backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

เซโรโทนิน (Serotonin)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 12/05/2020

เซโรโทนิน (Serotonin)

การใช้ประโยชน์ เซโรโทนิน

เซโรโทนิน ใช้ทำอะไร

เซโรโทนิน (Serotonin) เป็นสารเคมีที่เซลล์ประสาทสร้างขึ้น เซโรโทนินพบมากที่สุดในระบบย่อยอาหารทำหน้าที่ส่งสัญญาณระหว่างเซลล์ประสาท ช่วยเกี่ยวกับผู้ที่มีปัญหาการนอนหลับ การรับประทาน และการย่อยอาหาร  นอกจากนี้ยังพบในเกล็ดเลือดและระบบประสาทกลาง ซึ่งสามารถช่วย ลดอาการซึมเศร้า ลดความวิตกกังวล สมานแผล เป็นยาช่วยขับอาเจียน รักษาสุขภาพของกระดูก

เซโรโทนินอาจมีคุณประโยชน์ในด้านอื่นๆ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จากแพทย์หรือเภสัชกรของท่าน

การทำงานของเซโรโทนินเป็นอย่างไร?

งานวิจัยไม่เพียงพอเกี่ยวกับวิธีการทำงานของเซโรโทนิน กรุณาปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม แต่อย่างไรก็ตามเป็นที่ทราบกันว่า เซโรโทนินมีผลต่อทุกส่วนของร่างกายตั้งแต่อารมณ์ถึงทักษะการเคลื่อนไหว เซโรโทนินเป็นตัวปรับอารมณ์ตามธรรมชาติ การศึกษาในปี 2007 พบว่าคนที่เป็นโรคซึมเศร้าจะมีระดับเซโรโทนินต่ำ การขาดเซโรโทนินจะมีทำให้เกิดความวิตกกังวลและนอนไม่หลับ

อาหารเสริมที่ใกล้เคียงกับเซโรโทนินคือ 5-HTP. 5-HTP ใช้ได้กับสมองและระบบประสาทส่วนกลางโดยเพิ่มการผลิตเซโรโทนิน

ข้อควรระวังและคำเตือน

เราควรรู้อะไรบ้างก่อนใช้ เซโรโทนิน

ควรปรึกษากับแพทย์และเภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรถ้ามีอาการหรือลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรควรจะได้รับยาหรือสมุนไพรบำรุง ที่จัดจำหน่ายโดยแพทย์เท่านั้น
  • อยู่ในระหว่างการใช้ยาหรือสมุนไพรอื่นๆ ร่วมด้วย รวมถึงยาทุกชนิดที่ซื้อรับประทานเองโดยไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์
  • มีอาการแพ้สารที่มีส่วนประกอบของเซโรโทนินมาหรือยาและสมุนไพรชนิดอื่น
  • มีอาการเจ็บป่วย มีอาการผิดปกติ หรือมีโรคอื่นๆ แทรกซ้อน
  • มีอาการแพ้ต่างๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์

ข้อบังคับสำหรับผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหารนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับของการใช้ยา จึงจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัยในการใช้ประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ สมุนไพรเสริมอาหารนี้จะต้องมีค่าน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

เซโรโทนินมีความปลอดภัยแค่ไหน?

การรับประทานเซโรโทนิน หรือ 5-HTP ค่อนข้างปลอดภัยเมื่อรับประทานอย่างเหมาะสมอย่างไรก็ตามบางคนที่รับเซโรโทนินหรือ 5-HTP เมื่อเข้าสู่ร่างกาย อาจมีอาการที่เรียกว่า ภาวะเม็ดเลือดขาวสูงกว่าปกติ (eosinophil) และปวดกล้ามเนื้อ รวมถึงอาการปวดท้องอย่างรุนแรง ซึ่งคือการตึงล้าของกล้ามเนื้อ หากรับประทานเข้าไปในปริมาณมาก

ความปลอดภัยสำหรับเด็ก : ค่อนข้างปลอดภัยเมื่อรับประทานอย่างเหมาะสม ขนาดการใช้ที่ปลอดภัยอาจใช้ถึง 5 มก./กก. ต่อวัน

ความปลอดภัยสำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร : ไม่มีข้อมูลที่เพียงพอที่จะทราบถึงความปลอดภัย ควรปรึกษาและขอคำแนะนำจากแพทย์หากมีความจำเป็นต้องใช้

สำหรับการผ่าตัด : สามารถส่งผลต่อสารเคมีในสมองที่เรียกว่าเซโรโทนิน ก่อนผ่าตัดอาจทำให้ได้รับเซโรโทนินในสมองมากเกินไปและทำให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงรวมถึงโรคหัวใจ อาการหนาวสั่น และ ความวิตกกังวล ควรให้ผู้ป่วยหยุดรับประทานอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนผ่าตัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้เซโรโทนินมีอะไรบ้าง

  • อาการแสบร้อนกลางอก
  • ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน
  • ท้องเสีย
  • เซื่องซึม
  • ปัญหาทางเพศ
  • ปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ

ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีผลข้างเคียงดังกล่าว อาจเกิดผลข้างเคียงอื่นๆทั้งรุนแรงและไม่รุนแรงตามมาได้ ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรเพิ่มเติม

ปฏิกิริยาระหว่างยา

**เซโรโทนินอาจมีปฏิกิริยากับยาหรือภาวะทางการแพทย์ในปัจจุบันของท่าน ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้

เซโรโทนินอาจทำปฏิกิริยากับยาที่คุณทานหรือมีผลกระทบกับการรักษาของคุณในปัจจุบัน ดังนั้น ควรปรึกษาหมอสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนเสมอ

ผลิตภัณฑ์ที่อาจจะมีปฏิกิริยากับเซโรโทนิน ได้แก่:

  • ยาต้านเศร้า เช่น ฟลูออกซิทีน (fluoxetine) เซอร์ทราลีน (sertraline) และอื่นๆ
  • ยาสำหรับโรคซึมเศร้าได้แก่ ฟีเนลซีน (phenelzine) ทรานิลไซโปรมีน (tranylcypromine) และอื่นๆ
  • เลโวโดปา (Levodopa) สามารถส่งผลต่อสมอง เพิ่มความเสี่ยงของผลข้างเคียงรวมถึงการพูดเร็ว ความวิตกกังวล อาการก้าวร้าวและอื่นๆ
  • เดกซ์โทรเมทอร์แฟน (Dextromethorphan) อาจทำให้มีเซโรโทนินในสมองมากเกินและมีผลข้างเคียงที่รุนแรงได้แก่ โรคหัวใจ อาการหนาวสั่นและความวิตกกังวล
  • ทรามาดอล (Tramadol) อาจทำให้มีเซโรโทนินในสมองมากเกินไปและมีผลข้างเคียง ได้แก่ ความสับสน อาการหนาวสั่น กล้ามเนื้อเกร็งและอื่นๆ

ขนาดการใช้

ข้อมูลนี้ไม่สามารถเป็นคำสั่งในการใช้ยาได้ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนการใช้ยาเสมอ

ขนาดปกติที่ใช้5-HTP?

ขนาดที่ใช้สำหรับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์:

สำหรับผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้า : มีการศึกษาให้ขนาดยาในปริมาณ 150-3000 มก.ต่อวัน หรือสูงสุดมากถึง 4 ครั้งต่อวันเท่านั้น เป็นเวลา 2-6 สัปดาห์ และให้ขนาดยาเพิ่มขึ้นจาก 150 มก.ต่อวันเป็นเวลา 2 สัปดาห์

ขนาดการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหารอาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ ขนาดการใช้ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่นๆ  ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหารไม่ปลอดภัยเสมอไป โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์เพื่อทราบขนาดที่เหมาะสม

สมุนไพรดังกล่าวอาจอยู่ในรูปแบบใด

เซโรโทนินอาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้

  • แคปซูล 5-HTP 100 มก.

Hello Health Group  ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 12/05/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา