backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

กัวรานา (Guarana)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 08/12/2017

การใช้

กัวรานาใช้ทำอะไร

กัวรานาใช้โดยทั่วไปเพื่อ

เพิ่มพลังงานให้ร่างกาย

ใช้ลดน้ำหนัก

รักษาอาการความดันโลหิตต่ำ

ภาวะเพลียเรื้อรัง

ป้องกันโรคมาลาเรีย,โรคบิด

เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ

ทำให้การถ่ายปัสสาวะได้คล่องตัวขึ้น

รักษาอาการอุจจาระร่วง,ไข้,โรคหัวใจผิดปกติ,ปวดหัว,ปวดข้อ,ปวดหลัง,และภาวะเครียดจากความร้อน(ลมแดด)

การออกฤทธิ์

กัวรานาทำงานอย่างไร

เนื่องจากยังมีการศึกษาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์กัวรานานี้ไม่มากพอ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมโปรดศึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรและแพทย์ อย่างไรก็ตามได้มีบางงานวิจัยบางชิ้นพบว่า กัวรานามีส่วนผสมของคาเฟอีนและทีโอฟิลลีน และทีโอโบรมีน(คล้ายกันกับคาเฟอีน)การมีอยู่ของคาเฟอีนจะกระตุ้นให้ระบบประสาทกลาง,หัวใจ และกล้ามเนื้อทำงาน

ข้อคำเตือนและข้อควรระวัง

สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้กัวรานา

ข้อบังคับสำหรับการใช้กัวรานามีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับของการใช้ยา จึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาให้มากขึ้นเพื่อความปลอดภัยในการใช้ ทั้งนี้ ก่อนใช้ คุณประโยชน์ของการรับประทานอาหารเสริมประเภทสมุนไพรนี้ต้องมีค่าน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

กัวรานาปลอดภัยแค่ไหน

เป็นไปได้ว่ากัวราน่านั้นอาจจะปลอดภัย เมื่อใช้รับประทานสำหรับระยะเวลาอันสั้น

เป็นไปได้ว่าอาจจะไม่ปลอดภัยเมื่อรับประทานปริมาณมากเกินไปและรับประทานเป็นระยะเวลานาน

เป็นไปได้ว่ากัวรานาดูเหมือนไม่ปลอดภัยแม้ทำให้เสียชีวิตได้ เนื่องด้วยมีส่วนผสมของคาเฟอีน เมื่อรับประทานและฉีดในปริมาณมากเกินไป

เป็นไปได้ว่ากัวรานาอาจปลอดภัยสำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตรเมื่อได้รับในปริมาณปกติที่พบในอาหารทั่วไป

เป็นไปได้ว่ากัวรานาอจจะไม่ปลอดภัย เมื่อรับประทานเข้าไปในปริมาณที่สูงเกินไป สำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์และอยู่ในระหว่างการให้นมบุตร หากบริโภคมากกว่า  200 มิลลิกรัม จะนำไปสู่การเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้คลอดก่อนกำหนดและเกิดผลเสียอื่นๆตามมา

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้กัวรานา

รับประทานกัวรานาจะส่งผลข้างเคียงดังนี้

ภาวะวิตกกังวลมากเกินไป

โรคนอนไม่หลับ

และความเสียงด้านสุขภาพอื่นๆที่เกิดขึ้นแก่ผู้ป่วยที่มีความรู้สึกไวต่อสารคาเฟอีน

ผลข้างเคียงเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน และอาจจะมีอาการของผลข้างเคียงอื่นๆที่ไม่ได้กล่าวไว้ข้างต้น หากกังวลเรื่องผลข้างเคียง ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์

ปฏิกิริยา

กัวรานาอาจมีปฏิกิริยากับยาที่ใช้ควบคู่กัน ควรปรึกษาหมอสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้ยา โปรดแจ้งให้แพทย์ของคุณทราบหากคุณกำลังรับประทานยา ดังนี้

แอมเฟตามีน

โคเคน

เอฟิดรีน

อเดโนซีน

ยาปฏิชีวนะ ควิโนโลน เช่น ไซโปรฟลอกซาซิน,อีโนซาซิน,นอร์ฟลอกซาซิน,สปาร์ฟลอกซาซิน,โทรวาฟลอกซาซิน,และเกรพนาฟลอกซาซิน

ไซเมทิดีน

โคลซาปีน

ยาไดไฟริดาโมล

ยาไดซัลฟิแรม

เอสโตรเจน,ยาเพมารีน,เอทินอล เอสตร้าไดออล,เอสตร้าไดออล,ฟลูวอกซามีน

ลิเธียม

ยาคลายเครียดต่างๆ เช่น ฟิเนลซีน,ทราฟิลไซโปรมีน และอื่นๆ

ยาชะลอการอุดตันของลิ่มเลือด,แอนตี้โคกูแลนท์,แอนตี้ฟาติเลท, เช่น แอสไพริน,ยาโคลพิโดเกรล,ยาไดโคลฟีแนต(โวลทาเรน,คาตาฟาม และอื่นๆ)ยาไอบูโพรเฟน(แอดวิล,มอร์ตีน,และอื่น)นาพรอกซิน,ดัลเตพารีน,ยาอีนอกซาพาริน(เลิฟนอกซ์),ยาเฮพาริน,ยาวาฟาริน(คูมาดิน)และอื่นๆ

นิโคติน

ยาเพนโทบาร์บิทอล

ยาฟีนิลโพรพาโนลามีน

ยาริลโซล

ยาทีโอฟิลีน

ยาเวอราปามิล(คาลาย,คอฟเวอรา,ไอโซพติน,เวเลรัน)

แอลกอฮอล์

ยาเม็ดคุมกำเนิด เช่น เอทินิล เอสตร้าไดออล,ลีโวเนอร์เอสเตรล(ไทรฟาซิล),เอทินิล เอสตร้าไดออล และ นอร์อิทิสเตอโรน (ออร์โธโนวัม 1/35,ออร์โธโนวัม 7/7/7 และอื่นๆ)

ฟลูโคนาโซล(ไดฟลูแคน)

ยารักษาโรคเบาหวาน (ยาต้านโรคเบาหวาน) เช่น ไกลเมพิไรด์,ไกลบูไรด์,อินซูลิน,ไพโอกลิตาโซน,โรซิกลิตาโซน,คลอร์โพรพาไมด์,ไกลพิไซด์,โทลบูตาไมด์

ยาเมซิเลทิน

ยาเทอบินาฟิน

หรือคุณมีสุขภาพดังนี้

กำลังตั้งครรภ์หรืออยู่ในระหว่างให้นมบุตร

โรควิตกกังวล

ภาวะเลือดออกง่าย

เบาหวาน,ท้องเสีย

โรคลำไส้แปรปรวน

โรคหัวใจ

โรคความดันโลหิตสูง

โรคต้อหิน

โรคกระดูกพรุน

ขนาดยา

ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้เสมอ

ขนาดปกติของการใช้กัวรานาอยู่ที่เท่าไร

ปริมาณการใช้กัวรานาอาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ ปริมาณใช้ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพและพยาธิสภาพอื่น ๆ อาหารเสริมประเภทสมุนไพรไม่ได้ปลอดภัยเสมอไป โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์เพื่อทราบปริมาณยาที่เหมาะสม

กัวรานาจำหน่ายในรูปแบบใด:

-ในรูปแบบแคปซูล

-ในรูปแบบเม็ด

Hello Health Group ไม่ให้คำแนะนำทางการแพทย์, วินิจฉัยโรค,หรือรักษาโรค

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 08/12/2017

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา