backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

แอมโมเนียมคลอไรด์ (Ammonium Chloride)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

แอมโมเนียมคลอไรด์ (Ammonium Chloride)

ข้อบ่งใช้ แอมโมเนียมคลอไรด์

แอมโมเนียมคลอไรด์ ใช้สำหรับ

ยา แอมโมเนียมคลอไรด์ (Ammonium Chloride) หลังจากการทำให้เจือจางด้วยไอโซโทนิคโซเดียมคลอไรด์ (Isotonic Solution Sodium Chloride) สำหรับฉีด อาจมีการบ่งชี้สำหรับการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะคลอไรด์ต่ำ (hypochloremic states) และภาวะด่างจากเมตาบอลิซึม (metabolic alkalosis) ยาแอมโมเนียมคลอไรด์เป็นสารประกอบอนินทรีย์ที่มีสูตร NH4Cl และมีเกลือผลึกสีขาวที่ละลายได้ดีในน้ำ

วิธีใช้ยาแอมโมเนียมคลอไรด์

ยาแอมโมเนียมคลอไรด์สำหรับฉีด USP ใช้ฉีดเข้าเส้นเลือด และต้องทำให้เจือจางก่อนใช้ สารละลายสำหรับฉีดเข้าเส้นเลือดควรมีความเข้มข้นของตัวยาไม่เกิน 1% ถึง 2%

การเก็บรักษายาแอมโมเนียมคลอไรด์

การเก็บรักษายาแอมโมเนียมคลอไรด์ที่ดีที่สุดควรเก็บไว้ในอุณหภูมิห้องให้ห่างจากแสงโดยตรงและความชื้น เพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพของยา ไม่ควรเก็บยาแอมโมเนียมคลอไรด์ไว้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง

ยาแอมโมเนียมคลอไรด์มีหลากหลายยี่ห้อ ซึ่งมีวิธีการเก็บรักษาที่แตกต่างกัน เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องตรวจสอบวิธีการเก็บรักษา ที่ระบุไว้ในบรรจุภัณฑ์ หรือสอบถามจากเภสัชกร เพื่อความปลอดภัย คุณควรเก็บยาทั้งหมดให้ห่างจากเด็กหรือสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรเทยาแอมโมเนียมคลอไรด์ทิ้งลงในโถส้วม หรือท่อระบายน้ำ เว้นแต่จะได้รับคำแนะนำเช่นนั้น สิ่งสำคัญคือต้องกำจัดยาอย่างเหมาะสมเมื่อหมดอายุหรือไม่ใช้งานแล้ว ให้ปรึกษาเภสัชกรสำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดผลิตภัณฑ์อย่างปลอดภัย

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาแอมโมเนียมคลอไรด์

ก่อนใช้ยาแอมโมเนียมคลอไรด์

  • ให้แจ้งแพทย์หรือเภสัชกรว่า คุณแพ้ยาแอมโมเนียมคลอไรด์หรือยาอื่นๆ
  • ให้แจ้งแพทย์หรือเภสัชกรเกี่ยวกับยาที่แพทย์สั่ง และยาที่แพทย์ไม่ได้สั่ง วิตามิน รวมทั้งวิตามินต่างๆ
  • ให้แจ้งแพทย์หากคุณตั้งครรภ์ มีแผนที่จะตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร
  • ให้แจ้งแพทย์หากคุณมีภาวะไตเสื่อมหรือตับเสื่อม

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ไม่มีการศึกษาในผู้หญิงที่เพียงพอเพื่อระบุความเสี่ยงเมื่อใช้ยานี้ในระหว่างการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เสมอเพื่อพิจารณาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้ ยาแอมโมเนียมคลอไรด์มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ ประเภท C ตามที่องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (US Food and Drug Administration :FDA) ได้กำหนดไว้

ความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ ตามองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา มีรายการอ้างอิงดังต่อไปนี้

  • A=ไม่มีความเสี่ยง
  • B=ไม่มีความเสี่ยงในบางงานวิจัย
  • C=อาจมีความเสี่ยง
  • D=มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X=ห้ามใช้
  • N=ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงจากยาแอมโมเนียมคลอไรด์

ผลข้างเคียง ได้แก่

  • อาการปวดหรือระคายเคืองในบริเวณที่ฉีด หรือตามแนวเส้นเลือด หากอัตราการฉีดเข้าเส้นเลือดเร็วเกินไป
  • ผื่น
  • ปวดศีรษะ
  • ง่วงซึมเรื้อรัง
  • มึนงง
  • มีอาการหายใจเร็วกว่าปกติ (Hyperventilation)
  • มีภาวะหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ (Bradycardia) และระยะต่างๆ ของอาการตื่นเต้นสลับกับอาการโคม่า

อาการข้างเคียงเหล่านี้พบไม่ได้ในผู้ใช้ยาทุกคน และอาจมีอาการข้างเคียงที่ไม่ได้ระบุข้างต้น หากคุณมีข้องกังวลเกี่ยวกับอาการข้างเคียง ให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

รู้จักกับปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่นๆ

ยาแอมโมเนียมคลอไรด์อาจเกิดปฏิกิริยากับยาชนิดอื่นที่คุณใช้อยู่ ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงสำหรับผลข้างเคียงที่รุนแรงขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงปฏิกิริยาของยาที่อาจเกิดขึ้น คุณควรทำรายการยาที่ใช้อยู่ทั้งหมด (ยาที่สั่งโดยแพทย์ ยาที่ไม่ได้สั่งโดยแพทย์ และยาสมุนไพร) และแจ้งแก่แพทย์หรือเภสัชกร เพื่อความปลอดภัยของคุณ ห้ามเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนแปลงการใช้ยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาแอมโมเนียมคลอไรด์อาจทำปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์ได้ โดยการเปลี่ยนแปลงการออกฤทธิ์ยา หรือเพิ่มความเสี่ยงสำหรับผลข้างเคียงที่รุนแรงขึ้น โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเกี่ยวกับปฏิกิริยาที่อาจเกิดขึ้นของยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์ ก่อนการใช้ยา

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่นๆ

ยาแอมโมเนียมคลอไรด์อาจทำปฏิกิริยากับสภาวะทางสุขภาพของคุณ ปฏิกิริยาดังกล่าวอาจทำให้สภาวะทางสุขภาพเสื่อมลง หรือเปลี่ยนแปลงการออกฤทธิ์ของยา เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบเสมอเกี่ยวกับสภาวะสุขภาพทั้งหมดของคุณในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

  • ภาวะปอดอุดตัน (Pulmonary insufficiency)
  • ภาวะบวมน้ำเหตุหัวใจ (Cardiac oedema)
  • ภาวะคาร์บอนไดออกไซด์สูง (High total carbon dioxide)

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยานี้เสมอ

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่

ใช้เป็นยาที่ทำให้เป็นกรด

ผู้ใหญ่: ขนาดยาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการและสภาพร่างกายของผู้ป่วย สารละลายควรทำให้เจือจางก่อนก่อนใช้ และอัตราการฉีดเข้าเส้นเลือดไม่ควรเกิน 5 มล./นาที ให้เฝ้าระวังขนาดยา โดยการกำหนดซ้ำตัวยาเซรั่มไบคาร์บอเนต (serum bicarbonate)

การละลายตัวยา: ทำให้เจือจางก่อนใช้ ความเข้มข้นสุดท้ายไม่ควรเกิน 1-2% แอมโมเนียมคลอไรด์ สารละลายที่ประกอบด้วยแอมโมเนียมคลอไรด์ 100-200 มิลลิอีควิวาเลนท์ ควรทำให้เจือจางด้วยโซเดียมคลอไรด์ 0.9% ในปริมาณ 500 หรือ 1000 มล. โดยฉีดเข้าเส้นเลือด

การเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นเกิดปฏิกิริยากับยาเลวอร์ฟานอล (levorphanol) เมื่อผสมกัน

ขนาดยาสำหรับเด็ก

ขนาดใช้ไม่ได้กำหนดไว้สำหรับผู้ป่วยโรคเด็ก ยาแอมโมเนียมคลอไรด์อาจไม่ปลอดภัยสำหรับเด็ก เป็นสิ่งสำคัญเสมอที่ต้องทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับความปลอดภัยของยาก่อนการใช้ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

รูปแบบยา

ยาแอมโมเนียมคลอไรด์มีรูปแบบการใช้และปริมาณตัวยา ดังต่อไปนี้

  • ยาฉีด: 100 มิลลิอีควิวาเลนท์ (5 มิลลิอีควิวาเลนท์/มล.)

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

  • ในกรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ให้โทรแจ้งบริการฉุกเฉิน หรือไปยังห้องฉุกเฉินในโรงพยาบาลใกล้บ้านคุณ
  • การใช้ยาเกินขนาดอาจก่อให้เกิดภาวะกรดจากเมตาบอลิซึม (metabolic acidosis) อย่างรุนแรง ความงุนงง (disorientation) ความสับสน (confusion) และอาการโคม่า (coma)
  • การรักษา: ใช้สารละลายแอลคาไลน์ (alkalinising solution) เช่น โซเดียมไบคาร์บอเนต (sodium bicarbonate) หรือโซเดียมแลคเตท (sodium lactate) เพื่อรักษาภาวะเลือดเป็นกรด (acidosis)

กรณีลืมใช้ยา

หากลืมใช้ยาแอมโมเนียมคลอไรด์ ให้ใช้ยาโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ อย่างไรก็ดี หากใกล้เวลาใช้รอบถัดไป ให้ข้ามรอบที่ลืมใช้ไปแล้วใช้ยาในรอบถัดไปตามปกติที่กำหนดไว้ ห้ามใช้เพิ่มเป็นสองเท่า

Hello Health Group มิได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา