backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ไอโอดีน (Iodine)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 08/02/2021

ไอโอดีน (Iodine)

ข้อบ่งใช้ ไอโอดีน

ไอโอดีน ใช้สำหรับ

ยา ไอโอดีน (Iodine) เป็นยาที่ใช้เพื่อลดระดับของฮอร์โมนไทรอยด์และฆ่าเชื้อรา แบคทีเรีย และเชื้อจุลินทรีย์อื่นๆ เช่น อะมีบา (amoebas) ไอโอดีนชนิดที่เรียกว่าโพแทสเซียมไอโอดีน ยังใช้เพื่อรักษา (แต่ไม่สามารถป้องกัน) ผลของอุบัติเหตุจากกัมมันตภาพรังสี (radioactive accident) ได้

วิธีการใช้ยาไอโอดีน

  • รับประทานยาไอโอดีนตามที่กำหนด ควรทำตามแนวทางการใช้ยาบนบรรจุภัณฑ์ หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ โปรดสอบถามแพทย์หรือเภสัชกร
  • โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบ หากสภาวะของคุณไม่หายไปหรือรุนแรงขึ้น หรือหากคุณมีอาการใหม่ๆ หากคุณคิดว่าคุณอาจจะมีปัญหาสุขภาพที่รุนแรง โปรดรับการรักษาในทันที

การเก็บรักษายาไอโอดีน

ยาไอโอดีนควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาไอโอดีนบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัย โปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาไอโอดีนลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาไอโอดีน

ผลข้างเคียงอาจมีดังนี้

  • ยารับประทาน/ยาเฉพาะที่ อาจเกิดภาวะภูมิแพ้ (Hypersensitivity) เช่น ลมพิษ ภาวะบวมใต้ชั้นผิวหนังหรือแองจิโออีดีมา (angioedema) เลือดออกตามผิวหนัง (cutaneous haemorrhage) รอยจ้ำเขียวบนผิวหนัง เป็นไข้ ปวดข้อ (arthralgia) ต่อมน้ำเหลืองโต (lymphadenopathy) หรือภาวะเม็ดเลือดขาวมาก (eosinophilia) โรคคอพอก (goitre) ภาวะขาดไทรอยด์ (hypothyroidism ) และไทรอยด์เป็นพิษ หรือภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (hyperthyroidism) ภาวะไอโอดิซึม (Iodism) จากการใช้ยาเป็นเวลานาน เช่น มีรสโลหะ น้ำลายเพิ่มขึ้น มีอาการบวมและอักเสบที่คอ ดวงตามีอาการบวมและระคายเคือง ปอดบวมน้ำ (pulmonary oedema) คลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องร่วง
  • ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร
  • ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ก่อนใช้ยานี้ โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบหาก

  • หากคุณเป็นโรคภูมิแพ้ต่อไอโอดีน
  • หากคุณเป็นโรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (acute bronchitis)
  • ผลข้างเคียง

    ผลข้างเคียงของการใช้ยาไอโอดีน

    ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

    ยาไอโอดีนจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด D โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

    การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

    A= ไม่มีความเสี่ยง

    B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น

    C= อาจจะมีความเสี่ยง

    D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง

    X= ห้ามใช้

    N= ไม่ทราบแน่ชัด

    และสำหรับงานวิจัยในผู้หญิงนั้นชี้ว่า ยานี้มีเสี่ยงเล็กน้อยต่อเด็กทารก หากใช้ยานี้ขณะให้นมบุตร

    ปฏิกิริยาของยา

    ปฏิกิริยากับยาอื่น

    ปฏิกิริยาของยานั้นอาจจะเปลี่ยนแปลงการทำงานของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง ข้อมูลนี้ไม่ได้มีปฏิกิริยาของยาที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งหมด ควรเก็บรายชื่อของยาทั้งหมดที่คุณใช้ (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) และแจ้งให้แพทย์และเภสัชกรทราบ โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

    • อะซีโนคูมารอล (Acenocoumarol)
    • อะนิซินไดโอน (Anisindione)
    • ไดคูมารอล (Dicumarol)
    • ฟีนินไดโอน (Phenindione)
    • เฟนโพรคูมอน (Phenprocoumon)
    • วาฟาริน (Warfarin)

    ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

    ยาบางชนิดไม่ควรใช้ในเวลาเดียวกันกับการรับประทานอาหาร หรือขณะรับประทานอาหารบางชนิด เนื่องจากอาจทำให้เกิดปฏิกิริยาได้ การดื่มสุราหรือสูบบุหรี่ขณะที่กำลังใช้ยาบางชนิด อาจทำให้เกิดปฏิกิริยาขึ้น โปรดปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับการใช้ยาพร้อมกับรับประทานอาการ ดื่มสุรา หรือสูบบุหรี่

    ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

    ปัญหาทางสุขภาพบางอย่างอาจจะส่งผลกระทบต่อการใช้ยานี้ โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณมีปัญหาสุขภาพอื่นๆ โดยเฉพาะ

    • โรคหลอดลมอักเสบ
    • สภาวะเกี่ยวกับปอดอื่นๆ การใช้ยาไอโอดีนที่มีฤทธิ์แรงอาจทำให้สภาวะนี้รุนแรงขึ้น
    • ภาวะโพแทสเซียมในเลือดมากเกินไป (Hyperkalemia)
    • โรคไต การใช้ยาไอโอดีนที่มีฤทธิ์แรง อาจเพิ่มปริมาณของโพแทสเซียมภายในเลือด และเพิ่มโอกาสในการเกิดผลข้างเคียง

    ขนาดยา

    ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

    ขนาดยาไอโอดีนสำหรับผู้ใหญ่

    เพื่อลดท่อของต่อมไทรอยด์ก่อนการผ่าตัด

    • ผู้ใหญ่ สำหรับโพแทสเซียมไอโอไดด์ รับประทาน 50-250 มก. (ประมาณ 1-5 หยดของสารละลายบรรจุ 1 กรัม/มล.) วันละสามครั้ง เป็นเวลา 10-14 วัน ก่อนการผ่าตัด

    ป้องกันจากสารไอโอดีนกัมมันตรังสี

    • ผู้ใหญ่ สำหรับโพแทสเซียมไอโอไดด์ 100-150 มก. รับประทาน 24 ชั่วโมงก่อนการผ่าตัดและทุกๆ วัน เป็นเวลานานถึง 10 วันหลังจากการผ่าตัด

    โรคสปอโรทริโคสิสที่ผิวหนังหรือต่อมน้ำเหลือง (Cutaneous or lymphocutaneous sporotrichosis)

    • ผู้ใหญ่ สำหรับสารละลายโพแทสเซียมไอโอไดด์ขนาด 1 กรัม/มล. ให้ขนาดยาเริ่มต้น 1 มล. รับประทานวันละสามครั้ง ควรใช้ยาต่อเนื่องนานอย่างน้อย 1 เดือนหลังจากที่แผลหายไปหรือคงที่

    ภาวะขาดไอโดดีน (Iodine deficiency disorders)

    • ผู้ใหญ่ สำหรับน้ำมันเสริมไอโอดีน (น้ำมันเมล็ดป๊อบปี้/น้ำมันถั่วลิสง/น้ำมันเรพซีดบรรจุประมาณ 38% น้ำหนัก/น้ำหนักหรือ 480 มก./มล. ของไอโอดีน) รับประทานไอโอดีน 400 มก. ปีละครั้ง
    • ผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์ รับประทานไอโอดีน 200 มก. ครั้ง ระดับปานกลางถึงรุนแรง รับประทานไอโอดีน 300-480 มก. ต่อปี หรือรับประทานไอโอดีน 100-300 มก. ทุกๆ 6 เดือน และเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี หลังคลอด

    ภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษวิกฤติ (Thyroid storm)

    • ผู้ใหญ่ สำหรับโพแทสเซียมไอโอไดด์ สูงถึง 500 มก. รับประทานทุกๆ 4 ชั่วโมง

    ภาวะขาดไอโดดีน

    • ผู้ใหญ่ สำหรับน้ำมันเสริมไอโอดีน (น้ำมันเมล็ดป๊อบปี้/น้ำมันถั่วลิสง/น้ำมันเรพซีดบรรจุประมาณ 38% น้ำหนัก/น้ำหนักหรือ 480 มก./มล. ของไอโอดีน) จนถึงอายุ 45 ปี ฉีดยาไอโดดีน 380 มก. เข้ากล้ามเนื้อหนึ่งครั้ง เพื่อป้องกันภาวะขาดไอโอดีนอย่างเพียงพอเป็นเวลานานถึง 3 ปี
    • สำหรับผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์ ระดับปานกลางถึงรุนแรง 480 มก. ต่อปี

    แผลบนผิวหนังเล็กๆ ตื้นๆ

    • ผู้ใหญ่ ทาเฉพาะที่/ผิวหนัง ยาสารละลายหรือยาขี้ผึ้ง 2% หรือ 2.5% ทายาปริมาณเล็กน้อยลงในบริเวณที่มีอาการวันละ 1-3 ครั้ง

    ทำความสะอาดแผลที่ยังไม่แห้งและบาดแผล

    • ผู้ใหญ่ ทาเฉพาะที่/ผิวหนัง ยาเจลเฉพาะที่ 0.9% ทายาเพื่อทำความสะอาดแผล ขนาดยาสูงสุด 50 กรัม/ครั้ง และ 150 กรัม/สัปดาห์ เปลี่ยนผ้าพันแผลประมาณ 3 ครั้ง/สัปดาห์ และลดการทายาลงเมื่อน้ำหนองลดลง อย่าใช้นานกว่า 3 เดือน และหยุดการรักษาหลังจากที่แผลไม่มีหนอง

    ขนาดยาไอโอดีนสำหรับเด็ก

    เพื่อลดท่อของต่อมไทรอยด์ก่อนการผ่าตัด

    • เด็ก สำหรับโพแทสเซียมไอโอไดด์ รับประทาน 50-250 มก. (ประมาณ 1-5 หยดของสารละลายบรรจุ 1 กรัม/มล.) วันละสามครั้ง เป็นเวลา 10-14 วันก่อนการผ่าตัด สำหรับยาสารละลายไอโอดีนฤทธิ์แรง 0.1-0.3 มล. (หรือประมาณ 3-5 หยด) วันละสามครั้ง

    โรคเกรฟส์ (Grave’s disease)

    • เด็ก ทารกแรกเกิด หยดยาสารละลายไอโอดีนฤทธิ์แรง 1 หยด รับประทานทุกๆ 8 ชั่วโมง

    ป้องกันจากสารไอโอดีนกัมมันตรังสี

    • เด็ก สำหรับโพแทสเซียมไอโอไดด์ ทารกตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึง 1 เดือน ที่คาดการว่ามีการเปิดรับไทรอยด์มากกว่าหรือเท่ากับ 5 เซนติเกรย์ รับประทาน 16 มก.
    • อายุมากกว่า 1 เดือนจนถึง 3 ปี ที่คาดการว่ามีการเปิดรับไทรอยด์มากกว่าหรือเท่ากับ 5 เซนติเกรย์ รับประทาน 32 มก.
    • อายุมากกว่า 3 ปีจนถึง 18 ปี (ยกเว้นวัยรุ่นที่มีขนาดตัวใกล้กับผู้ใหญ่) ที่คาดการณ์ว่ามีการเปิดรับไทรอยด์มากกว่าหรือเท่ากับ 5 เซนติเกรย์ รับประทาน 65 มก. ห้ามเกินขนาดยาวันละครั้ง

    โรคสปอโรทริโคสิสที่ผิวหนังหรือต่อมน้ำเหลือง

    • เด็ก สำหรับโพแทสเซียมไอโอไดด์ ขนาดยาเริ่มต้นรับประทาน 250 มก. (ประมาณ 5 หยดของสารละลายบรรจุ 1 กรัม/มล.) วันละสามครั้ง ขนาดยาสูงสุด 1.25-2 กรัม (ประมาณ 25-40 หยด) รับประทานวันละสามครั้ง ระยะเวลาในการรักษา 3-6 เดือน

    ภาวะขาดไอโดดีน

    • เด็ก สำหรับน้ำมันเสริมไอโอดีน (น้ำมันเมล็ดป๊อบปี้/น้ำมันถั่วลิสง/น้ำมันเรพซีดบรรจุประมาณ 38% น้ำหนัก/น้ำหนักหรือ 480 มก./มล. ของไอโอดีน) ทารกอายุไม่เกิน 1 ปี รับประทานไอโอดีน 100 มก. หนึ่งครั้ง อายุ 1-5 ปี รับประทานไอโอดีน 200 มก. อายุมากกว่า 6 ปี รับประทานไอโอดีน 400 มก.

    ภาวะขาดไอโดดีน

    • เด็ก สำหรับน้ำมันเสริมไอโอดีน (น้ำมันเมล็ดป๊อบปี้/น้ำมันถั่วลิสง/น้ำมันเรพซีดบรรจุประมาณ 38% น้ำหนัก/น้ำหนักหรือ 480 มก./มล. ของไอโอดีน) ฉีดยาไอโดดีน 380 มก. เข้ากล้ามเนื้อหนึ่งครั้ง เพื่อป้องกันภาวะขาดไอโอดีนได้นานถึง 3 ปี
    • ทารกอายุไม่เกิน 1 ปี ใช้น้ำมันเสริมไอโอดีน 190 มก. (ไอโอดีน 480 มก./มล)

    แผลบนผิวหนังเล็กๆ ตื้นๆ

    • เด็ก ทาเฉพาะที่/ผิวหนัง ยาสารละลายหรือยาขี้ผึ้ง 2% หรือ 2.5% ทายาปริมาณเล็กน้อยลงในบริเวณที่มีอาการวันละ 1-3 ครั้ง

    ทำความสะอาดแผลมีหนองและบาดแผล

    • เด็ก ทาเฉพาะที่/ผิวหนัง ยาเจลเฉพาะที่ 0.9% ทายาเพื่อทำความสะอาดแผล ขนาดยาสูงสุด 50 กรัม/ครั้ง และ 150 กรัม/สัปดาห์ เปลี่ยนผ้าพันแผลประมาณ 3 ครั้ง/สัปดาห์ และลดการทายาลงเมื่อน้ำหนองลดลง อย่าใช้นานกว่า 3 เดือน และหยุดการรักษาหลังจากที่แผลไม่มีหนอง

    รูปแบบของยา

    ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

    • ยาสารละลายสำหรับรับประทาน โพแทสเซียมไอโอไดด์ 100 มก./มล. และไอโอดีน 50 มก./มล.
    • ยาสารละลายเฉพาะที่ โพแทสเซียมไอโอไดด์ 100 มก./มล. และไอโอดีน 50 มก./มล.

    กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

    หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

    กรณีลืมใช้ยา

    หากคุณลืมรับประทานยาควรรีบรับประทานทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลารับประทานยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปรับประทานยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

    ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 08/02/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา