backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

อะโพไพร็อกซิแคม® (Apo piroxicam®)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

อะโพไพร็อกซิแคม® (Apo piroxicam®)

ข้อบ่งใช้

อะโพไพร็อกซิแคม® ใช้สำหรับ

อะโพไพร็อกซิแคม® (Apo piroxicam®) มักใช้เพื่อบรรเทาอาการของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis) ข้อเสื่อม (osteoarthritis) และโรคข้อสันหลังอักเสบยึดติด (ankylosing spondylitis) อาการที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบในข้อต่อของกระดูกสันหลัง และระหว่างกระดูกสันหลังกับกระดูกเชิงกราน

นอกจากนี้ ยานี้ยังใช้เพื่อบรรเทาอาการปวด และลดอาการบวม อาการอักเสบ โดยการลดสารบางอย่างในร่างกายที่นำไปสู่การอักเสบและอาการปวด

วิธีการใช้ อะโพไพร็อกซิแคม®

รับประทานยานี้ทันทีหลังอาหาร หรือรับประทานคู่กับอาหารหรือนม เพื่อป้องกันอาการท้องไส้ปั่นป่วน ห้ามเคี้ยวยา

การเก็บรักษา อะโพไพร็อกซิแคม®

อะโพไพร็อกซิแคม® ควรเก็บในอุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง อะโพไพร็อกซิแคม®บางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัยโปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งอะโพไพร็อกซิแคม®ลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ เว้นเสียแต่จะได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้อะโพไพร็อกซิแคม®

ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์ทราบถ้าหาก

  • แพ้ยาไพร็อกซิแคม หรือส่วนประกอบอื่นๆ ของยาชนิดนี้
  • มีอาการแพ้ยาแอสไพริน หรือยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (NSAIDs) เช่น ไอบูโพรเฟน (ibuprofen) คีโตโรแลค (ketorolac) ไดโคลฟีแนค (diclofenac)
  • มีอาการแพ้ เช่น อาการน้ำมูกไหล หอบหืด ผื่นผิวหนังคัน ริดสีดวงจมูก (nasal polyps) บวมที่ใบหน้า ลำคอหรือลิ้น ที่เกิดจากยานี้
  • กำลังให้นมบุตร
  • อยู่ในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสที่สาม (3 เดือนสุดท้าย)
  • มีภาวะเลือดออกผิดปกติ
  • โรคลำไส้อักเสบ เช่น โรคลำไส้ใหญ่อักเสบชนิดเป็นแผล (ulcerative colitis) โรคโครห์น (Crohn’s Disease)
  • มีแผลหรือมีเลือดออกในกระเพาะอาหารหรือลำไส้
  • มีเลือดออกในสมอง
  • เพิ่งผ่านหรือหรือกำลังจะผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ
  • มีโพแทสเซียมในเลือดสูง
  • โรคตับหรือ หรือการทำงานของตับลดลงอย่างรุนแรง
  • ภาวะหัวใจล้มเหลวอย่างรุนแรงที่ไม่สามารถควบคุมได้
  • การทำงานของไตลดลงหรือแย่ลงอย่างรุนแรง

ห้ามใช้ยานี้ในรูปแบบเหน็บ หากคุณมีอาการอักเสบ หรือมีเลือดออกจากทวารหนัก หรือลำไส้ใหญ่ปลายเมื่อไม่นานมานี้

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

การตั้งครรภ์

ไม่ควรใช้ยานี้ขณะตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์ หากคุณตั้งครรภ์ขณะใช้ยานี้ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบในทันที

ยานี้อาจจะทำให้ตั้งครรภ์ได้ยากขึ้น หากคุณกำลังพยายามที่จะตั้งครรภ์ไม่ควรใช้ยานี้

การให้นมบุตร 

ยานี้สามารถส่งต่อผ่านทางน้ำนมแม่ได้ หากคุณกำลังให้นมบุตร และกำลังใช้ยานี้ อาจส่งผลต่อลูกของคุณได้ ปรึกษากับแพทย์ว่าคุณควรจะใช้ยานี้ต่อหรือไม่

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้อะโพไพร็อกซิแคม®

ผลข้างเคียงทั่วไปมีดังนี้คือ

  • ปวดท้องหรือกระเพาะอาหารหรือรู้สึกไม่ดี (เล็กน้อยถึงปานกลาง)
  • ง่วงซึม
  • เหนื่อยล้า
  • แสบร้อนกลางอกหรืออาหารไม่ย่อย
  • คลื่นไส้
  • ไวต่อแสงอาทิตย์

แม้ว่าผลข้างเคียงส่วนใหญ่ในรายการด้านล่างนี้ อาจจะเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก แต่มันอาจนำไปสู่ปัญหาที่ร้ายแรงได้หากคุณไม่รับการรักษา ไปหาแพทย์ให้ให้เร็วที่สุด หากคุณมีผลข้างเคียงดังต่อไปนี้

  • มีสัญญาณของปัญหาการแข็งตัวของเลือด (เช่น เลือดกำเดาออกผิดปกติ รอยช้ำ มีเลือดในปัสสาวะ ไอเป็นเลือด มีเลือดออกที่เหงือก มีรอยบาดที่เลือดไม่ยอมหยุดไหล)
  • มีสัญญาณของภาวะซึมเศร้า (เช่น ไม่มีสมาธิ น้ำหนักเปลี่ยนแปลง การนอนหลับเปลี่ยนแปลง ความสนใจในกิจกรรมลดลง มีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย)
  • ผิวมีความรู้สึกไวต่อแสงแดดมากขึ้น
  • มีอาการระคายเคืองทางทวารหนัก (ใช้ยาเหน็บทวาร)
  • มีสัญญาณของปัญหาเกี่ยวกับตับ (เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ผิวเหลืองหรือตาเป็นสีขาว ปัสสาวะสีเข้ม อุจจาระมีสีซีด)
  • มีผดผื่นที่ผิวหนัง
  • มีแผลในปาก
  • มีอาการบวมที่เท้า ขาส่วนล่าง และมือ
  • มีปัญหากับการปัสสาวะ เช่น ปวดกระเพาะปัสสาวะ มีอาการปวดขณะปัสสาวะ ปัสสาวะบ่อย
  • อาเจียนหรือคลื่นไส้บ่อยๆ ปวดท้อง หรือท้องร่วง
  • มีเลือดออกจากปลายลำไส้ใหญ่ (ใช้ยาเหน็บทวาร)
  • สับสน
  • ได้ยินไม่ถนัด
  • มึนงงหรือวิงเวียน
  • มีอาการเหมือนเป็นไข้ เช่น อาการปวด หนาวสั่น มีไข้
  • ปวดหัวหรือคอแข็งเกร็ง
  • แสบร้อนกลางอก (บ่อยครั้ง)

หยุดใช้ยานี้ และรับการรักษาในทันที หากมีอาการดังต่อไปนี้

  • มองเห็นไม่ชัด หรือมีการรบกวนการมองเห็น
  • ปริมาณหรือสีของปัสสาวะเปลี่ยนแปลง
  • มีสัญญาณของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากไวรัส (aseptic meningitis) เช่น คอเกร็งแข็ง ปวดหัวรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน มีไข้ หรือสติเปลี่ยนแปลง
  • มีสัญญาณเลือดออกในกระเพาะอาหาร เช่น อุจจาระเป็นสีเลือด สีดำ หรือเหมือนยางมะตอย ถ่มน้ำลายมีเลือด อาเจียนมีเลือด หรือมีลักษณะคล้ายกับกากกาแฟ)
  • มีสัญญาณของหัวใจล้มเหลวฉับพลัน เช่น เจ็บหน้าอก มีอาการปวดที่ไหล่และแขน คลื่นไส้และอาเจียน เหงื่อออก)
  • มีสัญญาณของปฏิกิริยาที่ผิวอย่างรุนแรง เช่น แผลพุพอง ลอก มีผดผื่นเป้นบริเวณกว้างบนร่างกาย ผดผื่นที่กระจายตัวได้เร็ว หรือมีผดผื่นคู่กับไข้หรืออาการไม่สบาย
  • มีสัญญาณของโรคหลอดเลือดสมอง เช่น ปวดหัวฉับพลันหรือรุนแรง เสียความสมดุลฉับพลัน การมองเห็นเปลี่ยนไป พูดไม่ชัดฉับพลัน หรือมีอาการอ่อนแรง ชา หรืออาการปวดที่แขนหรือขาที่หาสาเหตุไม่ได้
  • มีอาการแพ้ที่รุนแรง เช่น ลมพิษ หายใจติดขัด บวมที่ใบหน้า ลำคอ หรือลิ้น

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ หรืออาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาหมอของคุณ

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

อะโพไพร็อกซิแคม®อาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่าคุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนยาโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

อะโพไพร็อกซิแคม®อาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

อะโพไพร็อกซิแคม®อาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

อาการและโรคต่อไปนี้อาจส่งผลต่อการใช้ยานี้

  • โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากไวรัส (Aseptic meningitis)
  • ปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะ
  • การแข็งตัวของเลือด
  • จำนวนเม็ดเลือด
  • อาการง่วงซึม/ความตื่นตัวลดลง
  • ความสมดุลของของเหลวและอิเล็กโทรไลต์
  • หัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน และโรคหลอดเลือดสมอง
  • การทำงานของไต
  • การทำงานของตับ
  • ปฏิกิริยาทางผิวหนัง
  • มีแผลหรือมีเลือดออกในกระเพาะอาหารหรือลำไส้

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์และเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติมก่อนการใช้ยานี้

ขนาดยาของอะโพไพร็อกซิแคม®สำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาที่แนะนำคือตั้งแต่ 10 มก. ถึง 20 มก. ต่อวัน ขึ้นอยู่กับความจำเป็นและสถานการณ์

ขนาดยา 20 มก. สามารถรับประทานแบบครั้งละ 20 มก. วันละครั้ง หรือครั้งละ 10 มก. วันละสองครั้ง

ขนาดยาสูงสุดโดยปกติคือ 20 มก.ต่อวัน

ยาเหน็บไพร็อกซิแคมอาจจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ควรใช้ยาในขนาดที่ต่ำที่สุดและใช้ในเวลาที่สั้นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ขนาดยาของอะโพไพร็อกซิแคม®สำหรับเด็ก

ยังไม่มีการจัดขนาดยาสำหรับเด็กที่อายุต่ำกว่า 16 ปี ดังนั้น การใช้ยากับเด็กจึงอาจยังไม่ปลอดภัย ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อทำความเข้าใจกับตัวยาก่อนการใช้งาน

รูปแบบของอะโพไพร็อกซิแคม®

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาแคปซูล 10 มก.
  • ยาแคปซูล 20 มก.

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาและรับประทานยาไพร็อกซิแคมวันละครั้ง ให้รับประทานภายใน 8 ชั่วโมงของเวลาที่รับประทานยาปกติ และรับประทานยาครั้งต่อไปตามตารางปกติ

หากคุณลืมรับประทานยานานกว่า 8 ชั่วโมง ให้ข้ามยาครั้งนั้น และรับประทานยาครั้งต่อไปตามตารางปกติ

หากคุณลืมใช้ยาและต้องรับประทานยานี้วันละสองครั้ง ให้รับประทานภายใน 2 ชั่วโมงของเวลายาปกติ และรับประทานยาครั้งต่อไปตามตารางปกติ

หากคุณลืมรับประทานยานานกว่า 2 ชั่วโมง ให้ข้ามยาครั้งนั้น และรับประทานยาครั้งต่อไปตามตารางปกติ

อย่าเพิ่มขนาดยาเพื่อชดเชยยาที่ข้ามไป หากคุณไม่แน่ใจว่าจะทำอะไรหลังจากที่ลืมรับประทานยาให้ปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา