แผลกามโรคเรื้อรังที่ขาหนีบ (Granuloma inguinale) – รับประทาน

  • ผู้ใหญ่: ขนาดยาเริ่มต้น 1 กรัม ตามด้วย 500 มก.ต่อวัน หรืออีกวิธีหนึ่งคือ 1 กรัมต่อสัปดาห์ เป็นเวลาอย่างน้อย 3 สัปดาห์ จนกว่าแผลจะหายสนิท

ฉีดเข้าหลอดเลือด – สำหรับสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อต่อต้านไข้ไทรอยด์ที่มีสาเหตุจากเชื้อซัลโมเนลลาไทฟี (Salmonella typhi)

  • ผู้ใหญ่: 500 มก. วันละครั้ง เป็นเวลา 7 วัน

ขนาดยาอะซิโทรมัยซินสำหรับเด็ก

การติดเชื้อที่ผิวหนังและเนื้อเยื่อ – รับประทาน

  • เด็ก: อายุมากกว่า 6 เดือน: 10 มก./กก. น้ำหนัก 15-25 กก.: 200 มก. น้ำหนัก 26-35 กก.: 300 มก. น้ำหนัก 36-45 กก.: 400 มก.
  • ขนาดยาสำหรับรับประทานวันละครั้งเป็นเวลา 3 วัน

การติดเชื้อทางเดินหายใจ – รับประทาน

  • เด็ก:อายุมากกว่า 6 เดือน: 10 มก./กก. น้ำหนัก 15-25 กก.: 200 มก. น้ำหนัก 26-35 กก.: 300 มก. น้ำหนัก 36-45 กก.: 400 มก.
  • ขนาดยาสำหรับรับประทานวันละครั้งเป็นเวลา 3 วัน

การป้องกันการแพร่กระจายของการติดเชื้อมัยโคแบคทีเรียแอเวียมคอมเพล็กซ์ (Mycobacterium avium complex) – รับประทาน

  • เด็ก: อายุมากกว่า 6 เดือน: 10 มก./กก. วันละครั้ง เป็นเวลา 3 วัน

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาเม็ดสำหรับรับประทาน: 250 มก., 500 มก., 600 มก.
  • ยาน้ำแขวนตะกอนสำหรับรับประทาน: 1 กรัม
  • ยาน้ำแขวนตะกอนสำหรับรับประทาน: 1 กรัม/5 มล.

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมรับประทานยาควรรีบรับประทานทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลารับประทานยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปรับประทานยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 06/12/2023

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา