backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

เตตระไฮโดรโซลีน (Tetrahydrozoline)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

เตตระไฮโดรโซลีน (Tetrahydrozoline)

ยา เตตระไฮโดรโซลีน (Tetrahydrozoline) เป็นยาที่ใช้เพื่อบรรเทาอาการตาแดง ที่มีสาเหตุมาจากการระคายเคืองของตา

ข้อบ่งใช้

ยา เตตระไฮโดรโซลีน ใช้สำหรับ

ยาเตตระไฮโดรโซลีน (Tetrahydrozoline) เป็นยาที่ใช้เพื่อบรรเทาอาการตาแดง ที่มีสาเหตุมาจากการระคายเคืองของตา อย่างเช่น จากหมอก จากการว่ายน้ำ จากฝุ่นละอองหรือควันบุหรี่ จัดอยู่ในตระกูลยาที่เรียกว่า ซิมพาโทมิเมติคเอมีน (sympathomimetic amines) ตัวยาจะทำงานโดยการทำให้หลอดเลือดในตาหดตัว

ยาหยอดตาเตตระไฮโดรโซลีนอาจมีส่วนผสมของสารหล่อลื่น สารหล่อลื่นจะช่วยป้องกันดวงตาจากการระคายเคืองและความแห้ง

วิธีใช้ยา เตตระไฮโดรโซลีน

ล้างมือของคุณก่อนใช้ยาหยอดตาเสมอ เขย่าขวดยาให้ดีก่อนใช้ อย่าสัมผัสกับส่วนปลาย ของหลอดหยอดตา หรือไม่ให้ส่วนปลายสัมผัสกับดวงตาหรือพื้นผิวใดๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ ถอดคอนแทคเลนส์ก่อนที่จะใช้ยาหยอดตา คอนแทคเลนส์อาจไปดูดซึมสารกันเสียของยาตัวนี้ รออย่างน้อย 10 นาทีหลังใช้ยา ก่อนใส่คอนแทคเลนส์อีกครั้ง

เช็กผลิตภัณฑ์ด้วยตาก่อนใช้ อย่าใช้ หากตัวยาเปลี่ยนสี หรือมีสีขุ่น ทิ้งยาให้ห่างจากเด็กและสัตว์เลี้ยง

ใช้ยาตัวนี้ลงไปในตาข้างที่มีอาการ ความถี่ของการหยอดมากสุด 4 ครั้งต่อวัน หรือตามที่หมอสั่ง

ขั้นตอน วิธีการใช้ยา เตตระไฮโดรโซลีน

  • เงยหัวไปด้านหลัง เหลือบตาขึ้นไปข้างบน
  • ค่อยดึงเปลือกตาล่างให้เป็นถุงตา
  • จับที่หยอดตาไว้เหนือตา และหยอดยา 1 หยดลงไปในถุงตา
  • มองลงมา และค่อยๆ หลับตาเป็นเวลา 1-2 นาที
  • พยายามไม่กระพริบและไม่ขยี้ตาของคุณเป็นเวลา 1-2 นาที
  • วางนิ้วไว้ที่หัวมุมตา (ใกล้กับจมูก) และกดเบาๆ วิธีนี้จะช่วยไม่ให้ตัวยาไหลออก พยายามไม่กระพริบและไม่ขยี้ตาของคุณ
  • ทำซ้ำอีกครั้งกับดวงตาอีกข้าง หากต้องใช้ขนาดยามากกว่า 1 หยด และทำซ้ำอีกครั้งกับดวงตาอีกข้างหากหมอสั่ง

อย่าล้างที่หยอดตา ปิดฝายาหยอดตาทุกครั้งหลังการใช้งาน หากคุณกำลังใช้ยาตาประเภทอื่น (ตัวอย่างเช่น ยาหยอดตาอื่นๆ หรือขี้ผึ้งทาตา) รออย่างน้อย 5 นาทีก่อนจะใช้ยาอื่น ใช้ยาหยอดตาก่อนใช้ขี้ผึ้งทาตา เพื่อให้ยาหยอดตาซึมเข้าไปในตา

การใช้ยาตัวนี้เกินขนาด อาจนำไปสู่อาการตาแดงมากขึ้น (ผลกระทบเกิดซ้ำ เมื่อยาออกฤทธิ์) หากอาการนี้เกิดขึ้น บอกหมอของคุณ อย่าใช้ยาตัวนี้นานกว่า 3 ถึง 4 วัน

หากอาการของคุณยังเป็นต่อเนื่อง หรือทรุดลงหลังผ่านไป 72 ชั่วโมง หรือหากคุณคิดว่าคุณอาจมีอาการทางการแพทย์รุนแรงอื่นๆ หยุดใช้ยา และเข้ารับการรักษาทันที

วิธีเก็บรักษายา เตตระไฮโดรโซลีน

ควรเก็บรักษายาเตตระไฮโดรโซลีนไว้ในอุณหภูมิห้อง ห่างไกลจากแสงแดดและความชื้น เพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพของตัวยา คุณไม่ควรเก็บยาเตตระไฮโดรโซลีนในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง อาจมียาเตตระไฮโดรโซลีนหลายยี่ห้อที่ต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาสำหรับคำแนะนำในการเก็บรักษา หรือสอบถามจากเภสัชกร เพื่อความปลอดภัย คุณควรเก็บยาให้ห่างจากเด็กและสัตว์เลี้ยง

คุณไม่ควรทิ้งยาเตตระไฮโดรโซลีนลงในชักโครก หรือทิ้งลงท่อระบายน้ำ เว้นแต่จะได้รับคำแนะนำเช่นนั้น เป็นเรื่องสำคัญในการทิ้งยาให้เหมาะสม เมื่อยาหมดอายุ หรือไม่จำเป็นต้องใช้แล้ว ปรึกษากับเภสัชกรของคุณสำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม เกี่ยวกับการทิ้งยาของคุณให้ปลอดภัย

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยา เตตระไฮโดรโซลีน

ก่อนใช้ยาเตตระไฮโดรโซลีน ควรแจ้งให้หมอหรือเภสัชกรทราบ หากคุณแพ้ยาตัวนี้ หรือหากคุณมีอาการแพ้อื่นๆ ยาตัวนี้อาจมีส่วนผสมที่ไม่ใช่สารออกฤทธิ์ เช่น สารกันเสีย อย่างเบนซัลโคเนียม คลอไรด์ (benzalkonium chloride) ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการแพ้หรือปัญหาอื่นๆ ได้ พูดคุยกับเภสัชกรของคุณสำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม

ก่อนใช้ยาตัวนี้ แจ้งหมอหรือเภสัชกรเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ของคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้อหิน ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ อย่างเช่น หัวใจวาย เจ็บหน้าอก ความดันโลหิตสูง เบาหวาน อาการบาดเจ็บ/ติดเชื้อที่ตา ต่อมไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติ

ยาตัวนี้อาจทำให้คุณมีอาการมองไม่ชัดชั่วคราวหลังการใช้ได้ อย่าขับรถ อย่าใช้เครื่องจักร หรืออย่าทำกิจกรรมอะไร ที่จำเป็นต้องมีการมองเห็นชัดเจน จนกว่าคุณจะมั่นใจว่า คุณทำสิ่งเหล่านี้ได้อย่างปลอดภัย

ควรระมัดระวังเป็นพิเศษเมื่อใช้ยาตัวนี้ในเด็ก เพราะเด็กๆ อาจมีการตอบสนองต่อผลข้างเคียงของยามากขึ้น โดยเฉพาะอาการระคายเคืองตา

หากอยู่ในช่วงตั้งครรภ์ ยาตัวนี้ควรใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น ปรึกษาถึงความเสี่ยงและประโยชน์กับหมอของคุณ

ไม่ทราบแน่ชัดว่ายาตัวนี้จะเข้าสู่น้ำนมหรือไม่ ปรึกษากับหมอของคุณก่อนให้นมบุตร

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ไม่มีงานวิจัยเพียงพอในผู้หญิง สำหรับการระบุความเสี่ยงเมื่อใช้ยาเตตระไฮโดรโซลีน ในระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษากับหมอของคุณทุกครั้ง เพื่อชั่งน้ำหนักถึงประโยชน์และความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้ ก่อนใช้ยาเตตระไฮโดรโซลีน

ยาเตตระไฮโดรโซลีนมีดัชนีความปลอดภัยของการใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์ประเภท N อ้างอิงจากองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA)

ระดับความเสี่ยงของยาที่ห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์ อ้างอิงจากองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา ได้แก่

  • A=ไม่มีความเสี่ยง
  • B=ไม่พบความเสี่ยงในงานวิจัยบางชิ้น
  • C=อาจจะมีความเสี่ยง
  • D=มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X=ห้ามใช้
  • N=ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยา เตตระไฮโดรโซลีน

อาจเกิดอาการตาเจ็บ ตาแดง ม่านตาขยาย หรือการมองเห็นไม่ชัด หากผลข้างเคียงใดๆ ก็ตามไม่หายไป หรือทรุดลง บอกหมอหรือเภสัชกรทันที

จำไว้ว่า หมอของคุณจ่ายยาตัวนี้ให้คุณ เพราะหมอพิจารณาแล้วว่า คุณจะได้รับประโยชน์ มากกว่าความเสี่ยงของการเกิดผลข้างเคียง หลายคนที่ใช้ยาตัวนี้ ไม่มีผลข้างเคียงรุนแรงใดๆ

บอกหมอของคุณทันที หากมีอาการข้างเคียงที่รุนแรงซึ่งพบได้ยากเกิดขึ้น ได้แก่ อาการสั่น (tremor) ชีพจรหัวใจเต้นเร็ว แรงผิดปกติ ปวดหัว เหงื่อออก อ่อนล้า วิตกกังวล

หยุดใช้ยาตัวนี้และบอกหมอของคุณทันที หากมีอาการใดๆ ที่พบได้ยาก แต่รุนแรงมากเกิดขึ้น ได้แก่ เจ็บตา อาการตาแดง ระคายเคือง บวมในดวงตาหรือรอบดวงตาทรุดลง ปัญหาการมองเห็นอื่นๆ

ปฏิกิริยาแพ้ต่อยาชนิดนี้เป็นเรื่องที่พบได้ยาก อย่างไรก็ตาม ควรเข้ารับการรักษาทันที หากมีอาการแพ้ขั้นรุนแรง ได้แก่ ผื่น อาการคันหรือบวม โดยเฉพาะ หน้า ลิ้น คอ เวียนหัวอย่างรุนแรง ปัญหาการหายใจ

ไม่ใช่ทุกคนจะพบผลข้างเคียงเหล่านี้ อาจมีผลข้างเคียงบางอาการที่ไม่มีอยู่ด้านบน หากคุณมีความกังวลใดๆเกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับหมอหรือเภสัชกรของคุณ

ปฏิกิริยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ก่อนใช้ยาตัวนี้ แจ้งหมอหรือเภสัชกรของคุณ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์/ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ที่คุณอาจใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

  • ยาต้านซึมเศร้ากลุ่ม MAO ได้แก่ ยาไลเนโซลิด (linezolid) ยาเมทีลีน บลู (methylene blue) ยาโมโคลเบไมด์ (moclobemide) ยาฟีเนลซีน (phenelzine) ยาโพรคาร์บาซีน (procarbazine) ยาราซาจิไลน์ (rasagiline) ยาเซฟินาไมด์ (safinamide) ยาเซเรกลีไลน์ (selegiline) ยาไอโซคาร์บอกซาซิด (isocarboxazid) ยาทรานิลไซโพรไมน์ (tranylcypromine)

ยาเตตระไฮโดรโซลีนอาจทำปฏิกิริยากับยาตัวอื่นที่คุณใช้อยู่ ซึ่งสามารถเปลี่ยนประสิทธิภาพการทำงานของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงต่อผลข้างเคียงที่รุนแรงได้ เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปฏิกิริยาของยา คุณควรจดรายชื่อยาทั้งหมดที่คุณใช้อยู่ (ทั้งยาที่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพร) และให้หมอและเภสัชกรของคุณดู เพื่อความปลอดภัยของคุณอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนปริมาณยาใดๆ โดยไม่ได้รับการอนุญาตจากหมอ

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาเตตระไฮโดรโซลีนอาจทำปฎิกิริยากับอาหารและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยอาจเปลี่ยนประสิทธิภาพการทำงานของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดผลข้างเคียงรุนแรงอื่นๆ โปรดปรึกษากับหมอหรือเภสัชกรของคุณ ถึงปฎิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่อาจเกิดขึ้นได้ ก่อนใช้ยาตัวนี้

ปฏิกิริยากับอาการโรค

ยาเตตระไฮโดรโซลีนอาจทำปฎิกิริยากับอาการโรคของคุณ ปฏิกิริยานี้ อาจทำให้อาการโรคของคุณทรุดลง หรือเปลี่ยนประสิทธิภาพการทำงานของยา จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะบอกให้หมอและเภสัชกรรู้ถึงอาการโรคที่คุณกำลังเป็น

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ใดๆ ทุกครั้งควรปรึกษาหมอหรือเภสัชกรของคุณเพื่อรับทราบข้อมูลเพื่อเติม ก่อนใช้ยาเตตระไฮโดรโซลีน

ขนาดยาเตตระไฮโดรโซลีนสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาเตตระไฮโดรโซลีนสำหรับผู้ใหญ่ที่มีอาการตาแห้ง/ตาแดง

หยอด 1-2 หยด ลงไปในตาข้างที่มีอาการ 1-4 ครั้งต่อวันตามที่ต้องการ

ข้อควรระวัง

ถอดคอนเทคเลนส์ก่อนใช้ยา และรออย่างน้อย 15 นาทีก่อนใส่ใหม่

อย่าใช้นานเกินกว่า 72 ชั่วโมง โดยไม่ปรึกษาหมอ

ขนาดยาเตตระไฮโดรโซลีนสำหรับเด็ก

ขนาดยาสำหรับเด็กที่มีอาการตาแห้ง/ตาแดง

วัยต่ำกว่า 6 ปี ปรึกษาหมอก่อนใช้

วัย 6-18 ปี หยอด 1-2 หยด ลงไปในตาข้างที่มีอาการ 1-4 ครั้งต่อวันตามที่ต้องการ

รูปแบบของยา

ยาเตตระไฮโดรโซลีน มีให้เลือกใช้ในรูปแบบและฤทธิ์ยาดังต่อไปนี้ ได้แก่

  • สารละลายใสสำหรับหยอดตา
  • ผง

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

ในกรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด แจ้งศูนย์การแพทย์ฉุกเฉินท้องถิ่นหรือไปยังห้องฉุกเฉินที่ใกล้ที่สุด

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาเตตระไฮโดรโซลีน กลับมาใช้ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ อย่างไรก็ตาม หากใกล้ถึงเวลาที่คุณจะต้องใช้ยาครั้งต่อไป ข้ามยามื้อที่ลืม และใช้ขนาดยาตามกำหนดการเดิม อย่าเพิ่มขนาดยา

Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา