backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

มีเพนโซเลต โบรไมด์ (Mepenzolate Bromide)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ข้อบ่งใช้

ยา มีเพนโซเลต โบรไมด์ ใช้สำหรับ

ยา มีเพนโซเลต โบรไมด์ (Mepenzolate Bromide) ใช้ร่วมกับยาอื่นเพื่อรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ยานี้ทำงานโดยการลดการปล่อยกรดในกระเพาะอาหาร

วิธีการใช้ยา มีเพนโซเลต โบรไมด์

รับประทานยานี้ โดยปกติคือวันละ 4 ครั้ง พร้อมกับอาหารและก่อนนอน หรือตามที่แพทย์กำหนด

ขนาดยาขึ้นอยู่กับสภาวะทางการแพทย์ และการตอบสนองต่อการรักษา

ใช้ยานี้เป็นประจำ เพื่อให้ได้ประโยชน์จากยาสูงสุด เพื่อให้ง่ายต่อการจำ ควรรับประทานยาในเวลาเดียวกันทุกวัน

ยาลดกรด อาจลดการดูดซึมยานี้ได้ ควรรับประทานยา มีเพนโซเลต โบรไมด์ อย่างน้อย 1 ชั่วโมง ก่อนยาลดกรด

แจ้งให้แพทย์ทราบ หากอาการของคุณไม่หายไปหรือรุนแรงขึ้น

การเก็บรักษายา มีเพนโซเลต โบรไมด์

ยา มีเพนโซเลต โบรไมด์ ควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยา มีเพนโซเลต โบรไมด์ บางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัย โปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยามีเพนโซเลต โบรไมด์ลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยา มีเพนโซเลต โบรไมด์

ก่อนใช้ยามีเพนโซเลต แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ หากคุณแพ้ต่อยานี้ หรือหากคุณเป็นโรคภูมิแพ้อื่นๆ ยานี้อาจสารไม่มีฤทธิ์ที่ทำให้เกิดอาการแพ้หรือปัญหาอื่น โปรดปรึกษาเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ของคุณ โดยเฉพาะโรคต้อหิน โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจี มีการเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารหรือลำไส้ผิดปกติ หรือมีการอุดตันที่กระเพาะอาหารหรือลำไส้ เช่น ภาวะลำไส้อืด ภาวะกระเพาะอาหารและลำไส้ตีบ โรคอะคาเลเซีย (achalasia) หรือภาวะลำไส้บีบตัวน้อย ปัสสาวะติดขัด เช่น โรคต่อมลูกหมากโต โรคตับ โรคไต โรคหัวใจหรือโรคหลอดเลือด เช่น โรคหัวใจวาย โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือภาวะหัวใจเต้นเร็ว ภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน หรือปัญหาเกี่ยวกับหลอดอาหาร เช่น โรคกรดไหลย้อน ความผิดปกติของระบบประสาท เช่น เส้นประสาทอัตโนมัติเสื่อม ท้องร่วง ปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ เช่น โรคหอบหืด โรคลำไส้บางชนิด เช่น ภาวะลำไส้โป่งพองเป็นพิษ หรือโรคลำไส้อักเสบชนิดมีแผล

ก่อนการผ่าตัด แจ้งให้แพทย์หรือทันตแพทย์ทราบว่า คุณกำลังใช้ยานี้

  • ยานี้อาจทำให้เกิดอาการวิงเวียน ง่วงซึม หรือมองเห็นไม่ชัดได้ อย่าขับรถ ใช้เครื่องจักร หรือทำกิจกรรมที่ต้องการความตื่นตัว หรือการมองเห็นที่ชัดเจน จนกว่าคุณจะสามารถทำได้อย่างปลอดภัย และควรจำกัดปริมาณเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ยานี้สามารถลดเหงื่อได้ เพื่อการป้องกันโรคลมแดด ควรหลีกเลี่ยงการทำให้ตัวเองร้อนเกินไปในสภาพอากาศร้อน ห้องซาวน่า หรือระหว่างการออกกำลังกายหรือกิจกรรมที่ต้องใช้กำลังมากอื่นๆ
  • ควรระมัดระวังเมื่อใช้ยาในผู้สูงอายุ เนื่องจากผู้สูงอายุอาจมีปฏิกิริยาไวต่อผลข้างเคียงของยานี้ได้มากกว่า
  • ในช่วงขณะการตั้งครรภ์ควรใช้ยานี้เมื่อจำเป็นเท่านั้น โปรดปรึกษาความเสี่ยงและประโยชน์กับแพทย์
  • ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า ยานี้สามารถส่งผ่านน้ำนมแม่ได้หรือไม่ โปรดปรึกษาแพทย์ก่อนให้นมบุตร

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือ เกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

ยามีเพนโซเลต โบรไมด์จัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ ประเภท B โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรมีครรภ์ โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยา มีเพนโซเลต โบรไมด์

อาจเกิดอาการปากแห้ง เหงื่อลดลง ง่วงซึม มองเห็นไม่ชัด รูม่านตาขยายกว้าง คลื่นไส้อาเจียน หรือท้องผูก หากอาการเหล่านี้ไม่หายไป หรือรุนแรงขึ้น โปรดแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรในทันที

โปรดจำไว้ว่า การที่แพทย์ให้คุณใช้ยาตัวนี้ เนื่องจากพิจารณาแล้วว่า ยามีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง และคนที่ใช้ยานี้ส่วนใหญ่ไม่พบผลข้างเคียงที่ร้ายแรงใดๆ

แจ้งให้แพทย์ทราบในทันที หากเกิดผลข้างเคียงที่ไม่ค่อยจะเกิดขึ้น แต่รุนแรงดังต่อไปนี้ มีความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์หรือจิตใจ ปวดดวงตาหรือมีแรงดันในดวงตา หัวใจเต้นเร็วหรือรัว ปัสสาวะติดขัด สมรรถภาพทางเพศลดลง

การแพ้ยาที่รุนแรงต่อยานี้ ค่อนข้างเกิดขึ้นได้ยาก แต่จำเป็นต้องได้รับการรักษาที่ทันท่วงที อาการของการแพ้รุนแรงมีดังนี้ ผดผื่น คันหรือบวม (โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า ลิ้น และลำคอ) วิงเวียนขั้นรุนแรง หายใจติดขัด

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาที่อาจมีปฏิกิริยากับยานี้ได้แก่

  • ยาต้านฮีสตามีน (antihistamines) เช่น ไดเฟนไฮดรามีน (diphenhydramine) หรือมีไคลซีน (meclizine)
  • ยาแก้ปวดท้อง เช่นไดไซโคลมีน (dicyclomine) เบลลาดอนนา อัลคาลอยด์ (belladonna alkaloids) เช่นสโคโปลามีน (scopolamine) หรืออะโทรพีน (atropine)
  • ยารักษาอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิด (antiarrhythmic drugs) เช่น ควินิดีน (quinidine)
  • ยารักษาโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) บางชนิด เช่น อะแมนทาดีน (amantadine) เบนซ์โทรปีน (benztropine) หรือไตรเฮกซีเฟนิดิล (trihexyphenidyl)
  • คอร์ติโคสเตียรอยด์ (corticosteroids) เช่น เพรดนิโซน (prednisone) ไดจอกซินชนิดละลายช้า (digoxin)
  • ยารักษาโรคต้อหิน เช่น ทิโมลอล (timolol)
  • ยาที่ขึ้นอยู่กับความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร เช่น คีโตโคนาโซล (ketoconazole)
  • ยาในกลุ่มเอ็มเอโอไอ (MAO inhibitors) เช่น ไอโซคาร์โบซาซิด (isocarboxazid) ไลนิโซลิด (linezolid) เมทิลีน บลู (methylene blue) โมโคลเบไมด์ (moclobemide) ฟีเนลซีน (phenelzine) โพรคาร์เบซีน (procarbazine) ราซาจิลีน (rasagiline) ซาฟินาไมด์ (safinamide) เซเลจิลีน (selegiline) หรือทรานิลไซโพรมีน (tranylcypromine)
  • ยาไนเตรต (nitrates) เช่น ไอโซซอร์ไบด์ ไดไนเตรต (isosorbide dinitrate) ฟีโนไทอาซีน (phenothiazines) เช่น คลอร์โปรมาซีน (chlorpromazine)
  • ยาเม็ดหรือแคปซูลโพแทสเซียม
  • แพรมลินไทด์ (pramlintide)
  • ยาต้านซึมเศร้ากลุ่มไตรไซคลิก (tricyclic antidepressants) เช่น อะมิทริปไทลีน (amitriptyline)
  • แจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณใช้ยาที่ทำให้เกิดอาการง่วงซึม เช่น

    • ยานอนหลับ หรือยาสำหรับอาการวิตกกังวล อย่างอัลปราโซแลม (alprazolam) ไดอาเซแพม (diazepam) หรือโซลพิเดม (zolpidem)
    • ยาคลายกล้ามเนื้อ
    • ยาแก้ปวดแบบเสพติด (narcotic pain relievers) อย่างโคเดอีน (codeine)
    • ยารักษาอาการทางจิต อย่างคลอร์โปรมาซีน (chlorpromazine) ริสเพริโดน (risperidone) หรือทราโซโดน (trazodone)

    ควรตรวจสอบฉลากของยาทั้งหมด (เช่นยาแก้แพ้หรือยาแก้ไอแก้หวัด) เนื่องจากอาจมีส่วนประกอบที่ทำให้เกิดอาการง่วงซึมได้ โปรดสอบถามแพทย์เกี่ยวกับวิธีการใช้ยาเหล่านี้อย่างปลอดภัย

    ยามีเพนโซเลต โบรไมด์ อาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

    ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

    ยามีเพนโซเลต โบรไมด์อาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

    ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

    ยามีเพนโซเลต โบรไมด์อาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

    ขนาดยา

    ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

    ขนาดยา มีเพนโซเลต โบรไมด์ สำหรับผู้ใหญ่

    ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่โดยทั่วไปคือ 1 หรือ 2 เม็ด (25 หรือ 50 มก.) วันละ 4 ครั้ง ควรรับประทานก่อนอาหารและก่อนนอน หากเป็นไปได้ควรเริ่มต้นที่ขนาดยาที่ต่ำแล้วค่อยปรับขนาดยาในภายหลังโดยขึ้นอยู่กับการตอบสนองของผู้ป่วย

    โดยทั่วไปแล้ว การเลือกขนาดยาสำหรับผู้สูงอายุนั้น จะเริ่มที่ท้ายสุดของช่วงขนาดยา โดยคำนึงถึงความถี่ที่มาก กว่าในการเกิดสมรรถภาพของตับ ไต หรือหัวใจลดลง และโรคที่เกิดขึ้นพร้อมกัน หรือการรักษาด้วยยาอื่นๆ

    ขนาดยามีเพนโซเลต โบรไมด์สำหรับเด็ก

    ยังไม่มีการพิสูจน์ความความปลอดภัย และประสิทธิภาพของขนาดยานี้สำหรับผู้ป่วยเด็ก ยานี้อาจเป็นอันตรายต่อเด็กได้ ดังนั้น จึงควรทำความเข้าใจกับความปลอดภัยของยาก่อนการใช้ยา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดติดต่อกับแพทย์หรือเภสัชกร

    รูปแบบของยา

    ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

    • ยาเม็ด

    กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

    หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

    กรณีลืมใช้ยา

    หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

    ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา