backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ไดโคลฟีแนคโซเดียม (Diclofenac Sodium)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 24/03/2021

ไดโคลฟีแนคโซเดียม (Diclofenac Sodium)

ข้อบ่งใช้

ไดโคลฟีแนคโซเดียม ใช้สำหรับ

ไดโคลฟีแนคโซเดียม (Diclofenac Sodium ) มักใช้เพื่อบรรเทาอาการปวด บวม หรือการอักเสบที่เกิดจากอาการบาดเจ็บหรือสภาวะต่าง ๆ เช่น ข้อเสื่อม (osteoarthritis) โรคข้อรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis) อาการปวดประจำเดือน ไมเกรน และโรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบยึดติด (ankylosing spondylitis) นอกจากนี้ ยา ไดโคลฟีแนคโซเดียม ยังอาจใช้เพื่อการใช้อื่น ๆ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดสอบถามกับแพทย์หรือเภสัชกร

วิธีการใช้ยาไดโคลฟีแนคโซเดียม

  • อย่าใช้ยานี้ในขนาดที่มากกว่า หรือน้อยกว่า และนานกว่าที่แพทย์ที่กำหนด
  • รับประทานยาแคปซูล หรือยาเม็ดพร้อมกับน้ำเต็มแก้ว อย่าเคี้ยวหรือหักยา ควรกลืนยาลงไปทั้งเม็ด
  • หากกรณีฉีดยาแบบสารละลาย ควรให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่โรงพยาบาล หรือคลินิกฉีดเท่านั้น เพื่อความปลอดภัย
  • สอบถามผู้ดูแลสุขภาพหากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับการใช้ยา

การเก็บรักษายาไดโคลฟีแนคโซเดียม

  • ยาไดโคลฟีแนคโซเดียมควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง
  • โปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็ก และสัตว์เลี้ยง
  • ไม่ควรทิ้งยาไดโคลฟีแนคโซเดียมลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ เว้นเสียแต่จะได้รับคำแนะนำให้ทำ ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้อง เมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน

ยาไดโคลฟีแนคโซเดียมบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยา หรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัย

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาไดโคลฟีแนคโซเดียม

  • คุณกำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร เนื่องจากในช่วงที่คุณมีความตั้งใจหรือกำลังให้นมบุตร  ควรใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำเท่านั้น
  • โปรดระบุยาอื่น ๆ ให้แพทย์ทราบ หากคุณกำลังใช้ยาอื่นอยู่ รวมทั้งยาที่หาซื้อได้เอง เช่น สมุนไพร อาหารเสริมต่าง ๆ เป็นต้น
  • หากคุณแพ้สารออกฤทธิ์ หรือไม่ออกฤทธิ์ ของยาไดโคลฟีแนคโซเดียม อาจต้องหลีกเลี่ยงการทานยาชนิดนี้อย่างเด็ดขาด
  • หากคุณมีอาการป่วย มีความผิดปกติ หรือมีสภาวะทางการแพทย์อื่น ๆ โปรดรีบเข้ารักการรักษาจากแพทยืในโรงพยาบาลใกล้คุณทันที

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเพียงพอ เกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

ยาไดโคลฟีแนคโซเดียมอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ ประเภท C/D หากใช้ในช่วงอายุครรภ์ 30 สัปดาห์ โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยาไดโคลฟีแนคโซเดียม

ผลข้างเคียงของยาไดโคลฟีแนคโซเดียม ได้แก่

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรเพิ่มเติม

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาไดโคลฟีแนคโซเดียมอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่าคุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่าง ๆ เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่มใช้ยา หยุดใช้ยา หรือเปลี่ยนขนาดยา โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์ ยาที่อาจจะมีปฏิกิริยากับยานี้ ได้แก่

  • ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น ยาฟอนดาพารินุกซ์ (fondaparinux) อย่างอะริกซ์ทรา (Arixtra) ยาดาบิกาแทรน (dabigatran) อย่างพราดาซา (Pradaxa) ยาวาฟาริน (warfarin) อย่างแจนโทเวน (Jantoven) หรือคูมาดิน (Coumadin) หรือยาเฮพาริน (heparin)
  • ยาต้านซึมเศร้า (Antidepressants) เช่น ยาไซตาโลแพรม (citalopram) อย่างเซเลซา (Celexa) ยาพาร็อกซีทีน (paroxetine) อย่างพาซิล (Paxil) ยาเอสซิตาโลแพรม (escitalopram) อย่างเลซิโปร (Lexapro)
  • ยาขับน้ำ เช่น ยาไฮโดรคลอโรไทอะไซด์ (hydrochlorothiazide) อย่างเอสซิดริกซ์ (Esidrix) หรือไมโครไซด์ (Microzide) ยาคลอธาลิโดน (chorthalidone) อย่างทราลิโทน (Thalitone) หรือยาคลอโรไทอะไซด์ (chlorothiazide) อย่างไดริล (Diuril)
  • ยาในกลุ่มเบต้าบล็อกเกอร์ (Beta blockers) เช่น ยาอะซีบูโทลอล (Acebutolol) อย่างเซคทรัล (Sectral) ยาไบโซโปรลอล (bisoprolol) อย่างเซเบต้า (Zebeta) ยาอะทีโนลอล (atenolol) อย่างเทนอร์มิน (Tenormin) ยาเอสโมลอล (esmolol) อย่างเบรไวบล็อค (Brevibloc) หรือยาคาร์วีไดลอล (carvedilol) อย่างคอร์เรก (Coreg)
  • ยาบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์อื่นๆ [NSAID] รวมทั้ง ยาเซเลโคซิบ (celecoxib) อย่างเซเลเบร็กซ์ (Celebrex) ยานาพรอกเซน (naproxen) อย่างอะลีฟ (Aleve) นาโพรซิน (Naprosyn) ยามีลอกซิแคม (meloxicam) อย่างโมบิค (Mobic) ยานาบูมีโทน (nabumetone) อย่างเรลาเฟน (Relafen) หรือยาเอโทโดแลค (etodolac) อย่างโลดีน (Lodine)
  • ยาสำหรับโรคเบาหวานในกลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย (Sulfonylurea) เช่น ยาไกลเมพิไรด์ (glimepiride) อย่างอะมาร์ริล (Amaryl) ยาไกลบูไรด์ (glyburide) อย่างไดอาบีตา (DiaBeta) หรือไมโครนาส (Micronase) หรือไกลนาส (Glynase) และยาไกลพิไซด์ (glipizide) อย่างกลูโคทรอล (Glucotrol)

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาไดโคลฟีแนคโซเดียมอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาไดโคลฟีแนคโซเดียมอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา

โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบก่อนใช้ยาเสมอ ในกรณีที่คุณมีโรคประจำตัวและถ้าคุณมีอาการดังต่อไปนี้
  • โรคหอบหืด รวมถึงประวัติการหายใจได้แย่ลง หลังจากการใช้ยาแอสไพริน หรือยาบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์อื่นๆ [NSAID]
  • มีปัญหากับเลือดออกหรือลิ่มเลือด
  • โรคหัวใจ (เช่น เคยมีอาการหัวใจขาดเลือดฉับพลัน)
  • ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง
  • โรคตับ
  • มีริดสีดวงจมูก
  • มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น มีเลือดออก มีแผล อาการแสบร้อนกลางอกกำเริบ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาไดโคลฟีแนคโซเดียมสำหรับผู้ใหญ่

1 โรคข้อรูมาตอยด์

  • ยาไดโคลฟีแนคโซเดียม: ขนาดยาที่แนะนำคือ 50 มก. ทุก ๆ 8 ชั่วโมง หรือ 75 มก. ทุกๆ 12 ชั่วโมง
  • ยาออกฤทธิ์นาน: ขนาดยาที่แนะนำคือ 100 มก. วันละครั้ง อาจเพิ่มขึ้นถึง 100 มก. ทุกๆ 12 ชั่วโมง

2 โรคข้อเสื่อม

  • ยาไดโคลฟีแนคโซเดียม : ขนาดยาที่แนะนำคือ 50 มก. รับประทานทุก ๆ 8 ชั่วโมง หรือ 75 มก. ทุก ๆ 12 ชั่วโมง
  • ยาออกฤทธิ์นาน: ขนาดยาที่แนะนำคือ 100 มก. รับประทานวันละครั้ง อาจเพิ่มขึ้นถึง 100 มก. ทุก ๆ 12 ชั่วโมง
  • ซอร์โวลเลกซ์ (Zorvolex) : ขนาดยาที่แนะนำคือ 35 มก. วันละ 3 ครั้ง

3 โรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบยึดติด

  • ขนาดยาที่แนะนำคือ 25 มก วันละ 4 หรือ 5 ครั้ง

4 อาการปวดแบบเฉียบพลันระดับต่ำถึงปานกลาง:

  • ซอร์โวลเลกซ์: ขนาดยาที่แนะนำคือ 18 มก. หรือ 35 มก. วันละ 3 ครั้ง

5  อาการปวด (ให้ยาทางหลอดเลือด)

ข้อระบุสำหรับการจัดการอาการปวดระดับต่ำถึงปานกลาง และอาการปวดระดับปานกลางถึงรุนแรง ใช้เป็นยาเพียงอย่างเดียวหรือใช้ร่วมกับยาแก้ปวดโอปิออยด์ (opioid analgesics)

  • ใช้ในระยะเวลาที่สั้นที่สุด ที่เหมาะสมกับเป้าหมายการรักษาของผู้ป่วยแต่ละราย
  • ขนาดยาที่แนะนำคือ 37.5 มก. ฉีดเข้าหลอดเลือดทันทีนานกว่า 15 วินาที ทุก ๆ 6 ชั่วโมงเท่าที่จำเป็นไม่เกิน 150 มก./วัน
  • เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดผลที่ไม่พึงประสงค์กับไต ผู้ป่วยควรได้รับน้ำที่เพียงพอก่อนการให้ยาทางหลอดเลือด

ขนาดยาไดโคลฟีแนคโซเดียมสำหรับเด็ก

ข้ออักเสบรูมาตอยด์ในเด็ก (Juvenile Rheumatoid Arthritis) เป็นการใช้ยาที่ไม่ได้ระบุในเอกสารกำกับยา (Off-label)

  • อายุน้อยกว่า 3 ปี : ยังไม่มีการพิสูจน์ความความปลอดภัยและประสิทธิภาพ
  • อายุ 3 ปีขึ้นไป : ขนาดยาที่แนะนำคือ 2-3 มก./กก./วัน เป็นเวลา 4 สัปดาห์

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาเม็ดออกฤทธิ์ช้า(Delayed Release) 25 มก. 75 มก.
  • ยาเม็ดออกฤทธิ์นาน(Extended-Release) 100 มก. ยาโวลทาเรน เอ็กซ์อาร์ (Voltaren XR)
  • ยาแคปซูล 18 มก. ซอร์โวลเลกซ์ (Zorvolex) 35 มก. ซอร์โวลเลกซ์ (Zorvolex)
  • สารละลายสำหรับฉีด 37.5 มก./มล. ไดลอเจค (Dyloject)

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 24/03/2021

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา