backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

อาการอักเสบของลำไส้ใหญ่ (Infectious Colitis)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

อาการอักเสบของลำไส้ใหญ่ (Infectious Colitis)

อาการอักเสบของลำไส้ใหญ่ เป็นการอักเสบของลำไส้ใหญ่ส่วนที่ยาวที่สุด (Colon) เนื่องจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส โปรโตซัว หรือเชื้อรา การอักเสบมักทำให้เกิดอาการปวดท้องส่วนล่าง หรือปวดเกร็ง และท้องร่วง

คำจำกัดความ

อาการอักเสบของลำไส้ใหญ่คืออะไร

อาการอักเสบของลำไส้ใหญ่ (Infectious Colitis) เป็นการอักเสบของลำไส้ใหญ่ส่วนที่ยาวที่สุด (Colon) เนื่องจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส โปรโตซัว หรือเชื้อรา การอักเสบมักทำให้เกิดอาการปวดท้องส่วนล่าง หรือปวดเกร็ง และท้องร่วง อาการอักเสบของลำไส้ใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีอาหารเป็นพิษ ซึ่งมักจะเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อของกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก (gastroenteritis) ซึ่งอยู่บริเวณเหนือลำไส้ตรง (rectum) และ/หรือ ลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย (proctitis) ซึ่งอยู่ด้านล่างลำไส้ใหญ่ส่วนที่ยาวที่สุด

โดยส่วนมากแล้ว อาการอักเสบของลำไส้ใหญ่มักเกิดแบบเฉียบพลัน อาการของโรครุนแรงแต่ทุเลาลงได้อย่างรวดเร็วโดยอาจไม่ได้รับการรักษา หรือรับการรักษาเพียงเล็กน้อย การเป็นโรคนี้เสี่ยงต่อภาวะขาดน้ำ อย่างไรก็ตาม อาการท้องร่วงจากการติดเชื้อต่างๆ อาจมีความรุนแรง และนำไปสู่การถ่ายเป็นมูกเลือด ที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตในช่วงเวลาสั้นๆ

อาการอักเสบของลำไส้ใหญ่พบบ่อยแค่ไหน

การอักเสบของลำไส้ใหญ่จากการติดเชื้อเป็นอาการที่พบบ่อย มันจะถูกเรียกว่าไวรัสลงกระเพาะ (stomach flu) แต่กระเพาะอาหารไม่เกี่ยวข้องกับโรคนี้ ถึงแม้จะมีชื่อเรียกเช่นนั้นก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการของการอักเสบของลำไส้ใหญ่

อาการทั่วไปของอาการอักเสบของลำไส้ใหญ่ มีดังนี้

  • ถ่ายท้องมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน
  • ถ่ายมีเลือดหรือมูกปน
  • ปวดหัวและปวดเมื่อยตามตัว
  • มีไข้ต่ำ (ต่ำกว่า 38 องศาเซลเซียส)
  • ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือปวดเกร็ง

อาจมีอาการอื่นๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับอาการของโรค ควรปรึกษาแพทย์

ควรพบหมอเมื่อไร

คุณควรเข้าพบหมอเมื่อเกิดอาการ ดังต่อไปนี้

  • เมื่อไม่ปัสสาวะ หรือปัสสาวะน้อยกว่าปกติ
  • ปวดหัว เวียนหัว มึนงง
  • หายใจเร็ว หรือไม่ปกติ หรือหัวใจเต้นเร็วและแรง
  • น้ำหนักลดโดยไม่มีสาเหตุ

สาเหตุ

สาเหตุของอาการอักเสบของลำไส้ใหญ่

เชื้อไวรัส แบคทีเรีย โปรโตซัว เป็นสาเหตุหลักของการอักเสบของลำไส้ใหญ่ ในกรณีที่พบได้ยาก อาจเกิดจากเชื้อราบางชนิด เชื้อปรสิตที่มักเรียกว่าหนอนพยาธิหรือหนอนลำไส้ ทำให้เกิดการติดเชื้อในลำไส้และไม่ใช่การติดเชื้อในที่นี้ ดังนั้น จะไม่กล่าวถึงหนอนปรสิตในลำไส้อีก

สาเหตุที่ทำให้เกิดการติดเชื้อที่กล่าวข้างล่างนี้ อาจทำให้เกิดบาดแผลโดยตรงที่เยื่อบุลำไส้ใหญ่ และเนื้อเยื่อที่อยู่ลึกลงในผนังลำไส้ใหญ่ หรืออาจเป็นบาดแผลที่เกิดทางอ้อมจากการเกิดพิษเพราะการติดเชื้อ ซึ่งอาจกระจายตัวได้หลายวิธี ส่วนใหญ่ติดต่อทางการรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำที่มีสารหรือพิษของพาหะเหล่านี้อยู่

อาการอักเสบของลำไส้ใหญ่จากอาหารเป็นพิษ

อาการท้องร่วงเฉียบพลันเกิดขึ้นภายใน 12 ถึง 72 ชั่วโมง หลังรับประทานอาหารที่มีเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อน เป็นอาการของลำไส้ติดเชื้อที่เกิดจากแบคทีเรีย และเป็นอาการที่พบบ่อยในกลุ่มผู้ป่วยลำไส้อักเสบ โดยเชื้อแบคทีเรีย มีดังต่อไปนี้ อีโคไล (E.coli) ชิเกลลา (shigella) ซาโมเนลลา (salmonella) เยอซิเนีย หรือ (Yersinia) แคมไพโลแบคเตอร์ (Campylobacter spp)

โคไล เป็นสาเหตุของอาการท้องร่วงในกลุ่มนักท่องเที่ยว ชิเลลาพบในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ทำให้เกิดอาการไม่รุนแรงและหายได้เอง แต่ในประเทศที่ยากจนเชื้อชนิดนี้อาจก่อให้เกิดอาการขั้นรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตที่รู้จักกันในนาม โรคบิดบาซิลลารี (bacillary dysentery)

เชื้อแบคทีเรีย เช่น วิบริโอคอเลอเร (Cholerae vibrio) เป็นสาเหตุของอหิวาตกโรค ที่ทำให้ผู้ป่วยถ่ายเหลวอย่างหนัก โดยอุจจาระมีสีขาวและลักษณะคล้ายน้ำข้าว อหิวาตกโรคเกิดขึ้นบ่อย และอาจเป็นอาการรูปแบบหนึ่งของลำไส้ใหญ่อักเสบที่อันตรายถึงชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อภาวะขาดน้ำไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี

อาการอักเสบของลำไส้ใหญ่จากเชื้อโปรโตซัว

อาการท้องร่วงปนมูก ร่วมกับอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ที่ไม่แสดงอาการและเกิดขึ้นช้า โดยใช้เวลาหลายวันหรือเป็นสัปดาห์หลังจากรับประทานอาหารที่มีโปรโตซัวปนเปื้อน เป็นอาการของโรคลำไส้อักเสบที่เกิดจากปรสิต โรคนี้โดยส่วนใหญ่มักเกิดจากเชื้อปรสิตเซลล์เดียวชนิดแอนตามีบา ฮิสโตลิติกา (Entameba hystolytica) ซึ่งติดได้จากน้ำที่ปนเปื้อนและทำให้เกิดอาการทั้งรุนแรงและไม่รุนแรง อาการที่ติดเชื้อรุนแรงถึงชีวิตเรียกว่า โรคบิดอะมีบา (amebic dysentery)

การอักเสบของเยื่อเมือกที่บุลำไส้ใหญ่

เป็นการอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรียชื่อ คลอสไทรเดียม ดิฟิซายล์ (Clostridium dificile) ที่เติบโตหลังจากรับยาปฏิชีวนะ

เชื้อแบคทีเรียคลอสไทรเดียม ดิฟิซายล์ ปกติจะพบในลำไส้ใหญ่ ในฐานะส่วนหนึ่งของแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ในลำไส้เล็ก แต่การเจริญเติบโตของมันถูกจำกัดโดยการเจริฐเติบโตของแบคทีเรีย “ที่ดีต่อสุขภาพ’ ชนิดอื่น เมื่อแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์เหล่านี้ ถูกทำลายโดยยาปฏิชีวนะที่รับประทานเข้าไป อย่างเช่นยาอะม็อกซีซิลลิน (amoxicillin) และ คลินดามัยซิน (clindamycin) เชื้อแบคทีเรียคลอสไทรเดียม ดิฟิซายล์จะเติบโตมากจนเกินไป และปล่อยสารพิษที่ทำให้เกิดการอักเสบของลำไส้ เป็นที่รู้จักกันในชื่อ ภาวะลำไส้อักเสบของเยื่อเมือกที่บุลำไส้ใหญ่ (pseudomembranous colitis)

อาการหลักจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้คือ ถ่ายเหลว ปวดท้องด้านซ้ายล่างหรือท้องอืด ตดและอุจจาระมีกลิ่นคาว และมีอาการไข้

อาการอักเสบของลำไส้ใหญ่จากเชื้อไวรัส

การอักเสบของลำไส้อาจเกิดจากเชื้อไวรัสหลายชนิดที่ส่งผลต่อลำไส้เล็กและกระเพาะอาหาร ทำให้อาการนี้บางทีก็เรียกกันว่าหวัดลงกระเพาะ (stomach flu) แม้ว่าการใช้ชื่อนี้ทำให้เกิดความเข้าใจผิด เนื่องจากกลุ่มเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดอาการไข้หวัดใหญ่ ไม่เกี่ยวข้องกับอาการของโรคนี้

ไซโตเมกาโลไวรัส (Cytomegalovirus: CMV) อาจทำให้เกิดอาการอักเสบของลำไส้ใหญ่ในผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ (เป็นผลจากการรับเคมีบำบัด ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ และอื่นๆ) อาการลำไส้อักเสบจากเชื้อไวรัสเริม (Herpetic colitis) ที่เกิดจากเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ซิมเพล็กซ์ (Herpes simplex virus: HSV) ที่ทำให้เกิดโรคเริม ส่วนใหญ่มักเกิดในกลุ่มชายรักร่วมเพศ และได้รับเชื้อจากเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก

อาการอักเสบของลำไส้ใหญ่จากเชื้อรา

อาการอักเสบของลำไส้ใหญ่ที่เกิดจากเชื้อรา เช่น แคนดิดา อัลบิแคนส์ (Candida albicans) หรือเชื้อราชนิดอื่นๆ เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้น้อย โรคอาจเกิดขึ้นกับผู้ที่ภูมิต้านทานต่ำ โดยเฉพาะผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงต่อการอักเสบของลำไส้ใหญ่

ปัจจัยหลายประการที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการอักเสบของลำไส้ใหญ่ ดังนี้

  • อาศัยหรือทำงานในสถานพยาบาล
  • ทำงานในสถานรับเลี้ยงเด็ก หรือส่งลูกเข้าสถานรับเลี้ยงเด็ก
  • ไม่ล้างมือหลังเข้าห้องน้ำหรือก่อนรับประทานอาหาร
  • ดื่มน้ำหรือทานอาหารที่มีสารปนเปื้อน
  • อยู่ระหว่างการใช้ยาปฏิชีวนะ
  • มีระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ

การวินิจฉัยและการรักษาโรค

ข้อมูลเหล่านี้ไม่สามารถแทนคำปรึกษาทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์เสมอสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยอาการอักเสบของลำไส้ใหญ่

การวินิจฉัยอาการอักเสบของลำไส้ใหญ่ อาจวิเคราะห์ได้จากการถ่ายเป็นเลือด ในวลาอันวดเร็วหลังจากรับประทานอาหารต้องสงสัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากผู้อื่นที่รับประทานอาหารประเภทเดียวกันแสดงอาการเดียวกัน

การวิเคราะห์

  • พบเชื้อแบคทีเรียจากการตรวจอุจจาระ
  • พบเชื้อปรสิตโดยการส่องกล้องจุลทรรศน์ดูอุจจาระ (O&P) ซึ่งบ่อยครั้งมักได้ผลลบลวง ดังนั้น บางครั้งจึงอาจต้องทำการทดสอบหลายครั้ง หากสงสัยว่าเป็นเชื้อปรสิต
  • การตรวจเลือด ปริมาณเม็ดเลือดขาวที่เพิ่มขึ้น สามารถบ่งชี้ถึงการอักเสบในทุกส่วนของร่างกาย แต่ไม่สามารถชี้ชัดได้ว่ามีการติดเชื้อบริเวณลำไส้ใหญ่ การเพิ่มขึ้นของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดอีโอซิโนฟิล (eosinophils) ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดพิเศษ และแอนติบอดี้อิมมูโนกลบบูลิน (IgE) มักบ่งชี้ว่าเกิดจากการติดเชื้อปรสิต จุลินทรีย์ที่พบในเลือด หรือภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (sepsis) ในผู้ป่วยถ่ายเป็นมูกเลือดมักบ่งชี้ถึงล้ำไส้ใหญ่อักเสบ

ควรพิจารณาสาเหตุอื่นของการปวดท้องด้านซ้าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ หรือการเจ็บท้องด้านขวา อย่างลำไส้ใหญ่อักเสบจากโรคโครห์น (Crohn’s) ที่ทำให้เกิดการถ่ายอุจจาระเป็นเลือด และท้องเสียเฉียบพลัน

การรักษาอาการอักเสบของลำไส้ใหญ่

การรักษาอาการอักเสบของลำไส้ใหญ่ทำได้โดยการใช้ยาปฏิชีวนะ หรือยาฆ่าเชื้อปรสิต ที่สั่งโดยแพทย์จากผลการตรวจอุจจาระ การติดเชื้อไวรัสมักไม่จำเป็นต้องมีการรักษาเฉพาะ แต่อาการจะหายไปเองเมื่อเวลาผ่านไป ควรต้องใช้สารทดแทนน้ำในร่างกาย เพื่อชดเชยการขาดน้ำและเกลือแร่ การใช้ยาแก้ปวดเพื่อลดไข้ อาจจำเป็นในกรณีการติดเชื้อรุนแรง อาจต้องมีการให้ธาตุเหล็ก ในกรณีเสียเลือดมากและยาวนาน

การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือการเยียวยาตนเองเพื่อรับมือกับอาการอักเสบของลำไส้ใหญ่

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือการเยียยวยาตนเอง ที่อาจช่วยรับมือกับอาการอักเสบของลำไส้ใหญ่ มีดังนี้

  • ดื่มน้ำเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพถึงปริมาณและประเภทของน้ำที่ควรดื่มต่อวัน ควรดื่มสารละลายผงน้ำตาลเกลือแร่ (ORS) ซึ่งมีส่วนประกอบของน้ำ เกลือแร่ และน้ำตาลเพื่อทดแทนน้ำที่เสียไประหว่าการถ่ายท้อง
  • ไม่ควรใช้ยาเพื่อรักษาอาการท้องเสีย เพราะอาจทำให้เกิดอาการนานขึ้น

หากมีคำถาม ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำความเข้าใจและหาวิธีการรักษาที่ดีที่สุด

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา