backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ฮิวเปอร์ซีน-เอ (Huperzine A)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 06/08/2020

ฮิวเปอร์ซีน-เอ (Huperzine A)

ฮิวเปอร์ซีน-เอ ได้รับการแนะนำให้ใช้ในการรักษาอาการบางอย่างของภาวะหลอดเลือดดำ รวมทั้งปวดขา หรืออาการคัน อาการบวมที่ขา และภาวะคั่งน้ำ

สรรพคุณของฮิวเปอร์ซีน-เอ

ฮิวเปอร์ซีน-เอ ได้รับการแนะนำให้ใช้ในการรักษาอาการบางอย่างของภาวะเลือดดำพร่องเรื้อรัง (ลดการไหลกลับของเลือดจากเท้าและขาไปยังหัวใจ) รวมทั้งปวดขา หรืออาการกดเจ็บ หลอดเลือดดำขอด อาการคัน หรือการบวมที่ขา และภาวะคั่งน้ำ (บวม หรือข้อเท้าหรือเท้าขยายใหญ่)

การใช้อื่น ๆ ยังไม่มีการพิสูจน์จากงานวิจัย เช่น

ฮิวเปอร์ซีน-เอ อาจจะใช้กับอย่างอื่น สอบถามแพทย์ หรือเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

กลไกการออกฤทธิ์

ฮิวเปอร์ซีน-เอใช้รักษาหรือบรรเทาโรคได้บางประเภท เช่น ความจำ ความบกพร่องทางจิต (โรคสมองเสื่อม) และ ความผิดปกติของกล้ามเนื้อ โรคอัมพาตของกล้ามเนื้อ ซึ่งเกิดจากเพิ่มระดับของอะเซติลโคลีน (Acetylcholine) ซึ่งเป็นสารเคมีที่เส้นประสาทใช้ติดต่อสื่อสารภายในสมอง กล้ามเนื้อ และบริเวณอื่น ๆ ควรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร หรือ แพทย์ 

ข้อควรระวังและคำเตือน

สิ่งที่ควรทราบก่อนใช้ฮิวเปอร์ซีน-เอ

ปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร ถ้ามีอาการในลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • กำลังตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เพราะช่วงที่ควรได้รับยาตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น
  • กำลังใช้ยาชนิดอื่นๆ ซึ่งรวมถึงยาที่ซื้อโดยไม่ต้องมีใบสั่งยา
  • แพ้สารที่อยู่ในฮิวเปอร์ซีน-เอ หรือแพ้ยาและสมุนไพรชนิดอื่น
  • มีอาการป่วย มีความผิดปกติ หรือ พยาธิสภาพอื่น
  • มีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น แพ้อาหาร แพ้สีผสมอาหาร แพ้สารกันบูด หรือแพ้เนื้อสัตว์

ข้อกำหนดสำหรับอาหารเสริมประเภทสมุนไพรนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าการใช้ยาทั่วไป ควรศึกษาเพิ่มเติมเพื่อรับรองความความปลอดภัยและมั่นใจว่ายาชนิดนี้มีคุณประโยชน์มากกว่าอันตราย ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ความปลอดภัของการใช้ฮิวเปอร์ซีน-เอ

เด็ก 

การใช้ฮิวเปอร์ซีน-เอในเด็กถือได้ว่ามีความปลอดภัย หากรับประทานเป็นระยะเวลาสั้น ๆ (น้อยกว่า 1 เดือน)

หญิงตั้งครรภ์และผู้ที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร

ข้อมูลที่น่าเชื่อถือยังไม่เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้ฮิวเปอร์ซีน-เอ ระหว่างการตั้งครรภ์และให้นมบุตร  เพื่อความปลอดภัย ควรหลีกเลี่ยงการใช้

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ฮิวเปอร์ซีน-เอ

ฮิวเปอร์ซีน-เออาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น

อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคนและอาจเกิดผลข้างเคียงอื่น ๆ ที่ไม่ได้กล่าวไว้ข้างต้น หากคุณมีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องผลข้างเคียงควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์

ปฏิกิริยาระหว่างการใช้ยา

เกิดปฏิกิริยาอย่างไรเมื่อใช้ฮิวเปอร์ซีน-เอ

ฮิวเปอร์ซีน-เออาจทำปฏิกิริยากับยาที่คุณใช้อยู่หรือส่งผลกระทบกับการรักษาของคุณในปัจจุบัน ดังนั้น ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้

ฮิวเปอร์ซีน-เอมีปฏิกิริยากับยาตัวอื่นที่ออกฤทธิ์ในการบรรเทาภาวะสุขภาพ หรือ เป็นยารักษาโรค ดังนี้

ยาอบแห้ง

ฮิวเปอร์ซีน-เอมีสารเคมีอื่น ๆ ที่มีผลกระทบการสมองและหัวใจ ซึ่งในตัวยาอบแห้งที่อยูในกลุ่ม ยาต้านซึมเศร้า (Anticholinergic) ก็มีผลต่อสมองและหัวใจเหมือนกัน แต่ฮิวเปอร์ซีน-เอ มีการออกฤทธิ์ แตกต่างจากยาอบแห้งกลุ่มนี้ อาจจะมีผลในการลดผลการรักษาของตัวยากลุ่มนี้ได้

ซึ่งยาอบแห้ง ประกอบด้วยตัวยาอื่น ๆ เช่น ยาอะโทรพีน (Atropine) ยาระงับประสาท และยารักษาโรคบางชนิดที่ใช้สำหรับอาการแพ้ (สารต้านฮิสทามีน (Antihistamines)) และสำหรับภาวะซึมเศร้า (ยารักษาโรคซึมเศร้า)

ยาสำหรับโรคอัลไซเมอร์

ฮิวเปอร์ซีน-เอจะมีสารเคมีที่มีผลกระทบกับสมอง ยารักษาโรคอัลไซเมอร์ก็มีผลกระทบกับสมองเช่นกัน การใช้ฮิวเปอร์ซีน-เอร่วมกับยารักษาโรคอัลไซเมอร์อาจเพิ่มผลกระทบและผลข้างเคียงของยารักษาโรคอัลไซเมอร์

ยาชนิดต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับโรคต้อหิน โรคอัลไซเมอร์ และอื่น ๆ

ประสิทธิภาพของฮิวเปอร์ซีน-เอคล้ายคลึงกับยารักษาโรคบางชนิดที่ใช้สำหรับโรคต้อหิน โรคอัลไซเมอร์ และความเจ็บป่วยอื่น ๆ ดังนั้นการใช้ฮิวเปอร์ซีน-เอร่วมกับยารักษาโรคที่กล่าวมานี้อาจเพิ่มโอกาสให้เกิดผลข้างเคียง

ยารักษาโรคบางชนิดสำหรับโรคต้อหิน โรคอัลไซเมอร์ และอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ มีดังนี้ พิโลคาร์พีน (Pilocarpine ชื่อการค้า Pilocar และอื่นๆ) ยาโดนีพีซิล (Donepezil ชื่อการค้า Aricept) ยาทาไคลด์ (Tacrine (ชื่อการค้า Cognex))

หัวใจเต้นช้าหรือโรคหัวใจอื่น ๆ

ฮิวเปอร์ซีน-เอสามารถชะลออัตราการเต้นหัวใจ จึงอาจเป็นปัญหาสำหรับคนที่อัตราการเต้นของหัวใจช้าอยู่แล้ว หรือมีอาการเจ็บป่วยทางด้านหัวใจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอัตราการเต้นของหัวใจ

รคลมบ้าหมู

ฮิวเปอร์ซีน-เออาจทำให้โรคลมบ้าหมูแย่ลง เพราะฮิวเปอร์ซีน-เออาจมีผลกระทบกับสารเคมีในสมอง

ระบบทางเดินอาหารอุดตัน

มีความกังวลว่าการใช้ฮิวเปอร์ซีน-เออาจทำให้ระบบทางเดินอาหารอุดตันแย่ลง เพราะฮิวเปอร์ซีน-เอสามารถสร้างเมือกและขับของเหลวที่ลำไส้เป็นเหตุให้เกิดการคั่ง

เจ็บในกระเพาะอาหาร หรือ ลำไส้เล็กส่วนต้น (แผลในกระเพาะอาหาร)

มีความกังวลว่าการใช้ฮิวเปอร์ซีน-เออาจทำให้แผลในกระเพาะอาหารแย่ลง เพราะว่าฮิวเปอร์ซีน-เอสามารถเพิ่มเมือกและขับของเหลวที่กระเพาะอาหารและลำไส้ เป็นเหตุให้เกิดการคั่ง

การเจ็บป่วยที่ปอด เช่น โรคหืด หรือ โรคถุงลมโป่งพอง

ฮิวเปอร์ซีน-เอสามารถเพิ่มเมือกและการขับของเหลวในปอด เป็นเหตุให้เกิดการคั่ง ดังนั้นการใช้ฮิวเปอร์ซีน-เออาจทำให้โรคหืด หรือ โรคถุงลมโป่งพองแย่ลงจากเดิม

ทางเดินปัสสาวะ หรือ ระบบอวัยวะสืบพันธุ์อุดตัน

ฮิวเปอร์ซีน-เออาจทำให้การอุดตันของปัสสาวะหรือระบบอวัยวะสืบพันธุ์แย่ลงเพราะว่าฮิวเปอร์ซีน-เอสามารถเพิ่มเมือกและการขับของเหลวในอวัยวะ เป็นเหตุให้เกิดการคั่งของเมือกและของเหลวในระบบอวัยวะดังกล่าวได้

ปริมาณการใช้ยา

ข้อมูลนี้ไม่ใช่สามรถแทนคำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้ยานี้ทุกครั้ง

ปริมาณการใช้ฮิวเปอร์ซีน-เอทั่วไปอยู่ที่เท่าไร

ชนิดรับประทาน

สำหรับโรคอัลไซเมอร์และทักษะการคิดที่ลดลง เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดในสมอง ใช้ขนาดยาฮิวเปอร์ซีน-เอ 50 200 ไมโครกรัม 2 ครั้งต่อวัน

สำหรับการลดลงของทักษะการคิดที่เกิดจากวัย ขนาดยา 30 ไมโครกรัม 2 ครั้งต่อวัน

สำหรับการทำให้ความจำดีขึ้นในเด็กวัยรุ่น ขนาดยา 100 ไมโครกรัม 2 ครั้งต่อวัน

ชนิดฉีด

สำหรับการป้องกันกล้ามเนื้ออ่อนแอที่ทำให้เกิดโรคอัมพาตของกล้ามเนื้อ ผู้ให้บริการด้านการแพทย์ฉีดฮิวเปอร์ซีน-เอให้ผู้ป่วยทุกวัน

ผู้ป่วยแต่ละคนอาจใช้ฮิวเปอร์ซีน-เอในปริมาณที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพ และเงื่อนไขอื่น ๆ สมุนไพรไม่ได้รับรองความปลอดภัยเสมอไป ควรสอบถามแพทย์สำหรับปริมาณการใช้ที่เหมาะสมกับตนเอง

รูปแบบของฮิวเปอร์ซีน-เอมี

ฮิวเปอร์ซีน-เออาจพบได้ในรูปแบบต่อไปนี้

  • ฮิวเปอร์ซีน-เอแบบยาเม็ด
  • ฮิวเปอร์ซีน-เอแบบแคปซูล
  • ฮิวเปอร์ซีน-เอโซลูชั่นสำหรับฉีด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 06/08/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา