backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ

1

ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

กลูโคส (Glucose)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 17/07/2023

กลูโคส (Glucose) ช่วยให้ร่างกายได้รับของเหลวที่มีน้ำตาลในปริมาณมาก เมื่อไม่สามาถดื่มน้ำได้เพียงพอหรือเมื่อร่างกายจำเป็นต้องรับน้ำเพิ่ม นอกจากนี้ ยากลูโคสยังอาจใช้ในการช่วยนำส่งยาฉีดชนิดอื่น ๆ โดยยากลูโคสเป็นยาปราศจากเชื้อสำหรับฉีดเข้าหลอดเลือดดำ

ข้อบ่งใช้

ยากลูโคสใช้สำหรับ

ยากลูโคส (Glucose) ช่วยให้ร่างกายได้รับของเหลวที่มีน้ำตาลในปริมาณมาก เมื่อไม่สามาถดื่มน้ำได้เพียงพอหรือเมื่อจำเป็นต้องรับน้ำเพิ่ม นอกจากนี้ ยากลูโคสยังอาจใช้ในการช่วยนำส่งยาฉีดชนิดอื่น ๆ โดยยากลูโคสเป็นยาปราศจากเชื้อสำหรับฉีดเข้าหลอดเลือดดำ

วิธีการใช้ยากลูโคส

ใช้ยากลูโคสตามที่คุณหมอกำหนด ควรอ่านฉลากยาเพื่อรับทราบวิธีการใช้ยาที่ถูกต้อง

การให้ยากลูโคส นิยมฉีดยาที่โรงพยาบาล หรือคลินิก หากใช้ยากลูโคสเองที่บ้าน ควรปฏิบัติตามวิธีฉีดยาที่คุณหมอแนะนำอย่างเคร่งครัด

  • ควรเก็บยานี้พร้อมทั้งกระบอกฉีดยาและเข็มฉีดยาให้พ้นจากมือของเด็กและสัตว์เลี้ยง
  • อย่าใช้เข็มฉีดยา กระบอกฉีดยา หรืออุปกรณ์อื่นๆ ซ้ำ ควรกำจัดอุปกรณ์เหล่านี้ให้ถูกต้องหลังจากใช้งาน โปรดสอบถามคุณหมอหรือเภสัชกรเพื่อรับทราบข้อบังคับการกำจัดขยะท้องถิ่น
  • หากยากลูโคสนั้นปนเปื้อนฝุ่นละอองหรือเปลี่ยนสี หรือหากขวดยามีรอยแตกหรือเสียหาย ไม่ควรใช้ยานั้นโดยเด็ดขาด
  • อย่าให้ยาในชุดอุปกรณ์เดียวกันพร้อมกับชุดที่ให้เลือด

หากลืมใช้ยากลูโคส โปรดติดต่อคุณหมอในทันที และหากมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับการใช้ยากลูโคส โปรดปรึกษาคุณหมอหรือเภสัชกรใกล้บ้าน

การเก็บรักษายากลูโคส

ยากลูโคสควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง ให้พ้นแสงและความชื้น เพื่อป้องกันตัวยาเสื่อมสภาพ ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยากลูโคสบางยี่ห้ออาจมีวิธีเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรอ่านคำแนะนำบนบรรจุภัณฑ์หรือสอบถามเภสัชกรเสมอ และโปรดเก็บยาให้พ้นจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยงเพื่อความปลอดภัย

ไม่ควรทิ้งยากลูโคสลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ เว้นเสียแต่จะได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น หากยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้ยา ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้อง โดยสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเภสัชกร

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยากลูโคส

ก่อนใช้ยานี้ โปรดแจ้งให้คุณหมอทราบหากมีอาการแพ้ต่อส่วนผสมใด ๆ ในยากลูโคส

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยเกี่ยวกับความปลอดภัยของการใช้ยานี้ขณะตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรที่เพียงพอ หากกำลังตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตรโปรดปรึกษากับแพทย์ก่อนเสมอ เพื่อประเมินประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

ยากลูโคสจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ ประเภท C โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยากลูโคส

ยาทุกชนิดอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้ แต่ส่วนใหญ่มักไม่เกิดผลข้างเคียงหรือมีผลข้างเคียงเพียงเล็กน้อย

ผลข้างเคียงโดยทั่วไปของการใช้ยากลูโคส ได้แก่

  • อาการปัสสาวะเพิ่มขึ้น
  • มีอาการปวด รอยแดง หรืออาการบวมตรงบริเวณที่ฉีดยา

โปรดปรึกษาคุณหมอ หากผลข้างเคียงเหล่านี้ไม่หายไป หรือรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน

ผลข้างเคียงรุนแรงของการใช้ยากลูโคส ได้แก่

  • อาการแพ้รุนแรง เช่น ผดผื่น ลมพิษ หายใจติดขัด แน่นหน้าอก อาการบวมที่ปาก ใบหน้า ริมฝีปาก หรือลิ้น)
  • สับสน
  • กล้ามเนื้อกระตุก
  • ชัก
  • อาการบวมที่มือหรือเท้า
  • อ่อนแรง

หากเกิดผลข้างเคียงรุนแรง ควรหยุดใช้ยาและติดต่อโรงพยาบาลทันที

ผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น อาจไม่ได้เกิดกับทุกราย หรือบางรายอาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากนี้ หากมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษาคุณหมอหรือเภสัชกรใกล้บ้าน

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยากลูโคสอาจทำปฏิกิริยากับยาอื่นที่กำลังใช้อยู่ และอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ควรแจ้งคุณหมอหรือเภสัชกรด้วยว่า กำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร และเพื่อความปลอดภัย ไม่ควรเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากคุณหมอ

ข้อควรระวัง ยากลูโคสอาจจะเพิ่มระดับของน้ำตาลกลูโคสในเลือดและลดประสิทธิภาพของยารักษาโรคเบาหวานได้

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยากลูโคสอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับคุณหมอหรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาบางชนิดไม่ควรใช้พร้อมกัน หรือใช้ในเวลาใกล้เคียงกับการรับประทานอาหาร รวมถึงไม่ควรรับประทานร่วมกับอาหารบางชนิดเนื่องจากอาจทำให้เกิดปฏิกิริยาได้ นอกจากนี้ การดื่มสุราหรือการสูบบุหรี่พร้อมกับยาบางชนิด ก็อาจทำให้เกิดปฏิกิริยาได้เช่นกัน

โปรดสอบถามคุณหมอเกี่ยวกับการใช้ยานี้พร้อมกับการรับประทานอาหาร สุรา หรือสูบบุหรี่ โดยเฉพาะหากมีภาวะหรือโรคเหล่านี้

  • อยู่ในภาวะโคม่า เนื่องจากภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานหรือโรคตับ
  • มีอาการสับสน มีปัญหากับความจำ หรือมีอาการเลือดออกที่ศีรษะหรือกระดูกสันหลัง
  • เป็นโรคเบาหวานหรือมีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูง

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับคุณหมอหรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยากลูโคสสำหรับผู้ใหญ่

การทดสอบความทนทานต่อน้ำตาล (Oral glucose tolerance test)

ผู้ใหญ่ ทำการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร (Take fasting plasma glucose) แล้วจึงให้รับประทานยาแอนไฮดัส กลูโคส (anhydrous glucose) ขนาด 75 กรัม ควรทำการตรวจระดับพลาสม่ากลูโคสหลังจากรับประทานยากลูโคสผ่านไป 2 ชั่วโมง

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycaemia)

ผู้ใหญ่ รับประทานยากลูโคสขนาด 15-20 กรัม การตอบสนองต่อการรักษาด้วยยากลูโคสควรจะเห็นได้ชัดภายใน 10-20 นาที ทำการตรวจระดับพลาสม่ากลูโคสในเวลา 60 นาที เนื่องจากอาจจำเป็นต้องทำการรักษาเพิ่มเติม

ภาวะขาดน้ำ (Fluid depletion)

ผู้ใหญ่ ฉีดยาสารละลายกลูโคส 50% เข้าในหลอดเลือดดำส่วนปลาย

ภาวะขาดคาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate depletion)

ผู้ใหญ่ ฉีดยาสารละลายกลูโคส น้อยกว่า 5% โดยปกติมักจะให้ทางหลอดเลือดดำใหญ่

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอย่างรุนแรง

ผู้ใหญ่ ฉีดยาสารละลายกลูโคส 50% เข้าในหลอดเลือดดำใหญ่

ขนาดยากลูโคสสำหรับเด็ก

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

ควรเจือจางก่อนฉีดเข้าหลอดเลือดดำ อาจให้สารละลายที่เข้มข้นกว่าในกรณีฉุกเฉิน เช่น 12.5-25%

  • อายุน้อยกว่า 6 เดือน: 0.25-0.5 กรัม/กก./ครั้ง (1-2 มล./กก./ครั้ง ของสารละลาย 25%) ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ไม่ควรเกิน 25 กรัม/ครั้ง
  • ทารกอายุมากกว่า 6 เดือนและเด็ก: 0.5-1 กรัม/กก. จนถึง 25 กรัม (2-4 มล./กก./ครั้งของสารละลาย 25%) ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ไม่ควรเกิน 25 กรัม/ครั้ง
  • วัยรุ่น: ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ 10-25 กรัม (เช่น 20-50 มล. ของสารละลาย 50% หรือ 40-100 มล. ของสารละลาย 25%) รับประทาน 4-20 กรัม หนึ่งครั้ง อาจให้ยาเพิ่มหลังจากผ่านไป 15 นาที หากผลการตรวจระดับน้ำตาลกลูโคสด้วยตนเองนั้นแสดงให้เห็นว่ายังคงมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอยู่

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาเม็ดสำหรับเคี้ยว : 1 กรัม 4 กรัม 5 กรัม
  • ยาเม็ด : 4 กรัม
  • ยาเจลสำหรับรับประทาน : 15 กรัม
  • สารละลายสำหรับฉีดเข้าหลอดเลือดดำ : 2.5%, 5%, 10%, 20%, 25%, 30%, 40%, 50% และ 70%

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากลืมใช้ยาควรรีบใช้ทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 17/07/2023

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา