backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

อีพินาสทีน (Epinastine)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

อีพินาสทีน (Epinastine)

ข้อบ่งใช้

อีพินาสทีน ใช้สำหรับ

อีพินาสทีน (Epinastine) มักจะใช้หยอดตาเพื่อป้องกันอาการคันที่ดวงตาเนื่องจากโรคภูมิแพ้ หรือภาวะเยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ (allergic conjunctivitis)

วิธีการใช้ยาอีพินาสทีน

ใช้ยานี้กับดวงตาทั้งสองข้าง โดยปกติคือวันละ 2 ครั้งหรือตามที่แพทย์กำหนด ควรใช้ยานี้อย่างต่อเนื่องในช่วงที่คุณอาจจะต้องสัมผัสกับสาร เช่น สารก่อภูมิแพ้หรือมลพิษที่ทำให้เกิดภาวะเยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ แม้ว่าคุณจะไม่มีอาการระคายเคืองหรืออาการคันก็ตาม

หากคุณสวมคอนแทคเลนส์ ควรถอดคอนแทคเลนส์ก่อนใช้ยา หลังจากใช้ยาแล้วควรรออย่างน้อย 10 นาทีค่อยสวมคอนแทคเลนส์ใส่กลับเข้าไป

ควรล้างมือก่อนใช้ยา เพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนอย่าให้ปลายขวดสัมผัสกับดวงตาหรือพื้นผิวใดๆ

หงายหน้าขึ้น มองลงมาแล้วดึงเปลือกตาล่างให้เป็นช่องเล็กๆ ถือขวดหน้าไว้เหนือดวงตาแล้วหยดยาลงไปตามจำนวนหยดที่กำหนด มองขึ้นแล้วค่อยๆ หลับตานาน 1-2 นาที กดลงที่หัวตาเบาๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ยาไหลออก พยายามอย่ากะพริบตาหรือขยี้ตา

อย่าล้างขวดยาและปิดฝาให้สนิททุกครั้งหลังใช้งาน

หากคุณกำลังใช้ยาอื่นๆ สำหรับดวงตา (เช่น ยาหยอดตาหรือยาขี้ผึ้ง) ควรรออย่างน้อย 10 นาทีหลังจากใช้ยานี้แล้วจึงค่อยใช้ยาอื่น ควรใช้ยาหยอดตาก่อนยาขี้ผึ้งเพื่อให้ยาสามารถเข้าในดวงตาได้

การเก็บรักษายาอีพินาสทีน

ยาอีพินาสทีน ควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาอีพินาสทีน บางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัยโปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาอีพินาสทีน ลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูก สอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาอีพินาสทีน

ก่อนใช้ยาอีพินาสทีน แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบหากคุณแพ้ต่อยานี้ หรือหากคุณเป็นโรคภูมิแพ้อื่นๆ ยานี้อาจมีส่วนประกอบไม่ออกฤทธิ์ที่ทำให้เกิดอาการแพ้หรือปัญหาอื่น โปรดปรึกษาเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ก่อนการผ่าตัด แจ้งให้แพทย์หรือทันตแพทย์ทราบว่าคุณกำลังใช้ยานี้

หากคุณสวมคอนแทคเลนส์ โปรดปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการสวมคอนแทคเลนส์เมื่อมีอาการตาแดงหรือระคายเคือง

ยานี้อาจทำให้คุณมองเห็นไม่ชัดชั่วคราวหลังจากใช้ยา อย่าขับรถ ใช้เครื่องจักร หรือทำกิจกรรมที่ต้องการการมองเห็นที่ชัดเจนจนกว่าคุณจะสามารถทำได้อย่างปลอดภัย

ในช่วงขณะการตั้งครรภ์ควรใช้ยานี้เมื่อจำเป็นเท่านั้น โปรดปรึกษาความเสี่ยงและประโยชน์กับแพทย์

ยังไม่ทราบแน่ชัดว่ายานี้สามารถส่งผ่านเข้าสู่น้ำนมแม่ได้หรือไม่ โปรดปรึกษาแพทย์ก่อนให้นมบุตร

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยา

ยาอีพินาสทีนจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด C โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยาอีพินาสทีน

อาจเกิดอาการแสบ ตาแดง หรือปวดหัว หากอาการเหล่านี้ไม่หายไปหรือรุนแรงขึ้นโปรดแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรในทันที

โปรดจำไว้ว่าการที่แพทย์ให้คุณใช้ยาตัวนี้เนื่องจากคำนวณแล้วว่ายามีประโยชน์มากกว่าเป็นโทษ และคนที่ใช้ยานี้ส่วนใหญ่ไม่พบผลข้างเคียงที่ร้ายแรงใดๆ

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับยาทั้งหมดที่คุณใช้ ทั้งยาตามใบสั่งยา ยาที่หาซื้อเอง และสมุนไพรต่างๆ โดยเฉพาะยาอื่นๆ สำหรับดวงตา

ยาอีพินาสทีนอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาอีพินาสทีนอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาอีพินาสทีนอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาอีพินาสทีนสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะเยื่อตาอักเสบจากภูมิแพ้

หยอดยา 1 หยดลงในดวงตาแต่ละข้าง วันละ 2 ครั้ง

คำแนะนำ ควรดำเนินการรักษาอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงเวลาที่ได้รับสารที่ก่ออาการแม้ว่าจะไม่มีอาการใดๆ

การใช้งาน เพื่อป้องกันอาการคันที่เกี่ยวข้องกับภาวะเยื่อตาอักเสบจากภูมิแพ้

การปรับขนาดยาสำหรับไต

ไม่มีการปรับขนาดยาที่แนะนำ

การปรับขนาดยาสำหรับตับ

ไม่มีการปรับขนาดยาที่แนะนำ

คำแนะนำอื่นๆ

คำแนะนำการใช้งาน

-ใช้สำหรับดวงตาเท่านั้น

-ควรถอดคอนแทคเลนส์ก่อนใช้ยา สามารถสวมกลับเข้าไปได้หลังจากผ่านไป 10 นาที

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย

-ผู้ป่วยไม่ควรให้ปลายขวดสัมผัสกับดวงตา แขน หรือพื้นผิวอื่นๆ เพื่อป้องกันการปนเปื้อน

ขนาดยาอีพินาสทีนสำหรับเด็ก

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาภาวะเยื่อตาอักเสบจากภูมิแพ้

อายุ 2 ปีขึ้นไป

หยอดยา 1 หยดลงในดวงตาแต่ละข้าง วันละ 2 ครั้ง

คำแนะนำ ควรดำเนินการรักษาอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงเวลาที่สัมผัสกับสารที่ก่อการระคายเคืองแม้ว่าจะไม่มีอาการใดๆ

การใช้งาน เพื่อป้องกันอาการคันที่เกี่ยวข้องกับภาวะเยื่อตาอักเสบจากภูมิแพ้

ข้อควรระวัง

ยังไม่มีการพิสูจน์ความปลอดภัยและประสิทธิภาพสำหรับผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 2 ปี

รูปแบบของยา

ขนาดและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาหยอดตา

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา