backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ไมกลิทอล (Miglitol)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย จิดาภา ติยะสิริทานนท์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ไมกลิทอล (Miglitol)

ข้อบ่งใช้

ยา ไมกลิทอล ใช้สำหรับ

ใช้ยา ไมกลิทอล (Miglitol) กับการรับประทานอาหารที่เหมาะสม ร่วมกับโปรแกรมออกกำลังกาย เพื่อควบคุมภาวะน้ำตาลในเลือดสูง สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 การควบคุมภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ช่วยป้องกันความเสียหายที่ไต ตาบอด ปัญหาที่เส้นประสาท การสูญเสียแขนขา และปัญหาการทำงานของอวัยวะสืบพันธุ์ การควบคุมเบาหวานอย่างถูกต้อง อาจช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ หรือเส้นเลือดในสมองแตก ยาไมกลิทอลออกฤทธิ์ที่ลำไส้ เพื่อชะลอการแตกตัวและการดูดซึมคาร์โบไฮเดรตจากอาหารที่คุณรับประทาน ฤทธิ์จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดหลังมื้ออาหาร

วิธีการใช้ยา ไมกลิทอล

รับประทานยานี้ตามที่แพทย์สั่ง ปกติแล้ว 3 ครั้งต่อวัน พร้อมกับรับประทานอาหารคำแรก ขนาดยาขึ้นอยู่กับโรค และการตอบสนองต่อการรักษา

ใช้ยานี้เป็นประจำเพื่อให้ได้ผลที่ดีที่สุด เพื่อช่วยจำ รับประทานยานี้ในเวลาเดียวกันของแต่ละวัน

แจ้งให้แพทย์ทราบหากอาการไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง (ระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำเกินไป)

การเก็บรักษายา ไมกลิทอล

คุณควรเก็บยาไมกลิทอลไว้ในอุณหภูมิห้อง รวมถึงเก็บให้พ้นจากแสงและความชื้น เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับยา คุณไม่ควรเก็บยาไมกลิทอลไว้ให้ห้องน้ำหรือตู้เย็น ยาไมกลิทอลแต่ละยี่ห้ออาจมีวิธีเก็บแตกต่างกันไป สิ่งสำคัญคือการอ่านคำแนะนำการเก็บรักษายาบนฉลากผลิตภัณฑ์ หรือสอบถามเภสัชกร เพื่อความปลอดภัย คุณควรเก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

คุณไม่ควรทิ้งยาไมกลิทอลลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่จะได้รับคำแนะนำให้ทำอย่างนั้น ดังนั้น สิ่งสำคัญคือทิ้งยาเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่จำเป็นต้องรับประทานอีกต่อไป ปรึกษาเภสัชกรเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีทิ้งยาอย่างปลอดภัย

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยา ไมกลิทอล

ก่อนจะรับประทานไมกลิทอล แจ้งแพทย์หรือเภสัชกรหากคุณแพ้ยาชนิดนี้ หรือมีอาการแพ้ประเภทอื่น ยาตัวนี้อาจมีส่วนผสมที่ไม่ได้ออกฤทธิ์ในการรักษา แต่อาจทำให้เกิดปฏิกิริยาแพ้ หรือปัญหาอื่นๆ ปรึกษาเภสัชกรเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ก่อนรับประทานยานี้ แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงประวัติการเจ็บป่วย โดยเฉพาะปัญหาที่ลำไส้เล็กหรือระบบขับถ่าย เช่น โรคลำไส้อักเสบ การอุดตันหรือแผลอักเสบ รวมถึงโรคไต

คุณอาจพบกับการมองเห็นภาพไม่ชัด วิงเวียนศีรษะ หรือง่วงซึม เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดต่ำหรือสูงเกินไป อย่าขับรถ ใช้เครื่องจักร หรือทำกิจกรรมใดๆ ที่จำเป็นต้องอาศัยความตื่นตัว จนกว่าคุณจะแน่ใจว่า คุณสามารถทำสิ่งเหล่านั้นได้อย่างปลอดภัย

จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างใช้ยา เพราะแอลกอฮอล์อาจเพิ่มความเสี่ยงของระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ

อาจจะยากที่จะควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เมื่อร่างกายเกิดความตึงเครียด เช่น เป็นไข้หวัด ติดเชื้อ บาดเจ็บหรือได้รับการผ่าตัด ปรึกษาหมอเพราะอาจต้องเปลี่ยนแผนการรักษา ยา หรือตรวจวัดระดับน้ำตาล

ก่อนเข้ารับการผ่าตัด แจ้งให้แพทย์หรือทันตแพทย์ทราบ เกี่ยวกับยาทั้งหมดที่คุณใช้ ทั้งยาที่แพทย์สั่ง ยาที่ซื้อได้เอง และผลิตภัณฑ์สมุนไพร

หากคุณกำลังตั้งครรภ์ ควรใช้ยานี้เมื่อมีความจำเป็นอย่างแน่ชัด ปรึกษาความเสี่ยงและผลดีกับแพทย์

การตั้งครรภ์อาจทำให้เกิดโรคเบาหวานหรือทำให้โรคเบาหวานแย่ลง ปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนจัดการกับระดับน้ำตาลในเลือดระหว่างตั้งครรภ์ แพทย์อาจเปลี่ยนแผนการรักษาเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ เช่น การควบคุมอาหารหรือยา รวมถึงสารอินซูลิน

ยานี้อาจซึมเข้าไปในน้ำนมในปริมาณเล็กน้อย แต่ส่วนมากไม่เป็นอันตรายต่อทารก ปรึกษาแพทย์ก่อนให้นมบุตร

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ไม่มีการศึกษาในผู้หญิงที่เพียงพอที่จะระบุความเสี่ยง ขณะใช้ยาไมกลิทอลระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เสมอ เพื่อชั่งน้ำหนักระหว่างข้อดีและความเสี่ยง ที่อาจเกิดขึ้นก่อนรับประทานยาไมกลิทอล อ้างอิงจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

ยาไมกลิทอลจัดเป็นยากลุ่มเสี่ยงสำหรับสตรีมีครรภ์ประเภท B

ต่อไปนี้คือประเภทความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา

· A = ไม่เสี่ยง

· B = ไม่พบความเสี่ยงในงานวิจัยบางชนิด

· C = อาจจะมีความเสี่ยง

· D = มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง

· X = ห้ามใช้

· N = ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงจากการใช้ยา ไมกลิทอล

อาจเกิดอาการท้องเสีย มีแก๊ส หรือความเจ็บปวดและความอึดอัดในกระเพาะอาหร เนื่องจากร่างกายปรับตัวให้เข้ากับยาในช่วงสัปดาห์แรกๆ ผลข้างเคียงเหล่านี้จะลดลงเมื่อเวลาผ่านไป หากผลข้างเคียงเหล่านี้ยังคงอยู่ หรือแย่ลง แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบทันที

โปรดระลึกไว้ว่า แพทย์จ่ายยานี้เนื่องจากได้ตัดสินใจแล้วว่า ยานี่จะมีประโยชน์ต่อคุณ มากกว่าความเสี่ยงที่เกิดจากผลข้างเคียง หลายคนใช้ยานี้แล้วไม่มีผลข้างเคียงรุนแรงใดๆ

ยาไมกลิทอลมักไม่ทำให้เกิดภาวะน้ำตาลต่ำ (hypoglycemia) ซึ่งระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ เกิดขึ้นเมื่อจ่ายยานี้ร่วมกับยารักษาเบาหวาน หรือหากคุณไม่รับประทานอาหารที่มีแคลอรี่มากเพียงพอ หรือคุณออกกำลังกายอย่างหนักผิดปกติ ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรว่า จำเป็นต้องลดขนาดยารักษาเบาหวานหรือไม่

อาการของระดับน้ำตาลในเลือดต่ำรวมถึงเหงื่อออกโดยฉับพลัน ตัวสั่น หัวใจเต้นเร็ว อยากอาหาร มองเห็นไม่ชัดเจน วิงเวียนศีรษะ รวมถึงเป็นเหน็บที่เท้าหรือแขน อย่ากินน้ำตาลทรายหรือดื่มน้ำอัดลมแบบปกติ เพื่อรักษาอาการเหล่านี้ เพราะยาไมกลิทอลจะทำให้การแตกตัวของน้ำตาลทรายช้าลง พกกลูโคสแบบเม็ดหรือเจลเพื่อรักษาภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ

หากคุณไม่มีกลูโคสในรูปแบบที่เชื่อถือได้พวกนี้ ให้ดื่มน้ำผึ้งหรือน้ำส้มคั้น เพื่อเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดอย่างรวดเร็ว แจ้งให้แพทย์ทราบทันทีเกี่ยวกับปฏิกิริยาและการใช้ยา เพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ รับประทานอาหารให้ตรงเวลา และไม่อดอาหารแม้แต่มื้อเดียว ตรวจสอบกับแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อดูว่า คุณควรจะทำอย่างไร หากคุณไม่ได้รับประทานอาหารหนึ่งมื้อ

อาการของภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (hyperglycemia) รวมถึงอยากอาหาร ปัสสาวะเพิ่มขึ้น มึนงง ง่วงซึม หน้าแดง หายใจไว และมีกลิ่นปากเหมือนกลิ่นผลไม้ หากอาการเหล่านี้เกิดขึ้น แจ้งให้แพทย์ทราบทันที คุณอาจต้องเพิ่มขนาดยาหรือต้องใช้ยาชนิดอื่นร่วม

ในบางกรณี ยานี้อาจจะทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับลำไส้เล็กที่รุนแรง อย่างภาวะมีอากาศอยู่ในลำไส้ (pneumatosis cystoides intestinalis) แจ้งให้แพทย์ทราบทันที หากมีอาการท้องเสียไม่หยุด ท้องผูก มีเลือดหรือมูกในอุจจาระ

อาการแพ้ยาที่รุนแรงเกิดขึ้นได้น้อย อย่างไรก็ตาม เข้ารับการรักษาทันทีหากคุณสังเกตเห็นอาการแพ้ที่รุนแรง ได้แก่ เกิดผื่น คันผิวหรือผิวบวม โดยเฉพาะที่ใบหน้า ลิ้นหรือลำคอ วิงเวียนศีรษะอย่างรุนแรง มีปัญหาเรื่องการหายใจ

ไม่ใช่ทุกคนที่จะแสดงอาการอันเนื่องมาจากผลข้างเคียงเหล่านี้ อาจมีผลข้างเคียงอื่นที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีความกังวลเรื่องผลข้างเคียง โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาบางชนิดที่อาจทำปฏิกิริยากับยาไมกลิทอล ได้แก่

  • ผลิตภัณฑ์ชาโคล แบบใช้รับประทาน
  • อาหารเสริมช่วยระบบย่อยอาหาร อย่างเอนไซม์อะไมเลส (amylase) หรือเอนไซม์แพนครีเอติน (pancreatin)
  • ยาแพรมลินไทด์ (pramlintide)
  • ยากลุ่มปิดกั้นเบต้ารีเซปเตอร์ (Beta blocker medication) เช่น ยาเมโทโพรลอล (metoprolol)
  • ยาโพรพาโนลอล (propranolol)
  • ยาหยอดตารักษาต้อหิน อย่าง ยาทิโมลอล (timolol) อาจช่วยป้องกันหัวใจเต้นเร็วหรือรุนแรง ที่คุณอาจจะรู้สึกเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป อาการอื่นๆ ของระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ เช่น วิงเวียนศีรษะ อยากอาหาร หรือเหงื่อออก จะไม่ได้รับผลกระทบจากยานี้

ยาหลายชนิดอาจส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดของคุณ ทำให้ควบคุมได้ยาก ก่อนที่จะใช้ หยุด หรือเปลี่ยนยาใดๆ ควรปรึกษาเพทย์หรือเภสัชกร ว่ายาอาจส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดอย่างไร ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ ตามที่แพทย์สั่ง และแจ้งผลให้แพทย์ทราบ แจ้งให้แพทย์ทราบทันที

หากคุณมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำ (ดูเพิ่มเติมที่ผลข้างเคียง) แพทย์อาจจำเป็นต้องปรับยารักษาเบาหวาน โปรแกรมออกกำลังกาย หรือการรับประทานอาหารของคุณ

ยาไมกลิทอลอาจมีปฏิกิริยาต่อยาตัวอื่นที่คุณกำลังรับประทานอยู่ และอาจส่งผลให้ยาที่คุณรับประทานออกฤทธิ์ต่างไปจากเดิม หรือเพิ่มความเสี่ยงของผลข้างเคียงที่รุนแรง เพื่อหลีกเลี่ยงการทำปฏิกิริยาต่อกันระหว่างยาที่อาจเป็นไปได้ คุณควรเก็บรายชื่อยาทั้งหมดที่คุณใช้ ทั้งยาที่แพทย์สั่ง ยาที่ซื้อเองได้ และผลิตภัณฑ์สมุนไพร และแจ้งให้แพทย์รวมถึงเภสัชกรทราบ เพื่อความปลอดภัย อย่าเริ่ม หรือหยุดรับประทานยา รวมถึงเปลี่ยนขนาดยา โดยไม่ได้รับอนุญาตจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาไมกลิทอลอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์ โดยเปลี่ยนฤทธิ์ยา หรือเพิ่มความเสี่ยงให้ที่จะเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเถึงอาหารหรือแอลกอฮอล์ ที่อาจทำปฏิกิริยากับยานี้ ก่อนรับประทานยา

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาไมกลิทอลอาจส่งผลต่อสุขภาพของคุณ ปฏิกิริยาของยาที่มีต่อร่างกาย อาจทำให้สุขภาพของคุณย่ำแย่ลง หรือเปลี่ยนฤทธิ์ของยา สิ่งสำคัญคือ โปรดแจ้งให้แพทย์และเภสัชกรทราบ เกี่ยวกับสุขภาพและโรคประจำตัวของคุณ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง ก่อนใช้ยาไมกลิทอล

ขนาดยาไมกลิทอลสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาทั่วไปสำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2

ขนาดยาของแต่ละคน ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพและระดับการทน (tolerability) ของผู้ป่วย

ขนาดยาเริ่มต้น

รับประทานยาครั้งละ 25 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวัน

  • หลังจาก 4 ถึง 8 สัปดาห์อาจเพิ่มเป็นรับประทานยา 50 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวันหากจำเป็น
  • หลังจาก 3 เดือน อาจเพิ่มเป็นรับประทานยา 100 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวันหากจำเป็น ขึ้นอยู่กับน้ำตาลที่สะสมในเลือด

ขนาดยาที่มีผลต่อการรักษา

รับประทานยา 50 มิลลิกรัมถึง 100 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวัน

ขนาดยาสูงสุด

ครั้งละ 100 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวัน

คำแนะนำ

  • รับประทานยาเมื่อเคี้ยวอาหารคำแรกในแต่ละมื้อ ผู้ป่วยควรทำตามแผนควบคุมอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อลดผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหารให้น้อยที่สุด
  • ผู้ป่วยบางรายอาจดีขึ้น เมื่อเริ่มรับประทานยาครั้งละ 25 มิลลิกรัมเพียงหนึ่งครั้งต่อวัน ตามด้วยการลดขนาดยา 3 ครั้งต่อวัน เพื่อลดผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหารให้น้อยที่สุด
  • หากกลูโคสหลังอาหารหรือค่าน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1c) ไม่ลดลง หลังลดขนาดยาครั้งละ 100 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวัน พิจารณาลดขนาดยา

การใช้

ใช้ควบคู่กับการควบคุมอาหารและออกกำลังกาย เพื่อควบคุมน้ำตาลสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

การปรับขนาดยาสำหรับผู้ป่วยโรคไต

การทำงานของไตที่สำคัญ หรือความสามารถของไตในการกำจัดครีอะตินิน ที่ต่ำกว่า 25 มิลลิลิตรต่อวินาที หรือมีค่าครีอะตินินในซีรั่ม มากกว่า 2 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ไม่แนะนำให้ใช้ยา

การปรับขนาดยาสำหรับผู้ป่วยโรคตับ

ไม่แนะนำให้ปรับขนาดยา

การปรับขนาดยา

ผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหาร

  • หากอาการที่เกิดขึ้นกับระบบทางเดินอาหารยังคงมีอยู่ แม้ว่าจะรับประทานอาหารตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด อาจจำเป็นต้องลดขนาดยา หรือหยุดยา

ภาวะน้ำตาลต่ำ (Hypoglycemia)

  • เมื่อใช้ยานี้ร่วมกับยาซัลโฟนิลยูเรีย (sulfonylurea agents) หรืออินซูลิน อาจเกิดภาวะน้ำตาลต่ำ หากภาวะนี้เกิดขึ้น จำเป็นต้องปรับขนาดยาซัลโฟนิลยูเรีย หรือสารอินซูลิน

คำแนะนำอื่นๆ

คำแนะนำในการใช้ยา

  • รับประทานยานี้เมื่อเริ่มมื้ออาหาร (พร้อมกับเคี้ยวอาหารคำแรก)

โดยทั่วไป

  • ควรลดขนาดยา เพื่อลดผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหาร ผู้ป่วยควรได้รับคำแนะนำ โดยพิจารณาถึงความสำคัญของการทำตามแผนการควบคุมอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
  • อาจใช้ยานี้ในการรักษาเพียงอย่างเดียว หรือร่วมกับยารักษาเบาหวานชนิดอื่น
  • ผู้ป่วยที่ใช้ยาซัลโฟนิลยูเรีย หรือสารอินซูเรีย อาจจำเป็นต้องปรับปริมาณยาเหล่านี้ หากมีภาวะน้ำตาลพร่องในเลือด

การเฝ้าสังเกต

  • การควบคุมน้ำตาล ระหว่างการเริ่มและการลดปริมาณ ควรตรวจวัดกลูโคสในพลาสมาหลังมื้ออาหาร 1 ชั่วโมง เพื่อสังเกตการตอบสนองต่อการรักษา ควรตรวจวัดค่าน้ำตาลสะสมในเลือดทุก 3 เดือน เพื่อประเมินการควบคุมน้ำตาลในระยะยาว

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย

  • ผู้ป่วยควรทำความเข้าใจความสำคัญ ของการทำตามแผนควบคุมอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหาร ที่เกิดขึ้นทั่วไปในการเริ่มรักษา แต่ควรลดลงเมื่อเวลาผ่านไป
  • ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอาจเกิดขึ้น เมื่อใช้ยานี้ร่วมกับสารอินซูลิน หรือยาซัลโฟนิลยูเรีย ผู้ป่วยควรได้รับคำแนะนำ ให้รักษาภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำด้วยกลูโคสสำหรับรับประทาน หรือเด็กโทรส (dextrose) เนื่องจากไม่ควรใช้ซูโครส (sucrose) หรือน้ำตาลทราย เพื่อปรับระดับน้ำตาลเนื่องจากผลของยานี้
  • ในช่วงที่ร่างกายตึงเครียดเนื่องจากเป็นไข้ มีบาดแผล ติดเชื้อ หรือผ่าตัด การควบคุมเบาหวานอาจเปลี่ยนไป และผู้ป่วยควรได้รับคำแนะนำให้ปรึกษาแพทย์

ขนาดยาไมกลิทอลสำหรับเด็ก

ไม่ได้มีการกำหนดขยาดยาสำหรับผู้ป่วยที่เป็นเด็ก ยานี้อาจไม่ปลอดภัยสำหรับเด็ก สิ่งที่สำคัญคือ ต้องศึกษาการใช้ยาอย่างปลอดภัยก่อนรับประทาน โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

รูปแบบของยาไมกลิทอล

ยาไมกลิทอลมีรูปแบบดังต่อไปนี้

  • ยาเม็ดสำหรับรับประทาน

กรณีฉุกเฉินหรือการใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติ ไม่ควรเพิ่มขนาดยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย จิดาภา ติยะสิริทานนท์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา