backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ไซโคลเซรีน (Cycloserine)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ข้อบ่งใช้

ยา ไซโคลเซรีน ใช้สำหรับ

ยา ไซโคลเซรีน (Cycloserine) มักใช้ร่วมกับยาอื่นเพื่อรักษาวัณโรค ในบางกรณียังใช้เพื่อรักษาการติดเชื้อที่ระบบทางปัสสาวะ ยานี้ทำงานโดยหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย

ยาปฏิชีวนะนี้ใช้เพื่อรักษาและป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น ไม่ได้ผลกับการติดเชื้อไวรัส (เช่น โรคหวัดหรือไข้หวัดใหญ่) การใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น หรือใช้อย่างไม่ถูกต้อง อาจทำให้ประสิทธิภาพลดลงได้

วิธีการใช้ยา ไซโคลเซรีน

รับประทานยานี้พร้อมกับอาหาร หรือรับประทานแยกต่างหาก โดยปกติ คือ วันละ 2 ครั้ง (ทุกๆ 12 ชั่วโมง) หรือตามที่แพทย์กำหนด

ขนาดยาขึ้นอยู่กับน้ำหนัก สภาวะทางการแพทย์ ระดับของยาไซโคลเซรีนในเลือด และการตอบสนองต่อการรักษา อย่ารับประทานมากกว่า 1000 มก. ต่อวัน

เพื่อให้ได้ผลที่ดีที่สุด ควรใช้ยาปฏิชีวนะโดยเว้นระยะเวลาให้เท่ากัน เพื่อให้ง่ายต่อการจำ ควรรับประทานยาในเวลาเดียวกันทุกวัน

ใช้ยานี้ (และยารักษาวัณโรคอื่นๆ) อย่างต่อเนื่องจนครบกำหนด แม้ว่าอาการจะหายไปแล้ว การหยุดใช้ยาเร็วเกินไป หรือข้ามมื้อยา อาจทำให้การติดเชื้อกำเริบ และรักษาได้ยากขึ้น (ดื้อยา)

แพทย์อาจจะสั่งให้คุณรับประทานวิตามินบี 6 หรือไพริดอกซีน (pyridoxine) เพื่อช่วยป้องกันผลข้างเคียงบางอย่างของยาไซโคลเซรีน โปรดทำตามแนวทางของแพทย์อย่างเคร่งครัด

แจ้งให้แพทย์ทราบ หากอาการของคุณไม่หายไปหรือรุนแรงขึ้น

การเก็บรักษายาไซโคลเซรีน

ยาไซโคลเซรีนควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาไซโคลเซรีนบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัย โปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาไซโคลเซรีนลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ เว้นเสียแต่จะได้รับคำแนะนำให้ทำ ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้อง เมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาไซโคลเซรีน

ก่อนใช้ยาไซโคลเซรีน แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ หากคุณแพ้ต่อยานี้ หรือหากคุณเป็นโรคภูมิแพ้อื่นๆ ยานี้อาจมีสารไม่ออกฤทธิ์ที่ทำให้เกิดอาการแพ้หรือปัญหาอื่น โปรดปรึกษาเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ของคุณ โดยเฉพาะอาการชัก ความผิดปกติทางจิตใจหรืออารมณ์ (เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล โรคจิต) โรคไต โรคตับ ดื่มสุรา

ยานี้อาจทำให้เกิดอาการวิงเวียนหรือง่วงซึม อย่าขับรถ ใช้เครื่องจักร หรือทำกิจกรรมที่ต้องการความตื่นตัว จนกว่าคุณจะสามารถทำได้อย่างปลอดภัย และควรจำกัดปริมาณเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ยาไซโคลเซรีนอาจทำให้วันซีคแบคทีเรียเชื้อเป็น (เช่น วัคซีนไทรอยด์) ทำงานได้ไม่ดี อย่าสร้างภูมิคุ้มกันหรือรับวัคซีนขณะที่ใช้ยานี้ นอกเสียจากแพทย์จะสั่ง

ก่อนการผ่าตัด แจ้งให้แพทย์หรือทันตแพทย์ทราบเกี่ยวกับยาทั้งหมดที่คุณใช้ (ทั้งยาตามใบสั่งยา ยาที่หาซื้อเอง และสมุนไพรต่างๆ)

ในช่วงขณะการตั้งครรภ์ ควรใช้ยานี้เมื่อจำเป็นเท่านั้น โปรดปรึกษาความเสี่ยงและประโยชน์กับแพทย์

ยานี้สามารถส่งผ่านน้ำนมแม่ได้ แต่ไม่ค่อยจะทำอันตรายต่อเด็กทารก โปรดปรึกษาแพทย์ก่อนให้นมบุตร

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือ เกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

ยาไซโคลเซรีนจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด C โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยาไซโคลเซรีน

อาจเกิดอาการปวดหัว ง่วงซึม วิงเวียน หรือสั่นเทา หากอาการเหล่านี้ไม่หายไปหรือรุนแรงขึ้นโปรดแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรในทันที

โปรดจำไว้ว่าการที่แพทย์ให้คุณใช้ยาตัวนี้เนื่องจากคำนวณแล้วว่ายามีประโยชน์มากกว่าเป็นโทษ และคนที่ใช้ยานี้ส่วนใหญ่ไม่พบผลข้างเคียงที่ร้ายแรงใดๆ

แจ้งให้แพทย์ทราบในทันทีหากเกิดผลข้างเคียงที่ไม่ค่อยจะเกิดขึ้น แต่รุนแรงดังต่อไปนี้ ได้แก่ อ่อนแรง มีความเปลี่ยนแปลงทางจิตใจหรืออารมณ์ (เช่น สับสน ร้อนรน เห็นภาพหลอน ซึมเศร้า หรือมีความคิดอยากฆ่าตัวตาย) เหน็บชาที่ผิวหนัง ชัก

แจ้งให้แพทย์ทราบในทันที หากเกิดผลข้างเคียงที่หายากแต่รุนแรงมากดังต่อไปนี้ ได้แก่ อาการบวมที่ข้อเท้าหรือเท้า หัวใจเต้นผิดปกติ เหนื่อยล้าผิดปกติ ผิวซีด

การแพ้ยาที่รุนแรงต่อยานี้ ค่อนข้างเกิดขึ้นได้ยาก แต่จำเป็นต้องได้รับการรักษาที่ทันท่วงที อาการของการแพ้รุนแรงมีดังนี้คือ ผดผื่น คันหรือบวม (โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า ลิ้น และลำคอ) วิงเวียนขั้นรุนแรง หายใจติดขัด

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ หากคุณใช้ผลิตภัณฑ์อื่นที่อาจทำให้เกิดอาการง่วงซึมได้ เช่น สุรา กัญชา ยาต้านฮีสตามีน (antihistamines) เช่น เซทิริซีน (cetirizine) หรือไดเฟนไฮดรามีน (diphenhydramine) ยานอนหลับ หรือยาสำหรับอาการวิตกกังวล เช่น อัลปราโซแลม (alprazolam) ไดอะซีแพม (diazepam) หรือโซลพิเดม (zolpidem) ยาคลายกล้ามเนื้อ และยาแก้ปวดแบบเสพติด (narcotic pain relievers) เช่น โคเดอีน (codeine)

ควรตรวจสอบฉลากของยาทั้งหมด (เช่น ยาแก้แพ้หรือยาแก้ไอแก้หวัด) เนื่องจากอาจมีส่วนประกอบที่ทำให้เกิดอาการง่วงซึมได้ สอบถามแพทย์เกี่ยวกับวิธีการใช้ยาเหล่านี้อย่างปลอดภัย

ยาไซโคลเซรีนอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาไซโคลเซรีนอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาไซโคลเซรีนอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาไซโคลเซรีนสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาวัณโรค – ภายนอกปอด

  • 500 มก.-1 กรัม รับประทานต่อวัน แบ่งเป็น 1 หรือ 2 ครั้ง (10-15 มก./กก./วัน)
  • ระยะเวลาในการรักษา : ควรดำเนินการรักษาต่อจนมีการเปลี่ยนแปลงของเชื้อแบคทีเรียอย่างถาวร และมีอาการทางการแพทย์ดีขึ้นสูงสุด โดยปกติคือ 18-24 เดือน

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาวัณโรค – มีอาการ

  • 500 มก.-1 กรัม รับประทานต่อวัน แบ่งเป็น 1 หรือ 2 ครั้ง (10-15 มก./กก./วัน)
  • ระยะเวลาในการรักษา : ควรดำเนินการรักษาต่อจนมีการเปลี่ยนแปลงของเชื้อแบคทีเรียอย่างถาวร และมีอาการทางการแพทย์ดีขึ้นสูงสุด โดยปกติคือ 18-24 เดือน

การปรับขนาดยาสำหรับไต

  • ค่าครีอะตินีนเคลียรานซ์ (CrCl) น้อยกว่า 50 มล./นาที : 250 มก./วัน หรือ ครั้งละ 500 มก. 3 ครั้งต่อสัปดาห์
  • ไม่แนะนำการใช้ยาไซโคลเซรีนในผู้ป่วยที่มีค่าครีอะตินีนเคลียรานซ์น้อยกว่า 50 มล./นาที นอกเสียจากจะกำลังรับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (hemodialysis)

การปรับขนาดยาสำหรับตับ

  • ไม่มีการปรับขนาดยาที่แนะนำ

ข้อควรระวัง

  • ห้ามใช้ยาไซโคลเซรีนในผู้ป่วยที่เป็นโรคลมชัก (epilepsy) ซึมเศร้า วิตกกังวลขั้นรุนแรง โรคจิต หรือดื่มสุรามากเกินไป
  • ควรหยุดใช้ยาไซโคลเซรีนหรือลดขนาดยาหากเกิดอาการผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้หรือเกิดความเป็นพิษต่อระบบประสาทส่วนกลาง เช่น ชัก โรคจิต อาการง่วงนอนมากเกินไปในช่วงกลางวัน ซึมเศร้า สับสน ปฏิกิริยาตอบสนองมากเกินไป ปวดหัว สั่นเทา อาการเวียนศีรษะบ้านหมุน อัมพฤกษ์ หรือพูดไม่ชัด
  • ความเข้มข้นของเลือดมากกว่า 30 ไมโครกรัม/มล. นั้นมีความเกี่ยวข้องกับอาการเป็นพิษ ผู้ป่วยที่ใช้ยามากกว่า 500 มก./วัน หรือไมภาวะไตบกพร่อง ควรเฝ้าระวังความเป็นพิษต่อระบบประสาทส่วนกลาง และความเข้มข้นในเลือดอย่างใกล้ชิดเป็นประจำทุกสัปดาห์ การใช้ยาต้านชักอาจช่วยในการควบคุมอาการบาง อย่าง ไพริดอกซีน นั้น อาจมีประโยชน์ในการป้องกันอาการเป็นพิษต่อระบบประสาทส่วนกลาง
  • ควรเฝ้าระวังการตรวจเลือด ไต ตับ และระดับของยาในเลือดเป็นประจำ ควรปรับขนาดยา เพื่อรักษาระดับความเข้มข้นไว้ที่น้อยกว่า 30 ไมโครกรัม/มล.
  • เนื่องจากการเกิดการดื้อยาอย่างรวดเร็ว จึงไม่ควรใช้ยาไซโคลเซรีนเป็นยาชนิดเดียวเพื่อรักษาวัณโรค ควรใช้ยานี้ร่วมกับยาอื่นที่เชื้อนั้นมีปฏิกิริยาไว
  • แนะนำวิธีการรักษาภายใต้การสังเกตโดยตรง (Directly-observed treatment) สำหรับการรักษาต้านวัณโรคทุกชนิด

การฟอกไต (Dialysis)

  • การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม : 250 มก. วันละครั้ง หรือ 500 มก. สัปดาห์ละ 3 ครั้งหลังจากทำการฟอกไต

คำแนะนำอื่นๆ

  • การใช้ร่วมกับยาไพริดอกซีนอาจช่วยป้องกันความเป็นพิษต่อระบบประสาทได้
  • แนะนำระดับความเข้มข้นของเซรั่มสูงสุดที่ 20-35 ไมโครกรัม/มล. เมื่อกำหนดขนาดยา

ขนาดยาไซโคลเซรีนสำหรับเด็ก

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาวัณโรค – ภายนอกปอด

  • เด็ก : 10-15 มก./กก./วัน แบ่งรับประทาน 2 ครั้ง
  • ขนาดยาสูงสุด : 1 กรัม/วัน

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาวัณโรค – มีอาการ

  • เด็ก : 10-15 มก./กก./วัน แบ่งรับประทาน 2 ครั้ง
  • ขนาดยาสูงสุด : 1 กรัม/วัน

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาแคปซูล

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา