backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ไวท์ ปิโตรเลียม (White Petrolatum)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ไวท์ ปิโตรเลียม (White Petrolatum)

ข้อบ่งใช้

ยา ไวท์ ปิโตรเลียม ใช้สำหรับ

ยา ไวท์ ปิโตรเลียม (White Petrolatum) ใช้เป็นมอยส์เจอไรเซอร์เพื่อรักษาหรือป้องกันผิวแห้ง ผิวหยาบ ตกสะเก็ด อาการคันที่ผิวหนัง และอาการระคายเคืองระดับเบาที่ผิวหนัง เช่น ผื่นผ้าอ้อม (diaper rash) ผิวไหม้จากการฉายรังสีบำบัด (radiation therapy) สารอีมอลเลียนท์ (Emollients) คือสารที่ทำให้ผิวนุ่มและชุ่มชื้น และลดอาการคันและผิวหนังตกสะเก็ด มักจะใช้ผลิตภัณฑ์บางชนิด เช่น ยาซิงค์ ออกไซด์ (zinc oxide) หรือยาไวท์ ปิโตรเลียมเพื่อป้องกันอาการระคายเคืองที่ผิวหนัง (เช่น อาการระคายเคืองที่เกิดจากความชื้นแฉะ)

ผิวแห้งนั้นเกิดจากการสูญเสียน้ำของผิวชั้นนอก ยาไวท์ ปิโตรเลียมหรือมอยส์เจอไรเซอร์นั้นจะทำงานโดนการสร้างชั้นน้ำมันบนผิวหนังเพื่อกักเก็บน้ำภายในผิวหนัง ปิโตรเลียม ลาโนลิน (lanolin) น้ำมันมิเนอรัล (mineral oil) และไดเมทิโคน (dimethicone) นั้นเป็นสารอีมอลเลียนท์ที่พบได้ทั่วไป สารฮิวเมกเตนท์ (Humectants) อย่าง กลีเซอรีน (glycerin) เลซิทิน (lecithin) และโพรไพลีน ไกลคอล (propylene glycol) จะดึงน้ำเข้าสู่ผิวชั้นนอก ผลิตภัณฑ์มากมายนั้นยังมีส่วนผสมที่ทำให้ผิวหยาบหรือเคราติน (keratin) ที่ดึงดูดให้เซลล์ผิวหนังชั้นนอกนั้นอยู่ด้วยกันอ่อนนุ่มลง เช่น สารยูเรีย (urea) กรดอัลฟ่า ไฮดรอกซี (alpha hydroxy acids) เช่นกรดแล็กติก (lactic acid) กรดซิตริก (citric acid) หรือกรดไกลโคลิก (glycolic acid) และสารอัลลันโทอิน (allantoin) ซึ่งจะช่วยผลักเซลล์ผิวเก่าที่ตายแล้ว ช่วยให้ผิวกักเก็บน้ำได้มากขึ้น และทำให้ผิวรู้สึกเนียนและนุ่มขึ้น

วิธีการใช้ยาไวท์ ปิโตรเลียม

ใช้ยานี้ตามที่กำหนด ผลิตภัณฑ์บางประเภทอาจจะต้องเตรียมยาก่อนใช้ ควรทำตามวิธีการใช้บนบรรจุภัณฑ์ หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ โปรดสอบถามแพทย์หรือเภสัชกร

ผลิตภัณฑ์บางประเภทอาจจะต้องเขย่าขวดก่อนใช้ ควรอ่านฉลากยาเพื่อหาว่าคุณควรจะเขย่าขวดก่อนหรือไม่ ทายาลงบนบริเวณผิวหนังที่มีอาการ ในขนาดเท่าที่จำเป็นหรือตามที่กำหนดบนฉลากยาหรือแพทย์กำหนด ความถี่ในการใช้ยานั้นจะขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์และสภาวะของผิวคุณ สำหรับการรักษาอาการมือแห้ง คุณอาจจะต้องใช้ยานี้ทุกครั้งที่คุณล้างมือตลอดทั้งวัน

หากคุณใช้ยานี้เพื่อรักษาอาการผื่นผ้าอ้อม ควรทำความสะอาดบริเวณนั้นและปล่อยให้แห้งก่อนใช้ยา

หากคุณใช้ยานี้เพื่อช่วยรักษาอาการผิวไหม้จากการฉายรังสี โปรดสอบถามบุคลากรที่ทำการฉายรังสีเพื่อดูว่ายาที่คุณใช้สามารถทาก่อนฉายรังสีได้หรือไม่

ควรทำตามวิธีการใช้ยาทั้งหมดบนฉลากยาให้ถูกต้อง ทายาบนผิวหนังเท่านั้น ควรหลีกเลี่ยงบริเวณที่บอบบาง เช่น ดวงตา ภายในปากหรือจมูก และบริเวณอวัยวะเพศหรือขาหนีบ เว้นเสียแต่ว่าฉลากยาหรือแพทย์จะสั่งให้คุณทำเช่นนั้น โปรดอ่านวิธีการใช้ยาบนฉลากยา เพื่อรับทราบบริเวณที่คุณไม่ควรทายา (เช่น บนใบหน้า บริเวณผิวหนังที่รอยถลอก แตก มีรอยบาด ระคายเคือง หรือรอยขูด หรือบริเวณที่เพิ่งผ่านการโกนขน) โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ใช้ยานี้เป็นประจำเพื่อให้ได้ประโยชน์จากยาสูงสุด มอยส์เจอไรเซอร์ส่วนใหญ่นั้นต้องการน้ำเพื่อให้ทำงานได้ดี ทายาลงไปหลังจากอายน้ำขณะที่ผิวยังเปียกอยู่ สำหรับผิวที่แห้งมาก แพทย์อาจจะสั่งให้คุณแช่น้ำในบริเวณนั้นก่อนทายา การอาบน้ำนาน อาบน้ำร้อน หรืออาบน้ำบ่อยครั้งอาจทำให้อาการผิวแห้งรุนแรงขึ้น

หากอาการของคุณไม่หายไปหรือแย่ลง หรือหากคุณคิดว่าคุณอาจจะมีปัญหาทางการแพทย์ที่รุนแรง โปรดรับการรักษาในทันที

การเก็บรักษายาไวท์ ปิโตรเลียม

ยาไวท์ ปิโตรเลียมควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาไวท์ ปิโตรเลียมบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัยโปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาไวท์ ปิโตรเลียมลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูก สอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาไวท์ ปิโตรเลียม

ก่อนใช้ยาไวท์ ปิโตรเลียม แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบหากคุณแพ้ต่อยานี้ หรือหากคุณเป็นโรคภูมิแพ้อื่นๆ ยานี้อาจมีส่วนประกอบไม่ออกฤทธิ์ที่ทำให้เกิดอาการแพ้หรือปัญหาอื่น โปรดปรึกษาเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ก่อนใช้ยานี้โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบหากคุณมีอาการดังต่อไปนี้ แผลบาด การติดเชื้อ และแผลที่ผิวหนัง

ส่วนผสมบางอย่าง (เช่น สารกันบูด สารแต่งกลิ่น) อาจจะทำให้คุณมีปฏิกิริยาไวต่อแสงแดดมากขึ้น ควรอ่านคำเตือนบนฉลากยาหรือสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรว่าคุณต้องมีข้อระวังอะไรเป็นพิเศษเกี่ยวกับแสงแดดหรือไม่ แพทย์หรือเภสัชกรอาจจะแนะนำให้คุณจำกัดเวลาอยู่ภายใต้แสงแดด หลีกเลี่ยงบูทอาบแดดและโคมไฟอุลตร้าไวโอเล็ต ทาครีมกันแดดและสวมเสื้อผ้าป้องกันเมื่ออยู่นอกบ้าน โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบในทันทีหากคุณมีอาการแดดเผาหรือมีแผลพุพองหรือรอยแดงที่ผิวหนัง

ผลิตภัณฑ์บางอย่างอาจจะทำให้อาการสิวของคุณรุนแรงขึ้น หากผิวของคุณมีแนวโน้มที่จะเกิดสิว ควรมองหาคำว่า “ไม่ทำให้รูขุมขนอุดตัน’ บนฉลากยา ผลิตภัณฑ์บางอย่างอาจจะย้อมหรือเปลี่ยนสีเสื้อผ้า โปรดสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยของการใช้ยานี้ขณะตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษากับแพทย์เสมอเพื่อพิจารณาประโยชน์และความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นก่อนใช้ยานี้

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยาไวท์ ปิโตรเลียม

สารอีมอลเลียนท์ส่วนใหญ่นั้น สามารถได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพโดยไม่มีผลข้างเคียง แต่ในบางครั้งอาจจะเกิดอาการแสบร้อน อาการปวด รอยแดง หรือระคายเคืองได้ หากอาการเหล่านี้ไม่หายไปหรือรุนแรงขึ้นโปรดแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรในทันที

โปรดจำไว้ว่าการที่แพทย์ให้คุณใช้ยาตัวนี้เนื่องจากคำนวณแล้วว่ายามีประโยชน์มากกว่าเป็นโทษ และคนที่ใช้ยานี้ส่วนใหญ่ไม่พบผลข้างเคียงที่ร้ายแรงใดๆ

แจ้งให้แพทย์ทราบในทันทีหากเกิดผลข้างเคียงที่ไม่ค่อยจะเกิดขึ้นแต่รุนแรงดังต่อไปนี้ ผิวหนังมีความเปลี่ยนแปลงอย่างผิดปกติ (เช่น เปลี่ยนเป็นสีขาว นุ่ม หรือชื้นเนื่องจากความชื้นแฉะมากเกินไป) สัญญาณของการติดเชื้อที่ผิวหนัง

การแพ้ยาที่รุนแรงต่อยานี้ ค่อนข้างเกิดขึ้นได้ยาก แต่จำเป็นต้องได้รับการรักษาที่ทันท่วงที อาการของการแพ้รุนแรงมีดังนี้ ผดผื่น คันหรือบวม (โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า ลิ้น และลำคอ) วิงเวียนขั้นรุนแรง หายใจติดขัด

อาการเหล่านี้ไม่ใช่ผลข้างเคียงทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้น หากคุณสังเกตเห็นอาการนอกเหนือจากนี้ โปรดติดต่อแพทย์หรือเภสัชกรในทันที

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาไวท์ ปิโตรเลียมอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

หากคุณใช้ยานี้ภายใต้การดูแลของแพทย์ แพทย์หรือเภสัชกรอาจจะทราบถึงปฏิกิริยาที่อาจจะเกิดขึ้นอยู่แล้วและอาจจะคอยเฝ้าระวังไม่ให้เกิดขึ้น อย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาของยาใดๆ โดยไม่ปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

หากแพทย์สั่งให้คุณใช้ยานี้หรือยาที่ใช้กับผิวอื่นๆ ตามใบสั่งแพทย์ โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับยาทั้งหมดที่คุณใช้ ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่หาซื้อเอง และสมุนไพรต่างๆ รวมถึงผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหนังอื่นๆ

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาไวท์ ปิโตรเลียมอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาไวท์ ปิโตรเลียมอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาไวท์ ปิโตรเลียมสำหรับผู้ใหญ่

ใช้ผลิตภัณฑ์นี้ตามที่กำหนด

ขนาดยาไวท์ ปิโตรเลียมสำหรับเด็ก

ยังไม่มีการพิสูจน์ความความปลอดภัยและประสิทธิภาพของขนาดยานี้สำหรับผู้ป่วยเด็ก ยานี้อาจเป็นอันตรายต่อเด็กได้ ดังนั้นจึงควรทำความเข้าใจกับความปลอดภัยของยาก่อนการใช้ยา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดติดต่อกับแพทย์หรือเภสัชกร

รูปแบบของยา

ขนาดและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาขี้ผึ้ง
  • ยาโลชั่น

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา