backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

เอสซิตาโลแพรม (Escitalopram)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 27/11/2023

เอสซิตาโลแพรม (Escitalopram)

อสซิตาโลแพรมใช้เพื่อรักษาโรคซึมเศร้า (depression) และโรควิตกกังวล (anxiety) โดยช่วยฟื้นฟูความสมดุลของสารเคมีตามธรรมชาติในสมองอย่างสารเซโรโทนิน (serotonin)

ข้อบ่งใช้

ยา เอสซิตาโลแพรม ใช้สำหรับ

ยาเอสซิตาโลแพรม (Escitalopram) อยู่ในกลุ่มของยาเอสเอสอาร์ไอ (Selective Serotonin Reuptake Inhibitors ; SSRIs) ยาเอสซิตาโลแพรมใช้เพื่อรักษาโรคซึมเศร้า (depression) และโรควิตกกังวล (anxiety) ยาเอสซิตาโลแพรมทำงานโดยช่วยฟื้นฟูความสมดุลของสารเคมีตามธรรมชาติในสมองอย่างสารเซโรโทนิน (serotonin) ยาเอสซิตาโลแพรมอาจช่วยเพิ่มระดับพลังงานและความรู้สึกเป็นสุขและช่วยลดความประหม่า

การใช้งานในด้านอื่น

ในส่วนนี้จะมีวิธีการใช้ยาที่ไม่ได้อยู่ในฉลากยาที่ได้รับการยอมรับจากผู้เชี่ยวชาญแห่งอเมริกา แต่ผู้เชี่ยวชาญการดูแลสุขภาพของคุณอาจจะสั่งให้ใช้ได้ หากผู้เชี่ยวชาญการดูแลสุขภาพของคุณสั่งให้คุณใช้ยานี้ควรใช้ยานี้สำหรับสภาวะที่มีอยู่ในรายการนี้เท่านั้น

ยาเอสซิตาโลแพรมอาจใช้เพื่อรักษาความผิดปกติทางจิตใจหรืออารมณ์อื่นๆ เช่นโรคย้ำคิดย้ำทำ (obsessive-compulsive disorder) โรคแพนิค (panic disorder) และอาการร้อนวูบวาบ (hot flashes) ที่เกิดขึ้นพร้อมกับวัยหมดประจำเดือน (menopause)

วิธีการใช้ยา เอสซิตาโลแพรม

รับประทานยาเอสซิตาโลแพรมพร้อมกับอาหารหรือรับประทานแยกต่างหากตามที่แพทย์กำหนด โดยปกติคือวันละครั้งในตอนเช้าหรือตอนเย็น ขนาดยาขึ้นอยู่กับสภาวะทางการแพทย์ การตอบสนองต่อการรักษา อายุ และยาอื่นๆ ที่คุณอาจจะกำลังใช้อยู่ โปรดแจ้งให้แพทย์และเภสัชกรของคุณทราบเกี่ยวกับยาทั้งหมดที่คุณใช้ (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่หาซื้อเอง และสมุนไพรต่างๆ)

หากคุณกำลังใช้ยาเอสซิตาโลแพรมในรูปแบบยาน้ำ ควรตวงยาอย่างระมัดระวังโดยใช้เครื่องมือหรือช้อนสำหรับตวงยา อย่าใช้ช้อนธรรมดาเพราะอาจได้รับขนาดยาที่ไม่ถูกต้อง

เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง แพทย์อาจจะสั่งให้คุณเริ่มใช้ยาในขนาดต่ำแล้วค่อยๆ เพิ่มขนาดยา ควรทำตามวิธีการใช้ยาของแพทย์อย่างระมัดระวัง อย่าเพิ่มขนาดยาหรือใช้ยานี้บ่อยกว่าหรือนานกว่าที่กำหนด อาการของคุณจะไม่หายเร็วขึ้นและความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงอาจจะเพิ่มขึ้น ควรใช้ยาเอสซิตาโลแพรมเป็นประจำเพื่อให้ได้ประโยชน์จากยาสูงสุด เพื่อให้ง่ายต่อการจำควรใช้ยาในเวลาเดียวกันทุกวัน

คุณควรจะใช้ยานี้อย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะรู้สึกสบายดี อย่าหยุดใช้ยาเอสซิตาโลแพรมโดยไม่ปรึกษาแพทย์ สภาวะบางอย่างอาจจะมีอาการแย่ลงหากคุณหยุดใช้ยาอย่างกะทันหัน และคุณอาจจะมีอาการ เช่น อารมณ์แปรปรวน ปวดหัว เหนื่อยล้า การนอนหลับเปลี่ยนแปลง และรู้สึกคล้ายกับถูกไฟฟ้าช็อตเป็นเวลาสั้นๆ เพื่อป้องกันอาการเหล่านี้ขณะที่คุณหยุดใช้ยาเอสซิตาโลแพรม แพทย์อาจจะค่อยๆ ลดขนาดยาลงมา โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบในทันทีหากมีอาการแย่ลงหรืออาการใหม่ขึ้น

อาจต้องใช้เวลา 1-2 สัปดาห์กว่าคุณจะรู้สึกถึงผลลัพธ์จากยา และ 4 สัปดาห์กว่าที่คุณจะได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากยาเอสซิตาโลแพรม โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบหากอาการของคุณไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง

การเก็บรักษายาเอสซิตาโลแพรม

ยาเอสซิตาโลแพรม ควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาเอสซิตาโลแพรมบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัยโปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาเอสซิตาโลแพรมลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยา เอสซิตาโลแพรม

ก่อนใช้ยาเอสซิตาโลแพรม

  • โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบหากคุณแพ้ต่อยาเอสซิตาโลแพรม ยาไซทาโลแพรม (citalopram) อย่าง เซเลกซา (Celexa) หรือยาอื่นๆ
  • โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณกำลังใช้ยาไพโมไซด์ (pimozide) อย่างออร์ราพ (Orap) หรือยาในกลุ่มเอ็มเอโอไอ (monoamine oxidase inhibitor) เช่น ยาไอโซคาร์โบซาซิด (isocarboxazid) อย่างมาร์แพลน (Marplan) ยาฟีเนลซีน (phenelzine) อย่าง นาร์ดิล (Nardil) ยาเซเลจิลีน (selegiline) อย่าง เอลเดพริล (Eldepryl) เอ็มแซม (Emsam) หรือเซเลพาร์ (Zelapar) และยาทรานีลไซโพรมีน (tranylcypromine) อย่าง พาร์เนต (Parnate) หรือหากคุณได้ใช้ยาในกลุ่มเอ็มเอโอไอในช่วง 14 วันที่ผ่านมา แพทย์อาจจะสั่งไม่ให้คุณใช้ยาเอสซิตาโลแพรม หากคุณหยุดใช้ยาเอสซิตาโลแพรม คุณควรรออย่างน้อย 14 วันก่อนเริ่มใช้ยาในกลุ่มเอ็มเอโอไอ
  • คุณควรทราบว่ายาเอสซิตาโลแพรมนั้นคล้ายกับยาอื่นในกลุ่มเอสเอสอาร์ไอ ยาไซตาโลแพรม (เซเลซา) คุณไม่ควรใช้ยาเหล่านี้ร่วมกัน
  • โปรดแจ้งให้แพทย์และเภสัชกรทราบเกี่ยวกับยาตามใบสั่ง ยาที่หาซื้อเอง และวิตามินที่คุณกำลังใช้หรือมีแผนที่จะใช้ โดยเฉพาะ ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (anticoagulants) หรือยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น ยาวาฟาริน (warfarin) อย่าง คูมาดิน (Coumadin) ยาต้านฮีสตามีน (antihistamines) ยาแอสไพริน และยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์อื่นๆ (nonsteroidal anti-inflammatory drugs) เช่น ยาไอบูโพรเฟน (ibuprofen) อย่าง แอดวิล (Advil) หรือมอทริน (Motrin) และยานาพรอกเซน (naproxen) อย่างอะลีฟ (Aleve) หรือนาโพรซิน (Naprosyn) ยาคาร์บามาเซพีน (carbamazepine) อย่าง เทเกรทอล (Tegretol) ยาไซเมทิดีน (cimetidine) อย่าง ทากาเมต (Tagamet) ยาคีโตโคนาโซล (ketoconazole) อย่าง สปอรานอกซ์ (Sporanox) ยาลิเทียม (lithium) อย่าง เอสคาลิท (Eskalith) ลิทโทบิด (Lithobid) หรือลิทโทแท็บส์ (Lithotabs) ยาลิเนโซลิด (linezolid) อย่างไซวอกซ์ (Zyvox) ยารักษาโรควิตกกังวล อาการป่วยทางจิต หรืออาการชัก ยารักษาโรคปวดหัวไมเกรน เช่น ยาอัลโมทริปแทน (almotriptan) อย่าง เอ็กเสิร์ท (Axert) ยาเอเลทริปแทน (eletriptan) อย่าง เรลพากซ์ (Relpax) ยา โฟรวาทริปแทน (frovatriptan) อย่าง โฟรวา (Frova) ยานาราทริปแทน (naratriptan) อย่าง แอมเมอร์เจ (Amerge) ยาริซาทริปแทน (rizatriptan) อย่าง มาซาลท์ (Maxalt) ยาซูมาทริปแทน (sumatriptan) อย่างอิมมิเทร็กซ์ (Imitrex) และยาซอลมิทริปแทน (zolmitriptan) อย่าง โซมิก (Zomig) ยาเมโทโพรลอล (metoprolol) อย่าง โลเพรสเซอร์ (Lopressor) หรือโทโพรล เอ็กซ์แอล (Toprol XL) ยาต้านซึมเศร้าอื่นๆ (antidepressants) เช่น ยาเดซิพรามีน (desipramine) อย่างนอร์พรามิน (Norpramin) ยากล่อมประสาท (sedatives) ยาไซบูทรามีน (sibutramine) อย่าง เมริเดีย (Meridia) ยานอนหลับ ยาทรามาดอล (tramadol) ยาเมทิลีนบลู (methylene blue) และยาคลายเครียด (tranquilizers) แพทย์อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนขนาดยาหรือเฝ้าระวังผลข้างเคียงอย่างใกล้ชิด
  • โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับอาหารเสริมและสมุนไพรที่คุณกำลังใช้ โดยเฉพาะยาที่มีส่วนผสมของสมุนไพรเซนต์จอห์น (St. John’s wort) หรือทริปโทแฟน (tryptophan)
  • โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบหากในเร็วๆ นี้คุณเพิ่งมีอาการหัวใจวาย อาการชัก หรือมีภาวะของโรคตับ โรคไต โรคไทรอยด์ หรือโรคหัวใจ
  • โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณตั้งครรภ์ โดยเฉพาะหากกำลังอยู่ในช่วงไม่กี่เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ หรือหากคุณมีแผนที่จะตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร หากคุณตั้งครรภ์ขณะที่กำลังใช้ยาเอสซิตาโลแพรม โปรดติดต่อแพทย์ เนื่องจากยาเอสซิตาโลแพรมนั้นอาจทำให้เกิดปัญหากับทารกแรกเกิดหลังจากคลอดหากใช้ยานี้ในช่วงเดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์
  • หากคุณกำลังรับการผ่าตัด รวมถึงการผ่าตัดทำฟัน โปรดแจ้งให้แพทย์หรือทันตแพทย์ทราบว่าคุณกำลังใช้ยาเอสซิตาโลแพรม
  • คุณควรจะทราบว่ายาเอสซิตาโลแพรมนั้นทำให้คุณง่วงซึม อย่าขับรถหรือใช้เครื่องจักรจนกว่าคุณจะทราบว่ายานี้ส่งผลต่อคุณอย่างไร
  • โปรดจำไว้ว่าการดื่มแอลกอฮอล์สามารถเพิ่มอาการง่วงซึมที่เกิดจากการใช้ยานี้ได้
  • คุณควรทราบว่ายาเอสซิตาโลแพรมนั้นอาจทำให้เกิดโรคต้อหินมุมปิด (angle-closure glaucoma) ซึ่งเป็นสภาวะที่มีการอุดตันของน้ำหล่อเลี้ยงนัยน์ตาอย่างเฉียบพลันและไม่สามารถไหลออกจากดวงตาได้ ทำให้ความดันภายในดวงตาเพิ่มขึ้นอย่างรุนแรงและรวดเร็ว ซึ่งอาจทำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นได้ โปรดปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการตรวจดวงตาก่อนใช้ยานี้ หากคุณมีอาการคลื่นไส้ ปวดตา การมองเห็นเปลี่ยนแปลง เช่นมองเห็นรัศมีรอบแสง และมีอาการบวมหรือรอยแดงที่บริเวณรอบดวงตา โปรดติดต่อแพทย์หรือรับการรักษาฉุกเฉินในทันที

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยา

ยาเอสซิตาโลแพรมจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด C โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ขณะการให้นมบุตร งานวิจัยเกี่ยวกับผู้หญิงที่ให้นมบุตรนั้นแสดงให้เห็นถึงผลที่เป็นอันตรายต่อทารก ควรสั่งยาที่เป็นทางเลือกของยาเอสซิตาโลแพรมหรือไม่คุณก็ควรที่จะหยุดให้นมบุตรขณะที่กำลังใช้ยานี้

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยา เอสซิตาโลแพรม

ผลข้างเคียงที่พบได้ทั่วไปนั้นอาจมีทั้งง่วงซึม วิงเวียน นอนไม่หลับ คลื่นไส้ น้ำหนักเปลี่ยนแปลง และมีความต้องการทางเพศลดลง

รับการรักษาพยาบาลฉุกเฉินทันทีหากคุณมีสัญญาณของอาการแพ้ ได้แก่ ลมพิษ หายใจติดขัด บวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือลำคอ

โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบหากมีอาการใหม่หรืออาการแย่ลง เช่น มีความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์หรือพฤติกรรม วิตกกังวล อาการแพนิคกำเริบ นอนไม่หลับ หรือรู้สึกกระวนกระวาย หงุดหงิด กระสับกระส่าย ไม่เป็นมิตร ก้าวร้าว ร้อนรน อยู่ไม่สุข (ทางจิตใจหรือร่างกาย) ซึมเศร้ามากขึ้น หรือมีความคิดที่จะฆ่าตัวตายหรือทำร้ายตัวเอง

โปรดติดต่อแพทย์ในทันทีหากคุณมีผลข้างเคียงที่รุนแรงดังนี้

  • กล้ามเนื้อแข็งเกร็งมาก เป็นไข้สูง เหงื่อออก หัวใจเต้นเร็วหรือไม่สม่ำเสมอ สั่นเทา รู้สึกคล้ายจะหมดสติ
  • คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง เบื่ออาหาร รู้สึกไม่มั่นคง สูญเสียการเคลื่อนไหวที่สอดประสาน
  • ปวดหัว มีปัญหากับการรวมสมาธิ มีปัญหากับความจำ อ่อนแรง สับสน มองเห็นภาพหลอน หมดสติ ชัก หายใจตื้นหรือหยุดหายใจ

ผลข้างเคียงที่รุนแรงน้อยกว่าอาจมีดังนี้ ง่วงซึม วิงเวียน นอนไม่หลับ คลื่นไส้ระดับเบา มีแก๊ส แสบร้อนกลางอก ท้องไส้ปั่นป่วน ท้องผูก น้ำหนักเปลี่ยนแปลง ความต้องการทางเพศลดลง เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ หรือสำเร็จความใคร่ได้ยาก หรือปากแห้ง หาว มีเสียงอื้อในหู

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาเอสซิตาโลแพรมอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์ โดยเฉพาะ

  • ยาต้านซึมเศร้าอื่นๆ
  • ยาบิวสไปโรน (Buspirone)
  • ยาลิเทียม (Lithium)
  • สมุนไพรเซนต์จอห์น (John’s wort)
  • ยาทริปโตเฟน (Tryptophan) ในบางครั้งเรียกว่ายา ไอ-ทริปโตเฟน (l-tryptophan)
  • ยาต้านการแข็งตัวของเลือด–วาฟาริน (warfarin) คูมาดิน (coumadin) แจนโทเวน (jantoven)
  • ยาแก้ปวดหัวไมเกรน— ซูมาทริปแทน (sumatriptan) ริซาทริปแทน (rizatriptan) และอื่นๆ
  • ยาแก้ปวดแบบเสพติด (Narcotic pain medication)– ยาเฟนทานีล (fentanyl) หรือทรามาดอล (tramadol)

รายชื่อนี้ไม่ใช่รายชื่อยาทั้งหมด อาจจะมียาอื่นที่มีปฏิกิริยากับยาเอสซิตาโลแพรม รวมถึงยาตามใบสั่งแพทย์และยาที่หาซื้อได้เอง วิตามิน และสมุนไพรต่างๆ ปฏิกิริยาของยาที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งหมดนั้นไม่ได้อยู่ในคู่มือการใช้ยา

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาเอสซิตาโลแพรมอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาเอสซิตาโลแพรมอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ โดยเฉพาะ

  • ภาวะหัวใจเต้นช้า (Bradycardia)
  • ปัญหาเกี่ยวกับการเต้นของหัวใจ เช่น ระยะคิวทียาว (QT prolongation)
  • ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ (Hypokalemia) ที่ไม่ได้รับการรักษา
  • ภาวะแมกนีเซียมในเลือดต่ำ (Hypomagnesemia) ที่ไม่ได้รับการรักษา — ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะนี้
  • โรคหัวใจล้มเหลว (Congestive heart failure) — ยาในรูปแบบแกรนูลและยาเม็ดของยานี้จะมีส่วนผสมของโซเดียมซึ่งอาจทำให้โรคนี้แย่ลงได้
  • ภาวะเอ็นไซม์ตับสูงเกินปกติ (Elevated liver enzymes)
  • โรคตับ รวมถึงโรคตับอักเสบจากการคั่งของน้ำดี (cholestatic hepatitis)
  • โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจี (Myasthenia gravis) — ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง อาจทำให้โรคนี้แย่ลงได้

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาเอสซิตาโลแพรมสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder)

  • ขนาดยาเริ่มต้น 10 มก. รับประทานวันละครั้ง เพิ่มขนาดยาเท่าที่จำเป็นหลังจากรักษาผ่านไป 1 สัปดาห์ ถึง 20 มก. วันละครั้ง
  • ขนาดยาปกติ 10-20 มก. รับประทานวันละครั้ง
  • ขนาดยาสูงสุด 20 มก. รับประทานวันละครั้ง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคซึมเศร้า

  • ขนาดยาเริ่มต้น 10 มก. รับประทานวันละครั้ง เพิ่มขนาดยาเท่าที่จำเป็นหลังจากรักษาผ่านไป 1 สัปดาห์ ถึง 20 มก. วันละครั้ง
  • ขนาดยาปกติ 10-20 มก. รับประทานวันละครั้ง
  • ขนาดยาสูงสุด 20 มก. รับประทานวันละครั้ง

ขนาดยาสำหรับผู้สูงอายุเพื่อรักษาโรคซึมเศร้า

  • ขนาดยาที่แนะนำ 10 มก. รับประทานวันละครั้ง

ขนาดยาเอสซิตาโลแพรมสำหรับเด็ก

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาโรคซึมเศร้า

  • อายุน้อยกว่า 12 ปี ยังไม่มีการพิสูจน์ความความปลอดภัยและประสิทธิภาพของขนาดยานี้สำหรับผู้ป่วยเด็ก ยานี้อาจเป็นอันตรายต่อเด็กได้ ดังนั้นจึงควรทำความเข้าใจกับความปลอดภัยของยาก่อนการใช้ยา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดติดต่อกับแพทย์หรือเภสัชกร
  • อายุ 12-17 ปี
  • ขนาดยาเริ่มต้น 10 มก. รับประทานวันละครั้ง เพิ่มขนาดยาเท่าที่จำเป็นหลังจากรักษาผ่านไป 3 สัปดาห์ ถึง 20 มก. วันละครั้ง
  • ขนาดยาปกติ 10-20 มก. รับประทานวันละครั้ง
  • ขนาดยาสูงสุด 20 มก. รับประทานวันละครั้ง
  • อายุ 18 ปีขึ้นไป ใช้ยาตามขนาดยาปกติสำหรับผู้ใหญ่

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

ยาเม็ด 10 มก. 20 มก.

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 27/11/2023

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา