backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

เมคลิซีน (Meclizine)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ข้อบ่งใช้

ยา เมคลิซีน ใช้สำหรับ

ยาเมคลิซีน (Meclizine) เป็นยาต้านฮีสตามีน (antihistamine) ใช้เพื่อป้องกันและรักษาอาการคลื่นไส้ อาเจียน และวิงเวียน เนื่องจากภาวะป่วยจากการเคลื่อนไหว (motion sickness) และยังอาจใช้เพื่อลดอาการวิงเวียนและสูญเสียการทรงตัว หรืออาการเวียนศีรษะบ้านหมุน (vertigo) ที่เกิดจากปัญหาภายในหู

วิธีการใช้ยา เมคลิซีน

รับประทานยานี้พร้อมกับอาหารหรือรับประทานแยกต่างหาก ยาเม็ดแบบเคี้ยวควรเคี้ยวให้ละเอียดก่อนแล้วจึงกลืน

ขนาดยาขึ้นอยู่กับสภาวะทางการแพทย์และการตอบสนองต่อการรักษา อย่าเพิ่มขนาดยาหรือใช้ยาบ่อยกว่าที่กำหนด

เพื่อป้องกันภาวะป่วยจากการเคลื่อนไหว ควรรับประทานยาครั้งแรก 1 ชั่วโมงก่อนเดินทาง

แจ้งให้แพทย์ทราบหากอาการไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง

การเก็บรักษายา เมคลิซีน

ยาเมคลิซีนควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง

ยาเมคลิซีนบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัยโปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาเมคลิซีนลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อสินค้าหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยา เมคลิซีน

ก่อนใช้ยาเมคลิซีน แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบหากคุณแพ้ต่อยานี้ หรือหากคุณเป็นโรคภูมิแพ้อื่นๆ ยานี้อาจมีส่วนผสมที่ไม่มีฤทธิ์ในการรักษาที่ทำให้เกิดอาการแพ้หรือปัญหาอื่น โปรดปรึกษาเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ของคุณ โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ เช่น โรคหอบหืด หรือโรคถุงลมโป่งพอง (emphysema) ความดันในดวงตาสูงหรือโรคต้อหิน (glaucoma) ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ ความดันโลหิตสูง อาการชัก ปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหารหรือลำไส้ (เช่น เป็นแผลหรืออุดตัน) ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (hyperthyroidism) ปัสสาวะติดขัด (เช่น เนื่องจากต่อมลูกหมากโต) ปัญหาเกี่ยวกับตับปัญหาเกี่ยวกับไต

ยานี้อาจทำให้เกิดอาการง่วงซึม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือกัญชานั้นอาจทำให้อาการวิงเวียนหรือง่วงซึมรุนแรงขึ้นได้ อย่าขับรถ ใช้เครื่องจักร หรือทำกิจกรรมที่ต้องการความตื่นตัวจนกว่าคุณจะสามารถทำได้อย่างปลอดภัย จำกัดปริมาณเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และปรึกษาแพทย์หากคุณใช้กัญชา

ก่อนการผ่าตัด แจ้งให้แพทย์หรือทันตแพทย์ทราบเกี่ยวกับยาทั้งหมดที่คุณใช้ ทั้งยาตามใบสั่งยา ยาที่หาซื้อเอง และสมุนไพรต่างๆ

เด็กอาจจะมีปฏิกิริยาไวต่อผลข้างเคียงของยานี้ได้มากกว่า ยานี้อาจทำให้เกิดอาการตื่นเต้นในเด็กเล็กแทนที่จะเกิดอาการง่วงซึม

ผู้สูงอายุอาจจะมีปฏิกิริยาไวต่อผลข้างเคียงของยานี้ได้มากกว่า โดยเฉพาะอาการง่วงซึม

ในช่วงขณะการตั้งครรภ์ควรใช้ยานี้เมื่อจำเป็นเท่านั้น โปรดปรึกษาความเสี่ยงและประโยชน์กับแพทย์

ยังไม่ทราบแน่ชัดว่ายานี้สามารถส่งผ่านน้ำนมแม่ได้หรือไม่ โปรดปรึกษาแพทย์ก่อนให้นมบุตร

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือ เกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยา

ยาเมคลิซีนจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ หมวด B โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= ค่อนข้างมีความเสี่ยง
  • X= ยาต้องห้าม
  • N= ไม่มีข้อมูลเพียงพอ

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยา เมคลิซีน

อาจเกิดอาการง่วงซึม ปากแห้ง และเหนื่อยล้า หากอาการเหล่านี้ไม่หายไปหรือรุนแรงขึ้นโปรดแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรในทันที

เพื่อบรรเทาอาการปากแห้ง ควรอมลูกอม (ไร้น้ำตาล) อมน้ำแข็ง เคี้ยวหมากฝรั่ง (ไร้น้ำตาล) ดื่มน้ำ หรือใช้สารทดแทนน้ำลาย

หากแพทย์สั่งให้คุณใช้ยานี้ โปรดจำไว้ว่าแพทย์ได้พิจารณาแล้วว่า ยามีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง และคนที่ใช้ยานี้ส่วนใหญ่ไม่พบผลข้างเคียงที่ร้ายแรงใดๆ

แจ้งให้แพทย์ในทันที หากเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงดังต่อไปนี้ : มีความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์หรือจิตใจ เช่น กระสับกระส่ายหรือสับสน หัวใจเต้นเร็วหรือผิดปกติ สั่นเทา ปัสสาวะติดขัด

รับการรักษาทันทีหากมีผลข้างเคียงที่รุนแรงดังต่อไปนี้ อาการชัก

การแพ้ยาที่รุนแรงต่อยานี้ ค่อนข้างเกิดขึ้นได้ยาก แต่จำเป็นต้องได้รับการรักษาที่ทันท่วงที อาการของการแพ้รุนแรงมีดังนี้ ผดผื่น คันหรือบวม โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า ลิ้น และลำคอ วิงเวียนขั้นรุนแรง หายใจติดขัด

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาที่อาจมีปฏิกิริยากับยานี้ได้แก่ ยาต้านฮีสตามีนทาผิวหนัง เช่น ยาไดเฟนไฮดรามีน (diphenhydramine) แบบครีม ขี้ผึ้ง และสเปรย์

แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบหากคุณใช้ยาที่ทำให้เกิดอาการง่วงซึม เช่น 

  • ยาแก้ปวด หรือ ยาบรรเทาอาการไอโอปิออยด์ (opioid) อย่างโคเดอีน (codeine)
  • ไฮโดรโคโดน (hydrocodone)
  • สุรา
  • กัญชา
  • ยานอนหลับหรือยาสำหรับอาการวิตกกังวล อย่าง อัลปราโซแลม (alprazolam)
  • ลอราซีแพม (lorazepam)
  • ซอลพิเดม (zolpidem)
  • ยาคลายกล้ามเนื้อ อย่างคาริโซโพรดอล (carisoprodol)
  • ไซโคลเบนซาพรีน (cyclobenzaprine)
  • ยาต้านฮีสตามีนอื่นๆ อย่างเช่น เซทิริซีน (cetirizine)
  • ไดเฟนไฮดรามีน (diphenhydramine)

ควรตรวจสอบฉลากของยาทั้งหมด เช่น ยาแก้แพ้หรือยาแก้ไอแก้หวัด เนื่องจากอาจมีส่วนประกอบที่ทำให้เกิดอาการง่วงซึมได้ สอบถามแพทย์เกี่ยวกับวิธีการใช้ยาเหล่านี้อย่างปลอดภัย

ยานี้อาจส่งผลกระทบต่อผลการตรวจในห้องแล็บบางอย่าง รวมถึงการตรวจภูมิแพ้ทางผิวหนัง และอาจทำให้ผลการตรวจเป็นเท็จได้ควรแจ้งให้บุคลากรในห้องแล็บและแพทย์ทุกคนทราบว่าคุณกำลังใช้ยานี้

ยามีไคลซีนอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น

คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่าคุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนยาโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาเมคลิซีนอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาเมคลิซีนอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์และเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยา เมคลิซีน สำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน (Vertigo)

  • 25 ถึง 100 มก. ต่อวัน โดยแบ่งรับประทาน
  • ขนาดยาขึ้นอยู่กับการตอบสนองทางการแพทย์

การใช้งาน เพื่อจัดการอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนที่เกี่ยวข้องกับโรคที่ส่งผลกระทบต่อระบบการทรงตัว (vestibular system)

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะป่วยจากการเคลื่อนไหว (Motion Sickness)

  • ขนาดยาเริ่มต้น 25 ถึง 50 มก. รับประทาน 1 ชั่วโมงก่อนเดินทาง
  • ขนาดยาปกติ ให้ยาซ้ำทุกๆ 24 ชั่วโมงหากจำเป็น

การใช้งาน เพื่อจัดการอาการคลื่นไส้ อาเจียน และวิงเวียนที่เกี่ยวข้องกับภาวะป่วยจากการเคลื่อนไหว

การปรับขนาดยาสำหรับโรคไต

ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง

การปรับขนาดยาสำหรับโรคตับ

ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง

ขนาดยา เมคลิซีน สำหรับเด็ก

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน (Vertigo)

อายุ 12 ปีขึ้นไป

  • 25 ถึง 100 มก. ต่อวัน โดยแบ่งรับประทาน
  • ขนาดยาขึ้นอยู่กับการตอบสนองทางการแพทย์

การใช้งาน เพื่อจัดการอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนที่เกี่ยวข้องกับโรคที่ส่งผลกระทบต่อระบบการทรงตัว (vestibular system)

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาภาวะป่วยจากการเคลื่อนไหว (Motion Sickness)

อายุ 12 ปีขึ้นไป 

  • ขนาดยาเริ่มต้น 25 ถึง 50 มก. รับประทาน 1 ชั่วโมงก่อนเดินทาง
  • ขนาดยาปกติ ให้ยาซ้ำทุกๆ 24 ชั่วโมงหากจำเป็น

การใช้งาน เพื่อจัดการอาการคลื่นไส้ อาเจียน และวิงเวียนที่เกี่ยวข้องกับภาวะป่วยจากการเคลื่อนไหว

ข้อควรระวัง

ยังไม่มีการพิสูจน์ความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการใช้ยากับผู้ป่วยเด็กที่อายุน้อยกว่า 12 ปี

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาเม็ดสำหรับรับประทาน
  • ยาเม็ดสำหรับรับประทาน แบบเคี้ยว
  • ยาผงสำหรับผสม

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา