backup og meta

ความแตกต่างของ โรคตับชนิดต่างๆ มีอะไรบ้างที่ควรรู้

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย เธียรธัช มีโภคา · แก้ไขล่าสุด 16/07/2020

    ความแตกต่างของ โรคตับชนิดต่างๆ มีอะไรบ้างที่ควรรู้

    โรคตับ (Hepatic disease) เป็นโรคที่เกิดจากการที่ตับได้รับบาดเจ็บ หรือเกิดแผลเป็นแบบถาวร จนทำให้เป็นพังผืดขึ้นในเนื้อตับ ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของลดลง และส่งผลร้ายต่อสุขภาพร่างกายโดยรวม โรคตับมีหลายชนิดและเกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกัน บทความนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ โรคตับชนิดต่างๆ กันค่ะ

    โรคตับชนิดต่างๆ แบ่งตามสาเหตุการเกิดโรค

    • โรคไวรัสตับอักเสบ 
    • โรคตับที่มีสาเหตุจากแอลกอฮอล์
    • โรคตับที่มีสาเหตุจากพิษ หรืออาหารเป็นพิษ
    • โรคตับที่มีสาเหตุจากโรคไขมันในเลือดสูง (Dyslipidemia) ซึ่งเปลี่ยนรูปแบบการทำงานของตับ
    • โรคตับที่มีสาเหตุจากมะเร็งตับ 

    โรคตับชนิดต่างๆ

    โรคไวรัสตับอักเสบเอ

    โรคไวรัสตับอักเสบเอ (Hepatitis A) จัดเป็นหนึ่งในประเภทของโรคตับ มีสาเหตุจากเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ (HAV) ตัวโรคสามารถแพร่กระจายได้ผ่านอาหารหรือน้ำดื่มที่ปนเปื้อนสิ่งปฏิกูลที่ติดเชื้อ โดยทั่วไปแล้ว สามารถได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบเอจากปัจจัยดังต่อไปนี้

    • รับอาหารมาจากคนที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ ซึ่งอาจมีการสัมผัสกับปัสสาวะหลังจากเข้าห้องน้ำ และไม่ได้ล้างมือ
    • มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักหรือทางปาก กับผู้ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ
    • ไม่ล้างมือหลังจากเปลี่ยนผ้าอ้อม
    • ดื่มน้ำที่มีการปนเปื้อนเชื้อไวรัสตับอักเสบ

    โรคไวรัสตับอักเสบบี

    โรคไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B) จัดเป็นหนึ่งในประเภทของโรคตับ มีสาเหตุจากเชื้อไวรัสตับ

    อักเสบบี (HBV) ไวรัสตับอักเสบบี สามารถแพร่กระจายได้ผ่านการสัมผัสเลือด หรืออสุจิของผู้ติดเชื้อ หรือของเหลวจากร่างกายผู้อื่น นอกจากนี้ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในหญิงตั้งครรภ์จะทำให้ทารกที่เกิดมาติดเชื้อไปด้วย

    ถ้าป่วยเป็นโรคไวรัสตับอักเสบบี (HBV) ก็อาจเกิดอาการมีไข้ แต่ในบางรายก็ไม่เกิดอาการใด ๆ การตรวจเลือด คือวิธีที่แน่นอนในการพิสูจน์ว่าป่วยเป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีหรือไม่ ซึ่งโดยปกติแล้ว

    ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวจากโรคไวรัสตับอักเสบบีได้ภายในเวลาไม่กี่เดือน แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ก็อาจเป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีชนิดเรื้อรัง ซึ่งตัวโรคจะคงอยู่ไปตลอดชีวิต นอกจากนี้ โรคไวรัสตับอักเสบบีชนิดเรื้อรังยังสามารถนำมาสู่การเกิดแผลในตับ เกิดความเสียหายในตับ รวมถึงเกิดมะเร็งตับได้อีกด้วย

    ภาวะดีซ่าน

    ดีซ่าน คือ ภาวะที่ผิวหนังและตาขาวของผู้ป่วยกลายเป็นสีเหลือง บิลิรูบิน (Bilirubin) คือ สารเคมีสีเหลืองที่อยู่ในฮีโมโกลบิน ซึ่งทำหน้าที่คอยขนส่งออกซิเจนในเซลล์เม็ดเลือดแดงของร่างกาย เมื่อมีบิลิรูบินมากเกินไป ก็จะก่อให้เกิดภาวะดีซ่าน และขณะที่เซลล์เม็ดเลือดแดงแตกตัว ร่างกายจะสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาทดแทนเซลล์เก่าที่ถูกสร้างโดยตับ

    ทารกเกิดใหม่ที่แข็งแรงบางคน ก็อาจมีภาวะดีซ่านในช่วงสัปดาห์แรกของชีวิต อย่างไรก็ตาม ภาวะดีซ่านก็อาจเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย และอาจเป็นสัญญาณที่บอกได้ถึงปัญหาของตับ ดีซ่านสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ประกอบด้วย

  • ป่วยเป็นโรคเลือด
  • ป่วยเป็นโรคทางพันธุกรรม
  • ป่วยเป็นโรคตับ อย่างเช่น โรคไวรัสตับอักเสบ หรือโรคตับแข็ง เป็นต้น
  • ท่อน้ำดีอุดตัน
  • มีอาการติดเชื้อ
  • โรคตับแข็ง

    โรคตับแข็งก่อให้เกิดแผลเป็นในตับ โดยแผลเป็นในตับนั้น เกิดขึ้นได้จากทั้งอาการบาดเจ็บและจากโรคตับแข็ง เนื้อตับที่เกิดแผลเป็นจะไม่สามารถทำงานอย่างเป็นปกติได้อีกต่อไป ยกตัวอย่างเช่น การสร้างโปรตีน การช่วยต่อสู้กับการติดเชื้อ การทำความสะอาดเลือด การช่วยย่อยอาหาร และเก็บพลังงาน โรคตับแข็งยังสามารถนำมาสู่อาการดังต่อไปนี้

    • เลือดกำเดาไหล
    • ท้องหรือขาเกิดอาการบวมโต
    • ร่างกายอ่อนไหวต่อการทานยามากขึ้น
    • มีภาวะความดันโลหิตสูงในหลอดเลือดตับ
    • หลอดเลือดในหลอดอาหารและกระเพาะขยายตัว
    • ไตวาย

    ภาวะธาตุเหล็กเกิน

    ธาตุเหล็ก คือแร่ธาตุที่พบได้ในอาหารหลายชนิด ร่างกายของคนเราจะดูดซับธาตุเหล็กจากอาหารที่รับประทานราวร้อยละ 10 ผู้ที่ต้องทรมานจากภาวะเหล็กเกิน โดยทั่วไปมักมีสาเหตุมาจากการได้รับธาตุเหล็กเกินกว่าจำเป็น ร่างกายไม่มีวิธีการขับธาตุเหล็กออกตามธรรมชาติ จึงต้องเก็บธาตุเหล็กไว้ในเนื้อเยื่อของร่างกาย โดยเฉพาะในตับ หัวใจ และตับอ่อน

    ภาวะธาตุเหล็กเกินนับเป็นโรคทางพันธุกรรม ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่ร่างกายผลิตธาตุเหล็กมากเกินไป การมีธาตุเหล็กมากเกินไปจะทำลายอวัยวะภายใน หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา ตัวโรคก็จะทำให้อวัยวะร่างกายเสื่อมสภาพลงไปเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย เธียรธัช มีโภคา · แก้ไขล่าสุด 16/07/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา