backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

อินซูลิน ลิสโปร (Insulin Lispro)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 09/11/2020

อินซูลิน ลิสโปร (Insulin Lispro)

อินซูลิน ลิสโปร (Insulin Lispro) ใช้คู่กับอาหารและโปรแกรมการออกกำลังกายที่เหมาะสม เพื่อควบคุมระดับของน้ำตาลในเลือด สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน

ข้อบ่งใช้

ยา อินซูลิน ลิสโปร ใช้สำหรับ

อินซูลิน ลิสโปร (Insulin Lispro) ใช้คู่กับอาหารและโปรแกรมการออกกำลังกายที่เหมาะสม เพื่อควบคุมระดับของน้ำตาลในเลือด สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดช่วยป้องกันไตบาดเจ็บ ตาบอด เส้นประสาทมีปัญหา สูญเสียแขนขา และการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ การควบคุมโรคเบาหวานที่เหมาะสม ยังช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจขาดเลือดฉับพลัน หรือโรคหลอดเลือดสมองอีกด้วย

ยาอินซูลิน ลิสโปรเป็นผลิตภัณฑ์ที่ถูกสังเคราะห์ขึ้น โดยมีความคล้ายคลึงกับสารอินซูลินในร่างกายมนุษย์ มาทดแทนสารอินซูลินที่ร่างกายสร้างขึ้นตามปกติ ยาอินซูลิน ลิสโปร นั้นทำงานได้เร็วกว่า และสลายไปได้เร็วกว่าอินซูลินปกติ ทำหน้าที่ช่วยนำพาน้ำตาลกลูโคสในเลือดเข้าสู่เซลล์ เพื่อที่ร่างกายจะได้เอาไปใช้เป็นพลังงาน

ยานี้ใช้ร่วมกับยาอินซูลินแบบออกฤทธิ์ปานกลางหรือออกฤทธิ์นาน ยาอินซูลินลิสโปรยังสามารถใช้ร่วมกับยารักษาโรคเบาหวานแบบรับประทานอื่นๆ ได้อีกด้วย เช่น ยาซัลโฟนิลยูเรีย (Sulfonylurea) อย่างเช่น ไกลบูไรด์ (glyburide) หรือไกลพิไซด์ (glipizide)

วิธีการใช้ยาอินซูลิน ลิสโปร

ก่อนการใช้ยา ควรตรวจสอบยาด้วยตาดูว่า มีฝุ่นละอองหรือเปลี่ยนสีหรือไม่ หากมีลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้น ไม่ควรใช้ยานั้น ยาอินซูลินลิสโปรควรจะใสและไม่มีสี

ก่อนฉีดยาทุกครั้ง ควรทำความสะอาดบริเวณที่จะฉีดยาด้วยแอลกอฮอล์ เปลี่ยนบริเวณที่ฉีดยาทุกครั้ง เพื่อลดอาการบาดเจ็บใต้ผิว และเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาใต้ผิวหนัง อย่างภาวะไขมันกระจายตัวผิดปกติ (lipodystrophy) อาจฉีดยาอินซูลิน ลิสโปรเข้าที่บริเวณท้อง ต้นขา ก้น หรือด้านหลังของต้นแขน ไม่ควรฉีดยาตรงบริเวณที่แดง บวม หรือคัน ไม่ควรฉีดยาอินซูลินที่มีความเย็นเพราะจะทำให้รู้สึกปวด บรรจุภัณฑ์อินซูลินที่คุณกำลังใช้อยู่ สามารถเก็บไว้ในอุณภูมิห้องได้

ฉีดยานี้ใต้ผิวหนังตามที่แพทย์สั่ง โดยปกติคือ 15 นาทีก่อนรับประทานอาหาร หรือทันทีหลังรับประทานอาหาร ห้ามฉีดยานี้เข้าหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อ เพราะอาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (hypoglycemia) เนื่องจากอินซูลินออกฤทธิ์ได้เร็ว การไม่รับประทานอาหารหลังจากฉีดอินซูลิน อาจทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำได้ อย่าฉีดยาหากคุณมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หลังจากการฉีดยาไม่ควรถูตรงบริเวณนั้น

การฉีดยาอินซูลิน ลิสโปรควรทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เนื่องจากมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

หากคุณต้องใช้ฉีดยาอินซูลินด้วยอินฟิวชั่นปั๊ม (Infusion Pump) ควรอ่านคู่มือการใช้งานและคำแนะนำที่ติดมาด้วยให้ดี หากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ ให้สอบถามกับแพทย์ หลีกเลี่ยงไม่ให้เครื่องปั๊มหรือท่อปั๊มสัมผัสกับแสงแดดหรือแหล่งความร้อนอื่น ๆ โดยตรง และไม่ควรเจือจางยาอินซูลินหากคุณใช้เครื่องปั๊ม

ยานี้สามารถผสมได้แค่เฉพาะกับยาอินซูลินบางชนิดเท่านั้น เช่น ยาเอ็นพีเฮชอินซูลิน (NPH Insulin) ดูดยาอินซูลินลิสโปรเข้าไปในเข็มฉีดยาก่อนแล้วจึงค่อยตามด้วยยาอินซูลินแบบออกฤทธิ์นาน ห้ามฉีดยาอินซูลินแบบผสมเข้าในหลอดเลือดดำ ปรึกษากับแพทย์ว่ายาแบบไหนสามารถผสมกันได้ วิธีการผสมอินซูลินที่ถูกต้อง และวิธีการฉีดอินซูลินผสมที่ถูกต้อง ไม่ควรผสมอินซูลิน หากคุณใช้อินซูลินปั๊ม

หากคุณต้องเจือจางยาอินซูลินลิสโปรก่อนใช้ ควรสอบถามแพทย์ถึงวิธีการเจือจางยาอินซูลินลิสโปรที่ถูกต้อง

อย่าเปลี่ยนยี่ห้อหรือชนิดของยาอินซูลินหากแพทย์ไม่ได้สั่ง

อย่าใช้ปากกาอินซูลินร่วมกับผู้อื่น แม้ว่าจะเปลี่ยนเข็มแล้ว เนื่องจากผู้อื่นอาจจะติดเชื้อร้ายแรง หรือคุณอาจจะติดเชื้อร้ายแรงจากผู้อื่นได้ เรียนรู้วิธีการเก็บรักษา และกำจัดอุปกรณ์ทางการแพทย์อย่างปลอดภัย

ขนาดยาขึ้นอยู่กับอาการของคุณ และการตอบสนองต่อการรักษา ควรตวงขนาดยาแต่ละครั้งด้วยความระมัดระวัง เพราะการเปลี่ยนแปลงขนาดยาอินซูลินแม้เพียงเล็กน้อย ก็อาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อระดับน้ำตาลในเลือด

ควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำตามที่แพทย์กำหนด คอยติดตามผล และแจ้งให้แพทย์ทราบ เนื่องจากมีความสำคัญในการกำหนดขนาดยาที่ถูกต้อง

ใช้ยานี้เป็นประจำเพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุด เพื่อให้ง่ายต่อการจำ ควรใช้ยาในเวลาเดียวกันทุกวัน

แจ้งแพทย์ หากอาการของคุณไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง (ระดับน้ำตาลในเลือดของคุณสูงหรือต่ำเกินไป)

การเก็บรักษายาอินซูลินลิสโปร

เก็บยานี้ไว้ในบรรจุภัณฑ์เดิม ป้องกันจากความร้อนและแสง อย่าดูดยาอินซูลินจากขวดยาไปเก็บไว้ในหลอดฉีดยา จนกว่าคุณจะพร้อมใช้ยา อย่าแช่แข็งยาอินซูลิน หรือเก็บไว้ใกล้กับเครื่องทำความเย็นในตู้เย็น หากยานั้นแช่แข็งไปแล้ว ให้ทิ้งไปซะ

วิธีการเก็บรักษายาอินซูลินลิสโปรที่ยังไม่ได้เปิด (ยังไม่ได้ใช้)

  • แช่เย็นและใช้จนกว่ายาจะถึงวันหมดอายุ
  • เก็บยาไว้ที่อุณภูมิห้องและใช้ภายใน 28 วัน

วิธีการเก็บรักษายาอินซูลินลิสโปรที่เปิดขวดแล้ว (กำลังใช้)

  • เก็บขวดยาไว้ในตู้เย็น หรือไว้ในอุณหภูมิห้อง และใช้ภายใน 28 วัน
  • เก็บหลอดบรรจุยาหรือปากกาอินซูลินไว้ที่อุณหภูมิห้อง (ห้ามแช่เย็น) และใช้ภายใน 28 วัน อย่าเก็บปากกาอินซูลินโดยมีเข็มฉีดยาติดไว้

อย่าใช้ยานี้หากยาขุ่น เปลี่ยนสี หรือมีฝุ่นละอองในยา แจ้งเภสัชกรเพื่อเปลี่ยนยาใหม่

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยา อินซูลิน ลิสโปร

ก่อนใช้ยาอินซูลิน ลิสโปร แจ้งแพทย์หากคุณมีอาการแพ้ยานี้ หรือยาอินซูลินแบบอื่น ยานี้อาจจะมีส่วนประกอบที่ไม่สำคัญที่ทำให้เกิดอาการแพ้หรือปัญหาอื่นได้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดปรึกษากับแพทย์

อย่าใช้ยานี้ หากคุณมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (hypoglycemia)

ก่อนใช้ยานี้แจ้งประวัติทางการแพทย์ของคุณ โดยเฉพาะโรคไต โรคตับ หรือปัญหาเกี่ยวกับไทรอยด์

คุณอาจจะมีอาการมองเห็นไม่ชัด มึนงง หรือง่วงซึม เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดต่ำมากหรือสูงมาก ห้ามขับรถ ใช้เครื่องจักร หรือทำกิจกรรมใดที่ต้องการความตื่นตัว จนกว่าคุณจะแน่ใจว่าจะสามารถทำได้อย่างปลอดภัย

จำกัดปริมาณของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ขณะใช้ยานี้ เนื่องจากอาจเพิ่มความเสี่ยงในการมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำได้

การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอาจทำได้ยากขึ้น หากร่างกายของคุณนั้นเครียด (เช่น เป็นไข้ ติดเชื้อ บาดเจ็บ หรือผ่าตัด) ปรึกษากับแพทย์เนื่องจากอาจจำเป็นต้องปรับแผนการรักษา ยา หรือการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด

ก่อนการผ่าตัด แจ้งแพทย์หรือทันตแพทย์เกี่ยวกับยาที่คุณกำลังใช้อยู่ทั้งหมด (ทั้งยาตามใบสั่งยา ยาที่ซื้อเองได้ และสมุนไพรต่าง ๆ)

วัดระดับน้ำตาลในเลือดก่อนและหลังการออกกำลังกาย คุณอาจต้องรับประทานของขบเคี้ยวไว้ล่วงหน้า

หากไปท่องเที่ยวข้ามเขตไทม์โซน สอบถามวิธีการปรับตารางการใช้ยาอินซูลินกับแพทย์ และควรเตรียมยาอินซูลินไปเผื่อด้วย

ผู้สูงอายุอาจจะไวต่อผลข้างเคียงของยานี้มากกว่า โดยเฉพาะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ

เด็กอาจจะไวต่อผลข้างเคียงของยานี้มากกว่า โดยเฉพาะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ

แจ้งแพทย์หากคุณเกิดตั้งครรภ์ขึ้นมา การตั้งครรภ์อาจทำให้โรคเบาหวานแย่ลงได้ วางแผนกับแพทย์ถึงวิธีการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดขณะตั้งครรภ์ แพทย์อาจต้องเปลี่ยนวิธีการรักษาโรคเบาหวาน ขณะที่คุณตั้งครรภ์ (เช่น อาหารและยา รวมถึงอินซูลิน)

ยานี้สามารถส่งต่อผ่านทางน้ำนมแม่ได้ แต่อาจไม่ทำอันตรายใด ๆ กับเด็กทารก ปรึกษากับแพทย์ก่อนให้นมบุตร เพราะอาจจำเป็นต้องเปลี่ยนยาอินซูลินขณะให้นมบุตร

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้ ยาอินซูลินลิสโปรจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด B โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= พบหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ยาต้องห้าม
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยา อินซูลิน ลิสโปร

อาจมีปฏิกิริยาขึ้นที่บริเวณที่ฉีดยา (เช่น อาการปวด รอยแดง ระคายเคือง) หากอาการเหล่านี้ไม่ยอมหายไปหรือแย่ลง ควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรในทันที

โปรดจำไว้ว่าการที่แพทย์ให้คุณใช้ยาตัวนี้ เนื่องจากคำนวณแล้วว่ายามีประโยชน์มากกว่าเป็นโทษ และคนที่ใช้ยานี้ส่วนใหญ่ไม่พบผลข้างเคียงที่ร้ายแรงใด ๆ

แจ้งแพทย์ในทันที หากคุณมีผลข้างเคียงที่รุนแรง ได้แก่ สัญญาณของระดับโพแทสเซียมในเลือดต่ำ (เช่น ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนแรง หรือหัวใจเต้นผิดปกติ)

ยานี้สามารถทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (hypoglycemia) ซึ่งอาจเกิดขึ้น หากคุณบริโภคแคลอรี่จากอาหารไม่เพียงพอ หรือหากคุณออกกำลังกายอย่างอย่างหนัก อาการของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ คือ เหงื่อออก ตัวสั่น หัวใจเต้นเร็ว หิว มองเห็นไม่ชัด มึนงง หรือเป็นเหน็บที่มือและขา ควรพกยาเม็ดหรือเจลกลูโคสติดตัวไว้ เพื่อรักษาอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ หากคุณไม่มีน้ำตาลกลูในรูปแบบที่เชื่อถือได้เหล่านี้ สามารถเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างรวดเร็ว ด้วยการรับประทานน้ำตาลจากแหล่งอื่น อย่างเช่น น้ำตาลทราย น้ำผึ้ง หรือลูกอม หรือดื่มน้ำผลไม้ หรือน้ำอัดลมแบบธรรมดา แจ้งแพทย์ทันทีเกี่ยวกับปฏิกิริยาและการใช้ยานี้

เพื่อช่วยป้องกันระดับน้ำตาลในเลือดต่ำควรรับประทานอาหารให้ตรงตามเวลาปกติ และไม่งดมื้ออาหาร ปรึกษากับแพทย์ถึงสิ่งที่ควรทำหากคุณข้ามมื้ออาหารไป

หากคุณมีอาการของภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (hyperglycemia) ได้แก่ กระหายน้ำ ปัสสาวะมากขึ้น สับสน ง่วงซึม หน้าแดง หายใจเร็ว และมีกลิ่นปากเหมือนกลิ่นผลไม้ แจ้งแพทย์ในทันทีเพราะอาจจำเป็นต้องปรับขนาดยาให้เพิ่มขึ้น

การแพ้ยาที่รุนแรงนี้ค่อนข้างเกิดขึ้นได้ยาก แต่จำเป็นต้องได้รับการรักษาที่ทันท่วงที หากคุณสังเกตเห็นอาการของการแพ้รุนแรงอาจมี เช่น ผื่นขึ้น คัน หรือบวม (โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า ลิ้น และลำคอ) เวียนหัวขั้นรุนแรง หายใจติดขัด

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ หรืออาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใด ๆ โปรดปรึกษากับแพทย์

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาที่อาจจะมีปฏิกิริยากับยานี้ ได้แก่ ยาโรซิกลิทาโซน (rosiglitazone)

ยาเบต้าบล็อคเกอร์ (Beta-blocker medications) อย่างเช่น เมโทโพรลอล (metoprolol) โพรพราโนลอล (propranolol) ยาหยอดตารักษาต้อหิน อย่างเช่น ทิโมลอล (timolol) อาจป้องกันอาการหัวใจเต้นแรง ที่คุณมักจะรู้สึกเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลงเกินไป (hypoglycemia) อาการอื่น ๆ ของระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ เช่น วิงเวียน หิว หรือเหงื่อออกนั้น จะไม่ได้รับผลกระทบจากยาเหล่านี้

ยาจำนวนมากสามารถส่งผลกระทบต่อระดับน้ำตาลในเลือด ทำให้ยากที่จะควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ก่อนคุณจะเริ่มใช้ หยุด หรือเปลี่ยนยาใด ๆ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรว่า ยาตัวนั้นอาจมีผลกับระดับน้ำตาลในเลือดของคุณอย่างไรบ้าง ควรตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำตามที่แพทย์กำหนด และแจ้งผลหรืออาการของระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำให้แพทย์ได้ทราบ (ดูเพิ่มเติมในส่วนของผลข้างเคียง) แพทย์อาจจะต้องปรับขนาดยารักษาโรคเบาหวาน โปรแกรมการออกกำลังกาย หรืออาหารของคุณ

ยาอินซูลิน ลิสโปรอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่าง ๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาอินซูลิน ลิสโปรอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาอินซูลิน ลิสโปรอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์และเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยา อินซูลิน ลิสโปร สำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 1

ขนาดยาจะแตกต่างกันตามความต้องการในการเผาผลาญ และความถี่ในการเฝ้าสังเกตระดับของน้ำตาลกลูโคสในเลือด

  • ปริมาณของอินซูลินที่ต้องการในแต่ละวัน โดยปกติจะอยู่ที่ระหว่าง 0.5-1 หน่วย/กก/วัน
  • ใช้ค่าของน้ำตาลสะสม (HbA1c) เพื่อนำทางในการรักษา ศึกษาคำแนะนำในปัจจุบัน เพื่อหาช่วงของกลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสมที่สุด

การฉีดยาวันละหลายครั้ง (Multiple-daily injection)

  • ฉีดยาใต้ผิวหนังภายใน 15 นาทีก่อนการรับประทานอาหาร หรือทันทีหลังจากรับประทานอาหาร
  • จับคู่ระหว่างอินซูลินที่จะต้องให้ในมื้ออาหาร (prandial insulin) กับปริมาณการบริโภคคาร์โบไฮเดรต ระดับน้ำตาลในเลือดก่อนมื้ออาหาร และกิจกรรมที่คาดการณ์ไว้
  • ใช้ยาอินซูลินร่วมกันระหว่างยาที่ออกฤทธิ์ปานกลาง (intermediate-acting) หรือยาที่ออกฤทธิ์นาน (long-acting)

การให้ยาทางใต้ผิวหนังแบบต่อเนื่อง (Continuous Subcutaneous Infusion) หรืออินซูลินปั๊ม (Insulin Pump)

  • โปรแกรมเริ่มต้นควรขึ้นอยู่กับปริมาณของอินซูลินทั้งหมด จากการฉีดยาวันละหลายครั้งก่อนหน้านี้ ตรวจสอบฉลากของที่ปั๊มยา เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถใช้กับอินซูลินนี้ได้
  • แม้จะมีความหลากหลายของผู้ป่วยที่เห็นได้ชัด แต่ประมาณ 50% ของขนาดยาทั้งหมด จะให้เป็นการฉีดยาที่เกี่ยวข้องกับอาหารภายในครั้งเดียว ส่วนที่เหลือคือการหยอดยา

การฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ

  • เจือจางที่ความเข้มข้น 0.1 ถึง 1 หน่วย/มล. ในน้ำเกลือ ควรเฝ้าสังเกตระดับของน้ำตาลกลูโคสและเซรั่มโพแทสเซียมอย่างใกล้ชิดขณะให้ยา

การใช้งาน : เพื่อเพิ่มการควบคุมน้ำตาลกลูโคสในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่เป็นโรคเบาหวาน

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2

ขนาดยาจะแตกต่างกันตามความต้องการในการเผาผลาญ และความถี่ในการเฝ้าสังเกตระดับของน้ำตาลกลูโคสในเลือด

  • ใช้ค่าของน้ำตาลสะสม (HbA1c) เพื่อนำทางในการรักษา ศึกษาคำแนะนำในปัจจุบันเพื่อหาช่วงของกลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสมที่สุด

อินซูลินที่ให้ระหว่างในมื้ออาหาร (prandial insulin)

  • ฉีดยาใต้ผิวหนังภายใน 15 นาทีก่อนการรับประทานอาหาร หรือทันทีหลังจากรับประทานอาหาร
  • ใช้ยาอินซูลินร่วมกันระหว่างยาที่ออกฤทธิ์ปานกลาง (intermediate-acting) หรือ ยาที่ออกฤทธิ์นาน (long-acting)

การให้ยาทางใต้ผิวหนังแบบต่อเนื่อง (Continuous Subcutaneous Infusion)

  • โปรแกรมเริ่มต้นควรขึ้นอยู่กับปริมาณของอินซูลินทั้งหมด จากการฉีดยาวันละหลายครั้งก่อนหน้านี้ ตรวจสอบฉลากของที่ปั๊มยาเพื่อให้แน่ใจว่า สามารถใช้กับอินซูลินนี้ได้
  • แม้จะมีความหลากหลายของผู้ป่วยที่เห็นได้ชัด แต่ประมาณ 50% ของขนาดยาทั้งหมดจะให้เป็นการฉีดยาที่เกี่ยวข้องกับอาหารภายในครั้งเดียว ส่วนที่เหลือคือการหยอดยา

การฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ

  • เจือจางที่ความเข้มข้น 0.1 ถึง 1 หน่วย/มล. ในน้ำเกลือ ควรเฝ้าสังเกตระดับของน้ำตาลกลูโคสและเซรั่มโพแทสเซียมอย่างใกล้ชิดขณะให้ยา

การใช้งาน : เพื่อเพิ่มการควบคุมน้ําตาลกลูโคส ในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่เป็นโรคเบาหวาน

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะคีโตอะซิโตซิส (Diabetic Ketoacidosis)

วิธีการรักษาภาวะคีโตอะซิโตซิส (diabetic ketoacidosis) และภาวะหมดสติจากน้ำตาลในเลือดสูง (hyperosmolar state) จำเป็นต้องมีการเฝ้าสังเกตตัวแปรทางเคมีและห้องทดลอง ขณะที่แก้ไขปริมาณที่ขาดดุล จัดการสารอิเล็กโทรไลต์ และทำให้ระดับของน้ำตาลในเลือดเป็นปกติ การรักษาด้วยอินซูลินเป็นการแก้ไขระดับน้ำตาลในเลือดอย่างช้า ๆ ศึกษาแนวทางในการรักษา เพื่อกำหนดแนวทางเฉพาะในการจัดการของเหลวและอิเล็กโทรไลต์

การฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ

  • การหยอดยาอินซูลินเข้าหลอดเลือดโดยปกติแล้วเริ่มต้นที่ 1-2 ชั่วโมงหลังจากเริ่มต้นการรักษาด้วยการทดแทนสารน้ํา
  • ขนาดยา :0.14 หน่วย/กก./ ชั่วโมง ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ หรืออีกทางหนึ่งคือฉีดยา 0.1 หน่วย/กก.ทั้งหมด ตามด้วยหยดยา 0.1 หน่วย/กก./ชม
  • หากระดับของน้ำตาลในเลือดไม่ลดลง 10% ในชั่วโมงแรก ฉีดยา 0.14 หน่วย/กก.ทั้งหมด ขณะที่ยังทำการหยอดยาอินซูลินต่อไป

ภาวะเลือดเป็นกรดจากเบาหวาน

  • เมื่อความเข้มข้นของระดับน้ำตาลในเลือดไปถึง 200 มก./เดซิลิตร ให้ลดขนาดของยาหยอดอินซูลิน เป็น 0.02-0.05 หน่วย/กก/ชม. ควรเพิ่มเด็กซ์โตรส (Dextrose) ในสารละลายสำหรับฉีดเข้าหลอดเลือดดำ เพื่อรักษาระดับของน้ำตาลในเลือดให้อยู่ระหว่าง 150 และ 200 มก./เดซิลิตร จนกว่าจะหายจากภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน (ค่าเซรั่มไบคาร์โบเนตอยู่ที่ 15 มิลลิอิควิวาเลนท์/ลิตร หรือมากกว่านั้น ค่าความเป็นกรด-ด่างในหลอดเลือดดำมากกว่า 7.3 และค่าไออนแก็บคำนวณแล้วควรอยู่ในช่วงปกติ)

ภาวะฉุกเฉินจากน้ำตาลในเลือดสูง (HHS)

  • เมื่อความเข้มข้นของระดับน้ำตาลในเลือดไปถึง 300 มก./เดซิลิตร หรือต่ำกว่านั้น ให้ลดขนาดของยาหยอดอินซูลินเป็น เป็น 0.02-0.05 หน่วย/กก/ชม. ควรเพิ่มเด็กซ์โตรส (Dextrose) ในสารละลายสำหรับฉีดเข้าหลอดเลือดดำเพื่อรักษาระดับของน้ำตาลในเลือดให้อยู่ระหว่าง 250 และ 300 มก./เดซิลิตร จนกว่าจะหายจากภาวะฉุกเฉินจากน้ำตาลในเลือดสูง

ฉีดยาใต้ผิวหนัง

มีการศึกษาการใช้อนุพันธ์ของอินซูลินที่ออกฤทธิ์เร็ว (Rapid acting insulin analogs) เช่นลิสโปร (lispro) แอสพาร์ท (aspart) และกลูไลซีน (glulisine) เพื่อการรักษารักษาภาวะเลือดเป็นกรดจากเบาหวาน ที่ไม่ซับซ้อนในระดับเบาถึงระดับกลาง มีการใช้ดังต่อไปนี้

  • ขนาดยาเริ่มต้น 0.2 หน่วย/กก. ตามด้วย 0.1 หน่วย/กก. ฉีดใต้ผิวหนังทุก ๆ ชั่วโมง จนกว่าระดับของน้ำตาลในเลือดจะลดต่ำกว่า 250 มก./เดซิลิตร หลังจากนั้นคือ 0.05 หน่วย/กก. ทุก ๆ ชั่วโมง จนกว่ารักษาภาวะเลือดเป็นกรดจากเบาหวานจะหายไป
  • ขนาดยาเริ่มต้น 0.3 หน่วย/กก. ตามด้วย 0.2 หน่วย/กก. ทุก ๆ 2 ชั่วโมง จนกว่าระดับของน้ำตาลในเลือดจะลดต่ำกว่า 250 มก./เดซิลิตร หลังจากนั้นคือ 0.1 หน่วย/กก. ทุก ๆ 2 ชั่วโมง จนกว่ารักษาภาวะเลือดเป็นกรดจากเบาหวานจะหายไป

คำแนะนำ:

  • ควรได้รับการดูแลโดยตรงจากแพทย์เฉพาะทางต่อมไร้ท่อ (endocrinologist) หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้ป่วยหนัก (critical care specialist) ที่ได้รับการฝึกและมีความชำนาญเกี่ยวกับการจัดการภาวะเลือดเป็นกรดจากเบาหวาน หรือภาวะฉุกเฉินจากน้ำตาลในเลือดสูง การเฝ้าสังเกตตัวแปรทางเคมีและห้องทดลอง ก็เป็นเรื่องที่จำเป็น เพื่อบ่งชี้และแก้ไขเหตุการณ์ที่เป็นตัวกระตุ้น
  • หากเริ่มการรักษาด้วยอินซูลิน ก่อนเริ่มต้นการรักษาด้วยการทดแทนสารน้ำ อาจทำให้เกิดอาการช็อกฉับพลัน และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ (hypokalemia) และสมองบวม (cerebral edema)
  • เพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดสูงย้อนกลับ ควรเริ่มฉีดยาอินซูลิน 15-30 นาที (ออกฤทธิ์เร็ว) หรือ 1-2 ชั่วโมง (อินซูลินปกติ) ก่อนหยุดหยอดยาอินซูลิน อีกทางหนึ่งก็คือ อาจให้อินซูลินพื้นฐาน (basal insulin) ในตอนเย็น และหยุดหยอดยาอินซูลินในเช้าวันถัดไป

การใช้งาน : เพื่อรักษาภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงฉุกเฉิน

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษา Nonketotic Hyperosmolar Syndrome

วิธีการรักษาภาวะฉุกเฉินของระดับน้ำตาลในเลือดสูง อย่างภาวะเลือดเป็นกรดจากเบาหวาน (diabetic ketoacidosis) และภาวะหมดสติจากน้ำตาลในเลือดสูง (hyperosmolar state) ที่ประสบความสำเร็จนั้น จำเป็นต้องมีการเฝ้าสังเกตตัวแปรทางเคมีและห้องทดลอง ขณะที่แก้ไขปริมาณที่ขาดดุล จัดการสารอิเล็กโทรไลต์ และทำให้ระดับของน้ำตาลในเลือดเป็นปกติ การรักษาด้วยอินซูลินเป็นการแก้ไขระดับน้ำตาลในเลือดอย่างช้า ๆ ศึกษาแนวทางในการรักษา เพื่อกำหนดแนวทางเฉพาะในการจัดการของเหลวและอิเล็กโทรไลต์

ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ

  • การหยอดยาอินซูลินเข้าหลอดเลือดโดยปกติแล้วเริ่มต้นที่ 1-2 ชั่วโมงหลังจากเริ่มต้นการรักษาด้วยการทดแทนสารน้ำ
  • ขนาดยา : 0.14 หน่วย/กก./ ชั่วโมง ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ หรืออีกทางหนึ่งคือฉีดยา 0.1 หน่วย/กก. ตามด้วยหยดยา 0.1 หน่วย/กก./ชม
  • หากระดับของน้ำตาลในเลือดไม่ลดลง 10% ในชั่วโมงแรก ฉีดยา 0.14 หน่วย/กก. ขณะที่ยังทำการหยอดยาอินซูลินต่อไป

ภาวะเลือดเป็นกรดจากเบาหวาน

  • เมื่อความเข้มข้นของระดับน้ำตาลในเลือดไปถึง 200 มก./เดซิลิตร ให้ลดขนาดของยาหยอดอินซูลินเป็น 0.02-0.05 หน่วย/กก/ชม. ควรเพิ่มเด็กซ์โตรส (Dextrose) ในสารละลายสำหรับฉีดเข้าหลอดเลือดดำ เพื่อรักษาระดับของน้ำตาลในเลือดให้อยู่ระหว่าง 150 และ 200 มก./เดซิลิตร จนกว่าจะหายจากภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน (ค่าเซรั่มไบคาร์โบเนตอยู่ที่ 15 มิลลิอิควิวาเลนท์/ลิตร หรือมากกว่านั้น ค่าความเป็นกรด-ด่างในหลอดเลือดดำมากกว่า 7.3 และค่าไออนแก็บคำนวณแล้วควรอยู่ในช่วงปกติ)

ภาวะฉุกเฉินจากน้ำตาลในเลือดสูง (HHS)

  • เมื่อความเข้มข้นของระดับน้ำตาลในเลือดไปถึง 300 มก./เดซิลิตร หรือต่ำกว่านั้น ให้ลดขนาดของยาหยอดอินซูลินเป็น เป็น 0.02-0.05 หน่วย/กก/ชม. ควรเพิ่มเด็กซ์โตรส (Dextrose) ในสารละลายสำหรับฉีดเข้าหลอดเลือดดำ เพื่อรักษาระดับของน้ำตาลในเลือดให้อยู่ระหว่าง 250 และ 300 มก./เดซิลิตร จนกว่าจะหายจากภาวะฉุกเฉินจากน้ำตาลในเลือดสูง

ฉีดยาใต้ผิวหนัง

มีการศึกษาการใช้อนุพันธ์ของอินซูลินที่ออกฤทธิ์เร็ว (Rapid acting insulin analogs) เช่น ลิสโปร (lispro) แอสพาร์ท (aspart) และกลูไลซีน (glulisine) เพื่อการรักษารักษาภาวะเลือดเป็นกรดจากเบาหวาน ที่ไม่ซับซ้อนในระดับเบาถึงระดับกลาง มีการใช้ดังต่อไปนี้

  • ขนาดยาเริ่มต้น 0.2 หน่วย/กก. ตามด้วย 0.1 หน่วย/กก. ฉีดใต้ผิวหนังทุก ๆ ชั่วโมง จนกว่าระดับของน้ำตาลในเลือดจะลดต่ำกว่า 250 มก./เดซิลิตร หลังจากนั้นคือ 0.05 หน่วย/กก. ทุก ๆ ชั่วโมง จนกว่ารักษาภาวะเลือดเป็นกรดจากเบาหวานจะหายไป
  • ขนาดยาเริ่มต้น 0.3 หน่วย/กก. ตามด้วย 0.2 หน่วย/กก. ทุก ๆ 2 ชั่วโมง จนกว่าระดับของน้ำตาลในเลือดจะลดต่ำกว่า 250 มก./เดซิลิตร หลังจากนั้นคือ 0.1 หน่วย/กก. ทุก ๆ 2 ชั่วโมง จนกว่ารักษาภาวะเลือดเป็นกรดจากเบาหวานจะหายไป

คำแนะนำ

  • ควรได้รับการดูแลโดยตรงจากแพทย์เฉพาะทางต่อมไร้ท่อ (endocrinologist) หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้ป่วยหนัก (critical care specialist) ที่ได้รับการฝึก และมีความชำนาญเกี่ยวกับการจัดการาภาวะเลือดเป็นกรดจากเบาหวาน หรือภาวะฉุกเฉินจากน้ำตาลในเลือดสูง การเฝ้าสังเกตตัวแปรทางเคมีและห้องทดลอง ก็เป็นเรื่องที่จำเป็น เพื่อบ่งชี้และแก้ไขเหตุการณ์ที่เป็นตัวกระตุ้น
  • หากเริ่มการรักษาด้วยอินซูลิน ก่อนเริ่มต้นการรักษาด้วยการทดแทนสารน้ำ อาจทำให้เกิดอาการช็อกฉับพลัน และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ (hypokalemia) และสมองบวม (cerebral edema)
  • เพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดสูงย้อนกลับ ควรเริ่มฉีดยาอินซูลิน 15-30 นาที (ออกฤทธิ์เร็ว) หรือ 1-2 ชั่วโมง (อินซูลินปกติ) ก่อนหยุดหยอดยาอินซูลิน อีกทางหนึ่งคืออาจให้อินซูลินพื้นฐาน (basal insulin) ในตอนเย็น และหยุดหยอดยาอินซูลินในเช้าวันถัดไป

การใช้งาน : เพื่อรักษาภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงฉุกเฉิน

การปรับขนาดยาสำหรับโรคไต

ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง และหมั่นสังเกตระดับของน้ำตาลกลูโคส และอาจต้องปรับขนาดยาอินซูลินลิสโปร

การปรับขนาดยาสำหรับโรคตับ

ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง และหมั่นสังเกตระดับของน้ำตาลกลูโคสและอาจต้องปรับขนาดยาอินซูลินลิสโปร

การปรับขนาดยา

  • ปริมาณของอินซูลินที่ต้องการในแต่ละวันอาจเพิ่มขึ้นขณะที่คุณป่วย เครียด ตั้งครรภ์ ในผุ้ป่วยโรคอ้วน อาการบาดเจ็บทางใจ ขณะที่กำลังใช้ยาอื่นเพื่อรักษาภาวะน้ำตาลสูง (Hyperglycemia) พร้อมกัน หรือหลังจากผ่าตัด
  • ปริมาณของอินซูลินที่ต้องการในแต่ละวันอาจลดลงหากมีการออกกำลังกาย ลดน้ำหนัก จำกัดปริมาณของแคลอรี่ หรือขณะที่กำลังใช้ยาอื่นเพื่อรักษาภาวะน้ำตาลสูงพร้อมกัน

อาจมีการสั่งยาเพิ่มเติมขณะที่กำลังป่วย

ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่กำลังรับประทานยาอาจเปลี่ยนไปเป็นการบำบัดอินซูลินแบบชั่วคราว

อาจต้องมีการปรับขนาดยาหากยี่ห้อ ประเภท หรือรูปแบบของอินซูลินเปลี่ยนแปลง ยารักษาโรคเบาหวานแบบรับประทานก็อาจต้องปรับด้วยเช่นกัน

คำแนะนำอื่น ๆ

คำแนะนำการใช้

  • ควรตรวจสอบฉลากของยาอินซูลินก่อนใช้เสมอ
  • ไม่ควรใช้ปากกาอินซูลิน (insulin pen) ร่วมกันกับผู้อื่น (แม้ว่าจะเปลี่ยนเข็มแล้ว) และอย่าใช้เข็มซ้ำ หรือใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่นเมื่อใช้ขวดฉีดยา เนื่องจากจะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อทางเลือด

การฉีดยาใต้ผิวหนัง: ยู-100 (U-100) หรือ ยู-200 (U-200)

  • ฉีดยาใต้ผิวหนังเข้าสู่ช่องท้อง ต้นขา ต้นแขน หรือก้น ภายใน 15 นาทีก่อนรับประทานอาหาร หรือทันทีหลังจากรับประทานอาหาร
  • ช่องของขนาดยาของปากกาอินซูลิน ยู-100 และยู-200 แสดงให้เห็นปริมาณหน่วยของอินซูลินที่จะให้ ทำให้ไม่ต้องแปลงค่าขนาดยา
  • เปลี่ยนจุดที่ฉีดยาไปจุดอื่นใกล้เคียงกัน เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะไขมันกระจายตัวผิดปกติ (lipodystrophy)
  • ผู้ป่วยควรได้รับการสอนวิธีการฉีดยาที่ถูกต้อง
  • ยาอินซูลินแบบออกฤทธิ์เร็ว โดยทั่วไปแล้วควรจะใช้ในสูตรยาร่วมกับยาอินซูลินแบบออกฤทธิ์ปานกลาง หรือออกฤทธิ์นาน

การให้ยาทางใต้ผิวหนังแบบต่อเนื่องหรืออินซูลินปั๊ม : ยู-100 เท่านั้น

  • ชุดอุปกรณ์หยอดยา ควรสอดเข้าบริเวณชั้นไขมันใต้ผิวหนังบริเวณผนังช่องท้อง เปลี่ยนที่เรื่อย ๆ เพื่อป้องกันภาวะไขมันกระจายตัวผิดปกติ
  • ตรวจสอบฉลากเครื่องปั๊ม เพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องปั๊มนั้นสามารถใช้กับยาอินซูลินลิสโปรได้ อย่าเติมยู-200 ยู-100 เจือจาง ยาอินซูลินที่ออกฤทธิ์ปานกลาง ออกฤทธิ์นาน หรือยาอินซูลินแบบผสมลงในเครื่องปั๊ม
  • เปลี่ยนยาอินซูลินในอ่างเก็บยาอย่างน้อยทุก ๆ 7 วัน ควรเปลี่ยนอุปกรณ์หยอดยา และบริเวณที่ให้ยาอย่างน้อยทุก ๆ 3 วัน
  • เตือนผู้ป่วยที่ใช้เครื่องอินซูลินปั๊มว่า ควรเตรียมวิธีการให้ยาอินซูลินแบบอื่นเผื่อไว้ หากระบบเครื่องปั๊มมีปัญหา

หยอดยาเข้าหลอดเลือดดำ : U-100 เท่านั้น

  • ให้ยาโดยการหยอดยาที่ความเข้มข้น 0.1 ถึง 1 หน่วย/มล. ในน้ำเกลือ ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญ
  • เฝ้าสังเกตระดับของน้ำตาลและโพแทสเซียมในเลือดอย่างใกล้ชิด
  • ไม่ควรให้ยาอินซูลิน ยู-200 และยาอินซูลินแบบผสม โดยการฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ

ยาอินซูลินยู-100 เจือจาง

  • ยาอินซูลินยู-100 อย่างฮิวเมล็อกอาร์ (Humalog(R)) อาจเจือจางกับอินซูลินเจือจางปานกลางสำหรับฮิวเมล็อก เพื่อให้ได้ความเข้มข้นของ ยู-10 หรือ ยู-50: เจือจางฮิวเมล็อก 1 ส่วนกับตัวเจือจาง 9 ส่วน ได้เป็นความเข้มข้น ยู-10 เจือจางฮิวเมล็อก 1 ส่วนกับตัวเจือจาง 1 ส่วน ได้เป็นความเข้มข้น ยู -50
  • ยาฮิวเมล็อกอาร์ ยู-100 อาจสามารถผสมกับเอนพีเฮช อินซูลิน (NPH insulin) ดูดยาฮิวเมล็อกอาร์ ยู-100 เข้าไปในเข็มฉีดยาก่อน แล้วใช้ทันทีหลังจากผสมยาแล้ว

การเตรียมการและขั้นตอนในการใช้ : ควรศึกษาข้อมูลผลิตภัณฑ์

  • เพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อน ผู้ป่วยควรใช้ปากกาอินซูลินเพียงผู้เดียวเท่านั้น อย่าลืมถอดเข็มออกจากเครื่องให้ยาหลังจากใช้ และควรเก็บปากกาอินซูลินโดยถอดเข็มออกก่อน ใช้เข็มใหม่ทุกครั้งที่จะฉีดยา
  • สำหรับการหยอดยาเข้าหลอดเลือดดำ: ระบบการหลอดยาที่ใช้ถุงหยอดยาพอลิโพรไพลีน (polypropylene infusion bags) เจือจางที่ความเข้มข้น 0.05-1 หน่วย/มล. ในน้ำเกลือ จะมีความเสถียรภาพในโซเดียมคลอไรด์ 0.9% ไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 24 ชั่วโมง

การเก็บรักษา :

  • ยังไม่ได้เปิด : เก็บไว้ในตู้เย็น 2-8 องศาเซียลเซียส (36-46 ฟาเรนไฮน์) ห้ามแช่แข็ง หากแช่แข็งแล้วให้กำจัดทิ้งไป
  • หลอดยา ปากกา และขวดยาที่เปิดแล้ว (พร้อมใช้งาน) สามารถใช้ได้ 28 วัน ปกป้องจากความร้อนและแสงโดยตรง

ยาฮิวเมล็อกอาร์แบบเจือจาง :

  • ความเข้มข้น ยู-10 หรือ ยู-50 เมื่อเตรียมอินซูลินเจือจางปานกลางอาจใช้ได้นานถึง 28 วัน หากเก็บไว้ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 5 องศาเซียลเซียส (41 ฟาเรนไฮน์) หรือ 14 วัน หากเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซียลเซียส (86 ฟาเรนไฮน์)

ของเหลวสำหรับฉีดเข้าหลอดเลือดดำ :

  • ถุงยาสำหรับหยอดยาเมื่อผสมกับน้ำเกลือและแช่เย็น (2-8 องศาเซียลเซียส [36-46ฟาเรนไฮน์]) นั้นจะมีเสถียรภาพเป็นเวลา 48 ชั่วโมง แล้วหลังจากนั้นอาจจะไว้ที่อุณหภูมิห้องได้เพิ่มมากขึ้นอีก 48 ชั่วโมง

เครื่องปั๊ม :

  • กำจัดยาอินซูลินในเครื่องปั๊มหลังจากผ่านไป 7 วัน หรือหลังจากที่สัมผัสกับอุณหภูมิสูงกว่า 37 องศาเซียลเซียส (98.6 ฟาเรนไฮน์)

ทั่วไป :

  • ปริมาณของอินซูลินที่ต้องการ อาจเพิ่มขึ้นขณะที่เครียด ป่วยหนัก หรือเปลี่ยนการออกกำลังกาย รูปแบบของอาหาร หรือยาที่ใช้ร่วมกัน ระยะเวลาในการใช้อินซูลินนั้นขึ้นอยู่กับขนาดยา บริเวณที่ฉีด การไหลเวียนของเลือด อุณหภูมิ และระดับในการทำกิจกรรมทางกายภาพ
  • อนุพันธ์อินซูลินแบบออกฤทธิ์เร็วนั้น เทียบได้กับอินซูลินในร่างกายมนุษย์เมื่อฉีดเข้าหลอดเลือด หากฉีดใต้ผิวหนัง จะออกฤทธิ์เร็วกว่าและหายไปได้เร็วกว่า
  • อนุพันธ์อินซูลินแบบออกฤทธิ์เร็วนั้น เหนือกว่าอินซูลินแบบธรรมดาเมื่อฉีดใต้ผิวหนัง เนื่องจากยานี้คาดการณ์ได้ง่ายกว่า
  • ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ คือปฏิกิริยาตรงข้ามที่พบได้มากที่สุดในการรักษาด้วยยาอินซูลิน ระยะเวลามักจะสะท้อนกับเวลาดำเนินการในการให้ยาอินซูลิน

การเฝ้าสังเกต :

  • การเฝ้าสังเกตระดับน้ำตาลในเลือดเป็นเรื่องสำคัญ สำหรับผู้ที่รับการรักษาด้วยยาอินซูลิน
  • ควรเฝ้าสังเกตค่าน้ำตาลและโพแทสเซียมในเลือดอย่างใกล้ชิด สำหรับผู้ป่วยที่ใช้ยาอินซูลินแบบฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
  • แนะนำให้ตรวจค่าคีโตนในปัสสาวะ สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 หากมีอาการของโรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ คลื่นไส้ อาเจียน หรืออาการป่วยอื่น ๆ ปัสสาวะมาก (Polyuria) หรือระดับของน้ำตาลในเลือดสูงอย่างไม่คาดคิด หรือไม่สม่ำเสมอ
  • แนะนำให้วัดระดับน้ำตาลสะสมในเลือด ทุก ๆ 3 เดือน

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย:

  • ผู้ป่วยควรได้รับคำแนะนำไม่ให้ใช้ปากกาอินซูลินร่วมกับผู้อื่น แม้ว่าจะเปลี่ยนเข็มแล้ว ผู้ป่วยควรเข้าใจว่าการแบ่งปันเข็มฉีดยากับผู้อื่นนั้น มีความเสี่ยงในการแพร่เชื้อโรคผ่านทางเลือด
  • ผู้ป่วยควรตรวจสอบฉลากยาทุกครั้งก่อนฉีดยา โดยเฉพาะการใช้ยาอินซูลินมากกว่า 1 ชนิด
  • ผู้ป่วยควรได้รับการแนะนำวิธีการสังเกตระดับของน้ำตาลกลูโคส วิธีฉีดยาที่ถูกต้อง และวิธีจัดการกับภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำ
  • ผู้ป่วยควรได้รับการแนะนำวิธีการรับมือ ในสถานการณ์ที่อาจส่งผลกระทบกับความต้องการอินซูลิน
  • ผู้ป่วยควรตรวจระดับของน้ำตาลในเลือด ก่อนขับรถหรือใช้เครื่องจักร
  • แนะนำให้ผู้ป่วยปรึกษากับแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ หากตั้งครรภ์ หรือมีความตั้งใจที่จะตั้งครรภ์

ขนาดยาอินซูลินลิสโปรสำหรับเด็ก

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 1

อายุ 3 ปีหรือมากกว่า : ขนาดยาจะแตกต่างกันตามความต้องการในการเผาผลาญและความถี่ในการเฝ้าสังเกตระดับของน้ำตาลกลูโคสในเลือด

ใช้ค่าของน้ำตาลสะสม (HbA1c) เพื่อนำทางในการรักษา ศึกษาคำแนะนำในปัจจุบัน เพื่อหาช่วงของกลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสมที่สุด

การฉีดยาวันละหลายครั้ง (Multiple-daily injection)

  • ฉีดยาใต้ผิวหนังภายใน 15 นาทีก่อนการรับประทานอาหาร หรือทันทีหลังจากรับประทานอาหาร
  • จับคู่ระหว่างอินซูลินที่จะต้องให้ในมื้ออาหาร (prandial insulin) กับปริมาณการบริโภคคาร์โบไฮเดรต ระดับน้ำตาลในเลือดก่อนมื้ออาหาร และกิจกรรมที่คาดการณ์ไว้
  • ใช้ยาอินซูลินร่วมกันระหว่างยาที่ออกฤทธิ์ปานกลาง (intermediate-acting) หรือยาที่ออกฤทธิ์นาน (long-acting)

การให้ยาทางใต้ผิวหนังแบบต่อเนื่อง (Continuous Subcutaneous Infusion) หรืออินซูลินปั๊ม (Insulin Pump)

  • โปรแกรมเริ่มต้น ควรขึ้นอยู่กับปริมาณของอินซูลินต่อวันที่เคยได้รับก่อนหน้านี้ ตรวจสอบฉลากของที่ปั๊มยา เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถใช้กับอินซูลินนี้ได้
  • แม้จะมีความหลากหลายของผู้ป่วยที่เห็นได้ชัด แต่ประมาณ 50% ของขนาดยาทั้งหมด จะให้เป็นการฉีดยาแบบทั้งหมด (Bolus) ตามมื้ออาหาร ส่วนที่เหลือคือการหยอดยา

การฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ

  • เจือจางที่ความเข้มข้น 0.1-1 หน่วย/มล. ในน้ำเกลือ ควรเฝ้าสังเกตระดับของน้ำตาลกลูโคสและเซรั่มโพแทสเซียมอย่างใกล้ชิดขณะให้ยา

การใช้งาน: เพื่อเพิ่มการควบคุมน้ำตาลกลูโคสในผู้ป่วยเด็กที่อายุมากกว่า 3 ปี และเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1

ข้อควรระวัง

  • ยังไม่มีการพิสูจน์ความปลอดภัยและประสิทธิภาพของยาในผู้ป่วยเด็กที่อายุต่ำกว่า 3 ปี
  • ยังไม่มีการพิสูจน์ความปลอดภัยและประสิทธิภาพของยากับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่อายุต่ำกว่า 18 ปี

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาฉีด
  • ยาฉีดใต้ผิวหนัง

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 09/11/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา