backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ไซโคลสปอริน (Cyclosporine)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ไซโคลสปอริน (Cyclosporine)

ข้อบ่งใช้

ยาหยอดตา ไซโคลสปอริน ใช้สำหรับ

ยา ไซโคลสปอริน (Cyclosporine) ใช้สำหรับอาการตาแห้ง เนื่องจากอาการของโรคตาชนิดหนึ่ง เรียกว่าเยื่อตาขาวอักเสบจากภาวะตาแห้ง (keratoconjunctivitis sicca) ทำงานโดยเพิ่มปริมาณน้ำตา ยาชนิดนี้จัดเป็นยาใช้กดภูมิคุ้มกัน

ยาไซโคลสปอรินสำหรับโรคตาอาจใช้เพื่อจุดประสงค์อื่นๆ ได้

วิธีใช้ยาไซโคลสปอริน

ยาไซโคลสปอรินใช้หยอดที่ตาโดยตรงวันละ 2 ครั้ง ห่างกัน 12 ชั่วโมงหรือตามแพทย์สั่ง

ก่อนใช้ยา ควรล้างมือให้สะอาด เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ควรไม่ให้จับปลายของขวดยา หรือไม่ให้ปลายของขวดถูกบริเวณตา ก่อนเปิดขวด ต้องแน่ใจว่าส่วนผสมเข้ากันดี โดยการคว่ำขวดลงไปมาก่อนใช้ เปิดขวดและหยอดยาที่มีลักษณะขาวขุ่นคล้ายน้ำนม

เงยศีรษะขึ้น มองด้านบนและดึงเปลือกตาให้กว้างออก หยอดยา 1 หยดที่ตา หลับตาประมาณ 1-2 นาที อย่ากะพริบและขยี้ตา

ทิ้งส่วนที่เหลือทั้งหมดหลังจากการใช้ ไม่ควรเก็บยาที่เปิดใช้แล้ว เพื่อใช้ครั้งต่อไป

หากคุณใส่คอนแทคเลนส์ ถอดคอนแทกเลนส์ออกก่อนหยอดตา และทิ้งไว้ 15 นาทีหลังหยอดยา แล้วจึงใส่คอนแทคเลนส์

หากคุณหยอดน้ำตาเทียม ควรเว้นช่วงรอประมาณ 15 นาที ระหว่างการใช้ยาทั้ง 2 ชนิด

การเก็บรักษายาไซโคลสปอริน

ควรเก็บรักษายาไซโคลสปอรินในอุณหภูมิห้อง รวมถึงเก็บให้พ้นจากแสงและความชื้น เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับยา คุณไม่ควรเก็บไว้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาไซโคลสปอรินแต่ละยี่ห้ออาจมีวิธีเก็บแตกต่างกันไป สิ่งสำคัญคือการอ่านคำแนะนำการเก็บรักษายาบนบรรจุภัณฑ์ หรือสอบถามเภสัชกรเพื่อความปลอดภัย คุณควรเก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาไซโคลสปอรินลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่คุณได้รับคำแนะนำให้ทำอย่างนั้น สิ่งสำคัญคือทิ้งยาเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่จำเป็นต้องใช้อีกต่อไป ปรึกษาเภสัชกรเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีทิ้งยาอย่างปลอดภัย

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนการใช้ยาหยอดตาไซโคลสปอริน

ก่อนการใช้ยาไซโคลสปอริน

  • แจ้งแพทย์และเภสัชกร หากคุณมีอาการแพ้ยาไซโคลสปอริน อย่าง นีโอรอล (Neoral) แซนดิมมูน (Sandimmune) หรือแพ้ยาอื่นๆ
  • แจ้งแพทย์และเภสัชกร ถึงยาที่แพทย์สั่ง ยาที่ซื้อได้เอง วิตามิน อาหารเสริม และยาสมุนไพรที่คุณใช้อยู่ รวมถึงแจ้งชื่อยาหยอดตาอื่นที่คุณใช้อยู่ด้วย
  • หากคุณใช้น้ำตาเทียม ควรใช้ก่อนหรือหลังการหยอดตาด้วยยาไซโคลสปอรินอย่างน้อย 15 นาที
  • แจ้งแพทย์หากตาติดเชื้อ หากคุณใส่อุปกรณ์อุดท่อน้ำตา (อุปกรณ์ที่ใส่โดยแพทย์) หรือคุณเป็นเริมที่ตา
  • แจ้งแพทย์หากคุณกำลังตั้งครรภ์ หรือมีแผนตั้งครรภ์ หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร หากคุณใช้ยาไซโคลสปอรินขณะตั้งครรภ์ ควรรีบพบหมอ
  • ไม่ควรหยอดยาไซโคลสปอรินขณะที่ใส่คอนแทคเลนส์ ควรถอดคอนแทคเลนส์ออกก่อนแล้วจึงหยอดตา และทิ้งไว้ 15 นาที จึงใส่คอนแทคเลนส์ ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการใส่คอนแทคเลนส์ หากคุณเป็นโรคตาแห้ง

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ไม่มีการศึกษาในผู้หญิงที่เพียงพอ ที่จะระบุความเสี่ยงขณะที่ใช้ยาไซโคลสปอริน ในระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์ทุกครั้ง เพื่อประเมินข้อดีและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ก่อนใช้ยาไซโคลสปอริน อ้างอิงจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) ยานี้จัดเป็นยาที่มีความเสี่ยงสำหรับสตรีมีครรภ์ประเภท C

โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา จัดประเภทความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ดังต่อไปนี้

  • A = ไม่เสี่ยง
  • B = ไม่พบความเสี่ยงจากงานวิจัยบางชิ้น
  • C = อาจมีความเสี่ยงบางอย่าง
  • D = พบหลักฐานเกี่ยวกับความเสี่ยง
  • X = ห้ามใช้
  • N = ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของยาหยอดตาไซโคลสปอริน

การใช้ยานี้มักไม่เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง แต่ในบางกรณีอาจเกิดอาการแสบร้อนที่ตา น้ำตาไหล อาการเจ็บ ปวดหรือคัน หรือตาพร่าได้

ไม่ใช่ทุกคนที่จะแสดงอาการอันเนื่องมาจากผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจมีผลข้างเคียงอื่นที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีความกังวลเรื่องผลข้างเคียง โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

Know the interactions

ปฏิกิริยากับยาชนิดอื่น

ยาไซโคลสปอรินอาจมีปฏิกิริยาต่อยาตัวอื่น ที่คุณกำลังรับประทานอยู่ และอาจส่งผลให้ยาที่คุณรับประทาน ออกฤทธิ์ต่างไปจากเดิม หรือเพิ่มความเสี่ยงของผลข้างเคียงที่รุนแรง เพื่อหลีกเลี่ยงการทำปฏิกิริยาต่อกันระหว่างยาที่อาจเป็นไปได้ คุณควรเก็บรายชื่อยาทั้งหมดที่คุณใช้ (ทั้งยาที่จำหน่ายตามใบสั่งยา ยาที่จำหน่ายโดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยา และสมุนไพร) และแจ้งให้แพทย์รวมถึงเภสัชกรทราบ เพื่อความปลอดภัย อย่าเริ่มหรือหยุดรับประทาน รวมถึงเปลี่ยนขนาดยาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากแพทย์

  • ยาแก้อักเสบใช้เฉพาะที่ เช่น ยาเคโตโรแลค (ketorolac) เนื่องจากทำให้ประสิทธิภาพของยาไซโคลสเปอรินลดลง

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาไซโคลสปอรินอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์ โดยเปลี่ยนฤทธิ์ยา หรือเพิ่มความเสี่ยงให้ที่จะเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อถามถึงอาหารหรือแอลกอฮอล์ที่อาจทำปฏิกิริยากับยานี้ ก่อนใช้ยา

ปฏิกิริยาต่ออาการโรคอื่น

ยาไซโคลสปอรินอาจส่งผลต่อสุขภาพของคุณ ปฏิกิริยาของยาที่มีต่อร่างกายอาจทำให้สุขภาพของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อฤทธิ์ของยา

โปรดแจ้งให้แพทย์และเภสัชกรทราบ เกี่ยวกับสุขภาพและโรคประจำตัวของคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีภาวะดังนี้

  • ติดเชื้อที่ตา
  • อาการแพ้ยาหรือส่วนผสมที่อยู่ในยาไซโคลสปอริน ไม่ควรใช้ยาชนิดนี้
  • ประวัติการติดเชื้อเริมที่กระจกตา ควรใช้ความระมัดระวังในการใช้ยาหากมีภาวะนี้

หากคุณใส่คอนแทคเลนส์ ผู้ป่วยที่มีอาการตาแห้ง ไม่ควรใส่คอนแทคเลนส์

ขนาดยา

ข้อมูลเหล่านี้ไม่สามารถแทนคำปรึกษาทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยา

ขนาดยาไซโคลสปอรินสำหรับผู้ใหญ่

สำหรับผู้ใหญ่ที่มีภาวะตาแห้ง

หยอดตาข้างละ 1 หยด วันละ 2 ครั้ง ทุกๆ 12 ชั่วโมง

ขนาดยาไซโคลสปอรินสำหรับผู้เด็ก

ขนาดยาสำหรับเด็กยังไม่ได้รับการระบุที่แน่ชัด การใช้ยานี้ในเด็กอาจะเกิดอันตราย จึงควรทำความเข้าใจความปลอดภัยในการใช้ยาก่อนการใช้ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

รูปแบบของยาไซโคลสปอริน

ยาไซโคลสปอรินแยู่ในรูปแบบดังนี้

  • อีมัลชั่น ใช้หยอดตา ความเข้มข้น 0.05%

กรณีฉุกเฉินหรือการใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

หากลืมรับประทานควรทำอย่างไร

หากคุณลืมใช้ยา ควรรีบใช้ทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติ ไม่ควรเพิ่มขนาดยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา