backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ

2

ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

โคลนาซีแพม Clonazepam

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 02/10/2023

Clonazepam หรือยาโคลนาซีแพม เป็นยากันชัก (Anticonvulsant) หรือยาต้านชัก (Antiepileptic) โคลนาซีแพม ใช้เพื่อป้องกันและควบคุมอาการชัก  โคลนาซีแพม ยานี้ยังใช้เพื่อรักษาอาการแพนิคกำเริบ (Panic attacks) ทำงานโดยการทำให้สมองและประสาทสงบลง ยานี้จัดอยู่ในกลุ่มของยาเบนโซไดอะซีปีน (Benzodiazepines)

ข้อบ่งใช้

ยา Clonazepam ใช้สำหรับ

ยา โคลนาซีแพม  เป็นยากันชัก หรือยาต้านชัก ใช้เพื่อป้องกันและควบคุมอาการชัก และยังใช้เพื่อรักษาอาการแพนิคกำเริบ  ทำงานโดยการทำให้สมองและประสาทสงบลง ยานี้จัดอยู่ในกลุ่มของยาเบนโซไดอะซีปีน

วิธีใช้ยาโคลนาซีแพม

ควรอ่านคู่มือการใช้ยาที่เภสัชกรให้มาก่อนเริ่มใช้ยาโคลนาซีแพมและทุกครั้งที่เติมยาเพิ่ม หากมีข้อสงสัยใด ๆ โปรดสอบถามคุณหมอหรือเภสัชกร

รับประทานยาโคลนาซีแพมตามที่กำหนด โดยปกติคือวันละ 2 หรือ 3 ครั้ง

ขนาดยาขึ้นอยู่กับภาวะสุขภาพ อายุ และการตอบสนองต่อการรักษา สำหรับเด็กนั้น ขนาดยายังขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวอีกด้วย ผู้สูงอายุมักจะเริ่มต้นการรักษาในขนาดยาที่ต่ำกว่าเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง อย่าเพิ่มขนาดยา ใช้ยาบ่อยกว่า หรือใช้ยานานกว่าที่กำหนด

ควรใช้ยาโคลนาซีแพมเป็นประจำเพื่อให้ได้ประโยชน์จากยาสูงสุด และเพื่อให้จำง่ายขึ้น ควรใช้ยาในเวลาเดียวกันทุกวัน

อย่าหยุดใช้ยานี้โดยไม่ปรึกษาคุณหมอหรือเภสัชกร ภาวะบางอย่างอาจจะรุนแรงขึ้น หากหยุดใช้ยานี้อย่างกะทันหัน จึงควรค่อย ๆ ลดขนาดยาลงมา

ยาโคลนาซีแพมอาจทำให้เกิดอาการถอนยาได้ โดยเฉพาะหากใช้ยาเป็นเวลานานหรือใช้ยาในปริมาณมาก ในกรณีนี้ อาการถอนยา เช่น อาการชัก มีความเปลี่ยนแปลงทางจิตใจหรืออารมณ์ สั่นเทา ปวดท้องอย่างรุนแรง เป็นตะคริว อาจเกิดขึ้นได้หากหยุดใช้ยากะทันหัน เพื่อป้องกันอาการถอนยาควรค่อย ๆ ลดขนาดยาลงมา โปรดปรึกษาคุณหมอหรือเภัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม และแจ้งให้ทราบในทันทีหากมีอาการถอนยาเกิดขึ้น

เมื่อใช้ยาโคลนาซีแพมเป็นเวลานาน โปรดปรึกษาคุณหมอหากยาโคลนาซีแพมไม่ได้ผลดีดังเดิม ในบางกรณีที่พบได้นาน ๆ ครั้ง ยาโคลนาซีแพมอาจทำให้เกิดอาการอยากยาผิดปกติ หรือที่เรียกว่าติดยา ความเสี่ยงนี้อาจเพิ่มขึ้นหากเคยใช้แอลกอฮอล์หรือยาในทางที่ผิด ดังนั้น ควรใช้ยาโคลนาซีแพมตามที่กำหนดอย่างเคร่งครัด เพื่อลดความเสี่ยงในการติดยา

หากมีอาการชักหลายประเภท อาการชักอาจแย่ลงในช่วงแรกที่เริ่มใช้ยาโคลนาซีแพม โปรดปรึกษาคุณหมอทันทีหากเกิดอาการเหล่านี้ อาจจำเป็นต้องเพิ่มหรือปรับขนาดของยาอื่นเพื่อควบคุมอาการชัก โปรดแจ้งให้คุณหมอทราบ หากอาการไม่ลดลง หรือรุนแรงขึ้น

การเก็บรักษายาโคลนาซีแพม

ยาโคลนาซีแพมควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง ให้พ้นแสงและความชื้น เพื่อป้องกันตัวยาเสื่อมสภาพ ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาโคลนาซีแพมบางยี่ห้ออาจมีวิธีเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรอ่านคำแนะนำบนบรรจุภัณฑ์หรือสอบถามเภสัชกรเสมอ และโปรดเก็บยาให้พ้นจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยงเพื่อความปลอดภัย

ไม่ควรทิ้งยาโคลนาซีแพมลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ เว้นเสียแต่จะได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น หากยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้ยา ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้อง โดยสามารถสอบถามข้อมูลวิธีกำจัดยาที่ถูกต้องได้จากเภสัชกร

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาโคลนาซีแพม

ระหว่างที่กำลังพิจารณาเลือกใช้ยา คุณหมอจะพิจารณาความเสี่ยงของการใช้ยาต่อประโยชน์ของยาเสียก่อน สำหรับยานี้ควรพิจารณาดังต่อไปนี้

โรคภูมิแพ้

แจ้งให้คุณหมอทราบ หากเคยมีอาการผิดปกติหรืออาการแพ้ต่อยานี้หรือยาอื่น ๆ รวมถึงโรคภูมิแพ้อื่น ๆ ที่เป็นอยู่ เช่น แพ้อาหาร สีย้อม สารกันบูด หรือสัตว์ สำหรับยาที่หาซื้อเองควรอ่านฉลากยาหรือส่วนประกอบของยาอย่างละเอียด

เด็ก

เท่าที่ผ่านมา ยังไม่มีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นชัดเจนถึงปัญหาเกี่ยวกับใช้ยานี้ในเด็ก โดยเฉพาะในเรื่องประสิทธิภาพของยาโคลนาซีแพมที่ลดลงหากใช้ในผู้ป่วยเด็กที่มีอาการชัก ในขณะเดียวกัน ก็ยังไม่มีการพิสูจน์ความปลอดภัยและประสิทธิภาพของยานี้สำหรับเด็กที่เป็นโรคแพนิค

ผู้สูงอายุ

ยังไม่มีงานวิจัยในปัจจุบันที่แสดงให้เห็น ถึงปัญหาเฉพาะสำหรับผู้สูงอายุที่จะจำกัดประโยชน์ของยาโคลนาซีแพมในผู้สูงอายุ แต่ผู้ป่วยสูงอายุนั้น มักจะมีอาการสับสนและง่วงซึมอย่างรุนแรง หรือปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ ตับ หรือไตที่เกี่ยวข้องกับอายุ ซึ่งอาจต้องการความระมัดระวังและการปรับขนาดยาสำหรับผู้ป่วยที่ใช้ยาโคลนาซีแพม

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือ เกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ ในช่วงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาคุณหมอเพื่อประเมินประโยชน์และความเสี่ยงก่อนใช้ยานี้

ยาคีโตโรแลคจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด D โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา มีดังนี้

  • A = ไม่มีความเสี่ยง
  • B = ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C = อาจจะมีความเสี่ยง
  • D = มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X = ห้ามใช้
  • N = ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยาโคลนาซีแพม

รับการรักษาพยาบาลฉุกเฉินทันที หากมีสัญญาณของอาการแพ้ ได้แก่ ลมพิษ หายใจติดขัด บวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือลำคอ

โปรดแจ้งให้คุณหมอทราบอาการใหม่ ๆ หรืออาการที่แย่ลง เช่น ความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์หรือจิตใจ ซึมเศร้า วิตกกังวล หรือหากรู้สึกกระวนกระวาย หงุดหงิด ไม่เป็นมิตร ก้าวร้าว ร้อนรน อยู่ไม่สุขทั้งทางจิตใจหรือร่างกาย หรือหากมีความคิดที่จะฆ่าตัวตายหรือทำร้ายตัวเอง

โปรดติดต่อคุณหมอในทันทีหากมีผลข้างเคียงที่รุนแรง ดังนี้

  • สับสน มองเห็นภาพหลอน มีความคิดหรือพฤติกรรมที่ผิดปกติ
  • หายใจอ่อนแรงหรือหายใจตื้น
  • มีพฤติกรรมชอบความเสี่ยงผิดปกติ ไม่กลัวอันตราย
  • มีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติหรือไม่รู้ตัว
  • หัวใจเต้นรัว
  • มีอาการปวดขณะปัสสาวะหรือปัสสาวะติดขัด ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ
  • ผิวซีด มีรอยช้ำหรือเลือดออกง่าย
  • มีอาการชักครั้งใหม่หรืออาการแย่ลง

ผลข้างเคียงที่รุนแรงน้อยกว่า

  • ง่วงซึม วิงเวียน มีปัญหากับการคิดหรือความจำ
  • รู้สึกเหนื่อยล้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง สูญเสียการทรงตัวหรือการเคลื่อนไหวที่สอดประสาน
  • พูดไม่ชัด น้ำลายยืดหรือปากแห้ง เจ็บเหงือก
  • น้ำมูกไหลหรือคัดจมูก
  • เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ท้องร่วง ท้องผูก
  • มองเห็นไม่ชัด
  • ปวดศีรษะ
  • นอนไม่หลับ
  • ผื่นผิวหนัง
  • น้ำหนัก มีความเปลี่ยนแปลง

ผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น อาจไม่ได้เกิดกับทุกคน หรือบางคนอาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากนี้ หากมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษาคุณหมอหรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาโคลนาซีแพมอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่กำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่า กำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร เป็นต้น และเพื่อความปลอดภัย ไม่ควรเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากคุณหมอ

โดยปกติแล้ว ไม่แนะนำให้ใช้ยากลุ่มนี้กับยาดังต่อไปนี้ แต่อาจจำเป็นในบางกรณี หากได้รับใบสั่งยาทั้งคู่ร่วมกัน คุณหมออาจจะต้องเปลี่ยนขนาดยาหรือความถี่ในการใช้ยาตัวใดตัวหนึ่ง หรือทั้งคู่

  • อัลเฟนทานิล (Alfentanil) แอมโมบาร์บิทัล (Amobarbital) แอนนิเลอริดีน (Anileridine) อะโพรบาร์บิทัล (Aprobarbital)
  • บูพรีนอร์ฟีน (Buprenorphine) บูทาบาร์บิทัล (Butabarbital) บูทาลบิทัล (Butalbital)
  • คาร์บาเมเซพีน (Carbamazepine) คาร์ไบนอกซามีน (Carbinoxamine) คาริโซโพรดอล (Carisoprodol) เซอร์ริทินิบ (Ceritinib) โคลรอล ไฮเดรต (Chloral Hydrate) คลอร์โซซาโซน (Chlorzoxazone) คลาริโทรมัยซิน (Clarithromycin) โคบิซิสแตต (Cobicistat) โคเดอีน (Codeine)
  • แดนโทรลีน (Dantrolene)
  • เอธคลอร์ไวนอล (Ethchlorvynol) เฟนทานิล (Fentanyl) ฟอสโพรโพฟอล (Fospropofol)
  • ไฮโดรโคโดน (Hydrocodone) ไฮโดรมอร์โฟน (Hydromorphone)
  • ไอเดลาลิซิบ (Idelalisib)
  • คีโตโคนาโซล (Ketoconazole)
  • เลวอร์ฟานอล (Levorphanol)
  • เมคลิซีน (Meclizine) เมเพอร์ริดีน (Meperidine) เมฟีเนซิน (Mephenesin) เมโฟบาร์บิทัล (Mephobarbital) เมโพรบาเมต (Meprobamate) เมทาซาโลน (Metaxalone) เมทาโดน (Methadone) เมโทคาร์บามอล (Methocarbamol) เมโทเฮซิทอล (Methohexital) มอร์ฟีน (Morphine) มอร์ฟีน ซัลเฟต (Morphine Sulfate)
  • ไลโปโซม (Liposome)
  • นิโลทินิบ (Nilotinib)
  • ออริสแตต (Orlistat) ออกซิโคโดน (Oxycodone) ออกซิมอร์โฟน (Oxymorphone)
  • เพนโทบาร์บิทัล (Pentobarbital) ฟีโนบาร์บิทัล (Phenobarbital) พริมิโดน (Primidone) โพรโพซิฟีน (Propoxyphene)
  • เรมิเฟนทานิล (Remifentanil)
  • เซโคบาร์บิทัล (Secobarbital) ซิลทูซิแม็บ (Siltuximab) โซเดียม ออกซิเบต (Sodium Oxybate) ซูเฟนทานิล (Sufentanil) ซูโวเรแซนต์ (Suvorexant)
  • ทาเพนทาดอล (Tapentadol) ไทโอเพนทอล (Thiopental)
  • ซอลพิเดม (Zolpidem)

การใช้ยานี้ร่วมกับยาดังต่อไปนี้ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงบางอย่าง แต่การใช้ยาทั้งสองร่วมกันอาจเป็นวิธีการรักษาที่เหมาะสมต่อผู้ป่วยที่สุด หากได้รับใบสั่งยาทั้งคู่ร่วมกัน คุณหมออาจจะต้องเปลี่ยนขนาดยา หรือความถี่ในการใช้ยาตัวหนึ่งหรือทั้งคู่

  • อะมิโอดาโรน (Amiodarone)
  • เดซิพรามีน (Desipramine)
  • แปะก๊วย
  • เนไวราพีน (Nevirapine)
  • เพแรมพาเนล (Perampanel)
  • ริโทนาเวียร์ (Ritonavir)
  • สมุนไพรเซนต์จอห์น (St John’s Wort)
  • ทีโอไฟลีน (Theophylline)

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาโคลนาซีแพมอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษาคุณหมอหรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาโคลนาซีแพม อาจส่งผลให้อาการโรคแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้คุณหมอหรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคก่อนใช้ยาเสมอ โดยเฉพาะ

  • เคยเป็นโรคซึมเศร้า
  • มีปัญหากับเกี่ยวปอดหรือการหายใจ ควรใช้ยาอย่างระมัดระวัง อาจทำให้สภาวะนี้แย่ลงได้
  • โรคต้อหินมุมปิดเฉียบพลัน หรือมุมเปิดที่ไม่ได้รับการรักษา
  • โรคไตระดับรุนแรง ไม่ควรใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีภาวะนี้
  • โรคไต
  • โรคตับ ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง ผลของยาอาจจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากการกำจัดยาออกไปจากร่างกายช้าลง

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาคุณหมอหรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาโคลนาซีแพมสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อป้องกันอาการชัก

ขนาดยาเริ่มต้น : ไม่ควรเกิน 1.5 มก./วัน แบ่งรับประทานสามครั้ง

อาจต้องเพิ่มขนาดยาในขนาด 0.5 ถึง 1 มก. ทุกๆ 3 วัน จนกระทั่งสามารถควบคุมอาการชักได้อย่างพอดีหรือจนกว่าผลข้างเคียงจะถูกขัดขวางไม่ให้เพิ่มไปมากกว่านี้

ขนาดยาปกติ แตกต่างกันตามการตอบสนองของผู้ป่วยแต่ละราย

ขนาดยาสูงสุดต่อวัน : 20 มก.

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar Disorder)

ขนาดยาเริ่มต้น : ไม่ควรเกิน 1.5 มก./วัน แบ่งรับประทานสามครั้ง

อาจต้องเพิ่มขนาดยาในขนาด 0.5 ถึง 1 มก. ทุกๆ 3 วัน จนกระทั่งสามารถควบคุมอาการชักได้อย่างพอดีหรือจนกว่าผลข้างเคียงจะถูกขัดขวางไม่ให้เพิ่มไปมากกว่านี้

ขนาดยาปกติ แตกต่างกันตามการตอบสนองของผู้ป่วยแต่ละราย

ขนาดยาสูงสุดต่อวัน : 20 มก.

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคแพนิค (Panic Disorder)

ขนาดยาเริ่มต้น : 0.25 มก. วันละสองครั้ง

ขนาดยาปกติ : เพิ่มขนาดยาขึ้นไปถึงขนาดยาเป้าหมายสำหรับผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ขนาด 1 มก./วัน หลังจากผ่านไป 3 วัน

อาจเพิ่มยาในขนาด 0.125 ถึง 0.25 มก. วันละสองครั้ง ทุกๆ 3 วัน จนสามารถควบคุมอาการแพนิคได้หรือจนกว่าผลข้างเคียงเพิ่มขึ้นแบบไม่ต้องการ เพื่อลดความไม่สะดวกของอาการง่วงซึม อาจให้ยาหนึ่งครั้งก่อนนอน

ขนาดยาสูงสุดต่อวัน : 4 มก./วัน

ควรค่อย ๆ หยุดการรักษาโดยลดขนาดยาลงมา 0.125 มก. วันละสองครั้ง ทุก ๆ 3 วัน จนกว่าจะหยุดใช้ยาอย่างสมบูรณ์

ขนาดยาโคลนาซีแพมสำหรับเด็ก

อายุน้อยกว่า 10 ปี และน้ำหนักตัวน้อยกว่า 30 กก.

ขนาดยาเริ่มต้น รับประทานเพื่อลดโอกาสในการเกิดอาการง่วงซึม : ควรอยู่ในช่วงระหว่าง 0.01 และ 0.03 มก./กก./วัน แต่ไม่ควรเกิน 0.05 มก./กก./วัน แบ่งรับประทานวันละสองหรือสามครั้ง

ไม่ควรเพิ่มขนาดยาเกินกว่า 0.25 ถึง 0.5 มก. ทุก ๆ 3 วันจนกว่าจะได้รับขนาดยาปกติที่ 0.1 ถึง 0.2 มก./กก. ของน้ำหนักตัว เว้นแต่ว่าจะสามารถควบคุมอาการชักหรือป้องกันไม่ให้ผลข้างเคียงเพิ่มขึ้น หากเป็นไปได้ ควรแบ่งขนาดยาต่อวันเป็นสามครั้งในขนาดที่เท่ากัน หากไม่ได้แบ่งขนาดยาให้เท่ากัน ควรรับประทานยาในขนาดที่มากที่สุดก่อนนอน

อายุน้อยกว่า 10 ปี และน้ำหนักมากกว่า 30 กก.

ขนาดยาเริ่มต้น : ไม่ควรเกิน 1.5 มก./วัน แบ่งรับประทานสามครั้ง

อาจต้องเพิ่มขนาดยาในขนาด 0.5 ถึง 1 มก. ทุก ๆ  3 วัน จนกระทั่งสามารถควบคุมอาการชักได้อย่างพอดีหรือจนกว่าผลข้างเคียงจะถูกขัดขวางไม่ให้เพิ่มไปมากกว่านี้

ขนาดยาปกติ : แตกต่างกันตามการตอบสนองของผู้ป่วยแต่ละราย

ขนาดยาสูงสุดต่อวัน : 20 มก.

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

ยาเม็ด 0.5 มก. 1 มก. 2 มก.

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

อาการของการใช้ยาเกินขนาด ได้แก่

  • ง่วงซึม
  • สับสน
  • อาการโคม่า (หมดสติในระยะเวลาหนึ่ง)

กรณีลืมใช้ยา

หากลืมใช้ยาควรรีบใช้ทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติ ไม่ควรเพิ่มขนาดยาเป็นสองเท่า

 

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 02/10/2023

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา